×

‘เอเชีย’ กำลังแซงหน้าประเทศแถบอื่นๆ ในด้านการเติบโตของยอดผู้ใช้งาน ‘คริปโตเคอร์เรนซี’

18.08.2021
  • LOADING...
คริปโตเคอร์เรนซี

จากข้อมูลของบริษัทด้านการวิจัย Finder ระบุว่า ประเทศในแทบเอเชียมีพัฒนาการด้านการนำ ‘คริปโตเคอร์เรนซี’ ไปใช้มากกว่าประเทศในทวีปอื่นๆ โดย 5 อันดับแรกของตารางประเทศที่มีบัญชีคริปโตเคอร์เรนซีล้วนอยู่ในประเทศแถบเอเชียทั้งสิ้น ยกเว้นประเทศจีนที่ยังไม่ได้มีนัยยะในการใช้คริปโตเคอนเรนซีเท่าใดนัก จากการเข้าควบคุมโดยรัฐบาล

 

ประเทศที่มีสัดส่วนผู้ใช้งานที่ถือครองคริปโตฯ เป็นอันดับแรกคือ เวียดนาม โดยมีสัดส่วนการถือครองถึง 41% ตามมาด้วย อินโดนีเซีย (30%), อินเดีย (30%), มาเลเซีย (29%), ฟิลิปปินส์ (28%)  

 

ในขณะที่ประเทศที่มีสัดส่วนผู้ใช้งานถือครองคริปโตฯ ที่น้อยที่สุดคือ สหรัฐฯ (8%) และสหราชอาณาจักร (9%) ซึ่งนับว่า ‘ผิดคาด’ จากแนวโน้มความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้พอสมควร ซึ่งควรจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปปรับใช้ (Adoption) สูงกว่าประเทศอื่นๆ

 

ความน่าสนใจคือ กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ใช้งานคริปโตฯ ทั่วโลกมักจะอยู่ในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ โดย Finder รายงานว่า จำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 40% ของคนเหล่านี้มีอายุระหว่าง 18-34 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 35-44 ปี มีสัดส่วนประมาณ 20% และ 45-54 ปี มีสัดส่วน 17% 

 

แต่สิ่งนี้เป็นทิศทางตรงกันข้ามกับประเทศอย่างโคลอมเบียและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานคริปโตฯ ส่วนมากมาจากกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี

 

ในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่อย่างอินเดีย ‘แรงขับเคลื่อน’ วงการคริปโตฯ มาจากกลุ่มคนในเมืองเล็กเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลจากศูนย์การแลกเปลี่ยนคริปโตฯ WazirX ระบุว่า มียอดการเปิดบัญชีใหม่เติบโตถึง 2,648% มาจากผู้ใช้งานในกลุ่ม Tier 2 และ Tier 3 ของประชาชนในประเทศ ในขณะที่กลุ่มคนเมืองของอินเดียในกลุ่ม Tier 1 มีการเติบโตของยอดผู้เปิดบัญชีใหม่อยู่ที่ 2,375%

 

การเติบโตที่เกิดขึ้นในอินเดียมาจากกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ จากการที่รัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับคริปโตฯ และมีเม็ดเงินลงทุนเข้าไปสู่บริษัทด้านคริปโตฯ เป็นจำนวนมาก ทำให้ศูนย์การแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ในอินเดียชื่อ CoinDCX ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Coinbase (บริษัทแลกเปลี่ยนคริปโตฯ ที่ใหญ่สุดในสหรัฐฯ) ก้าวขึ้นเป็นบริษัทมูลค่า 3 หมื่นล้านบาทแห่งแรกของอินเดียในวงการคริปโตฯ เป็นที่เรียบร้อย

 

 

ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising