×

40 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่อาจยังไม่รู้ แต่เราอยากให้ลอง

02.10.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time Index

2:16 เคยเรียนอะไรจากยูทูบกันบ้าง

11:58 หารายได้เสริมอย่างไร

17:12 ชีวิตง่ายขึ้นแค่มี…

25:00 ให้อัลกอริทึมช่วยตัดสินใจ

27:25 หมดยุคฝากพ่อแม่อัดเทปละครตอนจบ

29:14 เจอเพื่อนใหม่

31:10 พลังของการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ยังจำกันได้ไหมว่าชีวิตในยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ตเป็นยังไง

 

คนที่เกิดก่อนปี 2000 น่าจะพอตอบคำถามข้างต้นได้ดี เพราะก่อนจะมีอินเทอร์เน็ต การติดต่อสื่อสารและเสิร์ชหาข้อมูลไม่ได้สะดวกรวดเร็วเหมือนกับทุกวันนี้ แต่เด็กรุ่นใหม่อาจจินตนาการแทบไม่ออกว่าชีวิตที่ปราศจากอินเทอร์เน็ตจะเป็นอย่างไร

 

แต่แน่ใจแล้วหรือยังว่าเราใช้อินเทอร์เน็ตกันได้คุ้มค่าที่สุดแล้ว เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวนทีมงาน THE STANDARD PODCAST มาร่วมแชร์ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใครหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ หรือรู้แล้ว ยังไม่เคยลอง แต่เราอยากให้ลองทำกันดูสักตั้ง!


ใช้อินเทอร์เน็ตหัดทำอะไรสักอย่าง

  1. เรียนวิธีเย็บเต้านมเทียมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากยูทูบ
  2. ลองทำตามคลิป How-to ต่างๆ ตั้งแต่การผูกพ้าพันคอ 10 แบบ ทำอาหาร แต่งหน้า รีวิวอุปกรณ์ พับผ้าแบบแบรนด์ยูนิโคล่ ไปจนถึงการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ซ่อมรถ และการเลี้ยงลูก
  3. ดูวิธีประกอบเฟอร์นิเจอร์จากยูทูบ ซึ่งเห็นภาพได้ชัดเจนกว่าการอ่านคู่มือ
  4. ฝึกเขียนโค้ด เช่น Masako Wakamiya หญิงชาวญี่ปุ่นวัย 80 ปี ได้พัฒนาแอปพลิเคชันเกมเอง โดยเริ่มเรียนคอมพิวเตอร์และหัดเขียนโค้ดจากอินเทอร์เน็ตตอนอายุ 60 ปี
  5. เรียนการทำรายการพอดแคสต์จากสื่อออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
  6. หาความรู้และแรงบันดาลใจจาก TED Talks
  7. เรียนภาษาต่างประเทศ เช่น
    – ดูคลิปยูทูบ
    – ฟังพอดแคสต์
    forvo.com ฝึกออกเสียงคำศัพท์
    italki.com ฝึกพูดกับเจ้าของภาษาโดยตรง
  8. เรียนคอร์สออนไลน์ เช่น Coursera, Master Class, Skillane หรือเรียนต่อระดับปริญญาตรี-เอกของมหาวิทยาลัยต่างๆ ทางออนไลน์

 

ใช้อินเทอร์เน็ตหารายได้เสริม เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

แค่มีอินเทอร์เน็ตกับไอเดียดีๆ เราก็สามารถหารายได้เสริมหรือเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ เอง โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านหรือลงทุนสูงตั้งแต่แรก บางอาชีพทำเงินได้สูงกว่างานประจำทั่วไป ที่สำคัญเราสามารถศึกษาตลาดและความต้องการของผู้บริโภคจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก

  1. ขายของออนไลน์ผ่านอีคอมเมิร์ซ และโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Live
  • ขายของสะสมหายาก สินค้าแบรนด์เนมลิมิเต็ด อิดิชัน หรือผลงานของตนเอง เช่น ขายรูปถ่ายใน Photostock
  • ขายของที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น สติกเกอร์ไลน์ ไอเท็มเกมออนไลน์
  1. ประมูลสินค้าและของสะสม
  2. เกิดอาชีพใหม่ๆ ในโลกออนไลน์ เช่น Blogger, Youtuber, Sticker Creator, Reviewer, App Developer นักกีฬาอีสปอร์ต และนักพากย์เกมออนไลน์ รวมทั้งอาชีพที่เกิดจากโมเดลธุรกิจใหม่ เช่น พนักงานส่งของ LINE MAN คนขับรถ Grab
  3. เกิดธุรกิจใหม่ที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Airbnb, Uber, Grab
  4. ระดมทุนออนไลน์ (Crowdfunding) หาทุนทำธุรกิจและพัฒนาไอเดีย/โปรเจกต์ให้กลายเป็นจริง โดยไม่ต้องง้อนายทุนหรือธนาคารเท่านั้น เช่น kickstarter, indiegogo

 

ใช้อินเทอร์เน็ตอำนวยความสะดวก ประหยัดเวลา

อินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มทางเลือก ประหยัดเวลา และทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น

  1. ตรวจเช็กรายงานผลต่างๆ เช่น สถานการณ์ตลาดหุ้น สภาพอากาศ ผลสอบ ผลตรวจสุขภาพ สถานะการจัดส่งของ สต๊อกสินค้า
  2. หาตัวช่วยการทำงาน/กิจกรรม เช่น พิมพ์งานบน Google Docs ใช้ฟังก์ชันแปลงเสียงเป็นข้อความ (Voice-to-text) แอปฯ วัดแสงกล้อง Pocket Light Meter
  3. สืบค้นข้อมูลผ่านข้อความ เสียง และภาพ เช่น Shazam, SoundHound, Google Images
  4. สมัครงานออนไลน์
  5. จองคิวผ่านแอปฯ ไม่ต้องยืนต่อคิวนาน เช่น QueQ
  6. ใช้บริการจองออนไลน์ เช่น ตั๋วหนัง ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วคอนเสิร์ต โรงแรม
  7. สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ พร้อมบริการจัดส่งถึงบ้าน
  8. เลือกตั้งออนไลน์
  9. ถ่ายและตัดต่อวิดีโอด้วยแอปฯ บนสมาร์ทโฟน
  10. แจ้งเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น ฟีเจอร์ Mark as safe ของเฟซบุ๊ก
  11. ค้นหาเส้นทางหรือไปเยี่ยมสถานที่ในความทรงจำผ่าน Google Maps
  12. ชมนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ เช่น Virtual Tour ของพิพิธภัณฑ์วาติกัน

 

ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยตัดสินใจ

ในยุคที่เต็มไปด้วยตัวเลือก อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจง่ายและเร็ว จากการค้นหาข้อมูล เปรียบเทียบความแตกต่างของสินค้า/บริการ ไปจนถึงการสอบถามความคิดเห็น

  1. อ่านข้อมูลและความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจ เช่น รีวิว เรตติ้ง
  2. เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ เช่น เปรียบเทียบราคาที่พักโรงแรมจาก Booking และ Agoda
  3. ตรวจสอบที่มาของสินค้า/บริการ
  4. ระดมความคิดเห็นจากสาธารณชน (Crowdsourcing) หรือทำโพลออนไลน์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของมวลชน และช่วยในการตัดสินใจ เช่น การทำมาร์เก็ตติ้ง การรายงานข่าว
  5. มีระบบอัลกอริทึมช่วยวิเคราะห์ประมวลผล คัดสรรคอนเทนต์ และแนะนำตัวเลือกบนพื้นฐานของข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น อายุ เพศ พฤติกรรม ความชอบ และรสนิยม

 

ใช้อินเทอร์เน็ตเสพสื่อบันเทิง 

  1. ดูหนัง ซีรีส์ ฟังเพลงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบสตรีมมิงและแพลตฟอร์มออนไลน์
  2. โลกอินเทอร์เน็ตเป็นคลังเก็บฟุตเทจเก่าๆ ที่หาดูได้ยาก
  3. การฟังเพลง ดูหนัง-ซีรีส์ ผ่านระบบสตรีมมิงทำให้เราไม่จำเป็นต้องซื้อ Hard Copy 

 

ใช้อินเทอร์เน็ตสร้างคอมมูนิตี้ 

  1. เจอเพื่อนใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์และความสนใจคล้ายๆ กัน
  2. ได้ติดต่อกับเพื่อนเก่า หรือคนที่เคยรู้จักกันอีกครั้ง
  3. เกิดการรวมกลุ่มและชุมชนออนไลน์ในแต่ละด้าน

 

ใช้อินเทอร์เน็ตร่วมแรง ร่วมใจ 

อินเทอร์เน็ตเป็น ‘กระบอกเสียง’ ทำให้คนธรรมดาทั่วไปมีพลังอำนาจในการต่อรอง เรียกร้อง หรือกระทั่งสร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับสังคมย่อย ไปจนถึงระดับประเทศและระดับโลก ไม่ต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือ ‘Someone’ ก็จุดกระแสการเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้

 

  1. เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาผ่านโซเชียลมีเดีย
  2. ระดมความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินหรือประสบภัย เช่น กรณีทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าติดถ้ำหลวง
  3. จุดประเด็นทางสังคม เพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงสังคม เช่น #MeToo
  4. ทำแคมเปญรณรงค์ สร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาและร่วมมือกันแก้ไข เช่น Change.org

 


 

ใครเคยใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในแบบอื่นๆ สามารถแชร์ประสบการณ์ตัวเองมาทางคอมเมนต์ในช่องทางต่างๆ เช่น YouTube, SoundCloud, Podbean เพจ THE STANDARD หรือจะเมนชันหาเราทางทวิตเตอร์ @TheStandardPod ก็ไม่ติด รับรองว่าทีมงานจะอ่านทุกคอมเมนต์แน่นอน

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ Tomorrow is Now
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 

Credits

 

The Host จิตต์สุภา ฉิน
The Guests ภูมิชาย บุญสินสุข, อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปิยพร อรุณเกรียงไกร

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Show Producer ปิยพร อรุณเกรียงไกร

Show Co-producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์  

Show Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising