×

EV มีหนาว? สหภาพยุโรปบังคับใช้ ‘Battery Passport’ จากเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งอาจเขย่ายานยนต์ไฟฟ้าทั้งซัพพลายเชน

22.06.2023
  • LOADING...
Battery Passport

Honda-Ford ไม่รอช้าร่วมผลักดันกฎหมายสำหรับ ‘Battery Passport’ บล็อกเชนระบบติดตามทั้งห่วงโซ่กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ ความท้าทายใหม่ด้านเทคโนโลยีที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV เมื่อสหภาพยุโรปจะบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในปี 2026

 

หลังจากที่ Audi ได้เปิดตัว ‘Battery Passport’ เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อพิสูจน์ว่ารถยนต์ไฟฟ้านั้นมาจากพลังงานสะอาดจริง เพราะทำหน้าที่คล้ายหนังสือเดินทาง จากไอเดียที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องที่มาของแบตเตอรี่ ริเริ่มจาก Audi และ Tesla เมื่อปี 2017 ในวันนั้น วันนี้อาจมากกว่า เพราะสิ่งแวดล้อมเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการผลิต

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า จากสถานการณ์การผลิตแบตเตอรี่ที่มีการใช้และการแข่งขันทั่วโลก ส่งผลให้บรรดาค่ายรถต่างหันมาให้ความสำคัญกับการผลักดัน ‘Battery Passport’ ด้วยระบบบล็อกเชนที่กำลังเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV โดยล่าสุดสหภาพยุโรปจะกำหนดให้ ‘Battery Passport’ มีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ภายใต้กฎระเบียบรัฐสภายุโรป คาดว่าก่อนปี 2026

 

โดยปัจจุบันมีกลุ่มบริษัทระดับโลกกว่า 120 ราย รวมถึง Honda Motor และ Ford Motor ที่ล่าสุดเข้าร่วมการผลักดัน โดยได้รวบรวมร่างมาตรฐานรูปแบบเสมือนไดอารีดิจิทัลสำหรับแบตเตอรี่ EV ที่คอยติดตามประสิทธิภาพของแบตเตอรี่อย่างละเอียดเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อบันทึกประวัติของรายละเอียดแบตเตอรี่แต่ละก้อน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าควรเปลี่ยนหรืออัปเกรดแบตเตอรี่ ตอนไหน เมื่อไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้รถสามารถติดตามการใช้แบตเตอรี่แต่ละก้อนที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ 

 

เรียกง่ายๆ ว่านอกจากจะบันทึกดิจิทัลของห่วงโซ่อุปทานของแบตเตอรี่แล้ว ยังรวมไปถึงที่มาของวัสดุที่ใช้ เปอร์เซ็นต์ของส่วนประกอบที่นำกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้อง และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

 

การสนับสนุนดังกล่าวภายใต้กลุ่มความร่วมมือ Mobility Open Blockchain Initiative จะเป็นผู้ผลักดันให้คณะกรรมาธิการยุโรปและหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลกเข้าร่วมกำหนดมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้ประกอบไปด้วยเหล่าผู้ผลิตรถยนต์ Nissan Motor, Mazda Motor, General Motors, Stellantis, BMW, Denso และ Itochu ขณะเดียวกัน Catena-X ซึ่งเป็นกลุ่มคู่แข่งที่มี Volkswagen และ Siemens กำลังอยู่ระหว่างหารือมาตรฐานสำหรับ Battery Passport เช่นกัน

 

ส่วนระบบที่วางไว้มาจาก Amazon Web Services และ Hitachi ซึ่งจะกำหนดหมายเลขประจำแบตเตอรี่แต่ละก้อนผ่านบล็อกเชน เพื่อติดตามผ่านกระบวนการผลิต 

 

EU หวังแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 

 

ตามรายงานของ International Energy Agency ระบุว่า ความต้องการแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าด้วย ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 50% เพิ่มมากกว่า 10 ล้านคันในปี 2022 โดยนับรวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และปลั๊กอินไฮบริด และพลังงานหมุนเวียน นำมาซึ่งเหตุผลหลักที่สหภาพยุโรป (EU) ต้องหันมาออกกฎหมายควบคุมแบตเตอรี่ เนื่องจากขณะนี้มีการใช้แบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก ทั้งในโทรศัพท์มือถือไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ลิเธียมและนิกเกิลที่นับวันจะหมดไปและมีอยู่อย่างจำกัด โดยจีนครองส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 60% ในการแปรรูปลิเธียม อีกทั้งเมื่อแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เสื่อมสภาพก็จะกลายมาเป็นขยะ ซึ่งแบตเตอรี่และขยะอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นขยะอันตราย หากทำลายไม่ถูกวิธีก็จะส่งผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 

‘Battery Passport’ จึงจะวางมาตรฐานและทำหน้าที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตแบตเตอรี่ และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเศรษฐกิจหมุนเวียน และคาร์บอนฟุตพรินต์ของแบตเตอรี่

 

ส่วนทางด้านสหรัฐอเมริกาและยุโรปมองว่าแบตเตอรี่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวแปรและสร้างอำนาจกลยุทธ์ ถือเป็นกุญแจสำคัญของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในอนาคต

 

ดังนั้นเป็นไปได้ว่าหากร่างกฎหมายผ่าน บรรดาผู้ผลิตค่ายรถยนต์ EV ต้องหันมาให้น้ำหนักกับแบตเตอรี่ แน่นอนว่าการกำหนดมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อาจจะต้องติดตามต่อไปว่าจะมีผลต่อการกีดกันทางการค้า การผลิต อย่างไรต่อไป

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising