ตลอดปี 2567 มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย หลายเหตุการณ์ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่อีกหลายเหตุการณ์ยังคงวนเวียนและต่อเนื่องหรืออาจลากยาวข้ามไปปีหน้า
ในจำนวนหลายหมื่นภาพถ่ายจากช่างภาพ THE STANDARD ที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดปี 2567 ตามไทม์ไลน์ นี่คือภาพที่คัดสรรมาบอกเล่าแก่ผู้อ่าน เพื่อย้อนทวนความทรงจำเป็นบทเรียน รวมถึงมองภาพในอนาคตไปพร้อมๆ กัน
1.
1 มกราคม 2567: นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเดินลงจากสะพานสาทร หรือสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังชมพลุริมแม่น้ำเจ้าพระยาในวันฉลองต้อนรับปีใหม่ 2567
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/king-taksin-bridge-new-year-2567/
2.
1 มกราคม 2567: การแสดงพลุในงาน Amazing Thailand Countdown 2024 ของไอคอนสยาม
การแสดงครั้งนี้ออกแบบพลุกว่า 50,000 ดอก ให้เป็น ‘พลุรักษ์โลก’ ที่ทำมาจากข้าวเหนียว ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ‘The Unrivaled Phenomenon of SIAM’ จำนวน 7 ชุด ความยาว 9 นาที รวมระยะทาง 1,400 เมตร ยาวที่สุดในประเทศไทย บนโค้งน้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมรัศมีการชมได้มากกว่า 5 กิโลเมตร
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/amazing-thailand-countdown-2024-3/
3.
3 มกราคม 2567: รูปปั้นองค์ครูกายแก้วถูกย้ายมาตั้งที่ตลาด The One Ratchada หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีคำสั่งให้ย้ายรูปปั้นทั้งหมดออกจากพื้นที่ The Bazaar Hotel Bangkok ภายใน 30 วัน หรือภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2566 พร้อมกับให้บริษัทจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 1,300,000 บาท โดยให้เหตุผลว่าพื้นที่ดังกล่าวห้ามมีการก่อสร้างใดๆ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/kru-kai-kaew-a-social-phenomenon-that-is-not-yet-over/
4.
27 มกราคม 2567: ศูนย์การสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครราชสีมา เปิดประมูลขายทอดตลาดสุนัขที่ไม่ผ่านเกณฑ์การฝึก ครั้งที่ 12 มีสุนัข 3 สายพันธุ์ คือ เยอรมันเชพเพิร์ด 28 ตัว, มาลินอยส์ 20 ตัว และลาบราดอร์ 6 ตัว รวมจำนวน 54 ตัว อายุระหว่าง 2-4 ปี ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เพื่อให้บุคคลภายนอกนำไปเลี้ยงดูเป็นสุนัขเลี้ยงที่บ้าน
ทั้งนี้ สุนัขที่นำมาประมูลทั้งหมดเป็นสุนัขทหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์การฝึกตามหลักสูตรโรงเรียนสุนัขทหาร โดยลักษณะที่ไม่เข้าเกณฑ์ เช่น สภาพร่างกายที่อ้วนเกินไป บุคลิกไม่เล่น ไม่คาบ นิสัยใจคอนิ่งเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เชื่องช้า เฉื่อยชา ปฏิกิริยาตอบสนองทำตามคำสั่งไม่ได้ ขาดไหวพริบและความกระตือรือร้น หรือบางตัวอาจกลัวความสูง กลัวที่แคบ และกลัวคนพลุกพล่าน
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/failed-critiria-soldier-dog-auction/
5.
13 มกราคม 2567: เด็กๆ ร่วมกิจกรรมที่ทางกองทัพจัดขึ้นเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ. เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้และเข้าใจภารกิจของทหาร ได้สัมผัสถึงขีดความสามารถและประสิทธิภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก
อีกทั้งเป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม การสร้างความรัก ความสามัคคี และความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ควบคู่ไปกับกิจกรรมบันเทิงต่างๆ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/rta-childrens-day-2567/
6.
19 มกราคม 2567: ภาพบรรยากาศกรุงเทพมหานครในวันที่ค่าฝุ่น PM2.5 กลับมาเกินมาตรฐานอีกครั้ง จากการระบายอากาศที่ค่อนข้างไม่ดีและอากาศค่อนข้างปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง โดยศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครรายงานผลการตรวจวัด PM2.5 เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 19 มกราคม 2567 ตั้งแต่เวลา 05.00-07.00 น. พบค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม มีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 69 พื้นที่ สูงสุดอยู่ที่เขตหนองแขม เขตทวีวัฒนา และเขตบางกอกน้อย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/foggy-bangkok-with-pm2-5/
7.
24 มกราคม 2567: มวลชนแต่งกายล้อเลียนมาร่วมฟังศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยสถานภาพความเป็น สส. ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรณีถูกกล่าวหาว่าถือหุ้น ITV ที่อาจเป็นหุ้นสื่อตามข้อห้ามของรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/pita-court-itv-stock-case/
8.
25 มกราคม 2567: พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขณะเข้าประชุมสภา หลังจากเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พิธาไม่ใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) ทำให้สมาชิกภาพสภาผู้แทนราษฎรของพิธาไม่ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6)
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/pita-limjaroenrat-25012024/
9.
26 มกราคม 2567: เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ควบคุมตัว ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เข้าสอบปากคำร่วมกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และเจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หลังจับกุมตัวได้พร้อมของกลาง เป็นซองกระดาษบรรจุเงินสด 5 แสนบาท ที่บ้านพักจังหวัดปทุมธานี
สืบเนื่องจากกรณีที่ ณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ร้องเรียนว่าถูก ศรีสุวรรณ จรรยา พร้อมด้วย ยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ประธานกลุ่มรวมใจรักชาติ และ พิมณัฏฐา จิระพุทธิภาคย์ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ ข่มขู่เรียกเงินจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อแลกกับการยุติเรื่องร้องเรียนโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการปลูกข้าวและโครงการปรับปรุงการผลิตสำหรับผู้ปลูกข้าว โดยศรีสุวรรณระบุว่า พบข้อพิรุธที่ส่อไปในทางทุจริต
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/srisuwan-arrested/
10.
28 มกราคม 2567: คัลแลน-พี่จอง สองหนุ่มยูทูเบอร์จากช่อง 컬렌 Cullen HateBerry ออกงานปรากฏตัวครั้งแรกเพื่อร่วมทำกิจกรรมกับแบรนด์เครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งจัดกิจกรรมที่สยามสแควร์ โดยมีกลุ่มแฟนคลับจำนวนมากมารอ
“ใจฟูที่สุดในชีวิตครับ” คัลแลนกล่าวทิ้งท้ายหลังพบปะแฟนคลับ ขณะที่พี่จองบอกว่า “ใจฟูมากๆ ครับ ขอบคุณมากครับ”
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/cullen-p-jung-siam-square-photos/
11.
31 มกราคม 2567: ที่รัฐสภา ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย สส. พรรคก้าวไกล ร่วมแถลงข่าวภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าพรรคก้าวไกลเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จากการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ชัยธวัชกล่าวว่า เราไม่ได้มีเจตนาเพื่อเซาะกร่อนบ่อนทำลายหรือแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากชาติแต่อย่างใด เรายังกังวลว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเมืองไทยในระยะยาว
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/the-constitutional-court-ruled-mfp/
12.
1 กุมภาพันธ์ 2567: ร้านเส่ย ซอยพิบูลวัฒนา 6 พรรคก้าวไกลในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน นัดพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 5 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคใหม่ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน รับประทานอาหารเย็น เพื่อหารือแลกเปลี่ยนการทำงานและกระชับความสัมพันธ์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านร่วมกันมาเกือบ 1 เดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การรับประทานอาหารในวันนี้เป็นการนัดหมายตั้งแต่กลางเดือนที่ผ่านมา มีการหารือในหลายๆ เรื่องที่พรรคร่วมฝ่ายค้านต้องโฟกัสร่วมกัน และใช้โอกาสนี้ในการเชื่อมความสัมพันธ์ เพราะมีหลายพรรคที่เพิ่งจะได้ทำงานร่วมกันครั้งแรก
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/opposition-party-dinner-delighted/
13.
2 กุมภาพันธ์ 2567: ยอร์ช-สรศาสตร์ วิเศษสินธุ์ ผู้ก่อตั้งเพจเฟซบุ๊ก Gluta Story และเจ้าของสุนัขพันธุ์ไทย ‘กลูต้า’ พร้อมด้วยทีมงาน กลุ่มเพื่อน และผู้ติดตามเพจ รวมตัวกันเพื่อทำพิธีส่งกลูต้าเดินทางครั้งสุดท้ายกลับสู่ดาวหมาหลังใช้ชีวิตมา 18 ปี ที่เตาเผาสัตว์ Petfuneral
ยอร์ชเคยให้สัมภาษณ์ถึงที่มาของการเลี้ยงกลูต้าและการตั้งเพจเฟซบุ๊กว่า ตอนนั้นตัวเขาเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลองหก ได้เจอกับสุนัขจรจัดตัวนี้ที่พลัดหลงมาช่วงน้ำท่วม เพราะเป็นคนชอบสุนัขจึงเล่นหยอกล้อกันทุกวัน แล้วก็เริ่มหลงเสน่ห์สุนัขตัวนี้ขึ้นเรื่อยๆ วันหนึ่งเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องให้สุนัขออกจากพื้นที่ ยอร์ชจึงตัดสินใจนำกลูต้ากลับมาเลี้ยงเอง และเพราะสุนัขเป็นสีขาว เขาจึงตั้งชื่อว่ากลูต้า
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/goodbye-gluta-the-dog/
14.
4 กุมภาพันธ์ 2567: ผู้เข้าร่วมการประกวดแต่งกายแฟชั่นโชว์คู่หู DUO กับคอนเซปต์ PET PILOT ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงชนิดใดก็ได้แต่งตัวให้เข้ากับธีมการบินแบบต่างๆ ทั้งสายการบินและนักบินอวกาศ มีผู้นำสัตว์เลี้ยงหลากหลายชนิดเข้าร่วมประกวดในงาน Pet Variety Exhibition @CNX ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/duo-people-and-pets-contest/
15.
13 กุมภาพันธ์ 2567: นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมตัวหน้าคณะนิเทศศาสตร์ แสดงจุดยืนเรียกร้องการปล่อยตัว 2 สื่อมวลชนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พร้อมออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อสถานการณ์เสรีภาพของสื่อ “คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความกังวลต่อศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) จากการใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชนอิสระในพื้นที่การชุมนุม และหน่วยงานราชการ ที่ดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากการรายงานข่าวการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากการกระทำเหล่านี้ขัดต่อหลักการเสรีภาพของสื่อ (Freedom of the Press) ในการรายงานเหตุการณ์ให้สังคมได้รับทราบอย่างเสรี
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/cu-journalism-students-stand-in-silence/
16.
13 กุมภาพันธ์ 2567: ณัฐพล เมฆโสภณ และ ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ นักข่าวและช่างภาพ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราวที่ถูกดำเนินคดีฐานสนับสนุนการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาด จากกรณีติดตามทำข่าวศิลปินอิสระพ่นสีและข้อความบนกำแพงวัดพระแก้ว
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/journalist-photographer-opens-up/
17.
13 กุมภาพันธ์ 2567: เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมถ่ายภาพสติกเกอร์พร้อมถือป้ายข้อความระบุว่า ‘เมษาอะน่าร้อน มีเธออ้อนอะน่าร้าก’ ก่อนร่วมงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาล ‘ร่วมมือ ร่วมใจ รัฐบาลประชาชน’ ที่ชั้น 6 Eastin Grand Hotel Phayathai Bangkok ซึ่งพรรคเพื่อไทยเป็นเจ้าภาพ ขณะที่อนุทินกล่าวถึงการทำท่าดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีว่า “เข่าอ่อนเลย”
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/srettha-anutin-sweet-moment/
18.
14 กุมภาพันธ์ 2567: คู่รัก LGBTQIA+ จดแจ้งชีวิตคู่ในวันแห่งความรัก ณ สำนักงานเขตดุสิต ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดพระตำหนักวังเดิม ศูนย์กลางของราชสำนักฝ่ายในแห่งสุดท้ายของสยาม ที่ประทับของพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาเธอในรัชกาลที่ 5 ให้กลายเป็นสถานที่สำหรับคู่รักทุกเพศในการจดทะเบียนในวันแห่งความรัก
ขณะที่ เอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ นอกจากกิจกรรมที่มีการจัดอย่างปกติคือการจดทะเบียนสมรสแล้ว ในปีนี้ กทม. พร้อมจัดกิจกรรมการจดแจ้งชีวิตคู่ LGBTQIA+ ครบทั้ง 50 เขต
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/old-palace-lgbtqia-14022567/
19.
15 กุมภาพันธ์ 2567: นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลากหลายคณะร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่คณะผู้จัดงานระบุจุดประสงค์การจัดงานว่า เพื่อเป็นการแสดงพลังปกป้องและถวายความจงรักภักดีต่อกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งทรงเป็นนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของกลุ่มคนที่ลบหลู่พระเกียรติยศของพระองค์ด้วยการพยายามขับรถแทรกเข้าไปในขบวนเสด็จฯ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chula-students-wear-purple-shirts/
20.
18 กุมภาพันธ์ 2567: เวลา 06.06 น. ที่อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษา โรงพยาบาลตำรวจ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับบ้านจันทร์ส่องหล้าด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล พร้อมด้วยรถติดตามแบบกันกระสุน หลังจาก อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย บุตรสาว เดินทางมารับ
สำหรับทักษิณมีอายุ 74 ปี และเจ็บป่วยตามเงื่อนไขจึงไม่ต้องติดกำไล EM โดยห้ามออกจากพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงต้องไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ทุกเดือน รถตู้ที่ทักษิณนั่งออกไปจากโรงพยาบาล เลขทะเบียน ภษ 1414 ปรากฏภาพทักษิณสวมใส่เฝือกที่คอและแขน โดยนั่งข้างอุ๊งอิ๊ง พร้อมกับสวมหน้ากากอนามัย ใส่เสื้อเชิ้ตลายสีเขียว กางเกงขาสั้นสีดำ มีใบหน้าที่เรียบเฉย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thaksin-shinawatra-released-18022024-5/
21.
21 กุมภาพันธ์ 2567: ขบวนรถยนต์โดยสารของสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน ประธานคณะองคมนตรีกัมพูชา และอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เดินทางมาถึงบ้านจันทร์ส่องหล้าด้วยรถ Mercedes-Benz สีบรอนซ์ดำ ทะเบียน ร 3355 เพื่อเข้าเยี่ยม ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ได้รับการพักโทษเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย โดย ฮุน เซน จะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ก่อนจะเดินทางกลับประเทศกัมพูชาทันที
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/hun-sen-arrives-at-ban-chan-song-la/
22.
22 กุมภาพันธ์ 2567: พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เปิดใจว่าบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยินดีให้สอบเส้นทางการเงินถึงครอบครัว ฝากตำรวจยศใหญ่ออกมาชี้แจง อย่าซ่อน โดยชี้แจงกรณีที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีที่พบความเชื่อมโยงไปยังกลุ่มบัญชีม้าของเครือข่ายเว็บพนันมินนี่ ซึ่งทางตำรวจชุดทำคดีได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และมาตรา 149 เป็นเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สินฯ ที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/surachet-said-100-percent-innocent/
23.
23 กุมภาพันธ์ 2567: นักท่องเที่ยวพักผ่อนบริเวณริมชายหาดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างที่มีการจัดงาน Pattaya International Kite On The Beach 2024 เทศกาลว่าวนานาชาติ โดยมีหลายประเทศเข้าร่วม เช่น ไทย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ออสเตรเลีย, โคลอมเบีย, จีน, อินเดีย, ไต้หวัน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/pattaya-international-kite-on-the-beach-2024/
24.
25 กุมภาพันธ์ 2567: น้ำตาแห่งความปีติ หลัง โปรแพตตี้-ปภังกร ธวัชธนกิจ คว้าแชมป์กอล์ฟ Honda LPGA Thailand 2024 มาครองได้สำเร็จแบบที่แฟนๆ ต้องลุ้นกันทั้งประเทศ ด้วยการเก็บเบอร์ดี้หลุมสุดท้าย คว้าแชมป์ไปได้อย่างสุดสนุกมันด้วยสกอร์รวม 21 อันเดอร์พาร์
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/patty-tavatanakit-honda-lpga-thailand-2024/
25.
27 กุมภาพันธ์ 2567: กลุ่มนักศึกษาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของอุเทนถวายตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกนัดหมายรวมพล เพื่อยื่นหนังสือขอแสดงเจตจำนงคัดค้านการย้ายเขตพื้นที่อุเทนถวายต่อสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สืบเนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเจ้าของที่ดิน มีความพยายามเรียกคืนพื้นที่ 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา จากอุเทนถวาย ซึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดินเป็นเวลา 68 ปี ตั้งแต่ปี 2478-2546
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/rmutto-uthen-line-up-parade-to-pmcu/
26.
5 มีนาคม 2567: ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์การรวมตัวกันของกลุ่ม LGBTQIA+ ชาวไทย หลังเกิดข้อพิพาทกับกลุ่ม LGBTQIA+ ชาวฟิลิปปินส์ เมื่อคืนวันที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ซอยสุขุมวิท 11 โดย พชร์ อานนท์ ผู้กำกับภาพยนตร์ภาคที่ 10 ของ หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด นัดหมายให้มาถ่ายทำซีนพิเศษ ก่อนที่ภาพยนตร์จะฉายในวันที่ 14 มีนาคม
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/poj-arnon-sukhumvit-11-05032567/
27.
15 มีนาคม 2567: ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยสมาชิกในครอบครัวตระกูลชินวัตร ประกอบด้วย โอ๊ค-พานทองแท้ ชินวัตร, เอม-พินทองทา ชินวัตร, อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร, สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เดินทางมาไหว้สุสานฝังศพของ เลิศ ชินวัตร และ ยินดี ชินวัตร บิดาและมารดาของทักษิณ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาด้านทิศตะวันตก ติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน
ทักษิณให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งอย่างไม่เป็นทางการถึงการมาไหว้ว่า ตนมีความรู้สึกที่ดีกับพ่อแม่ ตนไม่เคยมาเลยเพราะอยู่ต่างประเทศ จากนี้ต่อไปก็จะมาทุกปีแน่นอน ผลสุดท้ายความสุขอยู่ที่ครอบครัว คนทุกคนถ้าเข้าใจโลกก็จะ Happiness is at home. (ความสุขอยู่ที่บ้าน) ที่อื่นอาจจะเป็นสิ่งสมมติ แต่สิ่งที่แน่นอนคือ Happiness is at home.
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thaksin-visit-ancestor-say-happiness-is-at-home/
28.
17 มีนาคม 2567: ที่ลานสยามดิสคัฟเวอรี่ คนรักการ์ตูน Dragon Ball ประมาณ 300 คน รวมตัวกันจัดกิจกรรมชูมือขึ้นฟ้าส่งพลังบอลเกงกิ ซึ่งเป็นท่าไม้ตายสุดยอดประจำเรื่อง Dragon Ball ที่ซุนโกคูเคยใช้ปราบจอมมารบูได้สำเร็จ เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ โทริยามะ อากิระ นักเขียนการ์ตูนที่เสียชีวิตในวัย 68 ปี จากภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/rip-akira-toriyama/
29.
20 มีนาคม 2567: พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) หัวเราะอย่างอารมณ์ดี ตอกย้ำความสัมพันธ์รักใคร่ สามัคคี หลังแถลงข่าวชี้แจงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเกิดความขัดแย้งสืบเนื่องจากกรณีคดีเว็บพนันออนไลน์ระหว่างนายพลทั้งสองคน
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/the-battle-between-the-two-police-generals-ended/
30.
23 มีนาคม 2567: ผู้เข้าร่วมงานพิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่นเกิดอาการของขึ้นระหว่างทำพิธี โดยศิษย์คนใดสักยันต์รูปสัตว์ชนิดใดก็จะแสดงอาการของสัตว์ชนิดนั้นๆ ตลอดช่วงพิธีไหว้ครู ที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/ceremony-to-pay-homage-to-luang-phor-pern/
31.
23 มีนาคม 2567: โชว์มวยปล้ำจากค่ายมวยปล้ำของเมืองไทยอย่าง SETUP Thailand Pro Wrestling EP.17 : BANGKOK STRONG STYLE โดยความพิเศษของรายการนี้ นอกเหนือจากโชว์จากนักมวยปล้ำสายเลือดไทยและชาวต่างชาติที่เป็นขาประจำในโชว์ของค่ายแล้ว SETUP Thailand จัดการดึง Zack Sabre Jr. และ El Phantasmo สองนักมวยปล้ำชื่อดังและมากด้วยฝีมือจาก NEW JAPAN PRO WRESTLING เข้ามาโชว์เป็นสองคู่เอกของรายการ
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/setup-thailand-pro-wrestling-ep-17/
32.
26 มีนาคม 2567: ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล ศิลปินซูเปอร์สตาร์ชาวไทยแห่งวง BLACKPINK เดินทางมาชมการแข่งขันถึงสนามราชมังคลากีฬาสถาน ในศึกฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกระหว่างทีมชาติไทยพบเกาหลีใต้
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/lisa-blackpink-rajamangala-26032024/
33.
27 มีนาคม 2567: ‘ปรบมือดีใจก้องสภา’ หลังจากที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระ 2 รายมาตรา ทั้งสิ้น 68 มาตรา โดยใช้เวลาในการพิจารณาราว 5 ชั่วโมง ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะมีมติเสียงข้างมาก 400 ต่อ 10 เสียง ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยส่งต่อให้วุฒิสภาพิจารณาต่อ เมื่อวุฒิสภาพิจารณาและโหวตลงมติเห็นชอบแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลจากนั้นหลังผ่าน 120 วันในที่ 22 มกราคม 2568 จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม และเป็นประเทศที่ 38 ของโลก
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/parliament-same-sex-marriage/
34.
1 เมษายน 2567: หนึ่งในผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกเกณฑ์ทหารร้องไห้ด้วยความดีใจหลังจับได้ใบดำ ที่วัดสามัคคีธรรม เขตวังทองหลาง สถานที่สำหรับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2567 วันแรก ซึ่งหน่วยวังทองหลางมีความต้องการทหารจำนวนทั้งหมด 46 นาย มีผู้สมัครใจทั้งหมด 11 นาย หลีกเลี่ยง (ไม่เข้ารับการเกณฑ์ทหาร) 1 นาย ทำให้มีโควตาต้องจับใบดำ-ใบแดง 34 นาย จากทั้งหมด 90 นาย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/military-conscription-first-day-2567/
35.
3 เมษายน 2567: ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กทม. พรรคก้าวไกล อภิปรายถึงปัญหาธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2) ในญัตติการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ได้หยิบยกกางเกงช้างขึ้นมาพร้อมระบุว่า กางเกงช้างที่ท่านนายกฯ ภูมิใจนักหนาว่าเป็น Soft Power ของประเทศไทย ถูกกลุ่มธุรกิจต่างชาติผลิตสินค้าลอกเลียนแบบเต็มตลาดไปหมด อีกทั้งยังดัมป์ราคาแข่งกับคนไทยด้วย
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/elephant-pants-03042024/
36.
4 เมษายน 2567: เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อ่านเอกสาร IGNITE THAILAND Bulletin ซึ่งเป็นเอกสารการทำงานของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมากับ 14 ประเทศ ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 32 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2) วาระพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ซึ่งสมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านได้เข้าชื่อกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ต่อเนื่องเป็นวันสุดท้าย โดยมีการแจกเอกสารให้กับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/debate-and-questioning-cabinet-04042024-5/
37.
8 เมษายน 2567: พื้นที่ของตัวเมืองเชียงใหม่ในช่วงเวลากลางคืนถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) หลังมีการออกประกาศแนะนำภาครัฐและเอกชนให้ Work from Home 3 วันจากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันนี้ค่าเฉลี่ยสูงติดอันดับที่ 1 ของโลกตลอดทั้งวัน
เมื่อตรวจสอบกับแอปพลิเคชัน IQAir ในระหว่างช่วงเวลา 19.30-21.30 น. พบว่า หลายจุดมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานอยู่ในระดับสูงถึง 170-180 US AQI (ดัชนีคุณภาพอากาศตามมาตรฐานของ US-EPA 2016 Standard) ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังอีกด้วย
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/pm2-5-chiang-mai-08042024/
38.
8 เมษายน 2567: ทีมข่าว THE STANDARD บันทึกภาพการฝึกซ้อมขบวนจักรยานยนต์เกียรติยศ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ฮาร์ลีย์นำขบวน’ ที่ถนนอักษะ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะออกมาฝึกตามวงรอบเพื่อให้รถมีสมรรถนะพร้อมต่อการเรียกใช้งานตลอดเวลา
โดยกองบังคับการตำรวจสันติบาล 3 เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภารกิจถวายความปลอดภัยและอารักขาบุคคลสำคัญของขบวนรถจักรยานยนต์เกียรติยศ ซึ่งขบวนรถฮาร์ลีย์-เดวิดสันนี้นับเป็นต้นแบบของรถจักรยานยนต์นำขบวนอื่นๆ รวมถึงขบวนของตำรวจนครบาลด้วย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/harley-74-years-symbol-of-security/
39.
9 เมษายน 2567: รถสามล้อและแท็กซี่จอดแช่รอผู้โดยสารกีดขวางจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารรถประจำทางด้านหน้าศูนย์การค้าบริเวณถนนราชดำริ ซึ่งเป็นจุดที่สำนักการจราจรและขนส่งมีการจัดทำเครื่องหมายจราจรพื้นทางด้วยวัสดุสีโคลด์พลาสติกระบุคำว่า ‘BUS STOP’ จนทำให้ประชาชนที่ต้องใช้รถประจำทางต้องเดินลงไปบนช่องทางจราจรเพื่อขึ้นรถประจำทาง
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/yellow-paint-bus-stop-ineffective/
40.
13 เมษายน 2567: กลุ่ม LGBTQIA+ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนุกสนานกับเทศกาลสงกรานต์ 2567 ที่ถนนสีลม ซึ่งปีนี้ที่ถนนสีลมจัดกิจกรรมเล่นน้ำภายใต้แนวคิด ‘ปลอด 5 ป.’ คือ ปลอดโป๊, ปลอดแอลกอฮอล์, ประหยัดน้ำ, ปลอดปืนขนาดใหญ่ และปลอดแป้ง โดยตลอดงานมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลความสะดวกและความปลอดภัย
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/hello-silom-songkran-2567/
41.
14 เมษายน 2567: กลุ่มวัยรุ่นสนุกสนานกับการเล่นน้ำในเทศกาลสงกรานต์บริเวณถนนโชคชัย 4 ตั้งแต่ช่วงเย็นจนต่อเนื่องข้ามคืน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ประชาชนนิยมมาเล่นน้ำ ขณะที่ตลอดเส้นทางมีรถกระบะเล่นสงกรานต์ให้เห็นประปราย พร้อมด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่ขี่รถมอเตอร์ไซค์มาเพื่อเล่นน้ำสงกรานต์เป็นจำนวนมาก
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/songkran-chokchai-4-14042024/
42.
15 เมษายน 2567: นักท่องเที่ยวแต่งกายแฟนซีร่วมเล่นสงกรานต์วันสุดท้ายที่ถนนสีลม โดยมีการปิดถนนสีลมทั้งขาเข้าและขาออกเป็นระยะทางประมาณ 950 เมตร โดยมีช่องทางเร่งด่วนสำหรับรถพยาบาลและรถฉุกเฉินที่สามารถวิ่งได้ตลอดระยะเวลางาน มีกลุ่มชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเล่นน้ำสงกรานต์กันเต็มพื้นที่ รวมทั้งมีขบวนของกลุ่ม LGBTQIA+ เดินขบวนพาเหรดสนับสนุนสมรสเท่าเทียม
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/songkran-silom-14042024/
43.
26 เมษายน 2567: ทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร ยืนรักษาการณ์ดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แม้การสู้รบในฝั่งเมืองเมียวดีที่อยู่ตรงข้ามจะสงบลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยสถานการณ์ล่าสุดยังปรากฏความเคลื่อนไหวที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะจากท่าทีของกลุ่มกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังทหารเมียนมา ที่อาจมีการสู้รบปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/soldier-still-in-charge-mae-sot-boarder/
44.
29 เมษายน 2567: เจ้าหน้าที่กำลังเตรียมการเคลื่อนย้ายกากแคดเมียมที่ถูกเก็บไว้ในโกดังของโรงงานบริษัท ล้อโลหะไทย เมททอล จำกัด เขตบางซื่อ เพื่อส่งกลับไปที่โรงงานต้นทางจังหวัดตาก
โดยขั้นตอนตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมระบุไว้คือจะมีการดูดฝุ่นพื้นโรงงานเพื่อทำความสะอาดสถานที่ก่อนการขนย้าย นำรถพ่วงคันแรกที่จะใช้ขนย้ายเข้ามาจอดในโรงงาน จากนั้นจะยกถุงบิ๊กแบ็กที่บรรจุกากแคดเมียมใส่ซ้อนในถุงบิ๊กแบ็กแล้วนำไปชั่งน้ำหนัก โดยรถแต่ละคันจะมีการสุ่มตัวอย่างด้วยการเก็บสารในถุงออกมา เพื่อนำไปตรวจสอบในห้องแล็บว่าเป็นกากแคดเมียมจริงตามวัตถุประสงค์ในการขนหรือไม่
หลังจากนั้นจะปิดซีลถุงทั้งสองชั้นก่อนจะนำขึ้นไปบนรถซึ่งปูพลาสติก/ผ้าใบไว้แล้ว เมื่อตรวจสอบว่าได้นำถุงขึ้นบนรถคันแรกครบแล้วจะปิดซีลคลุมรถให้เรียบร้อย
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/cadmium-bangsue-moved-to-tak/
45.
30 เมษายน 2567: ผู้ที่อาศัยอยู่ที่บริเวณชุมชนข้างสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ใช้น้ำสาดไปบนหลังคาบ้านตนเอง เพื่อคลายร้อนในวันที่อุณหภูมิกรุงเทพฯ พุ่งสูงถึง 41 องศาเซลเซียสในช่วงกลางวัน สำหรับที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าวส่วนมากจะเป็นบ้านเช่าที่เป็นหลังคาสังกะสี กำแพงเป็นฝ้าความหนาไม่มากนัก และเป็นบ้านชั้นเดียวเรียงติดกัน ส่วนมากไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ หรือถ้ามีก็จะติดตั้งเพียง 1 ห้องในบ้าน 1 หลัง
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/bkk-hot-days-cooling-methods-people-homes/
46.
29 เมษายน 2567: นากตัวเล็กเล็บสั้นกำลังกินปลาทูแช่ในน้ำแข็ง โดยสวนสัตว์เชียงใหม่จัดกิจกรรมคลายความร้อนและสร้างความชุ่มชื้นให้กับสัตว์ในทุกส่วนจัดแสดง หลังจากสภาพอากาศทางภาคเหนือมีอุณหภูมิที่สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส อีกทั้งสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีหมอกควันและค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินมาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆ ได้
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chiang-mai-zoo-pm2-5/
47.
6 พฤษภาคม 2567: ภาพถ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ถ่ายคู่กับป้ายข้อความ ‘Bangkok – City of Life’ บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร แลนด์มาร์กจุดถ่ายภาพยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน
นักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มหนึ่งเล่าว่า บริเวณดังกล่าวเป็นที่นิยมของคนจีนที่เดินทางมาเที่ยวที่ประเทศไทยมาก มีการแชร์โลเคชันและทำเป็นรีวิวว่ามาถ้าถึงกรุงเทพฯ แล้วต้องมาถ่ายภาพที่จุดนี้เพื่อเช็กอินว่ามาถึงแล้ว แต่ทั้งนี้ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าสภาพของป้ายปัจจุบันอาจจะซีดจางและเสื่อมโทรมเกินกว่าจะเป็นแลนด์มาร์กที่น่าแชร์ต่อ จนทำให้ล่าสุดกรุงเทพมหานครประชาสัมพันธ์ว่า ในจุดดังกล่าวจะมีการปรับปรุงครั้งใหม่ ขอให้ร่วมติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/bangkok-city-of-life/
48.
19 พฤษภาคม 2567: ที่วัดสุทธาโภชน์ ลาดกระบัง ในพิธีฌาปนกิจ ‘เนติพร เสน่ห์สังคม’ หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง ครอบครัวพร้อมกลุ่มเพื่อน นำโดย ใบปอ-ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ เป็นผู้ถือรูปหน้าศพ
นอกจากนี้ สายน้ำ-นภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์, แบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ และเพื่อนนักกิจกรรมทางการเมือง ร่วมกันเข็นรถเคลื่อนโลงศพ และมีกลุ่มประชาชนเดินต่อท้ายขบวนเพื่อเวียนรอบเมรุ 3 รอบ ระหว่างเวียนรอบเมรุได้เปิดเพลง แสงดาวแห่งศรัทธา, เพื่อมวลชน และ ฝากรักถึงเจ้าผีเสื้อ รวมถึงการตะโกนเรียกร้องสิทธิการประกันตัวผู้ต้องหาคดีทางการเมือง ก่อนช่วยกันยกโลงศพขึ้นไปบนเมรุ
อย่างไรก็ตาม ไม่พบเยาวชนหญิงที่เคยอยู่ในการดูแลของเนติพรมาร่วมงานฌาปนกิจครั้งนี้แต่อย่างใด
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/boong-netiporn-last-farewell/
49.
26 พฤษภาคม 2567: ภาพท้องฟ้าย่านท่าพระในช่วงโพล้เพล้ ที่หมู่เมฆก่อตัวรวมกันแน่นขนัดก่อนที่ฝนจะกระหน่ำลงมา ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร รายงานจากจอเรดาร์พบกลุ่มก้อนลมฝนขนาดใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ จากทางทิศตะวันตก คาดว่าหากกลุ่มฝนไม่สลายตัวไปเสียก่อน ก็จะเข้าปกคลุมทุกพื้นที่ในกรุงเทพฯ ในไม่กี่ชั่วโมง
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/bangkok-before-the-rain-hits/
50.
28 พฤษภาคม 2567: การแข่งขันกีฬาต่อสู้ป้องกันตัวของตำรวจ ‘Cops Combat’ ภายใต้สโลแกน ‘วางยศ ลดอัตตา เกมกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย’ ที่เวทีมวยราชดำเนิน สำหรับการแข่งขัน Cops Combat แบ่งการแข่งขันเป็นรุ่นน้ำหนัก ไม่จำกัดอายุและชั้นยศ โดยมีทั้งประเภทชายและหญิงรวม 16 รุ่น 48 คู่ ซึ่งจะแข่งคู่ละ 1 ยก ใช้เวลาชก 3 นาที การจัดแข่งขันในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งกีฬาประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตำรวจได้ทบทวนทักษะการต่อสู้ป้องกันตัวที่ปกติแล้วจะใช้กับคนร้ายหรือใช้ยับยั้งเหตุต่างๆ
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/cops-combat-2024/
51.
28 พฤษภาคม 2567: เจ้าหน้าที่กำลังเปลี่ยนป้ายข้อความ ‘Bangkok – City of Life’ โดยการติดสติกเกอร์ที่มีข้อความและดีไซน์ใหม่ บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน แลนด์มาร์กจุดถ่ายภาพยอดนิยมของนักท่องเที่ยว
เอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำความสะอาดเพื่อเตรียมติดสติกเกอร์ใหม่บนคานรางรถไฟฟ้า บริเวณทางเชื่อมเหนือสกายวอล์กแยกปทุมวัน เนื่องจากสติกเกอร์เดิมซึ่งติดอยู่มานานกว่า 20 ปีมีสภาพซีดจาง ข้อความลบเลือน ไม่สวยงาม และซึมเข้าไปในเนื้อปูน ทำให้การดำเนินการค่อนข้างใช้เวลา
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/photography-spots-bangkok-city-of-life/
52.
1 มิถุนายน 2567: กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงคนบุคคลที่มีชื่อเสียง ร่วมเดินขบวนแสดงพลังของชาวสีรุ้งในงาน Bangkok Pride Festival 2024 เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จ และเป็นการเคานต์ดาวน์สู่การใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการ โดยไฮไลต์ของปีนี้คือธงไพรด์ที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทยซึ่งยาวถึง 200 เมตร
การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับการจัดงานไพรด์สู่มาตรฐานการจัด WorldPride และเตรียมความพร้อมกรุงเทพมหานครสู่การเป็นเจ้าภาพ Bangkok WorldPride 2030 รวมถึงตอกย้ำในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและปลอดภัยสำหรับทุกคนในประเทศไทย
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/bangkok-pride-2024/
53.
8 มิถุนายน 2567: มวยคู่เอกของ ONE 167 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เป็นการชกในกติกามวยไทยระหว่าง ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม เจ้าของแชมป์ ONE มวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวต พบกับ โจ ณัฐวุฒิ โดยตลอดแมตช์โจเป็นฝ่ายต่อยได้เข้าเป้ามากกว่า แต่ตะวันฉายก็มีจังหวะต่อยและเตะอยู่บ้างเช่นกัน ทำให้ครบ 5 ยก ตะวันฉายเอาชนะไปด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ ป้องกันแชมป์ ONE มวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวต ได้สำเร็จ ท่ามกลางเสียงโห่ของแฟนๆ ที่ไม่พอใจคำตัดสิน
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/tawanchai-wins-over-joe-nattawut/
54.
11 มิถุนายน 2567: เจ้าของร้านขายสัตว์แปลกและสัตว์หายากประเภทงู ถ่ายภาพงูที่ตายจากเหตุเพลิงไหม้ภายในโซนจำหน่ายปลากัดและสัตว์เลี้ยง โครงการตลาดศรีสมรัตน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นจากการตรวจสอบมีความเสียหายทั้งหมด 118 ล็อก พื้นที่ประมาณ 900 ตารางเมตร มีสัตว์จำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บและตาย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/survey-after-the-fire-in-chatuchak-market/
55.
12 มิถุนายน 2567: ธีราทร บุญมาทัน แสดงอาการเสียใจหลังเอาชนะสิงคโปร์ได้ 3-1 แต่ไม่เพียงพอต่อการผ่านเข้ารอบต่อไปของฟุตบอลโลก ในศึกฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย กลุ่ม C ขณะที่เกาหลีใต้เปิดบ้านเอาชนะจีนไปเพียงแค่ 1-0 ทำให้เฮดทูเฮดของไทยที่พ่ายจีนมาในการแข่งขันนัดแรก ส่งผลให้ทัพช้างศึกต้องหยุดเส้นทางไว้แค่รอบนี้
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thai-national-team-triumphs-over-singapore-3-1/
56.
19 มิถุนายน 2567: สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 250 คน ร่วมถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกที่สนามหญ้าลานปลาอานนท์ หน้าอาคารรัฐสภา ก่อนที่จะมี สว. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และทำให้การเลือก สว. ไม่โมฆะ สำหรับ สว. ชุดที่ 12 เข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ถือเป็นวุฒิสภาชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปี 2557 และได้รับฉายาว่า ‘สว. เฉพาะกาล’ เนื่องจากมีที่มามาจากบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนหนึ่งที่ได้กำหนดอนาคตประเทศตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/group-photo-250-senators/
57.
18 มิถุนายน 2567: นฤมิตไพรด์จัดกิจกรรม ‘สมรสเท่าเทียม ชัยชนะประชาชน’ พร้อมเปิด ‘สัญลักษณ์สมรสเท่าเทียม’ เพื่อแสดงออกถึงความสำเร็จและความร่วมมือของประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคทางเพศ ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หลังวุฒิสภาโหวตผ่าน ลงมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม (ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ….) หลังต่อสู้มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี เพื่อให้การแต่งงานของทุกเพศได้รับการรับรองสิทธิตามกฎหมาย จากนี้ต้องรอขั้นตอนการประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลจากนั้นหลังผ่าน 120 วัน
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/rainbow-pride-flags-wave-thailand/
58.
26 มิถุนายน 2567: ผู้สมัคร สว. ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การเลือกระดับประเทศ ทำความรู้จักกันก่อนเข้ารายงานตัวเพื่อที่จะเลือก สว. ระดับประเทศ ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 สำหรับการเลือกแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรกคือการลงคะแนนเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันให้ได้ 40 คนที่มีคะแนนสูงสุด ถ้าเท่ากันให้จับสลาก ส่วนรอบสองหรือรอบตัดสินจะเป็นการลงคะแนนแบบเลือกไขว้ โดยจะแบ่งเป็น 4 สาย สายละ 5 กลุ่มอาชีพ เลือกผู้ได้รับเลือกในรอบแรกในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน คัดเลือกให้ได้ 10 คนที่มีคะแนนสูงสุด หากคะแนนเท่ากันให้จับสลาก ซึ่งการเลือกรอบนี้จะทำให้ได้ตัวจริงผู้ที่จะเป็น สว. กลุ่มละ 10 คน เมื่อรวมกันทั้ง 20 กลุ่มอาชีพ ก็จะมีผู้ได้รับเลือกเป็น สว. ทั้งสิ้น 200 คน
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/senate-67-national-200-finalists/
59.
1 กรกฎาคม 2567: มาสคอตลาบูบู้ใส่ชุดไทยจากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ POP MART จัดกิจกรรม Welcome Ceremony of LABUBU เตรียมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-จีนครบ 50 ปี ภายใต้โครงการลาบูบู้เที่ยวไทย ต้อนรับมาสคอตลาบูบู้จากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อจัดทำคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์เที่ยวไทยตามรอยลาบูบู้
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/tat-welcome-ceremony-of-labubu/
60.
9 กรกฎาคม 2567: ปลาหมอคางดำหลายขนาดถูกจับจากคลองท่าแร้ง ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาครร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชน จัดกิจกรรม ‘ลงแขกลงคลอง ครั้งที่ 1’ ร่วมกำจัดและตัดวงจรชีวิตปลาหมอคางดำหรือปลาหมอสีคางดำ ออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติในจังหวัดสมุทรสาคร สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่พบปลาหมอคางดำ ซึ่งนับว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์หรือสิ่งมีชีวิตอันตรายในแหล่งน้ำทุกประเภททั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย โดยพบการแพร่ระบาดอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/samut-sakhon-blackchin-tilapia/
61.
11 กรกฎาคม 2567: เกศกมล เปลี่ยนสมัย สว. ชุดใหม่ ขณะกำลังเตรียมพร้อมถ่ายรูปติดบัตร โดย สว. ที่ได้รับการรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งทยอยเข้ารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก สว.
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/new-senate-members-first-day-duty/
62.
15 กรกฎาคม 2567: ประชาชนจำนวนมากเดินทางมาจับปลาหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาหมอ และปลาหมอคางดำ ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำที่บึงมักกะสัน เขตราชเทวี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำจุดประตูระบายน้ำเปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าสำนักการระบายน้ำปิดประตูระบายน้ำเพื่อกั้นไม่ให้น้ำออกจากอาคารควบคุมน้ำ เนื่องจากมีการซ่อมแซมระบบวาล์วน้ำ ส่งผลให้ปลาในบึงขาดออกซิเจนลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำเป็นจำนวนมาก หนึ่งในประชาชนที่มาจับปลาเปิดเผยว่า ทราบข่าวจากโซเชียลมีเดียจึงเดินทางมาเพื่อจับปลา สามารถจับได้กว่า 100 กิโลกรัมในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ปลาที่ได้มีทั้งปลานิลและปลาหมอคางดำ
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/makkasan-drainage-gate-closure-fishing/
63.
15 กรกฎาคม 2567: บรรยากาศชื่นมื่นในงานดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาลที่บ้านปาร์คนายเลิศ ซึ่งมีพรรคพลังประชารัฐเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยไม่มี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มีเพียง ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ, สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ อรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภายในงานมีแกนนำรัฐบาลร่วมงาน เช่น เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี, แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย, ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย, อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/happy-coalition-dinner-party/
64.
18 กรกฎาคม 2567: ปลาหมอคางดำตัวผู้ขณะอมไข่และลูกของมันไว้หลังจากที่โดนจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติย่านบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยผู้ที่มาจับปลาเพื่อนำไปประกอบอาหารกล่าวว่า ปลาที่หาได้ทั้งหมดมากกว่าร้อยละ 90 คือปลาหมอคางดำ น้อยครั้งมากที่จะได้ปลานิลหรือปลากระบอกเล็ก แต่ละครั้งที่จับใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จะได้ปลาหมอคางดำประมาณ 3-4 กิโลกรัม
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/black-chin-tilapia-victims/
65.
19 กรกฎาคม 2567: ท่าอากาศยานอากาศดอนเมืองเกิดความวุ่นวายจากระบบ Microsoft Azure ของสายการบิน Thai AirAsia เกิดเหตุขัดข้อง จากกรณีที่เกิดปรากฏการณ์ Microsoft Outage เกิดข้อผิดพลาดในระบบปฏิบัติการ และระบบไม่สามารถกู้คืนได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการให้บริการภาคพื้น ส่งผลให้ระบบตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automatic Channel) ไม่สามารถใช้งานได้
AOT จึงจัดส่งเจ้าหน้าที่สนามบินเข้าดำเนินการโดยให้ความสะดวกในเรื่องการดูแลผู้โดยสารผ่านการเช็กอินแบบแมนวล ส่วนผู้โดยสารที่เช็กอินล่วงหน้ามาก่อนแล้วและไม่มีกระเป๋าสัมภาระโหลด สามารถใช้ระบบ Biometric ผ่านเข้าสู่จุดตรวจค้นได้เลย
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/don-mueang-congested-software-outage/
66.
19 กรกฎาคม 2567: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน รองประธานกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงปมชุดผ้าไหมสีฟ้าที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างถึงการออกแบบที่ดูไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2024
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ ระบุว่า ไม่ว่าสมัยไหนนักกีฬาไทยจะสวมเสื้อเบลเซอร์ และมี 1-2 ครั้งที่สวมชุดพระราชทาน ส่วนเสื้อเบลเซอร์ที่จะใส่ในครั้งนี้ก็จะอยู่ที่กาลเทศะ ซึ่งเดิมจะใส่ แต่พอมีผู้แสดงความคิดเห็นว่าเสื้อเบลเซอร์ไม่เหมาะสม ก็ให้หัวหน้าคณะนักกีฬาเป็นผู้ตัดสิน ส่วนเสื้อแจ็กเก็ตที่ตนใส่อยู่นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับชุดของต่างประเทศอย่างมองโกเลีย เกาหลีใต้ เฮติ ที่มีการชมนักชมหนา เหมือนงิ้วกับลิเก พร้อมย้อนถามว่าจะนำชุดลิเกเข้าไปในกรุงปารีสหรือ
จากนั้นศาสตราจารย์ (พิเศษ) เจริญ ได้แก้ต่างคำพูดอีกครั้งว่า แต่ละชาติมีวัฒนธรรมของเขา เราไม่มีสิทธิ์ไปว่าเขา
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thai-olympic-committee-uniform-statement/
67.
นันทนา นันทวโรภาส และ อังคณา นีละไพจิตร สว. ยืนมองการนับคะแนนภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกประธานวุฒิสภาชุดที่ 13 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากจำนวน 159 ต่อ 41 เสียง ลงคะแนนเห็นชอบให้ มงคล สุระสัจจะ รับตำแหน่งประธานวุฒิสภา
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/kriengkrai-wins-senate-deputy/
68.
26 กรกฎาคม 2567: ที่พรรคพลังประชารัฐ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส. แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 10 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2567
อย่างไรก็ตาม ในกิจกรรมวันนี้ไม่พบ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ อรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/prawit-pprp-26-07-2567/
69.
29 กรกฎาคม 2567: ราฟาเอล นาดาล โบกมือลาแฟนกีฬาเทนนิส ณ เมนคอร์ต ฟิลิปป์ ชาตริเยร์ ในโรลังด์ การ์รอส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนามที่เขาคว้าแชมป์เฟรนช์โอเพ่นไปถึง 14 สมัย หลังจบรอบ 2 ของเทนนิสประเภทชายเดี่ยวโอลิมปิกเกมส์ 2024 ด้วยการพ่ายให้กับ โนวัค ยอโควิช ไป 2 เซ็ตรวด ก่อนจะประกาศว่าปี 2024 จะเป็นปีสุดท้ายของการลงแข่งเทนนิสอาชีพของเขา
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/rafael-nadal-vs-novak-djokovic/
70.
1 สิงหาคม 2567: กรมราชทัณฑ์นำสื่อมวลชนเข้าดูการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังข้ามเพศ ภายในแดน 1 เรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งมีผู้ต้องขังจำนวนทั้งสิ้น 1,085 คน
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/klong-prem-lgbtqia-prisoners/
71.
7 สิงหาคม 2567: วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักกีฬาแบดมินตันชายเดี่ยว เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024 เดินทางกลับถึงประเทศไทยภายหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นที่กรุงปารีส โดยมีครอบครัว ทีมโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด กองเชียร์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เดินทางมารอให้กำลังใจและต้อนรับที่สนามบินสุวรรณภูมิ
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/welcome-view-kunlavut-back-to-thailand/
72.
7 สิงหาคม 2567: สส. พรรคก้าวไกลให้กำลังใจกัน หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล รวมถึงตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคจำนวน 10 ปี
ชัยธวัช ตุลาธน สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ลุกขึ้นกล่าวกับประธานในที่ประชุมว่า เมื่อสักครู่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ดังนั้นตนอยากจะขอแจ้งกับประธานในที่ประชุมว่า ตนเอง ชัยธวัช ตุลาธน และกรรมการบริหารพรรค ประกอบด้วย อภิชาติ ศิริสุนทร, เบญจา แสงจันทร์ และ สุเทพ อู่อ้น รวมถึงอดีตหัวหน้าพรรคอย่าง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎรได้อีกต่อไป
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chaithawat-move-forward-mp-continues-until-last-second/
73.
7 สิงหาคม 2567: ภาพบัตรประจำตัวของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางเข้ารัฐสภาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนราษฎรก่อนจะเดินทางไปรับฟังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกลที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/pita-water-management-discussion/
74.
8 สิงหาคม 2567: เทนนิส-พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ก้มลงกราบ ‘โค้ชเช’ ชเวยองซอก หรือ ชัชชัย ชเว หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทควันโดทีมชาติไทย หลังเอาชนะ กั๊วจิง จากจีน ในรอบชิงชนะเลิศ 2-1 ยก คว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน และปิดฉากอาชีพนักกีฬาทีมชาติไทยอย่างเป็นทางการ
หลังจบแมตช์ เทนนิส พาณิภัค ให้สัมภาษณ์ว่า “โอลิมปิกครั้งเป็นครั้งที่กดดันมาก แต่ตอนนี้ทุกอย่างปลดล็อก และทุกอย่างมันสมบูรณ์มากๆ หนูมีความสุขมากที่ทำมันสำเร็จเพื่อคนไทยทุกคน แล้วพรุ่งนี้เป็นวันเกิดของหนูด้วย 8 สิงหาคม รู้สึกชื่นใจมากค่ะ”
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/paris2024-panipak-wongpattanakit-taekwondo-gold-medalist-2/
75.
9 สิงหาคม 2567: ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย ศรายุทธ ใจหลัก เลขาธิการพรรคประชาชน, ศิริกัญญา ตันสกุล และ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมกันแถลงเปิดตัวพรรคใหม่เป็นครั้งแรกภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมวิสามัญอดีตพรรคก้าวไกล
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/peoples-party-natthaphong-election-goal/
76.
14 สิงหาคม 2567: เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขณะรอแถลงข่าวหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/srettha-farewell-speech-14082567
77.
18 สิงหาคม 2567: ก่อนพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เดินทางมาถึงที่อาคาร VOICE TV ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราวของพรรคเพื่อไทย โดยมีสีหน้ายิ้มแย้มและกล่าวทักทายสื่อมวลชน ก่อนที่ในเวลาต่อมา ทักษิณ ชินวัตร บิดาของแพทองธาร และนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 จะเดินทางมาถึง
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thaksin-paetongtarn-thai-pms/
78.
18 สิงหาคม 2567: แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะเดินออกมาเพื่อแถลงคำกล่าวครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยมี เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมฟัง ภายหลังการรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/paetongtarn-first-statement-prime-minister/
79.
7 กันยายน 2567: แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐมนตรี ทำท่ามินิฮาร์ทให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ หลังถ่ายภาพหมู่ร่วมกันในชุดปกติขาวด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการ
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/paetongtarn-new-minister-photo/
80.
11 กันยายน 2567: ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 23 อนุทิน ชาญวีรกูล สส. แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย กำลังนั่งฟังรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ซึ่งดำเนินรายการโดย ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และ อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เผยแพร่ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ตอนหนึ่งมีการเผยแพร่คลิปเสียง ‘ลุงบ้านป่าฯ’
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/anutin-pm-listening/
81.
14 กันยายน 2567: ‘หมูเด้ง’ ลูกฮิปโปแคระที่กำลังดังไกลไปทั่วโลกจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยประชาชนให้ความสนใจเดินทางมาชื่นชมความน่ารักของหมูเด้งตั้งแต่ช่วงเช้า ส่งผลให้การจราจรบริเวณด้านหน้าสวนสัตว์ติดขัดยาว
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/the-cuteness-of-moo-deng/
82.
24 กันยายน 2567: ชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนเกาะลอยและชุมชนเทิดพระเกียรติ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 2 พื้นที่ที่ประสบอุทกภัยรุนแรงเมื่อช่วงวันที่ 11-14 กันยายนที่ผ่านมา โดยวันนี้เข้าสู่วันที่ 10 ที่ประชาชนสามารถกลับเข้าบ้านของตัวเองเพื่อทำความสะอาดคราบน้ำและกองโคลนที่ท่วมบ้าน อุทกภัยครั้งนี้ทำให้มีครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายประมาณ 430 หลังคาเรือน
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chiang-rai-day-10-after-flood/
83.
25 กันยายน 2567: สภาพความเสียหายบริเวณซอยบ้านไม้ลุงขน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังเหตุน้ำท่วมใหญ่ โดยน้ำเริ่มลดระดับลงเมื่อวันที่ 15 กันยายน แต่ยังคงมีโคลนและขยะจำนวนมาก ทำให้การฟื้นฟูบ้านเรือน ถนนส่วนกลาง โรงเรียน และอาคารสำนักงานประจำพื้นที่ ยังเป็นไปด้วยความลำบาก โคลนและขยะจำนวนมากท่วมเต็มบ้านชั้น 1 และตามซอยย่อยในบางจุดท่วมสูงจนมิดประตูทางเข้าบ้าน
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/15-days-flooding-in-chiang-rai/
84.
26 กันยายน 2567: ข้อความ ‘เกินเยียวยา’ ถูกเขียนที่ข้างรถกระบะที่จอดจมโคลนหน้าบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ซอยเกาะทราย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยซอยเกาะทรายเป็นซอยย่อยที่อยู่ใกล้กับด่านพรมแดนแม่สายแห่งที่ 1 เชื่อมต่อกับซอยบ้านไม้ลุงขน สองพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุน้ำท่วมช่วงวันที่ 10-15 กันยายนที่ผ่านมา
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/beyond-repair-soi-koh-sai/
85.
27 กันยายน 2567: สภาพห้องเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนชุมชนบ้านไม้ลุงขน มิตรภาพที่ 169 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เต็มไปด้วยดินโคลน เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนเป็นพื้นที่ต่ำหรือแอ่งกระทะ อีกทั้งเป็นจุดที่ได้รับแรงปะทะจากมวลน้ำแม่น้ำสายไหลเข้าท่วมช่วงวันที่ 10-14 กันยายนที่ผ่านมา
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/mailungkhon-school-book-support/
86.
1 ตุลาคม 2567: เหตุเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม ที่เดินทางมาจากจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีผู้โดยสารเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 38 คน และครู 6 คน รวม 44 คน บนถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า บริเวณหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ระหว่างพานักเรียนไปทัศนศึกษายังศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง ทำให้มีครู-นักเรียนบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/field-trip-bus-fire-01102024-2/
87.
2 ตุลาคม 2567: นักเรียนพยาบาลตั้งแถวด้านหน้าสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อร่วมส่งร่างครู-นักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม ที่เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไฟไหม้กลับภูมิลำเนา หลังจากชันสูตรพิสูจน์เอกลักษณ์เป็นที่เรียบร้อย
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/bus-fire-victims-home/
88.
4 ตุลาคม 2567: น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่มีระดับที่สูงขึ้นและกระจายตัวเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ เช่น สันป่าข่อย, ไนท์บาซาร์, ช้างคลาน, วัดเกต, ถนนเจริญประเทศ, ถนนเจริญเมือง, ถนนเจริญราษฎร์ นอกจากนั้นน้ำยังเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ย่านช้างเผือก ด้านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรมเป็นอย่างมาก
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chiang-mai-floods-impact-tourism-industry/
89.
4 ตุลาคม 2567: ควาญช้างและเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือช้างจากปางช้าง Elephant Nature Park จังหวัดเชียงใหม่ การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากน้ำท่วมสูงและกระแสน้ำไหลเชี่ยว
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/elephant-rescue-severe-flooding-thailand/
90.
7 ตุลาคม 2567: เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือผู้ที่ขับรถลุยน้ำหลังจากไม่สามารถขับไปต่อได้ บริเวณข้างถนนเลียบทางรถไฟ ตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของพื้นที่
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/saraphi-damage-photos/
91.
8 ตุลาคม 2567: เจ้าหน้าที่ของ Elephant Nature Park ร่วมกันเคลื่อนย้ายร่างช้างที่ล้มเนื่องจากเหตุน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มาประกอบพิธีฝัง แสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ช้างเชือกนี้ไม่ใช่ของปางช้าง Elephant Nature Park แต่เป็นของปางช้างแห่งหนึ่งในพื้นที่แม่แตงที่ปางช้างให้การช่วยเหลือเคลื่อนย้ายร่างจากบริเวณ Sunshine for Elephants นำมาฝังในพื้นที่ของ Elephant Nature Park ด้านเจ้าของช้างเปิดเผยว่า ช้างที่ล้มชื่อ ‘พังตามน’ อายุร่วม 70 ปี และมีปัญหาที่ขา ทำให้เดินช้ากว่าช้างเชือกอื่นๆ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/plai-tamon-buried/
92.
10 ตุลาคม 2567: ประชาชนจากหลายชุมชนขนขยะชิ้นใหญ่ที่เสียหายจากน้ำท่วมมาทิ้งที่สวนสาธารณะบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดย อบจ.เชียงใหม่ เปิดให้ใช้เป็นที่พักขยะชั่วคราวก่อนจะนำไปฝังกลบที่บ่อขยะในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chiang-mai-opens-flood-damaged-waste-sites/
93.
11 ตุลาคม 2567: มิน-พีชญา วัฒนามนตรี นักแสดงชื่อดัง แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีถูกระบุว่าเป็นผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรในเครือดิไอคอนกรุ๊ป ธุรกิจขายตรงทางออนไลน์ที่กำลังถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำธุรกิจขณะนี้ โดยพีชญาเริ่มต้นการแถลงข่าวด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจกับผู้เสียหาย ยืนยันไม่ได้นิ่งนอนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/min-peechaya-the-icon-group-11102024/
94.
16 ตุลาคม 2567: ผู้เสียหายจากการร่วมลงทุนกำลังเขียนคำร้องที่สำนักงานใหญ่บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ย่านรามอินทรา ซึ่งใช้เป็นจุดรับเรื่องร้องทุกข์ชั่วคราว ขณะที่ นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และคณะผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจสอบการให้บริการ THE iCON WELLNESS คลินิกเพื่อสุขภาพ หลังจากที่คณะดำเนินการแจ้งความเอาผิด บอสหมอเอก-ดร.ฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กรณีแอบอ้างเป็นแพทย์ตามข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อสาธารณะ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/check-out-the-clinic-the-icon-wellness/
95.
16 ตุลาคม 2567: บอสกันต์-กันต์ กันตถาวร 1 ใน 18 บอส ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวจากคดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ เพื่อเข้ารับการสอบปากคำฐานความผิดฉ้อโกงประชาชนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ หลังมีการประกาศออกหมายจับ 18 ผู้ต้องหา ที่อาคารพิทักษ์สันติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/18-the-icon-group-bosses-detained/
96.
16 ตุลาคม 2567: เจ้าหน้าที่ตำรวจนำทรัพย์สินของผู้ต้องหาจากคดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ทั้งหมดมาตรวจสอบ ทั้งเอกสาร กระเป๋า-เสื้อผ้าแบรนด์เนม ในส่วนของรถยนต์หรูได้จอดเรียงไว้ที่ลานด้านหน้าของอาคารที่ทำการสอบสวน
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/18-the-icon-group-bosses-detained/
97.
18 ตุลาคม 2567: ตำรวจคุมตัว บอสพอล-วรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้บริหารบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ออกจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ไปส่งตัวฝากขังที่ศาลอาญา
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/boss-paul-detained-no-bail/
98.
24 ตุลาคม 2567: แบรด บินเดอร์ และ แจ็ค มิลเลอร์ นักบิดสังกัด Red Bull KTM Factory Racing ร่วมกิจกรรมประลองนอกสนามสไตล์ไทยก่อนจะเปิดศึก Thailand Grand Prix ที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยบินเดอร์และมิลเลอร์ขับรถกระแทะซิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากรถลากข้าวด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในสนามแข่งชั่วคราวที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อโคลน บินเดอร์เอาชนะรอบแรกไปได้อย่างสะบักสะบอม ส่วนมิลเลอร์คว้าชัยชนะรอบที่สองในการแข่งขันความเร็ว
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/red-bull-ktm-factory-racing-form/
99.
27 ตุลาคม 2567: ก้อง-สมเกียรติ จันทรา นักขับชาวไทยของอิเดมิตสึ ฮอนด้า ทีมเอเชีย ฉลองการจบอันดับที่ 4 ในรุ่น Moto2 ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ ที่ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ หลังออกสตาร์ทจากกริด 13 และเป็นการแข่งขัน Moto2 ครั้งสุดท้ายที่ไทย ก่อนจะขึ้นไปขับรุ่น MotoGP เริ่มต้นเรซแรกในฤดูกาล 2025 ร่วมกับ โยฮันน์ ซาร์โก นักขับรุ่นพี่ชาวฝรั่งเศส ในทีมแอลซีอาร์ ฮอนด้า
ภาพ: ดิษยุตม์ ธนบุญชัย
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/somkiat-moto2-thailand-gp-performance/
100.
27 ตุลาคม 2567: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยเสด็จในการนี้ด้วย
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/thai-king-queen-royal-barge-wat-arun/
101.
7 พฤศจิกายน 2567: ทนายตั้ม-ษิทรา เบี้ยบังเกิด ถูกนำตัวมาที่กองบังคับการปราบปราม หลังถูกจับกุมในคดีลวงเงิน เจ๊อ้อย-จตุพร อุบลเลิศ ตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.5337/2567 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ข้อหาฉ้อโกง ฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และสมคบฟอกเงิน รวมถึงจับกุม ปทิตตา เบี้ยบังเกิด ภรรยาของษิทรา ตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.5338/2567 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ข้อหาร่วมกันฟอกเงิน หลังพบหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีดังกล่าว
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/lawyer-tum-case-07112024/
102.
14 พฤศจิกายน 2567: บรรยากาศวันแรกของงานลอยกระทงดิจิทัล 2024 โดยสยามดิสคัฟเวอรี่, กรุงเทพมหานคร และองค์กรพันธมิตร ร่วมจัดงานลอยกระทงดิจิทัลขึ้น เพื่อเสนอการลอยกระทงทางเลือกที่นอกจากได้ร่วมอนุรักษ์ประเพณีไทยแบบรักษ์โลก ทุกคนยังสามารถสร้างสรรค์กระทงดิจิทัลด้วยตัวเองและลอยในรูปแบบ Projection Mapping ณ สกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน จุดแลนด์มาร์กของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เป็นจุดถ่ายภาพฮอตฮิต งานลอยกระทงดิจิทัลได้รับคัดเลือกให้รับรางวัล Asia’s Pinnacle Awards สาขา Best Eco-Friendly Festival จากสมาคม IFEA Asia หรือสมาคม The International Festivals and Events Association (สมาคมเทศกาลและกิจกรรมระหว่างประเทศ) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/digital-loy-krathong-2024/
103.
16 พฤศจิกายน 2567: ควันหลงจากประเพณีลอยกระทงที่จังหวัดชุมพร หลังจากพบว่าในหลายพื้นที่ยังมีการลอยกระทงในทะเล เช่น หาดหน้าทับ ตำบลบางสน อำเภอปะทิว และท่าเทียบเรือสะพลี ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว ซึ่งหลังผ่านมาแล้ว 1 คืนพบว่าบริเวณริมหาดเต็มไปด้วยซากกระทงและขยะซึ่งเป็นวัสดุต่างๆ ที่นำมาทำกระทง ก่อนหน้านี้ เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอความร่วมมือประชาชนงดลอยกระทงในทะเล เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้นไม่ใช่การขอขมาตามประเพณีไทย แต่เป็นการฆ่าท้องทะเล โดยขอให้ทุกคนร่วมรักษ์โลกไปด้วยกัน
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/chumphon-beach-krathong-waste/
104.
20 พฤศจิกายน 2567: ความน่ารักของ ‘เอวา’ เสือโคร่งสีทองอายุ 3 ขวบ เพศเมีย ดาวเด่นแห่งเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มีเอกลักษณ์โดดเด่นจากขนลายสีส้มเข้มสดใส ซึ่งมาพร้อมลักษณะท่าทางขี้เล่น สำหรับเสือโคร่งสีทองหรือเสือโคร่งสตรอว์เบอร์รีเป็นเสือที่มีสีที่หายาก เกิดขึ้นจากยีนด้อยที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสีของขนบนร่างกาย โดยเสือชนิดนี้มีประมาณ 50-100 ตัวในโลกเท่านั้น
ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/nong-ava-strawberry-tiger-cub/
105.
24 พฤศจิกายน 2567: พล.อ.หญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงนำการซ้อมสวนสนามของทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และทหารรักษาพระองค์สามเหล่าทัพ ในตำแหน่ง ‘องค์ผู้บังคับกองผสม’ โดยกองทัพไทยจัดการซักซ้อมพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นการซักซ้อมใหญ่ครั้งที่ 1 เพื่อความพร้อมเพรียงและความสมบูรณ์ของลำดับพิธีก่อนถึงวันประกอบพิธีจริงในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/her-majesty-queen-suthida-bajrasudhabimalala-leads-royal-parade-rehearsalkshana/
106.
29 พฤศจิกายน 2567: เกิดเหตุตัวยกแผ่นปูน (ทรัส) ที่ใช้สร้างทางต่างระดับถนนพระราม 2 ถล่มบริเวณกิโลเมตร 21+100 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พื้นที่มหาชัยเมืองใหม่) จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ โดยการก่อสร้างบริเวณดังกล่าวเป็นตอนที่ 1 ของโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว มีระยะทางรวมประมาณ 2 กิโลเมตร จุดที่เกิดเหตุก่อสร้างมาแล้วประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/worker-fatalities-rama-2-road/
107.
30 พฤศจิกายน 2567: พล.อ.หญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงม้านำขบวนกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ในตำแหน่ง ‘องค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์’ โดยกองทัพไทยจัดการซักซ้อมพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณของทหารรักษาพระองค์ ที่พระลานพระราชวังดุสิต ซึ่งในวันนี้เป็นการซักซ้อมใหญ่ครั้งที่ 2 เพื่อความพร้อมเพรียงและความสมบูรณ์ของลำดับพิธีก่อนถึงวันประกอบพิธีจริงในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567
ภาพ: ฐานิส สุดโต
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/queen-sutida-princess-sirivannavari-30-11-2567/
108.
1 ธันวาคม 2567: สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงร่วมวิ่งระยะทาง 10 กิโลเมตร โดยมี เอเลียด คิปโชเก ตำนานนักวิ่งมาราธอนโลกร่วมวิ่ง ในการแข่งขันวิ่งมาราธอนส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับโลก ครั้งที่ 7/2567 รายการ Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024 ‘วิ่งผ่าเมือง’ ในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันมากเป็นประวัติการณ์กว่า 33,000 คน จาก 77 ประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่น้อยกว่า 650 ล้านบาท
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/queen-sutida-atmbkk-2024/
109.
1 ธันวาคม 2567: คีริน ตันติเวทย์ โชว์ฟอร์มยอดเยี่ยมในการวิ่ง 10 กิโลเมตรของ ‘วิ่งผ่าเมือง’ หรือ Amazing Thailand Marathon Bangkok 2024 หลังเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก ด้วยเวลา 29 นาที 6 วินาที หรือวิ่งเฉลี่ย Pace 2.55 โดยเวลาดังกล่าวกลายเป็นสถิติใหม่ของประเทศไทยด้วย
ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/queen-eliud-kipchoge-running-event-bangkok/
110.
3 ธันวาคม 2567: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ราชวัลลภเทิดไท้จอมราชา 72 พรรษามหามงคล ณ พระลานพระราชวังดุสิต
ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://thestandard.co/first-military-parade-and-oath-taking-ceremony-of-this-reign/