×

สภาล่างสหรัฐฯ ผ่านงบกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 3 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ยังต้องรอวุฒิสภาอนุมัติ, ประธาน Fed คาด GDP สหรัฐฯ หด 30% ก่อนฟื้นปลายปี 2021: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (18 พ.ค. 2563)

โดย FINNOMENA
18.05.2020
  • LOADING...

– วันนี้ไทยมีกำหนดประกาศ GDP ประจำไตรมาส 1/20 ซึ่งคาดว่าจะหดตัว -4.0% (YoY) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.6% (YoY) สืบเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยว และอุปสงค์สินค้าจากประเทศไทยลดลง เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่มีกำหนดประกาศ GDP ซึ่งคาดว่าจะหดตัว -4.6% (YoY) โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 แต่ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ -7.3% 

 

– เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวว่า GDP ไตรมาส 2/20 ของสหรัฐฯ อาจหดตัวลง 30% แต่จะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรง (Depression) โดยเชื่อว่า ความหลากหลายทางเศรษฐกิจของอเมริกาและระบบการเงินที่แข็งแกร่งจะช่วยลดความตึงตัวของเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการฟื้นตัวกลับมาได้ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการพัฒนาวัคซีนให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะฟื้นตัวได้โดยสมบูรณ์ พร้อมระบุว่า หากไม่มีการระบาดระลอกที่ 2 เศรษฐกิจอเมริกาจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมาในช่วงท้ายปี 2021

 

– สำนักงานคณะผู้แทนถาวรจีนประจำสหประชาชาติ (UN) ออกแถลงการณ์ระบุว่า สหรัฐฯ ค้างชำระเงินงบประมาณส่วนกลางและกองทุนภารกิจรักษาสันติภาพกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สร้างความตึงเครียดขึ้นระหว่าง 2 ประเทศอีกครั้ง

 

– อี้ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) เผยแพร่บทความระบุว่า PBOC จะให้ความสำคัญมากขึ้นกับนโยบายการเงินในด้านความยืดหยุ่นของนโยบาย พร้อมๆ กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ผ่านทางการใช้นโยบายการเงินต่างๆ และจะปรับปรุงนโยบายต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโควิด-19 ของรัฐบาลจีน

 

– สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติร่างกฎหมายเงินช่วยเหลือมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยคะแนนเสียง 208 ต่อ 199 เสียง อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวยังคงต้องได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะพบกับอุปสรรคเนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลีกันครองเสียงข้างมากอยู่ 

 

ภาวะตลาดวานนี้

– ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์และทาง Fed เชื่อมั่นว่า หากไม่มีการระบาดรอบ 2 เศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาอีกครั้ง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นเช่นกันจากความคาดหวังที่เศรษฐกิจโลกจะกลับมาฟื้นฟูเร็วๆ นี้

 

– สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นหลังการคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่ด้านอุปทานลดลงจากการลดกำลังผลิตในหลายๆ ประเทศ ด้านสัญญาทองคำปรับตัวขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนอาจปะทุเป็นสงครามการค้าอีกรอบ สร้างความกังวลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลดังกล่าว

 

สหรัฐฯ

– Dow 30 อยู่ที่ 23685.42 เพิ่มขึ้น 60.08 (0.25%)

– S&P 500 อยู่ที่ 2863.7 เพิ่มขึ้น 11.2 (0.39%)

– Nasdaq อยู่ที่ 9014.56 เพิ่มขึ้น 70.84 (0.79%)

 

ยุโรป

– DAX อยู่ที่ 10465.17 เพิ่มขึ้น 128.15 (1.24%)

– FTSE 100 อยู่ที่ 5799.77 เพิ่มขึ้น 58.23 (1.01%)

– Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 2770.7 เพิ่มขึ้น 10.47 (0.38%)

– FTSE MIB อยู่ที่ 16852.35 ลดลง -15.41 (-0.09%)

 

เอเชีย

– Nikkei 225 อยู่ที่ 20037.47 เพิ่มขึ้น 122.69 (0.62%)

– S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5404.8 เพิ่มขึ้น 76.1 (1.43%)

– Shanghai อยู่ที่ 2868.46 ลดลง -1.88 (-0.07%)

– SZSE Component อยู่ที่ 10964.89 เพิ่มขึ้น 2.74 (0.03%)

– China A50 อยู่ที่ 13328 ลดลง -58.39 (-0.44%)

– Hang Seng อยู่ที่ 23797.47 ลดลง -32.27 (-0.14%)

– Taiwan Weighted อยู่ที่ 10814.92 เพิ่มขึ้น 34.04 (0.32%)

– SET อยู่ที่ 1280.76 เพิ่มขึ้น 0.36 (0.03%)

– KOSPI อยู่ที่ 1927.28 เพิ่มขึ้น 2.32 (0.12%)

– IDX Composite อยู่ที่ 4507.61 ลดลง -6.23 (-0.14%)

– BSE Sensex อยู่ที่ 31097.73 ลดลง -25.16 (-0.08%)

– PSEi Composite อยู่ที่ 5541.95 ลดลง 0 (0%)

 

Commodity

– ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 29.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.37 (1.46%)

– ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 32.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.04 (0.14%)

– ราคาทองคำ อยู่ที่ 1743 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เพิ่มขึ้น 16.04 (0.94%)

 

FINNOMENA

 

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • Reuters

 

 

 


ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising