×
SCB Omnibus Fund 2024

ที่ทำงานเก่าที่โปรด! พฤติกรรม ‘พนักงานบูมเมอแรง’ ที่ลาออกและกลับมาใหม่อีกครั้ง และรับเงินเดือนแบบยิ่งใหญ่กว่าเดิม

05.10.2022
  • LOADING...
พนักงานบูมเมอแรง

ในตอนนี้พนักงานที่ได้รับการขึ้นเงินเดือนเยอะที่สุด และได้รับการปรับตำแหน่งที่ดีที่สุด อาจไม่ใช่พนักงานที่ลาออกและไปหางานใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นพนักงานที่ลาออกไปแล้ว แต่ลาออกจากงานที่ใหม่ และวนกลับมาทำงานที่เก่าอีกครั้ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ตั้งชื่อให้กับพนักงานเหล่านี้ว่า ‘พนักงานบูมเมอแรง’

 

ตามข้อมูลของ Visier ที่มีข้อมูลพนักงาน 3 ล้านคนในบริษัท 129 แห่งทั่วโลก ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2022 พบว่า พนักงานบูมเมอแรงจะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 28% หลังจากกลับมาทำงานที่เก่า เมื่อเทียบกับค่าจ้างของพวกเขาในเวลาที่เคยลาออก อัตราการเติบโตของเงินเดือนนั้นพุ่งสูงกว่ากลุ่มพนักงานที่เปลี่ยนงานบ่อยเสียอีก ตามรายงานของ Pew Research Center พนักงานที่เปลี่ยนงานบ่อยนั้นได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นแค่ 10% เท่านั้นเอง 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


พนักงานบูมเมอแรงส่วนใหญ่ลาออกจากที่ทำงานเก่าเพื่อตามหาโอกาสใหม่ แต่เมื่อพวกเขาไม่เห็นโอกาสอะไรเลย ก็ตัดสินใจเหวี่ยงตัวเองกลับมาที่เดิม โดยเฉลี่ยพนักงานบูมเมอแรงมักจะกลับมาทำงานที่เก่าภายใน 13 เดือน หลังจากตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเก่า

 

Andrea Derler หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ Visier กล่าวว่า พนักงานบูมเมอแรงไม่ได้แค่ยกระดับเงินเดือนตัวเองเท่านั้น แต่ยังได้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับเพิ่มด้วย และยิ่งไปกว่านั้น การลาออกและกลับมาใหม่อีกครั้งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการก้าวกระโดดไปบนพีระมิดของเส้นทางการงานด้วย เพราะ 40% ของพนักงานบูมเมอแรงถูกจ้างกลับมาในตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างตำแหน่งผู้จัดการ แม้ว่าตอนที่พวกเขาลาออกไปจะอยู่ในตำแหน่งพนักงานธรรมดาก็ตาม

 

เหตุผลที่พนักงานบูมเมอแรงตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเก่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องของโอกาส ไม่ว่าจะเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน หรือบางคนก็แค่อยากมองหาโอกาสใหม่ บางคนก็เป็นเพราะพวกเขามองไม่เห็นโอกาสและอนาคตกับที่นี่อีกต่อไป และยังมีเหตุผลเล็กน้อยอย่างการได้รับเงินเดือนที่น้อยกว่าหน้าที่ หรือการเดินทางไป-กลับออฟฟิศที่เหนื่อยล้าจนเกินไปอีกด้วย

 

ส่วนเหตุผลที่พวกเขาลาออกจากที่ทำงานใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาเสียดายที่ลาออกจากที่ทำงานเก่า แทนที่จะรู้สึกตื่นเต้นและพร้อมจะทำงานกับโอกาสใหม่ พวกเขากลับรู้สึกคิดถึงพื้นที่ที่คุ้นเคยมากกว่า หรือบางคนก็เป็นเพราะงานใหม่ไม่ตรงกับที่ใจคิด รวมไปถึงเหตุผลอย่างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เข้ากับพวกเขา

 

Derler กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงานเป็นเหตุผลหลักที่พนักงานเหล่านี้จะกลับมาซบอกที่ทำงานเก่าอีกครั้ง มันฟังดูเหมือนเป็นหน้าที่ของแผนกบุคคล แต่แท้จริงแล้วเป็นหน้าที่ของผู้จัดการที่จะคอยดูแลพนักงานเหล่านี้ในช่วงปีแรกของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องงาน เรื่องวัฒนธรรมองค์กร หรือเรื่องสังคมในที่ทำงาน

 

เธอยังเสริมอีกว่า องค์กรต่างๆ ควรให้ผลตอบแทนกับพนักงานที่มีทักษะสูง ถ้าองค์กรต้องการรักษาพวกเขาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเงินเดือนเพิ่ม หรือปรับตำแหน่งอย่างน้อยทุก 2 ปี

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising