×

ปาร์ตี้ปีใหม่ มีแอลกอฮอล์และของปิ้งย่าง ระวังโรคแฝงโดยไม่รู้ตัวนะ [Advertorial]

10.01.2019
  • LOADING...

แม้จะผ่านพ้นปีใหม่มาแล้ว แต่เชื่อว่าใครหลายคนยังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการสังสรรค์ เทศกาลแห่งความสุขเป็นช่วงที่เรามักเผลอปล่อยตัวปล่อยใจไปการเฉลิมฉลอง กินดื่มจนหลงลืมดูแลสุขภาพพลานามัย ไหนจะแอลกอฮอล์ ไหนจะของปิ้งย่าง รู้ตัวอีกที เอ๊ะ! ทำไมร่างกายฉันเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ อาจเป็นโรคแฝงที่เกิดจากการเผลอกินอาหารตามใจปากก็เป็นได้ และนี่คือ 3 โรคภัยเงียบที่มักมาพร้อมกับงานปาร์ตี้

 

 

ภาวะพิษจากโลหะหนักที่มาพร้อมกับอาหารทะเล

โรคแรกที่เราอยากให้ระวังคือ ‘ภาวะพิษจากโลหะหนัก’ ซึ่งมักแฝงมากับอาหารทะเล โลหะหนัก (Heavy Metal) คือกลุ่มธาตุที่มีความหนาแน่นมากกว่า 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความถ่วงจำเพาะสูงกว่า 4 เช่น ทองแดง, ตะกั่ว, ปรอท, โครเมียม, แคดเมียม, ทังสเตน เป็นต้น มีคุณสมบัติเด่นคือ มีความคงตัวสูง ไม่สลายไปตามธรรมชาติง่ายๆ สารจำพวกโลหะหนักที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมจึงมักสะสมในแหล่งน้ำ แหล่งดิน และอากาศ และเข้าสู่ร่างกายเราโดยไม่รู้ตัว พิษจากโลหะหนักจะแสดงอาการรุนแรงกว่าโลหะทั่วไป แรกเริ่มอาจทำให้เซลล์ตาย ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง แต่หนักเข้าก็อาจทำความเสียหายแก่โครโมโซมและเปลี่ยนแปลงการทำงานของพันธุกรรมได้ ใครที่ชอบกินอาหารทะเล โดยเฉพาะ กุ้ง หอย อาจต้องพึงระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นสัตว์ที่อยู่ติดดินติดทรายในแหล่งน้ำ แม้ตอนนี้คนเป็นภาวะพิษยังมีไม่มากนัก ทว่ามีเพิ่มขึ้นทุกปี โรคนี้ไม่มีอาการบอกล่วงหน้า เป็นทีคือหนักหน่วง ดังนั้นเราจึงควรระวังในการเลือกซื้อและบริโภค

 

 

โรคมะเร็งจากกิจกรรมปิ้งย่าง

อาหารปิ้งย่างเป็นหนึ่งในเมนูยอดฮิตที่คนไทยนิยมรับประทานกันในช่วงวันหยุดและเทศกาลสังสรรค์ ด้วยเป็นกิจกรรมหมู่คณะ ปิ้งไปย่างไป จิบเครื่องดื่มไปพลางๆ พูดคุยเฮฮากันได้เรื่อยๆ แต่ถึงแม้จะเพลิดเพลินอย่างไร การบริโภคอาหารปิ้งย่างบ่อยครั้งเข้าย่อมก่อให้เกิดโรคตามมา นั่นคือโรคมะเร็ง แม้ไม่มีใครกินเมนูปิ้งย่างและเป็นมะเร็งจริงๆ ทว่าอาหารประเภทนี้ก็เป็นแหล่งกระตุ้นเซลล์มะเร็งชั้นดีถึง 2 ตัว หนึ่งคือสารในกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons หรือ PAH) พบในควันที่เกิดจากไขมันสัตว์ที่โดนความร้อนสูง มีความสามารถในการก่อมะเร็งได้ไม่แพ้ควันบุหรี่เลยทีเดียว สองคือสารในกลุ่มเอมีนส์ (Heterocyclic Amines) พบมากในเนื้อแดงที่ถูกความร้อนสูง และมีงานวิจัยพบว่าเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน ทุกครั้งที่เราวางเนื้อติดมันย่างลงกระทะ เรากำลังปรนเปรอเซลล์มะเร็งให้เกิดแก่ตัวเรา (แม้ว่าจะไม่ได้กินส่วนไหม้เกรียมก็ตาม) ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะ หรือมะเร็งปอด ฯลฯ

 

วิธีดูแลเบื้องต้นคือ เลือกสถานที่ปิ้งย่างที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หรือมีเครื่องดูดควันคุณภาพสูง ลดการกินอาหารแปรรูปจำพวกไส้กรอก แฮม หมักเนื้อสัตว์ด้วยสมุนไพร อาทิ น้ำมะนาว สะระแหน่ มินต์ โรสแมรี สมุนไพรเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดของสารก่อมะเร็งในกลุ่มเอมีนส์ และอย่าลืมบริโภคผักสดควบคู่ด้วยเสมอเพื่อเพิ่มสารอาหารและวิตามิน

 

 

โรคไข้หูดับ

อีกโรคที่คนชอบกินปิ้งย่างหรืออาหารอีสานเสี่ยงที่จะเป็นแต่เรากลับไม่รู้ตัวคือ ไข้หูดับ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากการติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ จากการสัมผัสหมูที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นสุกรตัวเป็นๆ เนื้อหมู เครื่องในหมู หรือเลือดของหมูที่เป็นโรค โดยติดต่อจากบาดแผลและรอยขีดข่วนตามร่างกาย อีกทางคือติดต่อผ่านทางการบริโภค โดยเฉพาะเมนูกึ่งสุกกึ่งดิบ ลาบ ก้อย เมนูปิ้งย่าง จิ้มจุ่มต่างๆ

 

อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าในร่างกาย จะป่วยหลังติดเชื้อประมาณ 3-5 วัน อาการที่พบคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูดับ ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เผยว่า คนไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปีในช่วงเดือนเทศกาล โดยร้อยละ 83 เป็นผู้ใหญ่ กลุ่มวัยทำงาน และผู้สูงอายุ ฉะนั้นไม่ว่าจะสังสรรค์ด้วยเมนูใด ควรล้างให้สะอาดและปรุงให้สุกก่อนบริโภค

 

แม้ว่างานปาร์ตี้แต่ละครั้งจะเสี่ยงก่อให้เกิดโรคต่างๆ แต่ใช่ว่าเราจะสังสรรค์รื่นเริงไม่ได้เสียทีเดียว เพียงแต่รู้จักเลือกกินของคุณภาพมาตรฐาน หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เลือกกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น รวมทั้งกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วอย่าลืมใส่ใจและวางแผนสุขภาพของตัวเองด้วยการทำประกันสุขภาพเผื่อไว้ด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการเงิน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่รู้ตัวจากการเผลอกินอาหารตามใจปากโดยไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพของตัวเอง

 

AIA H&S Extra คือประกันที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลสำหรับทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยในที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Case)* โดยมีเงินคืนพิเศษสูงสุด 28% หากไม่มีการเคลม** ในกรณีการเสียชีวิต AIA H&S Extra ก็ยังมีเงินช่วยเหลือให้อีกด้วย แล้วยังถูกใจวัยทำงานด้วยการนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ สมัครง่ายๆ ได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือนไปจนถึง 70 ปี ทำให้คุณไม่ต้องปวดหัวหรือปวดใจกับค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพ AIA H&S Extra ได้ที่ตัวแทนเอไอเอ และ campaigns.aia.co.th/HSX หรือ โทร. 1581 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

*กรณีการรักษาแบบ Day Case ที่จะเข้าเกณฑ์การคุ้มครองตามกำหนดของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกอบด้วย

1. การสลายนิ่ว

2. การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี

3. การผ่าตัดต้อกระจก

4. การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด

5. การตรวจโดยการส่องกล้องทุกชนิด

6. การผ่าตัดหรือเจาะไซนัส

7. การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก

8. การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม

9. การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก

10. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใดๆ

11. การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า

12. การจัดกระดูกให้เข้าที่

13. การเจาะตับ

14. การเจาะไขกระดูก

15. การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง

16. การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด

17. การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง

18. การขูดมดลูก

19. การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก

20. การรักษา Bartholin’s Cyst

21. การรักษาด้วยรังสีแกมมา

 

**เงินคืนพิเศษสูงสุด 28% คำนวณจากอัตราเบี้ยประกันภัยของแผน 2500 เพศชาย อายุ 21-25 ปี

 

ภาพ: Shutterstock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising