×

ผลงานศิลปะระดับโลก ณ The PARQ: เหตุไฉน ‘โครงการมิกซ์ยูส’ จึงควรมี ‘งานศิลปะสาธารณะ’ ตั้งอยู่ภายใน สำคัญอย่างไรต่อผู้คน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
27.07.2022
  • LOADING...
The PARQ

HIGHLIGHTS

4 mins. read
  • 2 ผลงานศิลปะจาก DRIFT โดยศิลปินคู่หูชาวดัตช์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก เพิ่งได้รับการติดตั้งที่โครงการ The PARQ เป็นส่วนหนึ่งของ ‘เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น’ (The PARQ Collection) งานศิลปะสาธารณะร่วมสมัย (Public Art) จำนวนทั้งหมด 5 ชิ้น ภายในโครงการฯ
  • งานศิลปะเหล่านี้สะท้อนถึงแนวคิด ‘Life Well Balanced’ หรือการเชื่อมต่อกันอย่างสมดุลระหว่างเมืองกับธรรมชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ผู้ใช้อาคารรวมถึงผู้มาเยือน อันเป็นปรัชญาของ เดอะ ปาร์ค
  • นับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคาร และเป็นการตอกย้ำ ‘วิถีการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่’ ที่สร้างความยั่งยืนให้แก่สังคม เพราะการนำงานศิลปะสาธารณะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนนั้นสามารถช่วยทั้งจรรโลงใจ เพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาสุขภาวะของผู้ใช้ชีวิตภายในอาคาร รวมถึงเป็นการพัฒนาเมืองได้อีกด้วย
  • ที่สุดแล้ว ‘เดอะ ปาร์ค’ อยากชี้ให้เห็นว่างานศิลปะไม่ใช่สิ่งไกลตัว ไม่ได้มีไว้สำหรับใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ต้องไต่บันไดขึ้นไปดูจึงจะเข้าใจ ทว่าเป็นสิ่งที่อยู่ร่วมในชีวิตประจำวันของผู้คน และเราทุกคนต่างก็ใช้ประโยชน์และรับแรงบันดาลใจจากศิลปะได้

ทุกวันนี้เราสามารถสัมผัสและพูดได้เลยว่า ‘ศิลปะ’ มีส่วนสำคัญและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อแนวคิดของ ‘Public Art’ หรืองานศิลปะสาธารณะร่วมสมัยกำลังเฟื่องฟู จากแต่ก่อนนั้นงานศิลปะอาจจะจำกัดเฉพาะอยู่ในบางพื้นที่อย่างแกลเลอรี หอศิลป์ ซึ่งผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก หากปัจจุบันนี้ได้มีแนวคิดการนำศิลปะหลากหลายรูปแบบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ผู้คนทั่วไปได้สัมผัสและได้รับประโยชน์กันมากขึ้น เช่นเดียวกับในแวดวงสถาปัตยกรรมของไทยซึ่งมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นกัน โครงการ The PARQ ที่พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริหารโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) นับเป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการมิกซ์ยูส ที่มีการนำเอาผลงานศิลปะมาอยู่ร่วมกับโครงการ เพื่อทำหน้าที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตอยู่ในอาคารอัจฉริยะแห่งนี้ รวมถึงผู้มาเยือน มากไปกว่านั้นยังเป็นการตอกย้ำถึงวิถีปฏิบัติใหม่ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนผู้อยู่อาศัยในเมืองได้ในระยะยาวอีกด้วย เพื่อทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้กันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราจึงขอชวนทุกคนไปพูดคุยกับ ‘ปุ๋ม-จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย’ หัวหน้าภัณฑารักษ์ และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ เดอะ ปาร์ค เกี่ยวกับ The PARQ Collection และสองงานศิลปะระดับโลกโดย DRIFT ที่เพิ่งเผยโฉม และรอให้ผู้สนใจไปชม

 

ทำไมโครงการมิกซ์ยูสจึงควรมีผลงานศิลปะ

 

จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย

หัวหน้าภัณฑารักษ์ และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม โครงการ เดอะ ปาร์ค

 

“โครงการ The PARQ เป็นมิกซ์ยูสที่มีฟังก์ชันมากกว่า 1 อย่าง คือมีทั้งส่วนที่เป็นอาคารสำนักงานและรีเทล เราตั้งใจให้เป็นอาคารที่ได้มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งหลายๆ คนน่าจะทราบพอทราบกันอยู่แล้วว่า LEED เป็นมาตรฐานอาคารสุขภาพดีและอาคารสีเขียวที่สร้างขึ้นมาโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คือด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนทุกวันนี้ก็เลยเป็นวิถีปฏิบัติของโลกนี้ไปแล้ว เพราะการทำงานสถาปัตยกรรมก็เป็นอะไรที่ใช้ทรัพยากรของโลกค่อนข้างสูง ดังนั้นการทำงานทางด้านนี้จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเกิดมาตรฐาน LEED ขึ้นมา เพื่อรับผิดชอบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม”

 

จรินทร์ทิพย์ถือเป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงศิลปะ ซึ่งเธอสั่งสมประสบการณ์จากศูนย์ออกแบบงานสร้างสรรค์ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) มานานกว่า 10 ปี ก่อนจะมาเริ่มทำงานให้กับเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ในฐานะผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมของ เดอะ ปาร์ค ซึ่งมีวิสัยทัศน์ให้ความสำคัญกับงานศิลปะในฐานะที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเธออธิบายถึงเรื่องนี้ต่อว่า

 

“นอกจาก LEED แล้วยังมีมาตรฐาน ‘WELL’ ซึ่งมองว่าอาคารที่ดีอย่างเดียวไม่พอ แต่โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรให้คนที่เข้ามาใช้ชีวิตใช้ประโยชน์อยู่ในอาคารนั้นมีสุขภาพดีไปด้วย มาตรฐานอาคาร WELL ยังใส่ใจในเรื่องสุขภาวะองค์รวม ซึ่งรวมไปถึงจิตใจ ดังนั้นนอกจากเรื่องที่กล่าวมาแล้วก็ยังรวมไปถึงการมีสวนสีเขียวให้พักผ่อนหย่อนใจ และอีกหนึ่งอย่างก็คือการมีงานศิลปะซึ่งถ้าเรามาทำงานหรือเดินอยู่ในพื้นที่รีเทลก็จะสามารถช่วยจรรโลงจิตใจ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้ จะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสุขภาวะที่ดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนที่ใช้ชีวิตภายในอาคาร ตลอดจนผู้มาเยือน จึงได้เกิด ‘เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น’ ที่นำเสนอผลงานศิลปะสาธารณะภายในพื้นที่ของโครงการฯ

 

“เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น ไม่เพียงแต่ทำให้เมืองไทยมี Public Art เพิ่มขึ้น แต่ในมุมของวิชาชีพอย่างปุ๋มเรารู้สึกดีใจมากที่มีภาคเอกชนเล็งเห็นความสำคัญ ผู้บริหารโครงการ เดอะ ปาร์ค ตั้งใจลงทุนกับทรัพยากรบุคคล และจัดตั้งทีมที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเข้ามาดูแลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยพัฒนา Ecosystem ให้กับคนทำงานศิลปะวัฒนธรรมอีกด้วย”

 

อีกประเด็นที่น่าสนใจ จรินทร์ทิพย์ยังชี้ให้เห็นอีกว่า โครงการ The PARQ นั้นเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานศิลปะตามมาตรฐานอาคาร WELL ว่าไม่ได้มีฟังก์ชันเฉพาะในแง่ความสวยงามประดับตกแต่งเท่านั้น ทว่ายังมีฟังก์ชันในเชิงจิตใจและสุขภาวะ ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เทรนด์แต่เป็นวิถีปฏิบัติใหม่ของโลกนี้อีกด้วย

 

“สมัยก่อนคนเราไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องการจัดการขยะพลาสติกกัน แต่ทุกวันนี้ทุกคนก็ช่วยกันลดละและจัดการกับขยะพลาสติกจนกลายเป็นวิถีปฏิบัติใหม่ไปแล้ว เช่นเดียวกับงานศิลปะคุณภาพที่จะเข้ามาในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น เข้ามาช่วยจรรโลงจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่ผู้คนเข้าถึงกันได้มากขึ้น ถ้ามีการทำแบบนี้เยอะๆ ก็จะกลายเป็นวิถีปฏิบัติใหม่ให้กับสังคมและแวดวงสถาปัตยกรรม ธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งเมืองชั้นนำต่างๆ ของโลกในต่างประเทศต่างก็มีงานศิลปะ Public Art อยู่ในวิถีชีวิต อย่างนิวยอร์กเองก็มีให้เห็นอยู่แทบทุกหัวมุมถนน คือมีใครคนหนึ่งจ่ายให้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน ส่วนคนที่ได้ประโยชน์ก็คือประชาชน นี่คือสิ่งดีๆ ที่เกิดจากการริเริ่มของ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ และ เดอะ ปาร์ค” จรินทร์ทิพย์กล่าวด้วยรอยยิ้ม น้ำเสียง และแววตาที่ตื่นเต้นจริงจัง จนทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นมีความหวังตามไปด้วย

 

2 ผลงานศิลปะระดับโลกโดย DRIFT

 

DRIFT: Lonneke Gordijn and Ralph Nauta

(Photo by Teska van Overbeeke)

 

หลังจากเตรียมการทั้งหมดนานกว่า 2 ปี ก่อนหน้านี้ เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น ได้นำเสนอผลงานของศิลปินไทยทั้งหมด 3 ชิ้นไปแล้ว ซึ่งใครที่ได้ไปเยือนที่ เดอะ ปาร์ค ก็น่าจะได้ยลโฉมกันไปบ้าง (อ่านเพิ่มเติมที่: ‘The PARQ Collection’ Public Art ที่ไม่จำกัดแค่ห้องสี่เหลี่ยม และอยากเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ และความคิดสร้างสรรค์สำหรับทุกคน) และล่าสุดตอนนี้ก็เพิ่งได้มีการเผยโฉม 2 ผลงานศิลปะระดับโลกโดย DRIFT ไปเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งจรินทร์ทิพย์เล่าถึงเหตุผลเบื้องหลังให้เราฟังว่าทำไมต้องเป็นงาน 2 ชิ้น จากศิลปินดูโอ้คู่นี้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับปรัชญาของ เดอะ ปาร์ค

 

“หลังจากที่ทีมภัณฑารักษ์เราทำความเข้าใจถึงคอนเซปต์ ‘Life Well Balanced’ ของโครงการ เดอะ ปาร์ค หรือการเชื่อมต่อกันอย่างสมดุลระหว่างเมืองกับธรรมชาติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ผู้ใช้อาคาร อันเป็นปรัชญาของ เดอะ ปาร์ค ซึ่งคอลเลคชั่น Public Art นี้ทีมภัณฑารักษ์มีความตั้งใจให้เป็นงานศิลปะจัดวางในรูปแบบ Site Specific ที่ตัวชิ้นงานจะถูกออกแบบการจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งศิลปินจะต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่และสร้างชิ้นงานนั้นให้มีความเหมาะสม หลังจากพิจารณาพื้นที่แล้วเราได้แนวคิดว่า ธรรมชาติคือแก่นแท้ของสรรพสิ่งทุกอย่างในโลก และเป็นสิ่งที่ถูกนำมาตีความเป็นความหมายหรือรูปแบบทางศิลปะได้มากมาย นอกจากผลงานของศิลปินไทยทั้ง 3 ชิ้นที่ได้รับการติดตั้งก่อนหน้านั้นจะอยู่ภายใต้คอนเซปต์ดังกล่าวแล้ว เรายังคิดว่ามีอีกแง่มุมที่น่าสนใจคือ แม้ เดอะ ปาร์ค เป็นอาคารที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และธรรมชาติ ทว่าก็มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการอาคารเยอะมาก จึงมองหาผลงานที่พูดถึงทั้งสมดุลธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของวิธีคิดและการสร้างสรรค์ ซึ่งผลงานที่เป็น Kinetic Art (งานศิลปะที่ให้ความสนใจต่อการเคลื่อนไหวของรูปทรง) ของ DRIFT ตอบโจทย์ทั้งหมด แถมยังสอดคล้องกับปรัชญาของ เดอะ ปาร์ค ได้เป็นอย่างดี”

 

DRIFT ก่อตั้งโดย Lonneke Gordijn และ Ralph Nauta สองศิลปินคู่หูชาวดัตช์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดดเด่นในการนำความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง และการแสดง DRIFT มีผลงานศิลปะจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์และสถานที่สำคัญๆ ระดับโลกหลายแห่ง ทั้งในอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย Meadow และ Aptitude เป็นสองผลงานแรกของ DRIFT ที่จัดแสดงที่ The PARQ ประเทศไทย และเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

“จริงๆ แล้วเราทำโปรเจกต์นี้กับ DRIFT มาก่อนหน้านี้นานแล้วตั้งแต่ก่อนจะเกิดโควิดขึ้นเสียอีก แต่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่อำนวยจากโควิดทำให้ศิลปินไม่สามารถมาติดตั้งงานได้สักที เราจึงติดตั้งงานของศิลปินไทยทั้ง 3 ชิ้นไปก่อน อย่างไรก็ตาม ระหว่างนั้นเราก็ประสานงานทางไกลกันอย่างละเอียด จนเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นทำให้ DRIFT ได้เดินทางมาติดตั้งชิ้นงานจนสำเร็จสมบูรณ์และออกมาเป็นที่น่าภูมิใจมาก”

 

Meadow

 

ประติมากรรมรูปทรงดอกไม้กลับหัว จัดแสดงอยู่บริเวณโถงอัฒจันทร์อันเป็นหัวใจของโซนรีเทลของ เดอะ ปาร์ค โคมไฟโทนสีอ่อนโยน เข้ากับการตกแต่งภายในของอาคาร สื่อถึงลักษณะเฉพาะอันน่าอัศจรรย์ของการเติบโตตามธรรมชาติและความไม่แน่นอนของฤดูกาล อันเป็นผลลัพธ์จากการที่ศิลปินสังเกตและศึกษาวิธีที่จะทำให้วัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นสามารถเคลื่อนไหวตามลักษณะและอารมณ์ตามธรรมชาติได้อย่างสวยงาม ด้วยภาพของกลีบดอกไม้ในระดับความสูงต่ำต่างๆ ที่หุบและเบ่งบาน เปลี่ยนเฉดสีได้ด้วยการผสมผสานการใช้แสงไฟและสีสันของผ้าผ่านกลไกควบคุมที่ถูกออกแบบมาอย่างน่าทึ่ง

 

 

“Lonneke Gordijn หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง DRIFT พิถีพิถันเป็นพิเศษเรื่องความสวยงามในการจัดกลุ่มและตำแหน่งของดอกไม้ รวมทั้งสี ระดับความสูงต่ำ และความเคลื่อนไหวของดอกไม้ โดยศิลปินได้คำนึงถึงการติดตั้งงานศิลปะให้เข้ากับพื้นที่บริเวณนี้ของ เดอะ ปาร์ค ให้มากที่สุด สังเกตได้จากเฉดสีและความสว่างของดอกไม้ที่ไม่เท่ากัน ทั้งยังสอดคล้องกับบริบทโดยรอบ”

 

ภาพถ่ายชิ้นงาน: ธนพล แก้วพริ้ง

 

จรินทร์ทิพย์เล่าในขณะที่พาเรานำชมผลงานชิ้นนี้ ทั้งยังเผยอีกว่า แผงวงจรและระบบการควบคุมของแต่ละดอกซึ่งถูกคิดค้นและพัฒนาโดยทีมของ DRIFT นอกจากชิ้นส่วนโลหะได้ถูกผลิตจากโรงงานคุณภาพสูงในเยอรมนีแล้ว กลีบของแต่ละดอกยังเป็นผ้าถูกย้อมสีให้แตกต่างกัน ทั้งยังถูกตั้งเวลาให้หุบและเบ่งบานในจังหวะที่แตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งเมื่อนั่งมองจากอัฒจันทร์ไล่ระดับนั้นมอบทั้งความสวยงามและความสงบให้จิตใจผ่อนคลายได้ในเวลาเดียวกัน ชิ้นงาน Meadow นี้ได้ถูกจัดแสดงแบบชั่วคราวและถาวรที่พิพิธภัณฑ์ระดับโลกอย่าง Stedelijk Museum กรุงอัมสเตอร์ดัม, Superblue Miami รวมทั้งห้างสรรพสินค้าชั้นนำ Landmark ฮ่องกง และ Chodov Centre ที่กรุงปราก ส่วนในเอเชีย ผลงาน Meadow นี้ได้รับการติดตั้งถาวรอยู่ที่กรุงปักกิ่งและฮ่องกง The PARQ นับเป็นแห่งที่ 3 ในเอเชีย และเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

Amplitude

 

ผลงานศิลปะเคลื่อนไหวอันงดงามเปรียบเสมือนชีพจรในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นจากกลไกถ่ายน้ำหนักภายในหลอดแก้วใสอันซับซ้อน อาศัยการตั้งค่าด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้หลอดแก้วแต่ละข้างขยับได้ราวปีกนก แม้นกแต่ละตัวจะมีท่วงท่าที่แตกต่างกัน หากในขณะเดียวกันก็บินรวมกันเป็นฝูงสง่างาม มีเอกลักษณ์ที่การใช้แสงธรรมชาติจากภายนอกที่ตกสะท้อนลงบนหลอดแก้ว ติดตั้งอย่างโดดเด่นบริเวณล็อบบี้ของอาคารออฟฟิศ ทักทายผู้พบเห็นด้วยภาพของฝูงนกที่โบยบินด้วยจังหวะเชื่องช้า เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลายทั้งช่วงก่อนเริ่มต้นและหลังเวลาทำงาน

 

ภาพถ่ายชิ้นงาน: ธนพล แก้วพริ้ง

 

“การเคลื่อนไหวที่ดูเป็นธรรมชาติเรียบง่ายงดงาม แต่เบื้องหลังถูกคิดค้นด้วยกลไกที่สลับซับซ้อนเปี่ยมไปด้วยรายละเอียด ซึ่งตุ้มน้ำหนักทองเหลืองของหลอดแก้วคุณภาพสูงแต่ละอันนั้นถูกออกแบบให้มีน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน เพื่อให้จังหวะการเคลื่อนไหวได้รูปทรงสอดคล้อง แสดงให้เห็นถึงการคิดคำนวณมาเป็นอย่างดี แถมหลอดแก้วแต่ละอันยังมีแผงวงจรบรรจุอยู่ เพื่อส่งสัญญาณกับกล่องควบคุม (Control Box) แสดงถึงความเป็นอัจฉริยะของศิลปิน การตั้งผลงานชุดนี้ตรงบริเวณล็อบบี้ของอาคารออฟฟิศยังช่วยสร้างบรรยากาศสงบผ่อนคลายให้กับคนทำงานภายในอาคารและผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี และยังสอดรับส่งเสริมกับงาน ‘The Cradle’ ของศิลปินอีกท่านซึ่งถูกติดตั้งอยู่ตรงโถงลิฟต์บริเวณเดียวกันอีกด้วย

 

 

จรินทร์ทิพย์ยังเสริมให้ฟังอีกว่า เพื่อเสริมมิติให้งานนี้มีความลึกซึ้งขึ้น ยังได้มีการประพันธ์เพลงสำหรับผลงาน Amplitude นี้โดยเฉพาะ จากฝีมือของ ป๊อก-วรรณฤทธิ์ พงศ์ประยูร สมาชิกวง Stylish Nonsense โดยเปิดเพลงควบคู่กับชิ้นงาน 3 ช่วงเวลาสำคัญของวัน คือ ช่วงเช้า ช่วงกลางวัน และช่วงเย็น แนวคิดของการประพันธ์เพลงคือใช้เสียงเปียโนเป็นหลัก และมีเสียงธรรมชาติของนกและสภาพแวดล้อม ประกอบเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ตอกย้ำถึงแนวคิดงานศิลปะที่พูดถึงธรรมชาติโดยถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีของ DRIFT ผ่านชิ้นงาน Amplitude นี้ที่ได้ถูกจัดแสดงแบบชั่วคราวและถาวรที่พิพิธภัณฑ์ระดับโลกและหน่วยงานราชการของเนเธอร์แลนด์ เช่น Stedelijk Museum กรุงอัมสเตอร์ดัม และ De Knoop เมือง Utrecht ในเอเชีย Amplitude เคยมีงานจัดแสดงชั่วคราวที่งาน F1 ที่ Jeddah ประเทศซาอุดีอาระเบีย ดังนั้น The PARQ ถือเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นครั้งแรกในเอเชียที่มีการจัดแสดงงานชิ้นนี้แบบถาวร ทั้งนี้ศิลปินดูโอ้ในฐานะ DRIFT ยังได้ส่งสารถึงงานศิลปะทั้งสองชิ้นที่เป็นส่วนหนึ่งของ The PARQ Collection เอาไว้ดังนี้

 

“สภาพแวดล้อม ผู้คน ช่วงเวลาที่เราอยู่ ล้วนมีอิทธิพลส่งผลต่อตัวตนของเราและทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป ชีวิตของเราเป็นผลรวมของการเผชิญหน้าทั้งหมดที่เราพบเจอในแต่ละวัน การเผชิญหน้าเล็กๆ ที่นำข้อมูลใหม่มาให้เรา ส่งผลให้เราตัดสินใจก้าวไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป ปัจจุบันทั้ง Amplitude และ Meadow มีที่พำนักถาวรในกรุงเทพฯ สถานที่ซึ่งจังหวะของวันกำหนดโดยเมือง หาใช่โดยธรรมชาติ เรายินดีมากที่เมื่อคนเดินเข้ามาในอาคาร The PARQ จะได้สัมผัสกับจังหวะที่เป็นธรรมชาติและได้รับความสงบในช่วงเวลาสั้นๆ”

                          

ต้นแบบของสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ยั่งยืน

 

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ใส่ใจจริงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนที่เข้ามาใช้ชีวิตในอาคาร ล่าสุด เดอะ ปาร์ค ได้คว้ารางวัลต่างๆ จากเวทีประกาศรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับแวดวงอสังหาริมทรัพย์มากมาย เช่น รางวัล Best Office Development (Asia) และ Best Commercial Green Development (Thailand) จากเวทีประกาศผลรางวัล PropertyGuru Asia Property Awards Grand Final 2020 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล Best Office Development Award รางวัล Best Office Green Development Award และรางวัล Best Office Architectural Design Award จากเวทีประกาศผลรางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards 2020 รวมทั้งรางวัล ‘Special Recognition Award, Green Innovation’ จากงานประกาศรางวัลประจำปี Dot Property Thailand Awards 2020

 

เดอะ ปาร์ค ได้ก้าวสู่อีกขั้นในการเป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกของประเทศไทยที่บรรลุมาตรฐานทั้ง LEED และ WELL ซึ่งจะส่งผลให้อาคารอัจฉริยะนี้เป็นต้นแบบของนวัตกรรมแห่งสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ยั่งยืน ซึ่งกำหนดนิยามใหม่ของการทำงาน การใช้ชีวิต และการพักผ่อนหย่อนใจอย่างสมดุลในกรุงเทพฯ

 

ภาพถ่ายชิ้นงาน: ธนพล แก้วพริ้ง

 

สำหรับผู้ที่สนใจรับชมร่วมสัมผัสกับสุนทรียะของงานศิลปะนั้นไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องเป็นพนักงานที่มีออฟฟิศอยู่ในอาคารแห่งนี้เท่านั้น เดอะ ปาร์ค ยังเปิดกว้างและขอเชิญชวนให้ทุกคนได้เยี่ยมเยือนเข้ามาชมสัมผัสกับผลงาน Public Art ทั้ง 5 ชิ้น ใน เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น ซึ่งรังสรรค์โดยศิลปินไทย 3 ผลงาน ได้แก่ ‘เกื้อกูล’ โดย พงษธัช อ่วยกลาง, ‘The Cradle’ โดย อ้อ สุทธิประภา และ ‘The Cocoon’ โดย สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ แห่ง สนิทัศน์ สตูดิโอ รวมถึงงานศิลปะระดับโลกของ DRIFT ทั้ง Meadow และ Amplitude ด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ทำให้ ‘เดอะ ปาร์ค’ ไม่ใช่แค่อาคารสำนักงานและพื้นที่รีเทลเท่านั้น ทว่าเป็นสถานที่แห่งการค้นหาแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับทุกคน

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:

  • เดอะ ปาร์ค (The PARQ) โครงการมิกซ์ยูสที่มุ่งพัฒนาออฟฟิศและรีเทลอัจฉริยะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการใช้ชีวิตที่มีสมดุลอย่างแท้จริงภายใต้แนวคิด ‘Life Well Balanced’ ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก LEED Gold V4 อย่างเป็นทางการ นับเป็นโครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง LEED เวอร์ชัน 4 BD+C (Building Design and Construction: Core and Shell) และมุ่งสู่การรับรองมาตรฐาน WELL
  • มาตรฐาน LEED คือระบบการจัดเรตติ้งอาคารสีเขียวซึ่งกำหนดโดยสภาก่อสร้างอาคารสีเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) เพื่อส่งเสริมการออกแบบและแนวทางปฏิบัติในการก่อสร้างอาคารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดย LEED เวอร์ชัน 4 นี้คือมาตรฐานล่าสุดสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารสีเขียวที่ยั่งยืน
  • มาตรฐาน WELL คือการประเมินมาตรฐานอาคารสากลด้วยการตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของปัจจัยซึ่งมีผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้ใช้อาคาร ได้แก่ คุณภาพอากาศ สุขอนามัยของมือ สุขภาวะทางแสง คุณภาพน้ำดื่มน้ำใช้ สุขภาวะทางด้านอาหาร สุขภาพและความแข็งแกร่งของร่างกาย ความสบาย และสุขภาวะทางจิตใจ ซึ่งจัดตั้งโดยสถาบัน International WELL Building Institute (IWBI)
  • LEED และ WELL คือมาตรฐานการรับรองชั้นนำระดับโลกซึ่งจะกลายเป็นมาตรฐานหลักสำหรับการก่อสร้างอาคารในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากผู้บริโภคแสวงหาความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในฐานะผู้บุกเบิกด้านมาตรฐาน LEED และ WELL ในประเทศไทย เดอะ ปาร์ค ได้ปูทางให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตในระยะยาวของประเทศไทย และช่วยสร้างวิสัยทัศน์ของกรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางธุรกิจระดับภูมิภาคที่ยั่งยืน
  • ติดตามข่าวสารและกิจกรรมอัปเดตจาก The PARQ ได้ที่ Theparq.com

 

 

ภาพ Cover ถ่ายโดย: ธนพล แก้วพริ้ง

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising