×

น้ำท่วมดูไบสะท้อน ‘ความล้มเหลวโลก’ ด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือ Climate Change

22.04.2024
  • LOADING...
ดูไบ

เว็บไซต์ข่าวสถานีโทรทัศน์ CNBC รายงานรวบรวมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งที่ออกมาแสดงความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมใน ดูไบ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าวิศวกรรมเมือง หรือ Urban Engineering ที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ ไม่มีศักยภาพและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ในโลกที่เต็มไปด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เพิ่มมากขึ้น

 

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ปัญหาใหญ่ของดูไบในเวลานี้ก็คือไม่ว่าสภาพแวดล้อมในเมืองจะมีการขยายตัวและทันสมัยมากเพียงใดก็ตาม แต่ดูไบกลับไม่มีที่เพียงพอสำหรับการรองรับน้ำทั้งหมดในกรณีที่มีน้ำมามากเกินไป เช่น เหตุการณ์พายุฝนถล่มรุนแรงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ 

 

ขณะเดียวกัน ดูไบยังสะท้อนให้เห็นภาพของเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 20 แต่กลับส่งผลให้เกิดการปิดกั้นระบบการดูดซึมน้ำตามธรรมชาติ ขณะที่จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนำมาซึ่งปริมาณขยะที่มากขึ้น และความท้าทายในเรื่องของการจัดการขยะเพื่อไม่ให้ขัดขวางทางระบายน้ำ

 

เรียกได้ว่าความท้าทายในการระบายน้ำจะยังคงสร้างความเสียหายให้กับเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก เช่น ดูไบ ที่ต้องเผชิญกับฝนตกหนักบ่อยครั้งมากขึ้น

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 เมษายน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับปริมาณน้ำฝนมากกว่า 10 นิ้วในบางพื้นที่ และประมาณครึ่งหนึ่งของระดับนั้นอยู่ในดูไบ ซึ่งเท่ากับปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าฝนที่ตกบ่อยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์น่าจะเลวร้ายยิ่งขึ้นในปีต่อๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักในแต่ละวัน

 

เป็นที่รู้กันดีว่าดูไบคือเมืองที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ทะเลทราย ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ช่วยให้น้ำซึมลงดินได้อย่างง่ายดาย แต่ด้วยการเทคอนกรีตจำนวนมหาศาลลงบนภูมิประเทศตามธรรมชาติของดูไบ นักพัฒนาสามารถปิดกั้นดินจากการดูดซับน้ำได้ชะงัด ปริมาณน้ำฝนในสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นปริมาณน้ำฝนที่ใหญ่ที่สุดที่บันทึกไว้นับตั้งแต่ประเทศเริ่มเฝ้าระวังในปี 1949

 

Ana Arsky ซีอีโอของสตาร์ทอัพด้านสิ่งแวดล้อม 4 Habitos Para Mudar o Mundo หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ กล่าวว่า UAE มีแหล่งระบายน้ำตามธรรมชาติที่นำน้ำโดยตรงไปยังชั้นหินอุ้มน้ำ แล้วจึงเข้าไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แต่พอจัดการเทปูนลงไป แหล่งระบายน้ำที่ว่านั้นก็ไม่มีอีกต่อไปแล้ว 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเชื่อมโยงกับแนวโน้มการขยายตัวของเมืองทั่วโลกทำให้เกิดขยะ และถึงแม้ขยะจะไม่ปรากฏให้เห็นตามท้องถนนในดูไบ แต่ขยะก็ต้องไปที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งมักจะไปจบลงที่สถานที่ที่ไม่ค่อยเหมาะนัก ผลิตภัณฑ์พลาสติกดูดซับน้ำได้ไม่ดี และเมื่อถูกฝังกลบทั่วโลก กองขยะจำนวนมหาศาลมีส่วนช่วยในการสำรองระบบระบายน้ำตามธรรมชาติทั่วโลก

 

ไม่เพียงแต่เมืองสร้างใหม่อย่างดูไบเท่านั้นที่ประสบปัญหาการระบายน้ำ เพราะแม้แต่เมืองเก่าแก่อย่างนิวยอร์กที่มีระบบระบายน้ำที่จัดตั้งขึ้นก็ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน เนื่องจากชาวนิวยอร์กค้นพบเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วจากเหตุน้ำท่วมโรงเรียน ถนน และบ้านเรือน รวมถึงบริการรถไฟใต้ดินและรถไฟต้องหยุดชะงักหลังจากฝนตกเพียงวันเดียว ว่าหากไม่มีการเตรียมการที่เหมาะสม ท่อระบายน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งเต็มไปด้วยเศษขยะและมลพิษจะไม่สามารถดูดซับน้ำที่เพิ่มขึ้นได้จนทำให้เกิดน้ำท่วมในที่สุด

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าน้ำท่วมในดูไบครั้งนี้คือสัญญาณและข้อความเตือนสำคัญที่ส่งตรงถึงเมืองต่างๆ ทั่วโลกให้เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้งมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยผลักดันสำคัญในการหาโซลูชันที่เหมาะสมกับแต่ละเมือง

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising