×

โตมร ศุขปรีชา

ThailandFuture
8 กรกฎาคม 2021

สถาบันอนาคตไทยศึกษา ปรับโฉมสู่ ‘ThailandFuture’ เสนอทางออกดับไฟแห่งปัญหา 3 ด้าน ช่วยไทยรอดพ้นวิกฤต

สถาบันอนาคตไทยศึกษา ปรับโฉมใหม่สู่ ‘ThailandFuture’ สานต่อความสำเร็จการเป็นสถาบันคลังสมองที่วิเคราะห์อนาคตไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 สู่การเป็น ‘ตัวเร่ง’ และ ‘ตัวรวม’ (Catalyst & Aggregator) ทรัพยากร ข้อมูล และทางออกนโยบาย ผ่าน ‘ThailandFuture Policy Platform’ แพลตฟอร์มนโยบายตัวกลางที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อหลักฐานเชิงข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้รับนโยบ...
วิทยาศาสตร์ของความหน้าตาดี
26 พฤศจิกายน 2019

วิทยาศาสตร์ของความหน้าตาดี: ความสวย หล่อมีจริงไหม หรือเป็นแค่ ‘เปลือกนอก’ ที่คิดกันไปเอง

คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนบางคนถึง ‘หน้าตาดี’ กว่าคนอื่น   ที่จริงแล้ว การที่ใครจะหน้าตาเป็นอย่างไรนั้นไม่น่าสงสัยเท่าไร เพราะหลักๆ เป็น ‘ความบังเอิญทางพันธุกรรม’ ทั้งนั้น ที่กำหนดให้ผิวออกมาละเอียด ตากลมโต ผมเส้นเล็กสลวย หรือจมูกโด่งคมเป็นสัน สีของนัยน์ตากระจ่างสวย ฯลฯ   แต่ความหน้าตาดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของตัวเราเ...
11 มีนาคม 2019

โลกร้อนอาจทำให้สิ้นชาติ อุณหภูมิโลกอาจพุ่งขึ้นได้ถึง 14 องศาเซลเซียส มนุษย์เขตร้อนหมดทางรอดชีวิต

ในท่ามกลางกระแสการเมืองร้อนแรงนี้ อยู่ๆ ผมก็นึกถึงการเปรียบเทียบของ นพ.ประเวศ วะสี เรื่อง ‘ไก่ในเข่ง’ ขึ้นมา   ‘ไก่ในเข่ง’ ของคุณหมอประเวศมีนัยหมายถึงการแตกความสามัคคีจะทำให้เกิดความล่มสลาย เหมือนไก่ในเข่งที่เขาจะเอาไปเชือดแต่ก็ยังจิกตีกันเป็นสามารถ แต่ ‘ไก่ในเข่ง’ ที่ผมนึกถึงกลับไม่ใช่เรื่องเชิงสังคมการเมืองแบบนั้น ทว่าเป็นเรื่องวิทยาศา...
Hubris Syndrome
1 มีนาคม 2019

โอหัง คลั่งอำนาจ รู้จัก Hubris Syndrome อาการยอดฮิตของผู้นำประเทศ

​นักประวัติศาสตร์การแพทย์ที่ศึกษาเรื่อง ‘ความบ้า’ (Madness) อย่าง รอย พอร์เตอร์ (Roy Porter) เคยเขียนเอาไว้ใน A Social History of Madness ว่า   ประวัติศาสตร์ของความบ้า ก็คือประวัติศาสตร์ของอำนาจ เพราะเมื่อจินตนาการถึงอำนาจขึ้นมาแล้ว ความบ้าก็เป็นได้ทั้งไร้สมรรถภาพใดๆ โดยสิ้นเชิง หรือไม่ก็อาจทรงพลังครอบจักรวาลได้ เราต้องใช้อำนาจเพื่อควบคุ...
5 กุมภาพันธ์ 2019

วิทยาศาสตร์เบื้องหลังแรงขับเคลื่อน: ทำไมเราถึงไม่มีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ

คำว่า ‘แรงขับเคลื่อน’ ในที่นี้มาจาก Motivation ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับทั้งการทำงานและการใช้ชีวิต   ที่จริงแล้วพูดได้ถึงขั้นที่ว่าแรงขับเคลื่อนคือ ‘เหตุผล’ ที่เราทำอะไรบางอย่างด้วยซ้ำ มันทำให้เราเกิดความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย แรงขับเคลื่อนไม่ได้แค่ ‘ผลักดัน’ ให้เราทำสิ่งต่างๆ เท่านั้นนะครับ แต่มันยังทำให้เรา...
25 มกราคม 2019

Sex Education: ผู้ชายควรหลั่งน้ำอสุจิมากครั้งแค่ไหน

เคยได้ยินคำพูดที่ว่า ‘ผู้ชายควรหลั่งน้ำอสุจิ (ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม) เดือนละ 21 ครั้ง’ ไหมครับ   ว่ากันว่าการได้หลั่งน้ำอสุจิบ่อยๆ จะช่วยป้องกันหรือลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้   แต่อย่างแรกก็คือนี่เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า และการหลั่งถึงเดือนละ 21 ครั้งไม่มากเกินไปหรือ (แต่ในบางคนก็อาจจะถามตรงข้ามว่าไม่ ‘น้อย’ ไปหน่อยหร...
5 มกราคม 2019

พายุคืออะไร ทำความเข้าใจกายวิภาคของพายุหมุนเขตร้อน

ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่จะมีพายุเข้าไทยในช่วงเดือนมกราคม แต่นี่น่าจะเป็นคร้ังแรกๆ ที่เกิดพายุใหญ่อย่าง ‘ปาบึก’ ในยุคที่การสื่อสารก้าวหน้ามาก เราจึงเห็นภาพการ ‘ตื่นตัว’ อย่างจริงจังของทั้งภาครัฐและประชาชน เห็นการรายงานข่าว การอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ การให้ข้อมูลเรื่องศูนย์อพยพ หรือ Shelter ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีในเรื่องร้าย   เรื่องดีใ...
21 ธันวาคม 2018

วิทยาศาสตร์แห่งคริสต์มาส อะไรคือดาวแห่งเบธเลเฮม พระเยซูประสูติเมื่อไรกันแน่ และใครคือสามโหราจารย์

ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูประสูติในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย หลังจากพระองค์ประสูติไม่นาน มีพวกโหราจารย์บางท่านเดินทางมาจากประเทศทางทิศตะวันออกของแคว้นยูเดียมาสู่กรุงเยรูซาเล็ม เที่ยวเสาะถามว่า   “พระกุมารที่จะมาเป็นจอมกษัตริย์ของชนชาติยิวประสูติที่ไหน เราเห็นดาวประจำพระองค์ขึ้นทางทิศตะวันออก จึงพากันมานมัสการพระองค์” พระคัมภีร์ไบเบิ...
17 ธันวาคม 2018

ฟังเพลงเศร้า แต่ทำไมเราถึงรู้สึกดี: วิทยาศาสตร์แห่งการฟังเพลง

คุณเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเวลาเราฟังเพลงที่ทำให้นึกถึงอดีตอันแสนเศร้า เราถึงกลับรู้สึก ‘มีความสุข’ ขึ้นมาได้ ทั้งที่เรื่องนั้นมันเศร้าจริงๆ นะ   มีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย (ที่ไม่รู้ว่าอ่านชื่อว่าอะไร) Jyväskylä ในฟินแลนด์ รายงานอยู่ในวารสาร Nature การศึกษานี้มีชื่อว่า Music Evokes Powerful Positive Emotions Through Persona...
12 ธันวาคม 2018

ทำอย่างไรไม่ให้ Toxic: วิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนสารเคมีในสมอง

เวลาเราอยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรสักอย่างที่คุ้นชินเป็นเวลานานๆ (เช่นในที่นี้ก็คือพฤติกรรมที่ ‘Toxic’ (คลิกอ่าน Toxic Thinking: วิธีคิดแบบ Toxic กับอาการเสพติดพิษร้ายในสมอง) ไม่ใช่ว่าเราจะลุกขึ้นมาแล้วสามารถเปลี่ยนได้ในทันทีนะครับ   ใครมีเพื่อน Toxic มากๆ แล้วบอกเพื่อนว่า “เธอต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองสิ มันไม่ใช่เรื่องยากหรอก ทำตัวดีๆ ใครๆ ก็...

Close Advertising