×

บรรยากาศหอศิลปกรุงเทพฯ วันนี้ กับคำถามถึงอนาคตบนทางแพร่ง

14.05.2018
  • LOADING...

นับเป็นเวลา 10 ปีที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครต้องใช้เวลาเดินทางผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุดอาคารหอศิลปกรุงเทพฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 

ที่ผ่านมา มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครรับหน้าที่บริหารจัดการผ่านโครงสร้างคณะกรรมการ 3 คณะ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปวิตร มหาสารินันทน์ เป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบัน และพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา

 

 

แต่วันนี้มีคำถามถึงอนาคตของหอศิลปกรุงเทพฯ ในแง่ของการบริหารจัดการ โดยพลตำรวจเอก อัศวิน เปิดเผยว่า กทม. เตรียมดึงหอศิลปกรุงเทพฯ ไปดูแลเอง และระบุอีกว่า “ไม่ต้องศึกษาอะไรแล้ว เพราะหากไม่ให้ กทม. เข้าไปดูแล ในอนาคตสภาฯ อาจจะไม่ให้งบประมาณอีกต่อไป เพราะที่ผ่านมาต้องให้งบประมาณทุกปี” ผู้ว่าฯกล่าว

 

ปฏิกิริยาดังกล่าวทำให้ศิลปินออกมาคัดค้านแนวคิดที่รัฐจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลปกรุงเทพฯ จำนวนมาก เช่น สุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง ที่โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโดยทำจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ว่าฯ กทม. เรื่อง อยากปรับโอนงานหอศิลปกรุงเทพฯ ไปทำเอง เกรงว่าศิลปินจะไม่ยอม ไม่ยินดี

 

ขณะนี้มีการเชิญชวนร่วมลงชื่อคัดค้านการที่กรุงเทพมหานครจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลปกรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง #freebacc ทาง www.Change.org ด้วย

 

 

บรรยากาศและการมีหอศิลปกรุงเทพฯ ในวันนี้ทำให้การเดินทางสู่การรับรู้ศิลปะของประชาชนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้จึงเป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา

 

 

ยิ่งไปกว่านั้น สถานที่แห่งนี้ทำให้ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย ซึ่งมักมีนิทรรศการหมุนเวียนตั้งแต่ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป

 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising