×

คิดว่าจะเลิกบุหรี่ปีหน้า ยาก… แต่ทำได้ 5 เทคนิคหลีกเลี่ยงภาวะถอนนิโคติน

โดย THE STANDARD TEAM
26.12.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • คนที่สูบบุหรี่ไม่ได้เสพติดตัวบุหรี่ แต่เสพติดนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ ดังนั้นการให้นิโคตินทดแทน โดยเข้าไปลดระดับนิโคตินทีละน้อย จะเป็นการช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่อย่างได้ผล
  • การใช้นิโคตินทดแทนควบคู่ไปกับจิตใจอันแน่วแน่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ และการได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากสังคมและคนรอบข้าง จะช่วยให้โอกาสในการเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

การสูบบุหรี่ไม่เพียงเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ทั้งโรคมะเร็งและโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด แต่ยังสร้างผลกระทบต่อผู้คนรอบข้างจากการได้รับควันบุหรี่อีกด้วย

 

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ องค์การอนามัยโลก (WHO) และบริษัท I.M.S Health Inc พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ 11 ล้านคน โดยกว่า 4 ล้านคนมีความมุ่งมั่นต้องการเลิกสูบบุหรี่ ทั้งนี้ ผู้เลิกสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ใช้วิธีการหักดิบไม่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่เท่าที่ควร

 

โอกาสเลิกบุหรี่กับอาการถอนนิโคตินกำเริบ

สำหรับใครๆ ที่ตั้ง New Year’s Resolution หรือสัญญากับตัวเองไว้สำหรับปี 2561 ที่ต้องเลิกสูบบุหรี่ให้สำเร็จ แม้อาจจะเคยเลิกมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือจะเป็นมือใหม่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ปัจจุบันนี้มีโครงการดีๆ ออกมาช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้มากมาย

 

ล่าสุด บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด เปิดตัวแคมเปญใหม่ ‘Quit Smoking’ รวมพลังช่วยคุณเลิกบุหรี่ เพื่อระดมความรู้และความช่วยเหลือในการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หวังเพิ่มโอกาสเลิกบุหรี่สำเร็จขึ้นเป็น 2 เท่า

 

นีราจ โกยาล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเลิกสูบบุหรี่มีความยากลำบาก ผู้เลิกสูบบุหรี่ด้วยวิธีการหักดิบทั้งหมด 3 ล้าน 7 แสนคน มีเพียง 15% เท่านั้นที่สามารถเลิกได้สำเร็จ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ผู้ใช้วิธีในการหักดิบเพื่อเลิกสูบบุหรี่จำนวนมากถึง 3 ล้าน 1 แสนคน ไม่สามารถเลิกได้สำเร็จ โดยทั่วไปผู้สูบบุหรี่ต้องใช้ความพยายามเลิกสูบมากถึง 10 ครั้ง กว่าจะประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่มีอาการถอนนิโคตินกำเริบในเดือนแรกที่หยุดสูบบุหรี่

 

“จริงๆ แล้ว คนที่สูบบุหรี่ไม่ได้เสพติดตัวบุหรี่ แต่เสพติดนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ ดังนั้นการให้นิโคตินทดแทน โดยเข้าไปลดระดับนิโคตินทีละน้อย จะเป็นการช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่อย่างได้ผล การใช้นิโคตินทดแทนควบคู่ไปกับจิตใจอันแน่วแน่ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ และการได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากสังคมและคนรอบข้าง จะช่วยให้โอกาสในการเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า”

 

นอกจากนี้ ยังแชร์ 5 เทคนิคหลีกเลี่ยงภาวะถอนนิโคติน เพื่อลดอาการทรมานทางร่างกายและจิตใจ ช่วยให้คุณเดินไปสู่จุดหมายแห่งความสำเร็จได้เช่นกัน

 

5 เทคนิคหลีกเลี่ยงภาวะถอนนิโคติน

การเสพติดสารนิโคตินทำให้การเลิกสูบบุหรี่มีความยากลำบาก แม้ผู้สูบจะรู้ว่าบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่ไม่สามารถเลิกได้ เนื่องจากจะเผชิญกับอาการถอนนิโคตินซึ่งแม้จะเป็นอาการชั่วคราว แต่ส่งกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ทั้งอาการหงุดหงิด วิตกกังวล ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า แม้กระทั่งความรู้สึกหิว ทำให้หลายคนอดใจไม่ได้และหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง   

 

1. ระบุสาเหตุที่ทำให้อยากนิโคติน

ระบุไปเลยว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ ยกตัวอย่างเช่น กิจวัตรของคุณคือการจิบกาแฟและสูบบุหรี่ไปด้วยทุกเช้า ให้หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แต่หันไปดื่มชา หรือน้ำผลไม้แทน

 

2. หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

แทนที่จะออกไปดื่มในสถานที่ที่คุณคุ้นเคย ลองเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ทำให้คุณนึกถึงการสูบบุหรี่ เช่น ดูหนัง เดินเล่น หรือซื้อของ

 

3. เตรียมตัวให้ดี

ในขณะพักจากการทำงานหรืออยู่รายล้อมด้วยนักสูบ ลองเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ เพราะหมากฝรั่งช่วยลดความอยากของคุณได้ และที่สำคัญคุณไม่ต้องตัดขาดจากสังคมอีกด้วย

 

4. คิดบวกเข้าไว้

ลองคิดว่าหากคุณเลิกบุหรี่สำเร็จสุขภาพและหน้าตาจะเป็นเช่นไร คุณจะประหยัดเงินได้เท่าไร และที่สำคัญคนที่รักคุณจะมีความสุขเช่นไรเมื่อพวกเขารู้ว่าคุณไม่สูบบุหรี่อีกต่อไปแล้ว

 

5. ลดอาการอยากสูบบุหรี่และอาการถอนนิโคติน

การใช้นิโคตินทดแทนคือการนำสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย ผู้ใช้จะสามารถลดปริมาณนิโคตินทดแทนให้น้อยลงในทุกครั้งที่ใช้ เพื่อช่วยลดอาการเสพติดนิโคตินและลดความเสี่ยงของการกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้งโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการเลิกบุหรี่ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก

 

Photo: shutterstock

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising