×

#Riety สรุป 10 ข้อ จากประเด็นร้อนของโลกนักออกแบบ

26.11.2021
  • LOADING...

เป็นประเด็นร้อนของวงการศิลปะและนักออกแบบ เมื่อศิลปินชื่อดังอย่าง ปั๋น-ดริสา การพจน์ ศิลปินชื่อดังเจ้าของเพจ Riety (ริเอตี้) ได้ปล่อยคลิปวิดีโอวิจารณ์ผลงานโลโก้ของนักออกแบบที่เธอว่าจ้างในราคาที่ต่างกันออกมา ซึ่งส่งผลให้ตัวนักออกแบบและคนในแวดวงศิลปะหลายๆ คนไม่พอใจ รวมถึงทำให้ #Riety ขึ้นสู่เทรนด์อับดับ 1 บน Twitter อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่คืนวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่องราวนี้มากขึ้น THE STANDARD POP สรุปเหตุการณ์ดราม่าทั้งหมดให้เข้าใจง่ายใน 10 ข้อต่อไปนี้

 

  1. ปั๋น-ดริสา การพจน์ ศิลปินชื่อดังเจ้าของงานแสดงศิลปะที่ใช้เลือดแทนสีน้ำ Vein/Vain และช่อง Riety (ริเอตี้) ที่นำเสนอคอนเทนต์ด้านศิลปะที่หลากหลาย อย่างเช่น วาดรูปไม่ยกมือ 7 วัน, เบื่องหลังการทำ MV ด้วยสีน้ำ หรือวาดรูปไม่นอนตามสั่งคนใน IG 24 ชั่วโมง

 

  1. ด้วยความหลากหลายของคอนเทนต์และมุมมองบางอย่างของตัวปั๋นเอง ทำให้คลิปจากช่อง Riety กลายเป็นประเด็กในโลกโซเชียลอยู่เสมอ อย่างก่อนหน้านี้ที่มีประเด็นเกี่ยวกับ Sexual Harassment จากพฤติกรรมของเธอที่ถูกเล่าในคลิป 50 FACTS about Riety ว่าตัวเธอนั้นชอบมีความคิดในเชิงคุมคามกับผู้หญิงหลายๆ คน

 

  1. ประเด็นร้อนในครั้งนี้เกิดจากคลิปวิดีโอหนึ่งในช่อง Riety ชื่อว่า ‘จ้างทำโลโก้ราคา 20/2,000/20,000 ปรากฏว่า…’ โดยเธอได้ว่าจ้างนักออกแบบ 5 คน ที่มีราคาของผลงาน 20 บาท, 200 บาท, 2,000 บาท, 10,000 บาท และ 20,000 บาท มาออกแบบโลโก้ใหม่ของช่อง ซึ่งมีการบรีฟนักออกแบบไปว่าต้องการโลโก้ที่มีความยูนิเซ็กซ์และโมเดิร์นมากขึ้นจากเดิม 

 

  1. งานของนักออกแบบทั้งหมดถูกนำมาวิจารณ์และให้คะแนนตามความพึงพอใจของตัวเธอเอง โดยแบ่งเป็นคะแนนความคิดสร้างสรรค์ 10 คะแนน คะแนนการออกแบบ 10 คะแนน และคะแนนความพึงพอใจอีก 10 คะแนน รวมเป็น 30 คะแนน ซึ่งผลคะแนนและการวิจารณ์ที่ปรากฏในคลิปเป็นไปอย่างรุนแรง 

 

  1. หนึ่งในนักออกแบบที่ได้รับการติดต่อว่าจ้างได้ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าสิ่งที่ตนได้รับบรีฟมาคือ ทำโลโก้ Riety ให้ดูมีความผจญภัย มีความเป็นศิลปะ และมีควายูนิเซ็กซ์มากขึ้น โดยให้ออกแบบสร้างสรรค์ได้ตามสไตล์ของตัวเอง แล้วก็ทำโมชันกราฟิกกับภาพที่ออกแบบเรียบร้อยแล้วแบบฟรีสไตล์ ซึ่งหลังจากการส่งผลงานไปก็มีการติดตามฟีดแบ็กเพื่อจบงานมาตลอด แต่ทาง Riety ไม่ได้มีการให้ฟีดแบ็กใดๆ แต่ได้ส่งคลิปวิดีโอที่เป็นประเด็นมาให้แทน เพื่อแจ้งว่าโลโก้ถูกนำไปใช้ในคอนเทนต์ของวิดีโอนี้เรียบร้อยแล้ว

 

  1. นักออกแบบได้พูดถึงกรณีนี้ว่า มีความไม่พอใจกับพฤติกรรมของทาง Riety เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ได้มีการแจ้งว่าจะมีการนำโลโก้ไปทำคอนเทนต์วิจารณ์ลง YouTube อีกทั้งงานนี้ยังไม่ไม่ถึงกระบวนการไฟนอลหรือเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งไม่ควรจะนำไปเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ และการนำงานในราคาที่ต่ำและสูงไปวิจารณ์ในรูปแบบนี้ ไม่ได้ส่งเสริมวงการกราฟิกดีไซเนอร์เลยแม้แต่น้อย

 

  1. จากโพสต์ดังกล่าวจึงเริ่มมีกระแสพูดถึงคลิปนี้อย่างแพร่หลาย โดยหลายคนมุ่งเน้นไปที่ประเด็นของการสนับสนุนผลงานศิลปะว่า คอนเทนต์นี้อาจไม่เป็นผลดีต่อราคางานและคุณค่าของศิลปะในประเทศไทย มีผลทำให้คนที่ไม่เข้าใจเรื่องคุณค่าของงานศิลปะกดราคางานต่างๆ เหล่านี้ให้ลดลงมากกว่าเดิม

 

  1. นอกจากเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ก็ยังมีการพูดถึงการทำงานที่หละหลวมของทีมงานที่ไม่แจ้งจุดประสงค์และความต้องการที่ชัดเจนกับนักออกแบบ ที่สำคัญเจ้าตัวและทีมงานยังนำผลงานที่ถือว่าอยู่ในขั้นตอนการออกแบบที่ยังไม่สมบูรณ์นี้มาวิจารณ์โดยเจ้าของผลงานไม่ยินยอม

 

  1. ล่าสุดทาง Riety ได้ลบคลิปที่เป็นประเด็นออกจาก Facebook และ YouTube ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมโพสต์ข้อความขอโทษเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีใจความสำคัญว่า ปั๋นและทีมงานมีเจตนาอยากจะสื่อสารว่างานศิลปะมีราคา มีค่าวิชาชีพ และไม่ควรหวังให้ดีไซเนอร์ทำงานเกินราคา แต่กลับไม่สามารถสื่อสารมันออกมาได้อย่างดีพอ ทีมงานขอโทษกับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้หลายคนไม่สบายใจ และกำลังติดต่อไปขอโทษกับทางนักออกแบบเป็นการส่วนตัวอีกครั้ง

 

  1. กระแส #Riety ที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้คนตื่นตัวกับคุณค่าของงานศิลปะมากขึ้นแล้วทาง TCDC หรือศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ ก็ได้ทวีตข้อความแจกหนังสือ E-Book ‘บรีฟดีดี: วิธีสร้างบรีฟงานที่ดีต่อลูกค้าและดีต่อนักออกแบบ’ เพื่อความรู้เกี่ยวการบรีฟงานให้ตรงกับความต้องการ และแนะนำการตั้งราคางานออกแบบสำหรับนักออกแบบอย่างมืออาชีพด้วย 

 

สำหรับคนที่สนใจสามารถดาวน์โหลด E-Book ได้ที่ 

https://library.tcdc.or.th/record/view/b00042350 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising