×

จับตาบิ๊กมูฟ ธนาคารกสิกรไทย กับ Grab ร่วมผลักดันให้เกิด Digital Lifestyle Ecosystem [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
14.11.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 MINS READ
  • Better Together คือคอนเซปต์ของธนาคารกสิกรไทยในการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในแต่ละธุรกิจ จับมือกันสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้กับลูกค้าในยุคดิจิทัล
  • ดีลครั้งสำคัญ ธนาคารกสิกรไทยขอถือหุ้นใน Grab ทุ่มเงินลงทุนราว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1,600 ล้านบาท
  • GrabPay by KBank คือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระค่าโดยสารผ่านระบบแอปพลิเคชัน พร้อมด้วยบริการทางการเงินต่างๆ ช่วยให้การใช้บริการ Grab สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

 

 

Better Together คือคอนเซปต์ที่ธนาคารกสิกรไทยกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการก้าวออกไปจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำที่มีความแข็งแกร่งในไลฟ์สไตล์ด้านต่างๆ มาวันนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการเคลื่อนไหวไปในทิศทางใหม่ ธนาคารกสิกรไทยไม่ได้พัฒนาเพียงความเป็นธนาคารรูปแบบเดิมอีกต่อไป ดีลใหญ่ครั้งสำคัญนี้จับมือกับ Grab ร่วมกันผลักดันให้เกิด Digital Lifestyle Ecosystem ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดความสะดวกสบายเพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับลูกค้าในการใช้ชีวิตประจำวัน

 

Grab เป็นที่รู้จักกันดีในนามบริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับเรียกแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคล มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รวมถึงการขนส่งสิ่งของหรือเอกสาร ให้บริการใน 8 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขึ้นเป็นผู้นำแพลตฟอร์มฟินเทคด้านจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนและมูลค่าการใช้จ่ายรวมอีกด้วย

 

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ Grab ประเทศไทย เล่าว่า “ทางบริษัทยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันที่จะนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับประเทศไปสู่ระบบดิจิทัล ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการชำระเงินระบบดิจิทัลได้สะดวกและปลอดภัยมากที่สุด”

 

 

ทางด้านกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย พัชร สมะลาภา เผยว่า “การร่วมมือกันครั้งนี้ทำให้เกิดโอกาสใหม่ในการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ลูกค้าให้บริการไปสู่ Digital Lifestyle Ecosystem เต็มรูปแบบ ทั้งผู้ใช้บริการ Grab คนขับรถ และร้านค้า รวมถึงยกระดับระบบขนส่งและการจัดส่งที่ปลอดภัย ราคาเหมาะสม”

 

 

ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าจะเป็น Digital Banking ที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค มีความตั้งใจพัฒนากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟน และร่วมลงทุนกับ Grab เพื่อหวังก่อประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้าของธนาคารที่อยู่ในประเทศไทย และยังเป็นครั้งแรกที่ธนาคารลงทุนในบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจหลักอยู่นอกประเทศไทยผ่านบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารกสิกรไทยที่มีบทบาทการลงทุนในสตาร์ทอัพและฟินเทคอีกด้วย การร่วมมือดังกล่าวส่งผลให้เกิดการพัฒนา 3 ประการ ดังนี้

 

GrabPay by KBank หรือที่เรียกว่ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟน ทำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการผ่าน Grab ไม่ว่าจะเดินทาง สั่งอาหาร หรือขนส่งสินค้า สามารถชำระค่าบริการได้ง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว รวมถึงการโอนเงินให้กับเหล่าเพื่อนหรือครอบครัวเพื่อใช้สำหรับซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ก็ทำได้ ทั้งยังสามารถชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดในร้านอาหารหรือร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้แบบสบายๆ

 

Grab + K PLUS คือการพัฒนาให้แอปพลิเคชันอย่าง K PLUS และ Grab ใช้งานร่วมกันได้ ทำให้ลูกค้าของทั้งสองเจ้าสามารถใช้บริการควบคู่กันไปได้แบบไม่มีสะดุด

 

 

Business to Business ธนาคารกสิกรไทยและ Grab นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในวงจรการให้บริการ เช่น สินเชื่อกสิกรไทย ให้ผู้ขับขี่รถ Grab สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือจะเป็นการนำเสนอ Grab for Business ให้กับลูกค้า SMEs ของทางฝั่งธนาคารกสิกรไทย เพื่อเป็นตัวช่วยด้านบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการเดินทางของบริษัท ไปจนถึงการสื่อสารรูปแบบแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่านบริการโฆษณาของ Grab อีกด้วย

 

 

การร่วมมือครั้งสำคัญนี้เรียกได้ว่าเข้าถึงทุกระดับประทับใจตามคำขวัญของธนาคารกสิกรไทย เพราะจะช่วยให้ผู้ขับขี่ที่อาจไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่มีประวัติธุรกรรมสามารถกู้สินเชื่อได้ มีโอกาสในการถอยรถคันใหม่หรือเป็นค่าซ่อมบำรุงก็ได้เช่นกัน เพราะยังมีคนไทยที่เข้าไม่ถึงระบบธนาคารอีกจำนวนไม่น้อย การร่วมมือครั้งนี้อาจเป็นการช่วยหาทางออกร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทั้งฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจและผู้ใช้บริการก่อนตัดสินใจให้ทำการกู้ ธนาคารกสิกรไทยเองก็สามารถตรวจสอบบัญชีรายรับของผู้กู้ได้จากบันทึกรายได้ของผู้ขับขี่ Grab นั่นเอง

 

เรียกได้ว่าในวันนี้ธนาคารกสิกรไทยก้าวข้ามไปอีกขั้นของการทำธุรกิจแบงก์แบบเดิมเพื่อมุ่งหน้าตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้า รองรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้นอย่างแท้จริง

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising