×

JobsDB ชี้ ปี 2023 ยังคงเป็นปีทองของ ‘คนหางาน’ กว่า 49% กำลังมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจหรือสูงขึ้น โดย 30% เผย การขาดโอกาสก้าวหน้าเป็นแรงผลักให้หางานใหม่

07.03.2023
  • LOADING...

SEEK บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มหางานออนไลน์ JobStreet และ JobsDB คาดการณ์ว่าตลาดแรงงานในปี 2023 จะยังคงเป็นตลาดของผู้สมัครงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเริ่มชะลอตัวก็ตาม 

 

การสำรวจครั้งนี้มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามรวม 97,324 คน จากอินโดนีเซีย ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

โดยพบว่า 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังมองหางานใหม่ ทั้งนี้ เหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ผู้สมัครงานเริ่มมองหางานใหม่คือ ต้องการมองหาตำแหน่งที่น่าสนใจกว่าหรือตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม (49%), งานที่ทำอยู่ปัจจุบันมีโอกาสในการเติบโตน้อย (30%) และเงินเดือนและสวัสดิการในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ (27%)  

 

โดยจากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจที่จะมองหาโอกาสใหม่ๆ แม้จะกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังรู้ว่าพวกเขายังคงเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการอยู่ 

 

จากการสำรวจพบว่า 74% ของผู้สมัครงานทั่วภูมิภาคได้รับการติดต่อเรื่องตำแหน่งงานใหม่ๆ ปีละหลายครั้ง และ 36% ได้รับการติดต่อทุกเดือน สำหรับในประเทศไทย ตัวเลขเหล่านี้ค่อนข้างสูงอยู่ที่ 68% และ 34% ตามลำดับ นอกจากนี้ 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคนี้ และ 68% ของไทย รู้ว่าอำนาจในการเจรจาต่อรองในตำแหน่งงานต่างๆ ยังคงเป็นของพวกเขาเช่นกัน  

 

“ผลสำรวจนี้ยังพบว่า ถึงแม้บริษัทเทคโนโลยีในภูมิภาคและทั่วโลกจะมีการเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก แต่ความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่มีความสามารถก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสังเกตของ SEEK เกี่ยวกับโฆษณางานสำหรับตำแหน่งงานด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นถึง 29% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (2021 เทียบกับ 2022) โดยอิงตามข้อมูลจากแพลตฟอร์ม JobStreet และ JobsDB ของเรา” Peter Bitos ประธานกรรมการบริหาร SEEK Asia กล่าว 

 

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (71%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงกล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคืองานที่มั่นคงและความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน เช่นเดียวกับผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยจำนวน 77% ที่ต้องการสิ่งเดียวกัน โดยความต้องการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกันจากผู้สมัครที่ร่วมตอบแบบสำรวจในทุกตำแหน่งงาน ทุกตลาด และทุกช่วงอายุ 

 

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับปัจจัยชี้ขาดที่ผู้สมัครงานใช้ตัดสินใจเมื่อหางานใหม่ โดยผู้สมัครงานมองว่าความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (17%) เป็นปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญรองจากค่าตอบแทนทางการเงิน (22%) นอกจากนี้ จำนวนวันลาหยุดและความมั่นคงของงานเป็นปัจจัยชี้ขาดอันดับสามที่ผู้สมัครงานให้ความสำคัญ 

 

“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เป็นเหมือนการปลุกให้หลายคนได้ตื่นขึ้น ทุกวันนี้เราเริ่มก้าวเข้าสู่ยุค ‘The Great Reconfiguration’ ผู้สมัครงานกำลังปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานและชีวิตส่วนตัว โดยพวกเขาให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัวและความยืดหยุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็มองหาผู้สมัครงานที่มีทักษะที่แตกต่าง และยังคงเน้นที่ทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ต้องการดึงดูดคนเก่ง คนมีทักษะ ก็จะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของคนหางานที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

สำหรับประเทศไทย ผู้สมัครงานมากถึง 72% ต้องการการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 18% และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง 10% 

 

ทั้งนี้ ตลาดแรงงานไทยนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ตำแหน่งงานที่ได้รับการเสนองานบ่อยเป็นอันดับ 1 ไม่ใช่สายงานด้านไอที แต่เป็นสายงานผู้ใช้แรงงาน (58%) และภาคธุรกิจบริการ (57%) 

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงต้องการบุคลากรในสายงานไอทีเป็นจำนวนมาก สะท้อนจากจำนวนการเสนองานต่อสัปดาห์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมล้วนปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน 

 

การสำรวจนี้ยังได้หักล้างและพิสูจน์ความเชื่อผิดๆ ในการจัดหางานหลายประการ รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้สมัครงานต้องการบนเส้นทางการสมัครงาน ตัวอย่างเช่น 

 

  • กระบวนการสรรหาที่ราบรื่นและรวดเร็ว เป็นปัจจัยอันดับแรกที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ประกอบการในระหว่างกระบวนการการคัดสรรบุคลากร (67%) และ 49% ของผู้สมัครงานจะปฏิเสธข้อเสนองานที่น่าดึงดูด หากพวกเขาเผชิญกับประสบการณ์เชิงลบ  
  • แพลตฟอร์มการจัดหางานเป็นช่องทางยอดนิยมที่ใช้ในการสมัครงาน ในขณะเดียวกันคำแนะนำของเพื่อนก็ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกระตุ้นความสนใจคนที่ไม่ได้กำลังมองหางานให้เริ่มหางาน อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศไทย การติดต่อส่วนตัวจากคนในแวดวงอาชีพเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกระตุ้นความสนใจ และหากพวกเขาเกิดความสนใจแล้ว ส่วนใหญ่มักจะหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ของบริษัทต่อไป   
  • เครื่องมือดิจิทัลเพื่อช่วยในการคัดสรรพนักงานที่ล้ำสมัยในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแม้กระทั่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ หลายคนชอบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในช่วงกระบวนการคัดสรรบุคลากร โดยมีเพียง 24% ที่ระบุว่ารู้สึกสบายใจกับการเข้าร่วมการสัมภาษณ์อัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการสัมภาษณ์ 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising