×

Nikkei Asia ชี้ ‘ซีรีส์วาย’ ของไทยกำลังดังไกลไปทั่วโลก ขณะที่รัฐบาลเปรียบเปรยเหมือนกระแส K-Pop

11.04.2022
  • LOADING...
ซีรีส์วาย

‘ซีรีส์วาย’ ของไทยไม่ได้ปังแค่ในไทยเท่านั้น แต่ Nikkei Asia ออกรายงานที่ระบุว่า กระแสกำลังดังไกลไปทั่วโลก ขณะที่รัฐบาลไทยเปรียบเปรยสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกระแส K-Pop ที่ทางเกาหลีใต้ผลักดันได้สำเร็จ

 

ตามรายงานระบุว่า แฮชแท็ก #ThaiNuma พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในโซเชียลมีเดียของญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเกือบทุกครั้งที่ ไบร์ท วชิรวิชญ์ และ วิน เมธวิน นักแสดงดังจากซีรีส์เรื่อง เพราะเราคู่กัน 2gether The Series พูดอะไรบางอย่างระหว่างงานมีตติ้งออนไลน์ตุลาคม 2021 ที่จัดขึ้นเพื่อแฟนชาวไทยและญี่ปุ่น แฮชแท็ก #BrightWinJAPAN กลายเป็นแฮชแท็กที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ในขณะนั้น

 

ไบร์ทและวินมีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคนบน Instagram พวกเขายังจัดพบปะและทักทายแฟนๆ ที่ได้เจอหน้ากันแบบไม่ใช่ออนไลน์ในกรุงปักกิ่ง โตเกียว โซล นิวยอร์ก และลอนดอนในปี 2020

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 


 

“ซีรีส์วายของไทยได้รับความนิยมเพราะใครๆ ก็สนุกไปกับเรื่องราวได้” วินบอกกับ Nikkei Asia โดยมีไบร์ทอยู่เคียงข้าง “ละครสามารถดึงดูดทุกคนได้โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือเพศ เพราะเรื่องราวไม่ซับซ้อน”

 

หลังจากที่ ไอ มิซูทากะ โปรดิวเซอร์และทีมของ TV Asahi ใช้เวลาหลายเดือนในการเจรจากับ GMMTV ทั้งคู่ก็บรรลุข้อตกลงในปี 2020 ซึ่งช่วงนั้นเกิดโควิดกลายเป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาประกอบกันพอดี โดยการระบาดทำให้ผู้คนติดทีวีที่บ้านมากขึ้น 

 

โดยในขณะที่ความต้องการบริการสตรีมวิดีโอกำลังเฟื่องฟู เพื่อโปรโมตละคร TV Asahi ได้จัดนิทรรศการในเมืองสำคัญๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยดึงดูดผู้เข้าชมกว่า 30,000 คน นอกเหนือจากการรับชมทางทีวีหรือผ่านบริการสตรีมมิง

 

ในปี 2020 ของซีรีส์วายของไทยติดอันดับที่ 1, 2 และ 4 โดยมี 6 ใน 10 อันดับแรกของละครยอดนิยมของ Rakuten TV เป็นเรื่องราวซีรีส์วายรวมถึงผลงานจากจีนและเกาหลีใต้

 

“เมื่อมองย้อนกลับไป ปี 2020 เป็นปีแรกของการเติบโตของ BL” Kim Kyoungeun ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อละครเอเชียของ Rakuten Group กล่าว โดยจำนวนผู้ที่ซื้อซีรีส์วายบนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าจากปีที่แล้ว 

 

สิ่งที่น่าสนใจคือจากกลุ่มผู้ซื้อหลักคิดว่าจะอยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี ในความเป็นจริงกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นวัยรุ่นหรืออายุน้อยกว่า หรืออายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเดิมเชื่อว่าเป็นกลุ่มลูกค้านอกตลาด กลับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า

 

แม้กระแสนิยายชายรักชายจะก่อกำเนิดขึ้นในแดนซามูไร สาเหตุที่เนื้อหาไม่ได้รับความสนใจมากนักในญี่ปุ่น จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดความตระหนักในเรื่องเพศในหมู่ผู้ผลิตละคร

 

ขณะที่ไทยนั้นซีรีส์วายเป็นที่นิยมในหมู่หญิงสาวเป็นหลัก โดย Nikkei Asia มองว่า ไทยยอมรับชุมชน LGBTQ มากกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียส่วนใหญ่

 

โดยรายงานของรัฐบาลไทยระบุว่า อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมดาวเด่นที่มีศักยภาพส่งออกสูงและเป็นที่นิยมในภูมิภาค มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 10 ในปี 2020 คิดเป็นมูลค่ารวมมากว่า 3 หมื่นล้านบาท

 

เมื่อ 29-30 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์จัดโครงการส่งเสริมผู้ผลิตคอนเทนต์ซีรีส์วาย มีผู้ประกอบการคอนเทนต์วายของไทยเข้าร่วมจำนวน 10 ราย เกิดการนัดหมายเจรจาธุรกิจรวมกว่า 158 นัดหมาย ทำรายได้ทะลุเป้ากว่า 360 ล้านบาท

 

ในช่วง 2 ปีหลัง ผลงานของผู้ประกอบการไทย ได้รับความสนใจอย่างมากในตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และลาตินอเมริกา มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 1 พันล้านบาท ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตคอนเทนท์ซีรีส์วายระดับโลกและเป็นอันดับหนึ่งในเอเซีย ซึ่งในปีที่ผ่านมามีผู้ชมเพิ่มขึ้นกว่า 328% ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

 

“ซีรีส์วายได้กลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ของไทย เราต้องการทำให้ดีที่สุดเพื่อให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก” โอมและนนน นักแสดงจากซีรีส์ดัง Bad Buddy แค่เพื่อนครับเพื่อน กล่าว

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising