×

นักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐฯ ห่วงปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ บีบเฟดขึ้นดอกเบี้ย ลามสู่วิกฤตหนี้ที่อยู่ระดับสูง

23.03.2021
  • LOADING...
นักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐฯ ห่วงปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ บีบเฟดขึ้นดอกเบี้ย ลามสู่วิกฤตหนี้ที่อยู่ระดับสูง

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ระดับแนวหน้าจำนวน 205 คนของ National Association for Business Economics เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่กังวลต่อความเสี่ยงของปัญหาเงินเฟ้อที่อาจกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือชะลอการซื้อคืนพันธบัตรเร็วกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยเกือบครึ่งเห็นว่าเฟดจะชะลอมาตรการกระตุ้นภายในสิ้นปี 2022 ขณะที่อีก 40% มองว่าเฟดน่าจะเริ่มชะลอมาตรการกระตุ้นในช่วงปี 2023

 

นอกจากนี้ แม้ 40% ของนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าการออกมาตรการเยียวยาชุดใหญ่ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่อาจวางใจได้ เพราะปัจจัยเงินเฟ้อที่จะส่งผลต่อการขึ้นดอกเบี้ย และกลายเป็นภาระในการชำระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงของประเทศ 

 

รายงานระบุว่า ความกังวลดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.754% สูงสุดในรอบ 14 เดือนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

อย่างไรก็ตาม บอนด์ยีลด์ในรอบสัปดาห์นี้กลับปรับตัวลดลง 0.5% มาอยู่ที่ราว 1.68% เพราะนักลงทุนคลายความวิตกเรื่องปัญหาเงินเฟ้อในระดับหนึ่ง บวกกับมีความหวังในเรื่องเศรษฐกิจเพราะอานิสงส์ของวัคซีน ทำให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในช่วงคืนที่ผ่านมาปิดตลาดในแดนบวก นำโดยหุ้นเทคโนโลยีที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะหุ้น Tesla ที่เพิ่มขึ้น 2.31% มาอยู่ที่ 670 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่แล้วได้เป็นตัวฉุดรั้งความเคลื่อนไหวของหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี

 

ทั้งนี้ นักลงทุนในวอลล์สตรีทมองว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ดีดตัวฟื้นขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นปฏิกิริยาที่สมควรเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว บวกกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

 

พิสูจน์อักษร: ชฎานิสภ์ นุ้ยฉิม 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising