×

POP Powerful Voices in Crisis: Organization

18.08.2021
  • LOADING...
POP Powerful Voices Organization

หมวดที่ 2 ของ POP Powerful Voices in Crisis คือกลุ่ม ‘องค์กร’ ของคนในแวดวงป๊อบคัลเจอร์ ที่รวมตัวกันขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้คนทั้งในและนอกวงการ เพื่อช่วยดูแลทุกคนเดือดร้อนเพื่อให้ผ่านช่วงเวลาวิกฤตที่แสนเลวร้ายนี้ไปด้วยกัน 

 

เริ่มตั้งแต่ กลุ่มเราต้องรอด การรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสาที่นำโดย ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ ที่ทำงานแบบไม่มีหยุดพักเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิด ไปจนถึงร่วมมือกับภาคเอกชนสร้างศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อระหว่างรอการรักษาอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลต่อไป

 

ต้องรอด Up for Thai ที่ช่วยเหลือทั้งการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโควิดแบบเข้าใจง่าย, เปิดรับบริจาคสิ่งของจำเป็น, จัดตั้งโรงครัวเพื่อแจกจ่ายให้คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด, จัดหาชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันโควิด เพื่อส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม สถานีอนามัย Hospitel และศูนย์กู้ชีพต่างๆ เพื่อใช้สำหรับปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วย ฯลฯ 

 

กลางใจ (Klang Jai) กลุ่มจิตอาสาที่เปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็น เพื่อนำไปซื้อเครื่องตรวจเชื้อ Antigen Test Kit และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับใช้ลงพื้นที่ตรวจเชื้อโควิดเชิงรุกให้กับชุมชนต่างๆ และจัดทำ Home Isolation Kit สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้านมาอย่างต่อเนื่อง  

 

ชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ที่รวมตัวกันออกมาช่วยเหลือ และยื่นข้อเรียกร้องกับรัฐบาลเพื่อเยียวยากลุ่มศิลปินเพลง ผู้ประกอบอาชีพนักดนตรีกลางคืน ทีมงานเบื้องหลัง และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกองถ่าย ทั้งสื่อภาพยนตร์ โฆษณา ละคร ซีรีส์ ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการระบาดของโควิดทุกระลอก 

 

THE STANDARD POP ขอบคุณอีกครั้ง แด่ทุก ‘พลัง’ จากทุกชีวิตที่ลงมือทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้ทุกคนผ่านวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ไปด้วยกัน 

 

Organizations (5) 

  1. ต้องรอด – Up for Thai / กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด
  1. กลางใจ – Klang Jai / กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด
  1. ชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย – Musicians and Crew Association of Thailand
  1. สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย – Thai Film Director Association
  1. เราต้องรอด – savethailandsafe / กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด

 


 

POP Powerful Voices_ Organization

 

Organization: ต้องรอด Up for Thai

 

ต้องรอด Up for Thai กลุ่มจิตอาสาที่เป็นการรวมตัวกันของภาคประชาชนเพื่อคอยช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในด้านต่างๆ ทั้งการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิดให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจแบบง่ายๆ ผ่านเฟซบุ๊กเพจ ต้องรอด Up for Thai เช่น วิธีประเมินระดับความเสี่ยงติดเชื้อโควิดด้วยตัวเองแบบง่ายๆ, ขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อติดต่อสายด่วน 1669 หลังพบว่าตนเองติดโควิด และข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยและบุคคลรอบข้างที่อยู่ระหว่างรอเตียง

 

รวมถึงมีการเปิดรับบริจาคสิ่งของอุปโภคบริโภคและสิ่งของสำหรับทำอาหาร พร้อมจัดตั้งโรงครัวในการจัดทำอาหารปรุงสุกเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่แคมป์คนงาน ศูนย์พักคอย และชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด รวมถึงนำเงินที่ได้รับจากการบริจาคมาจัดหาชุด PPE และอุปกรณ์ป้องกันโควิด เพื่อส่งมอบให้แก่โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม สถานีอนามัย Hospitel และศูนย์กู้ชีพต่างๆ เพื่อใช้สำหรับปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือผู้ป่วย

 

ต้องรอดได้จัดตั้งโครงการเฉพาะกิจในชื่อ #missionบุษราคัม75 ร่วมกับพันธมิตรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคสื่อสารมวลชน เพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลสนามบุษราคัมเป็นระยะเวลา 75 วัน ก่อนจะมีการย้ายไปยังสถานที่ใหม่

 

นอกจากการช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดแล้ว ต้องรอดยังได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วที่เกิดขึ้นในช่วงค่ำของวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 โดยการเปิดโรงครัวฉุกเฉินและเปิดรับบริจาคสิ่งของจำเป็น เพื่อมอบให้แก่กลุ่มอาสาด่านหน้าในพื้นที่และศูนย์อพยพในจุดต่างๆ

 

กำลังหลักสำคัญของกลุ่มต้องรอดที่คอยขับเคลื่อนช่วยเหลือผู้คนในยามวิกฤต คือกลุ่มจิตอาสาหลายสิบชีวิตที่ลงทะเบียนเข้ามาเป็นอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังมีกลุ่มศิลปิน นักแสดง และอินฟลูเอนเซอร์อีกหลายท่านที่เข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยทำงานในส่วนต่างๆ ของโครงการ รวมถึงร่วมบริจาคสิ่งของและช่วยเหลือด้านประชาสัมพันธ์ให้กับโครงการ เช่น นัชชี่-นัทธ์ชนัน กัลปนา หนึ่งในสมาชิกวง AKIRA KURO, เก่ง-ธชย ประทุมวรรณ, โอ-สุพิชญา ณ สงขลา, เชียร์-ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์, นนน-กรภัทร์ เกิดพันธุ์, แป้ง Zbing z., ต้นสังกัดอีสปอร์ต Hashtag E-Sports ฯลฯ

 

อีกทั้งยังมีกลุ่มแฟนคลับของศิลปินและนักแสดงมากมายออกมาร่วมบริจาคเงินและสิ่งของให้แก่โครงการต้องรอดอีกด้วย เช่น กลุ่มแฟนคลับของสองนักแสดง ซี-พฤกษ์ พานิช และ เซ้นต์-ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา, กลุ่มแฟนคลับศิลปิน เป๊ก-ผลิตโชค อายนบุตร, กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีอย่าง BTS ฯลฯ

 

Organization: Up for Thai

 

Up for Thai is a volunteer group created to help people who were affected by the pandemic. Many easy understanding infos about COVID-19 were posted on Up for Thai Facebook fanpage such as how to determine your COVID-19 risk level, how to contact emergency call 1669 after you tested positive, and how infected patient and surrounding people should behave.

 

Moreover, they opened a donation for consumer products and cooking ingredients to cook meals and give them to worker camps, community isolations, and communities that got affected by the pandemic. Also, the money donations were used to buy PPE suits and COVID-19 protective equipments and contributed them to hospitals, field hospitals, health centers, hospitels, and rescue centers.

 

Up for Thai arranged a special project named #missionบุษราคัม75 with the civil society, private business, and media. They provided consumer products for patients in Busarakam field hospital for 75 days and moved to another place after that.

 

Besides helping people in the pandemic period, Up for Thai took part in helping the fire incident at Kingkaew chemical factory which occured in the evening of July 5th, 2021. Up to Thai set up an emergency kitchen and opened a donation to submit to the frontline volunteers in the area and other migrant centers.

 

The main force of Up for Thai who helps people in crisis is dozens of registered volunteers. There are many artists, actors, and influencers who volunteer to work, donate, and help to promote the projects. Some of them are Nacchi-Natchanan Kalpana, a member of AKIRA KURO, Keng-Tachaya Prathumwan, O-Supichaya Na Songkla, Cheer-Thikamporn Ritta-apinan, Nanon-Korapat Kirdpan, Pang-Zbing z., E-sports teams, etc.

 

Moreover, fanclub groups of artists and actors participated in donating things and fund to Up for Thai such as the fans of two actors Zee-Pruk Panich and Saint-Suphapong Udomkaewkanchana, the fans of Peak-Palitchoke Ayanaputra, the fans of Korean artist BTS, etc. 

 


 

POP Powerful Voices_ Organization

 

Organization: กลางใจ (Klang Jai)

 

กลางใจ (Klang Jai) คือกลุ่มจิตอาสาที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ที่มีใจตรงกันว่า ‘คนไทยทนรอความช่วยเหลือไม่ได้อีกแล้ว’ จึงออกมาร่วมมือกันช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในด้านต่างๆ เพื่อสร้างความหวังให้ทุกคนว่าเราสามารถสู้กับโควิดได้

 

กลางใจได้เปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็น เพื่อนำไปซื้อเครื่องตรวจเชื้อ Rapid Antigen Test และอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับใช้ลงพื้นที่ตรวจเชื้อโควิดเชิงรุกให้กับชุมชนต่างๆ และจัดทำ Home Isolation Kit สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้านมาอย่างต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ กลางใจยังแบ่งปันข้อมูลในการดูแลรักษาตนเองที่บ้านหรือการกักตัวเองที่บ้านสำหรับกลุ่มคนที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโควิดผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ กลางใจ – Klang Jai  พร้อมเปิดให้ผู้ป่วยโควิดสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับ Home Isolation Kit เพื่อใช้รักษาตนเองที่บ้าน โดยจะมีไรเดอร์เดินทางไปส่งให้ถึงหน้าบ้าน อีกทั้งยังได้แบ่งเงินอีกส่วนหนึ่งจากการเปิดรับบริจาคมาซื้ออาหารและเครื่องดื่มเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้คนในชุมชนและคนที่ต้องกักตัวอีกด้วย

 

Organization: Klang Jai

 

Klang Jai is a volunteer group which was set up by a small group of friends who agreed that ‘Thai people can’t wait for no longer’. Therefore, they collaborated with each other in order to help people who got affected in many aspects and create a hope that we all can fight the COVID-19. 

 

Klang Jai has been raising funds and essential stuff in order to buy rapid antigen tests and medical equipment for proactive screening in communities and to make home isolation kits for patients who need to proceed home isolation.

 

Moreover, Klang Jai often shares health tricks and how people with high risk and infected patients can proceed home isolation via Facebook fanpage named ‘กลางใจ – Klang Jai. COVID-19 patients can register for home isolation kits to use at home, delivered by a rider right at the front door. Furthermore, some of the donations were used to buy food and drinks for people in the community and people in quarantine.

 

ภาพ:

  • klangjaiofficialpage / Facebook

 


 

POP Powerful Voices_ Organization

 

Organization: ชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย

 

กลุ่มศิลปินเพลง ผู้ประกอบอาชีพนักดนตรีกลางคืน รวมไปถึงทีมงานเบื้องหลัง นับว่าเป็นกลุ่มอาชีพแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดและเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะได้รับการปลดล็อกให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นกลุ่มอาชีพที่แทบจะไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ

 

ชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพนักดนตรี ศิลปินอิสระ และทีมงานเบื้องหลัง โดยเป็นหนึ่งในชมรม, กลุ่ม และสมาคม ที่อยู่ภายใต้สมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย (สธก) จึงเข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือกลุ่มนักดนตรีและทีมงานเบื้องหลังในด้านต่างๆ

 

โดยทางชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทยได้ทำการเชิญชวนให้ผู้ประกอบอาชีพศิลปิน นักดนตรีกลางคืน และทีมงานเบื้องหลังร่วมลงชื่อเข้าชมรม เพื่อเดินทางไปยังรัฐสภาร่วมกับชมรมที่อยู่ภายใต้สมาพันธ์ฯ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าของข้อเรียกร้องแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันโควิด ซึ่งออกโดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยตอนนี้ (9 สิงหาคม 2564) มีผู้ลงชื่อเข้าร่วมชมรมคนดนตรีแห่งประเทศไทยแล้วมากกว่า 15,000 รายชื่อ

 

ต่อเนื่องไปถึงการกำเนิดขึ้นของ ‘เปิดหมวกเฟสติวัล’ เทศกาลดนตรีออนไลน์ครั้งประวัติศาสตร์ที่เปิดพื้นที่ให้นักดนตรีได้กลับมามอบความสุขแก่ผู้ชมผ่านเสียงเพลงอีกครั้ง พร้อมเปิดให้ผู้ชมสามารถสนับสนุนนักดนตรีที่ชื่นชอบได้ผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีของนักดนตรีโดยตรงหรือสนับสนุนผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีกลางเปิดหมวกเฟสติวัล เพื่อช่วยเหลือนักดนตรีในโครงการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด

 

เปิดหมวกเฟสติวัล เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2564 รับชมกันแบบจัดเต็ม 6 ชั่วโมงต่อวัน ภายในงานได้มีนักดนตรีมากหน้าหลายตา ทั้งนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและนักดนตรีอิสระพร้อมใจตบเท้าร่วมงานมากกว่า 800 ชีวิต โดยสามารถรวบรวมเงินสนับสนุนที่ได้รับผ่านบัญชีกลางและจากผู้สนับสนุนท่านอื่นๆ เพื่อนำไปช่วยเหลือนักดนตรีที่เข้าร่วมงานได้ทั้งหมด 3,164,413.80 บาท

 

นอกจากจะเป็นเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือนักดนตรีแล้ว เปิดหมวกเฟสติวัลยังเป็นเทศกาลดนตรีที่เปิดโอกาสให้นักดนตรีหน้าใหม่และนักดนตรีอิสระได้ออกมาโชว์ผลงานเพลงของตัวเอง เพื่อให้เหล่าคอดนตรีได้เข้ามาทำความรู้จักมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเหล่าคอดนตรีก็จะได้เข้ามาสนุกสนานไปกับการแสดงของนักดนตรีมากหน้าหลายตา เพื่อให้ดนตรีได้บรรเทาจิตใจที่บอบช้ำจากวิกฤตไปพร้อมกันอีกด้วย

 

Organization: Music and Crew Association of Thailand (MCAT)

 

Artists, night-time musicians, and backstages are one of the very first professions who got affected by COVID-19 situation, but they are the last group who will get unlocked to work again. Moreover, this profession can hardly get any compensation from the government.

 

Music and Crew Association of Thailand (MCAT) was established by a group of musicians, independent artists, and backstages. They are one of the clubs, groups, and associations under Thailand Nightlife and Entertainment Business Association (NEBA) who took charge of helping the musicians and backstages.

 

Music and Crew Association of Thailand invited artists, night-time musicians, and backstages to sign a petition and set off to the parliament with other clubs under NEBA. They submitted the petition to ask about the process of guideline requests for nightlife business and entertainment groups who got affected by the vigilant measures against COVID-19 released by Center for COVID-19 Situation Administration (CCSA) on July 1st, 2021. There were more than 15,000 people who had signed to join the Music and Crew Association of Thailand.

 

Coherently, there was the birth of ‘Open Hat Festival’, a historical online music festival which provided space letting musicians perform and pass forward the happiness through their music. The viewers could support their favorite artists by directly sending their money to the artists or to Open Hat Festival’s account. The donations would be passed on to help the artists and musicians who got affected by COVID-19 crisis.

 

Open Hat Festival was first held from July 19th to August 1st, 2021. It had been broadcasting for 6 hours a day. Moreover, there were more than 800 performers who joined the event, both popular and independent artists. They could lastly raise the final amount of donation through Open Hat Festival’s account and the other supporters up to 3,164,413.80 Baht, which were used to help artists and musicians who had performed in the festival.

 

It was not only a music festival that helped musicians and artists, but Open Hat Festival was also a place where the new and independent musicians could perform their own show. Therefore, it was a chance to introduce themselves to music lovers. Meanwhile, those music fans could enjoy many performances from many artists, letting the music cure the wound they got from this crisis.

 

ภาพ:

  • MCATTHAILAND / Facebook

 


 

POP Powerful Voices_ Organization

 

Organization: สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

 

วงการภาพยนตร์ถือเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิดที่เริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพกองถ่ายไม่สามารถออกกองถ่ายทำได้อย่างเป็นปกติ ทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือและเป็นสื่อกลางในการประสานงานกับภาครัฐเพื่อหามาตรการป้องกันและเยียวยาให้ผู้ประกอบอาชีพกองถ่ายสามารถกลับมาถ่ายทำได้อีกครั้ง 

 

โดยช่วงต้นของการแพร่ระบาด ทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและกลุ่มธุรกิจกองถ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมจัดทำมาตรการผ่อนปรนเพื่อเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพกองถ่ายสามารถกลับมาออกกองได้อีกครั้งภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด รวมถึงเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบอาชีพกองถ่ายได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างถูกต้อง 

 

ภายหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงเดือนเมษายน 2564 ทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจึงได้รวบรวมรายชื่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพกองถ่าย ทั้งสื่อภาพยนตร์ โฆษณา ละคร ซีรีส์ ฯลฯ เพื่อยื่นหนังสือขอผ่อนปรนธุรกิจกองถ่ายที่รัฐสภา โดยร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย และสมาคมภาพยนตร์อิสระไทย ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของธุรกิจกองถ่ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดและผลกระทบจากมาตรการป้องกันที่ทางภาครัฐและ ศบค. เป็นผู้กำหนด

 

รวมถึงทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยยังได้มีการจัดทำกล่องยังชีพให้กับผู้ประกอบอาชีพกองถ่ายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด เพื่อหวังว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ใครหลายคนในช่วงวิกฤตได้บ้าง

 

นอกจากนี้ หลังจากที่มีกลุ่มนักแสดง ศิลปิน และผู้มีชื่อเสียงหลายรายถูกเรียกตรวจสอบพฤติกรรมเกี่ยวกับการออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์โควิดของภาครัฐ ทางสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยก็ได้ใช้เสียงของตัวเองในการแสดงจุดยืนเพื่อต่อต้านการข่มขู่คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน พร้อมเน้นย้ำว่าการตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของภาครัฐเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และขอความร่วมมือจากกลุ่มคนวงการบันเทิงให้ออกมาร่วมเป็นกระบอกเสียงให้แก่ประชาชน

 

Organization: Thai Film Director Association

 

Film industry is another business that got affected severely by the spreading COVID-19 situation since the beginning of 2020. Film’s crew members couldn’t process their shooting like they used to. Therefore, Thai Film Director Association got an important role to help as a coordinator between the crew and the government. They asked the government for vigilant measures and compensation so that filmmakers would be able to make films again.

 

In the beginning of the pandemic, Thai Film Director Association collaborated with Ministry of Culture and the other film related businesses to make an agreement on loosening the restrictions and offer it to Center for COVID-19 Situation Administration (CCSA). This loosening would help film crews to be back in shooting under the vigilant measures against COVID-19. Moreover, it would be a tool to publitize the information to film crews to help them work properly according to the measures.

 

When the new wave of COVID-19 began to spread in April of 2021, Thai Film Director Association decided to gather the name list of media crews such as movie, advertisement, drama, series, etc. Participating with Film and Digital media Crew Association (FDCA) and Thai Independent Film Association (TIFA), The list was submitted to the parliament on July 7th, 2021 to ask for loosening. It was sent as a purpose to lessen media crews’ economic hardship affected by the pandemic and the government’s vigilant measures. 

 

Furthermore, Thai Film Director Association has distributed relief supply kits for media crews who were affected by COVID-19, in hopes that it would lessen expenses during crisis time. 

 

According to the incident where actors, artists, and celebrities were summoned to inspect after they criticised the government’s pandemic management, Thai Film Director Association called the government out to give freedom of expression to people. They also emphasized that questioning and criticising the government was people’s basic rights in democracy. They lastly called people in the industry out to be voices to people.

 

ภาพ

  • thaifilmdirectorpage / Facebook 

 


 

POP Powerful Voices_ Organization

 

Organizations: เราต้องรอด

 

เราต้องรอดคือการรวมตัวกันของกลุ่มจิตอาสาที่นำโดย ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโควิดที่กำลังรอเตียง ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ เราต้องรอด

 

โดยกลุ่มอาสาเราต้องรอดจะคอยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดที่ติดต่อเข้ามาผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ เราต้องรอด ในการติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นและช่วยประสานงานให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาต่อไป โดยจะมีทีมแพทย์และพยาบาลจิตอาสาคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยผ่านทาง Line OA

 

ในเวลาเดียวกัน เราต้องรอดยังเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ป้องกัน เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องวัดออกซิเจน และสิ่งของจำเป็น เพื่อใช้สำหรับทีมจิตอาสาที่จะคอยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยังรอเตียงอยู่ที่บ้าน โดยจะนำเครื่องผลิตออกซิเจนมาช่วยประคองอาการให้กับผู้ป่วยอาการหนัก พร้อมมอบยาและให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน

 

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดที่เต็มไปด้วยปัญหาในหลากหลายมิติ เราต้องรอดยังร่วมมือกับ หมอแล็บแพนด้า, สรยุทธ สุทัศนะจินดา และ ตัน ภาสกรนที ในการริเริ่มโปรเจกต์ @backhome เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความต้องการกลับไปการรักษาตัวที่บ้านเกิด โดยจะทำหน้าที่ช่วยประสานงานให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลในจังหวัดนั้นๆ ช่วยประเมินอาการในเบื้องต้นให้กับผู้ป่วย และจัดเตรียมรถพยาบาลเพื่อพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามในจังหวัดบ้านเกิดของตัวเองอย่างปลอดภัย

 

รวมถึงจัดโครงการที่เปิดให้ตัวแทนชุมชนได้ลงทะเบียนเพื่อขออาหารให้ผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดในชุมชน โดยเราต้องรอดจะติดต่อกับร้านอาหารที่ร่วมโครงการเพื่อทำอาหารให้กับคนในชุมชน พร้อมเปิดรับบริจาคและโอนค่าอาหารเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารที่ขาดรายได้

 

นอกจากนี้เราต้องรอดยังได้ร่วมมือกับกลุ่มจิตอาสาและองค์กรต่างๆ ในการสร้างศูนย์พักคอยเพื่อพาผู้ป่วยมาพักระหว่างรอเตียงและเพื่อแยกผู้ป่วยออกมาจากครอบครัวหรือชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

Organization: Savethailandsafe

 

Savethailandsafe is a group of volunteers led by Dai Diana Jongjintanakarn, created to help COVID-19 patients who are waiting for a bed via Facebook page ‘Savethailandsafe’.

 

This volunteer group works as a coordinator to help COVID-19 patients who have contacted via Facebook page Savethailandsafe. The patients will be asked for more primary details and the group will help to cooperate until they get a bed for the treatment. During the waiting, volunteering doctors and nurses stand by to give advice to the patients through Line OA.

 

Meanwhile, Savethailandsade has opened for protective equipment, oxygen concentrators, and other essential stuff. The on-site volunteering team will use these oxygen concentrators to lessen the symptom of severe patients. They will also contribute  medicines and give advice about basic steps to the patients who proceed home treatment and isolation.

 

During the spread of COVID-19 and its multidimensional problems, Savethailandsafe collaborated with Morlabpanda, Sorayuth Suthassanachinda, and Tan Passakornnatee to start a project ‘@backhome’. The project helped to cooperate with local hospital doctors to primarily diagnose and prepare an ambulance to pick up the patient to the hospital or field hospital in their hometown safely.

 

Moreover, they arranged a project that let a representative from each community register to get food for patients and other people in the community. Savethailandsafe would contact the in-project restaurants to cook for people in the community. Also, they opened for donations and the food fund to help the restaurants which have less income than usual.

 

Lastly, Savethailandsafe collaborated with volunteering groups and organizations to build a community isolation in order to provide areas for people who were waiting for a bed, and to screen the patients from their families and communities to decrease the new cases.

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising