×

ไม่เปลี่ยน ไม่ทันกติกา เท่ากับล้าหลัง! ธนาคารกสิกรไทยปัก 4 กลยุทธ์ความยั่งยืน ขอให้ ‘มากกว่าสินเชื่อ’ ดันเอกชนไทยสู่สนาม Climate Game [ADVERTORIAL]

28.03.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 MIN READ
  • “ถ้าเราปล่อยให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปอีก 3.2 องศาในปี 2593 โดยไม่ทำอะไรเลย ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นราว 18% ของ Global GDP หรือคิดเป็น 18 ล้านล้านดอลลาร์ และหากมองเฉพาะเศรษฐกิจไทยจะเสียหายประมาณ 44% ของ GDP หรือคิดเป็นมูลค่า 2.18 แสนล้านดอลลาร์”
  • การประชุม COP28 ที่ผ่านมา ประชาคมโลกบรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะส่งแรงกดดันไปสู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk)
  • ธนาคารกสิกรไทย ‘ต้องการเป็นมากกว่าธนาคาร’ และนำมาสู่ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2567 ที่จะพาธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมรับมือยุค Climate Game ที่มูลค่าของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงผลกำไรจากธุรกิจ

“ถ้าเราปล่อยให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไปอีก 3.2 องศาในปี 2593 โดยไม่ทำอะไรเลย ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นราว 18% ของ Global GDP หรือคิดเป็น 18 ล้านล้านดอลลาร์ และหากมองเฉพาะเศรษฐกิจไทยจะเสียหายประมาณ 44% ของ GDP หรือคิดเป็นมูลค่า 2.18 แสนล้านดอลลาร์”

 

หากยังนึกภาพความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ออก พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ฉายภาพให้ชัดขึ้นว่า “ตอนโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้นสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 3% ของ GDP”

 

ยิ่งไปกว่านั้น หากประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา และจีน เริ่มดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยกลับเริ่มช้า ไม่ทันระเบียบกติกาใหม่ของประเทศผู้นำนั้นๆ ความเสียหายจะเกิดขึ้น 40-45% ของผู้ส่งออกของไทย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 114 ล้านบาท

 

ไม่เปลี่ยนเท่ากับ ‘ถอยหลัง’

 

การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นโจทย์ใหญ่ของโลก ซึ่งล่าสุดในการประชุม COP28 ที่ผ่านมา ประชาคมโลกบรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะส่งแรงกดดันไปสู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk) ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทยราว 40-45%

 

 

นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (MRV), มาตรการจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap and Trade), มาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม (Carbon Tax) รวมถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง

 

 

ก้าวต่อไปของ KBANK จะเป็น ‘มากกว่าธนาคาร’

 

พิพิธกล่าวว่า จากการที่โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิมจะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักและปรับตัวให้ทันเพื่อรับมือกับเกมนี้ ธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจในการปรับตัวรับมือ ด้วยประสบการณ์ ผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้ที่มี

 

จึงเป็นที่มาที่ทำให้ธนาคารกสิกรไทย ‘ต้องการเป็นมากกว่าธนาคาร’ และนำมาสู่ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2567 ที่จะพาธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมรับมือยุค Climate Game ที่มูลค่าของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงผลกำไรจากธุรกิจดังเดิม แต่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

โดยธนาคารกสิกรไทยได้ดำเนินการผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

 

กลยุทธ์ที่ 1 Green Operation

 

ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของตัวเองและตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ใน Scope 1&2 ภายในปี 2573 โดยมีการปรับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของธนาคาร เช่น ดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่อาคารหลักของธนาคารครบ 100% และติดตั้งที่สาขาที่มีศักยภาพจำนวน 78 สาขา ภายในเดือนมิถุนายน 2567, เปลี่ยนรถที่ใช้ในองค์กรเป็นรถไฟฟ้าแล้ว 183 คัน ทำให้ในปี 2566 ธนาคารสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ 12.74% เมื่อเทียบกับฐานปี 2563 รวมทั้งมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (ปี 2561-2566) นับเป็นประสบการณ์ตรงเรื่อง Climate Action ที่ธนาคารทำจริงและวัดผลได้

 

 

กลยุทธ์ที่ 2 Green Finance

 

นำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อและเงินลงทุนมาสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ทั้งการให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม (Green Loan), การให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing), การจัดสรรเงินลงทุนของธนาคารในธุรกิจและสตาร์ทอัพที่สร้างผลกระทบเชิงบวก, การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลก เพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) เป็นต้น โดยธนาคารส่งมอบเงินสินเชื่อและเงินทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท (2565-2566) และคาดว่าจะมีเม็ดเงินรวมเป็น 100,000 ล้านบาทในปี 2567 รวมทั้งจะขยับเป็น 200,000 ล้านบาทในปี 2573 ตามเป้าหมาย

 

นอกจากนี้ ในปี 2565-2566 ธนาคารมีการวิเคราะห์อุตสาหกรรมใน Portfolio เพื่อจัดลำดับอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด และได้จัดทำแผนกลยุทธ์การลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) ร่วมกับลูกค้าในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมไปแล้ว 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมถ่านหิน อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ อุตสาหกรรมซีเมนต์ และอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม

 

 

ภาพรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคาร ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Portfolio ของธนาคาร ซึ่งคิดเป็น 480 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการโดยตรงของธนาคาร (Own Operation-Scope 1&2)

 

กลยุทธ์ที่ 3 Climate Solutions

 

จากโจทย์ใหญ่ซึ่งเป็นเรื่องการทำ Portfolio Decarbonization ซึ่งเกี่ยวข้องกับลูกค้าธุรกิจเป็นจำนวนมากที่มีความพร้อมแตกต่างกัน นับเป็นความท้าทายที่ธนาคารจะต้องเชื่อมต่อในวงกว้างให้ลูกค้าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง ธนาคารจึงเห็นโอกาสในการพัฒนาโซลูชันบริการด้านสิ่งแวดล้อมและการเชื่อมต่อระบบนิเวศด้านคาร์บอนที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อที่จะสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจอย่างครบวงจรและเป็นวงกว้าง โดยบูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานทั้งของธนาคารเองและการทำงานของลูกค้า ผ่านกลยุทธ์การทำงานเพื่อการส่งมอบบริการที่มากกว่าการเงิน

 

 

ธนาคารได้ศึกษาและพัฒนาโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร โดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ประกอบด้วยโซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP แพลตฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ และ ‘ปันไฟ’ (Punfai) แอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทย ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

 

นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปีในการวัด Carbon Footprint ของธนาคารมาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

 

 

กลยุทธ์ที่ 4 Carbon Ecosystem

 

เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้นในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต โดยศึกษาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิตสำหรับการชดเชยทางคาร์บอนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มฯ เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ธนาคารได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่นๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Broker/Dealer) การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Tokenization)

 

 

เพราะขนาดมีผลต่อการสร้างอิมแพ็กต์

 

พิพิธกล่าวว่า ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวนั้น ‘ขนาด’ ของผู้ประกอบการมีความสำคัญค่อนข้างมาก โดยธุรกิจที่มียอดขาย 5,000 ล้านบาทขึ้นไปจะเป็นขนาดธุรกิจที่สร้างอิมแพ็กต์ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเงินให้กับลูกค้านั้น ธนาคารกสิกรไทยได้มุ่งเน้นสนับสนุนลูกค้าขนาดกลางให้เปลี่ยนผ่านมาสู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่อง

 

“เพราะลูกค้ารายใหญ่จะดึงกลุ่มลูกค้าที่อยู่ภายใต้ซัพพลายเชนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน เนื่องจากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่มีพลังที่จะช่วยลูกค้ารายกลางได้”

 

สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าภายในปี 2573 เม็ดเงินรวม 200,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของพอร์ตสินเชื่อรวมทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1.7 ล้านล้านบาท

 

 

แก่นสำคัญคือบูรณาการศักยภาพ

 

พิพิธกล่าวตอนท้ายว่า การทำงานด้าน Climate Change ในระดับประเทศให้บรรลุผลได้นั้น ธนาคารไม่ได้มองตัวเองเป็นเพียงผู้ให้สินเชื่อเท่านั้น แต่ต้องการที่จะนำประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่ธนาคารมี มาช่วยสนับสนุนลูกค้าและภาคธุรกิจไทยร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง และธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อของภาคธุรกิจ ลูกค้า ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพต่างๆ เพื่อส่งมอบเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน เพราะนี่คือระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ Base on Carbon ซึ่งจะเป็นการวิ่งคู่ขนานกับระบบเศรษฐกิจเดิม

 

“วันนี้ถือเป็นจุด Turning Point เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้กลุ่มสีน้ำตาลไม่ลดลงช้าเกินไป และสีเขียวโตเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เราชนะในเกมการแข่งขันนี้ หลังจากที่เราแพ้ราบก่อนหน้านี้”

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising