ความโกรธเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ยิ่งเมื่อมีความเครียด สิ่งเร้า ปัญหา รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บที่มากระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก ยิ่งทำให้ความโกรธเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น การรับมือกับความโกรธจึงเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายไม่น้อย เพราะความโกรธมีหลายระดับ เช่น ระดับแรก สบายใจ มีความสุข ผ่อนคลาย ไร้อารมณ์โกรธ ต่อมาจะเริ่มเป็นระดับที่ 2 ที่มีอาการเริ่มหงุดหงิดเล็กน้อย ระดับท่ี 3 จะเริ่มรู้สึกเกร็งตามร่างกาย เริ่มมีอารมณ์โกรธปะทุขึ้นมา และระดับ 4 ที่รุนแรงสุด คือเริ่มแสดงอาการโวยวาย หัวใจเต้นเร็ว เครียด กำมือแน่น รู้สึกโกรธมากๆ หากเราปล่อยให้ความโกรธระดับสูงคงอยู่เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบในแง่ลบต่อสุขภาพ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) ได้ระบุว่าอารมณ์โกรธสัมพันธ์กับอาการอักเสบต่างๆ และสามารถนำไปสู่โรคเรื้อรังได้ และยังมีงานวิจัยระบุว่าผู้ชายได้รับผลกระทบจากอารมณ์โกรธมากกว่าผู้หญิง และเกิดขึ้นบ่อยกับคนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้นการจัดการกับความโกรธจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และ THE STANDARD POP คัดสรร 10 วิธีรับมือกับอารมณ์โกรธที่แนะนำโดย Healthy Lifestyle Adult Health และหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาฯ มาฝากทุกคนดังนี้
- คิดก่อนพูด
- คุมอารมณ์ตัวเองให้สงบก่อนแสดงความโกรธ
- ให้เวลาตัวเองสงบสติอารมณ์
- เบี่ยงเบนความสนใจไปทำอย่างอื่น ออกกำลังกาย
- หาวิธีแก้ไขปัญหา
- ไม่วิจารณ์หรือตำหนิ ควรอธิบายด้วยเหตุผล
- ให้อภัย ไม่ยึดติดกับความโกรธ
- หาสิ่งบันเทิงใจผ่อนคลายความโกรธ
- ผ่อนคลายด้วยหนัง เพลง หนังสือ หรือไปอาบน้ำ
- ยอมรับการช่วยเหลือจากผู้อื่น
ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา
อ้างอิง:
- Healthy Lifestyle Adult Health
https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/anger-management/art-20045434 - https://wellness.chula.ac.th/?q=th/content/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD