×

100 ภาพข่าวแห่งปี 2565 ผ่านชัตเตอร์ช่างภาพ THE STANDARD

29.12.2022
  • LOADING...

ตลอดปี 2565 มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย หลายเหตุการณ์ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่อีกหลายเหตุการณ์ยังคงวนเวียนและต่อเนื่อง หรืออาจลากยาวข้ามไปปีหน้า

 

ในจำนวนหลายหมื่นภาพถ่ายจากช่างภาพของ THE​​​ STANDARD ที่บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดปี 2565 ตามไทม์ไลน์ นี่คือ 100 ภาพที่คัดสรรมาบอกเล่าแก่ผู้อ่าน เพื่อย้อนทวนความทรงจำเป็นบทเรียนรวมถึงมองภาพในอนาคตไปพร้อมๆ กัน

 

มกราคม

 

01

 

 

3 มกราคม 2565: ร้านอาหารหลายร้านโดยรอบพื้นที่กรุงเทพมหานครพากันทยอยปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเรต 5-10 บาท โดยเฉพาะรายการอาหารประเภทเนื้อหมู ขณะที่พ่อค้า-แม่ขายอาหารบอกว่า ปัญหาราคาเนื้อหมูแพงเกิดขึ้นมาสักระยะแล้ว จากสถานการณ์ปริมาณและราคาหมูที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเดิมทีทางร้านพยายามตรึงราคาอาหารเดิมเพื่อรักษาฐานลูกค้า แต่วันนี้จำเป็นต้องขึ้นราคา เพราะทางร้านไม่อาจแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไว้ต่อไป / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-restaurants-rising-price-due-to-pork-price-increase/

 

02

 

 

4 มกราคม 2565: คนงานแบกหมูเพื่อส่งร้านชำแหละที่ตลาดบางกอกน้อยขณะที่เนื้อหมูมีการปรับราคาสูงขึ้น โดยเจ้าของร้านชำแหละหมูขายส่งเล่าให้ฟังว่า วิกฤตครั้งนี้ถือว่า ‘พีคในพีค’ เพราะที่ผ่านมาราคาไม่เคยถ่างขนาดนี้ แม้จะมีช่วงที่ราคาเนื้อหมูปรับขึ้น แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะการดีลซื้อหมูไม่ได้ผ่านหน้าฟาร์มโดยตรง แต่เวลานี้ต้องใช้นายหน้าในการไปจัดหามาด้วย ทำให้มีขั้นตอนค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบมาขาย ส่วนคนที่ซื้อก็ต้องทำใจรับสภาพกับราคา เพราะความต้องการซื้อยังเท่าเดิม แต่วัตถุดิบคือเนื้อหมูกลับลดน้อยลง แต่ก็ถือว่ายอดน้อยลง ก็คงต้องรอให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นกว่านี้ แต่เท่าที่ดูยังดูไม่มีท่าทีที่ราคาจะลดลง แม่ค้าข้าวแกงบางรายก็หันไปใช้เนื้อไก่แทน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/pork-price-crisis/

 

03

 

 

7 มกราคม 2565: ร้านอาหารย่านท่าดินแดงและเยาวราช ซึ่งมีทั้งร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านหมูสะเต๊ะ และอื่นๆ ภายหลังสถานการณ์เนื้อหมูมีราคาแพง ทำให้มีต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าบางรายการก็ขยับราคาเช่นเดียวกัน ทำให้หลายร้านต้องติดป้ายประกาศขอเพิ่มราคาจำหน่ายอยู่ที่เจ้าละ 5-10 บาท / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/restaurant-price-increase/

 

04

 

 

10 มกราคม 2565: “มันหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ทางก็ต้องขายใช้หนี้เขาไป มันไม่เหลืออะไรแล้ว ทำมาทั้งชีวิต” เสียงของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม บอกเล่าระหว่างพาชมฟาร์มสุกรที่ร้างมากว่า 2 ปี หลังจากที่สุกรในฟาร์มติดเชื้อที่เชื่อว่าเป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ตายไปหลายตัว จนต้องทยอยนำสุกรออกจากฟาร์ม และยุติการเลี้ยงสุกร นำที่ดินที่เคยซื้อไว้ไปขายเพื่อใช้หนี้ธนาคาร / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/swine-plague-asf-and-livestock/

 

05

 

 

13 มกราคม 2565: สภาพของถนนกำแพงเพชร 6 ช่วงบริเวณหน้าสถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองถึงบริเวณสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งมีปัญหาพื้นถนนไม่เรียบและมีลักษณะเป็นคลื่นตลอดทั้งเส้น จนมีการกล่าวว่า ‘ถนนหรือคลื่นทะเล’ ผู้ที่โพสต์ภาพถนนที่มีปัญหาระบุว่า ถนนเส้นนี้มีลักษณะเป็นคลื่นหรือพื้นไม่เรียบนานแล้ว แต่เมื่อมีผู้ร้องเรียนก็ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ และถกเถียงกันว่าพื้นที่ของถนนดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวงหรือการรถไฟ แต่เบื้องต้นตอนนี้มีการร้องทางกรุงเทพมหานครแล้ว / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/kamphaeng-phet-6-road-and-road-floor/

 

06

 

 

18 มกราคม 2565: หมูถูกเขียนข้อความระหว่างการจัดกิจกรรมบริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ของเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน, กลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตย และกลุ่มทะลุฟ้า โดยมีการกล่าวปราศรัยและแสดงเชิงสัญลักษณ์ถึงการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งประชาชนได้รับผลกระทบอย่างมาก / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร 

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/assembly-180165/

 

07

 

 

25 มกราคม 2565: ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ขับขี่ทับทางม้าลายขณะที่มีผู้คนกำลังข้ามถนน ‘ทางม้าลาย’ กลับมาอยู่ในความสนใจและกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อเกิดกรณีการเสียชีวิตของ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากกรณี ส.ต.ต. นรวิชญ์ บัวดก ตำรวจควบคุมฝูงชนขี่จักรยานยนต์ยี่ห้อ Ducati ด้วยความเร็ว เป็นเหตุให้ชนกับร่างของหมอกระต่ายที่กำลังเดินข้ามทางม้าลาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัสเเละเสียชีวิต บริเวณหน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร 

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/crosswalk-in-bkk/

 

08

 

 

26 มกราคม 2565: เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต, เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับ, เครือข่ายเหยื่ออุบัติเหตุ พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนกว่า 30 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) เพื่อเรียกร้องบังคับใช้กฎหมายกับผู้ก่อเหตุบนทางม้าลาย ทวงคืนความปลอดภัยให้คนข้ามถนน และทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์บริเวณทางม้าลายหน้าทำเนียบรัฐบาล โดยแสดงเป็นคนนอนเสียชีวิต 3 คน (จาก 3 เหตุการณ์ที่เป็นข่าวใหญ่) บนทางม้าลาย, ร่วมวางดอกไม้และยืนสงบนิ่งแสดงความอาลัยต่อความสูญเสียล่าสุด และชูป้ายเรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายขั้นสูงกับผู้ที่ก่ออุบัติเหตุบนทางม้าลาย ปลุกสำนึกคนใช้รถใช้ถนน ร่วมคืนความปลอดภัยให้คนข้ามทางม้าลาย / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/traffic-law-symbolic-activity/

 


 

กุมภาพันธ์

 

09

 

 

1 กุมภาพันธ์ 2565: ‘ทางม้าลายสามมิติ’ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งไอเดียนี้ได้รับความร่วมมือจากสมาคมนิสิตเก่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีมที่ชนะการออกแบบและประกวดคือ ทีม ‘Color Chart Cross’ โดยจุดแรกคือถนนประตูคณะบัญชี จุฬาฯ ทางเชื่อมจามจุรีสแควร์ อย่างไรก็ตาม ทางม้าลายสามมิติดังกล่าว นอกจากจะมีการชื่นชมถึงไอเดียดังกล่าวที่ช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสามารถสังเกตทางข้าม และช่วยให้เกิดความระมัดระวังในขณะที่มีผู้คนข้ามถนน แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตเช่นเดียวกันว่าอาจจะ ‘หลอกตา’ และไม่สามารถใช้งานได้จริง หรืออาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลง เพราะความตกใจของผู้ขับรถ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/chula-cross-road-survey/

 

010

 

 

5 กุมภาพันธ์ 2565: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ HUI Team Design, Saturate Designs, คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และภาคีนักออกแบบอิสระ กลุ่มแสงปลากบ เกสรลำพู เสน่ห์บางลำพู และประชาคมบางลำพู สร้างงานศิลปะจัดวาง (Installation Art) ในโปรเจกต์ New World x Old Town บอกเล่าความเป็นย่านบางลำพูผ่านการออกแบบแสงและเสียงในอาคารห้างนิวเวิลด์ สำหรับนิทรรศการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2022’ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/new-world-old-town-part-2-exhibition/

 

011

 

 

7 กุมภาพันธ์ 2565: ชาวนาจากหลายจังหวัดเดินทางมารวมตัวกันและปักหลักค้างคืนบริเวณหน้ากระทรวงการคลัง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่นำโดยเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีข้อเรียกร้องที่สำคัญคือ ขอให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ชะลอการฟ้องบังคับคดีและเร่งดำเนินการโอนหนี้สินเข้าสู่กระบวนการการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมขยายเพดานวงเงินการซื้อหนี้ NPA จาก 2.5 ล้านบาท ขยายเป็น 5 ล้านบาท เสนอเข้าสู่มติของคณะรัฐมนตรี / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/farmers-debt-and-troubleshooting/

 

012

 

 

13 กุมภาพันธ์ 2565: หญิงรายหนึ่งชูสามนิ้ว ขณะที่ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกลุ่มภาคีปกป้องสถาบันจัดกิจกรรมร้องเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่บริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน โดยมวลชนรายหนึ่งพยายามปัดมือหญิงคนดังกล่าว และแกนนำที่จัดกิจกรรมได้พยายามเข้าห้ามปราม พร้อมป้องกันไม่ให้มวลชนเข้ามาประชิดตัว แต่ก็มีมวลชนบางส่วนได้พยายามติดตามตัวหญิงคนดังกล่าวไป กระทั่งตำรวจได้เข้ากันตัวและนำตัวหญิงคนดังกล่าวออกจากพื้นที่ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/singing-the-national-anthem-and-the-royal-anthem/

 

013

 

 

14 กุมภาพันธ์ 2565: คู่รักจูบกันหลังจากที่ได้ทำการจดแจ้งชีวิตคู่คู่สมรสเพศเดียวกัน ระหว่างการจัดกิจกรรมเชิญชวนคู่รักทุกคู่มาจดแจ้งชีวิตคู่ ภายใต้ชื่องาน ‘The Candle of Love บางขุนเทียน แสงเทียนแห่งรัก’ ในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ โดยทางสำนักงานเขตบางขุนเทียนได้จัดให้มีการจดทะเบียนสมรสของคู่รัก LGBTQIA+ มาร่วมบันทึกจดแจ้งคู่สมรสเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เพื่อแสดงถึงความเท่าเทียมกันในสิทธิเสรีภาพ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/lgbtq-marriage-record-first-time/

 

014

 

 

17 กุมภาพันธ์ 2565: ชายคนหนึ่งตกปลาบนสะพานกรุงเทพ ท่ามกลางฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะที่ AirVisual เว็บไซต์สำรวจคุณภาพอากาศทั่วโลกแบบเรียลไทม์ รายงานว่า ช่วงเวลา 08.30 น. ประเทศไทยมีคุณภาพอากาศแย่ติดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก พบค่าฝุ่น PM2.5 แบบมวลรวมที่ 88 มคก./ลบ.ม. / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/pm2-5-in-bangkok/

 

015

 

19 กุมภาพันธ์ 2022 , พื้นที่สาธารณะ สวนป่าเบญจกิติ , ช่างภาพ : ศวิตา พูลเสถียร

 

19 กุมภาพันธ์ 2565: ผู้คนจำนวนมากเดินทางพักผ่อนสวนสาธารณะที่กำลังอยู่ในกระแสความสนใจแห่งใหม่ของชาวกรุงเทพมหานคร อย่าง ‘สวนป่าเบญจกิติ’ ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ในช่วงเย็นมีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างประเทศทยอยเดินทางเข้ามาเดินชมบรรยากาศของสวน สำหรับสวนป่าเบญจกิติตั้งอยู่บนเนื้อที่รายล้อมไปด้วยสวนป่า สวนน้ำ เส้นทางเดิน ทางวิ่ง ทางเดินศึกษาธรรมชาติ และสามารถใช้ทางเดินลอยฟ้าระยะทาง 1.6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเชื่อมไปยังพื้นที่สวนน้ำที่อยู่ส่วนหน้าของสวนเบญจกิติ เชื่อมต่อไปสะพานเขียว และเชื่อมไปยังสวนลุมพินีได้อีกด้วย / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/benchakitti-park/

 

016

 

 

21 กุมภาพันธ์ 2565: ภาพบรรยากาศของโรงเรียนวรรณวิทย์ ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 8 โดยโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนเป็นวันสุดท้ายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2564 ถือเป็นการสิ้นเสียงระฆัง เหลือไว้ในความทรงจำของศิษย์เก่าตลอดกาล โรงเรียนวรรณวิทย์ ก่อตั้งโดย หม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2489 จากความตั้งใจที่จะให้เป็นสถานศึกษา เนื่องจากมองเห็นว่าเด็กในย่านนั้นส่วนใหญ่ครอบครัวมีฐานะไม่มั่นคง และโรงเรียนโดยรอบในย่านนั้นก็เป็นโรงเรียนที่มีค่าเล่าเรียนแพง จึงตั้งใจที่จะให้เป็นโรงเรียนที่ช่วยเหลือเด็ก ทั้งการคิดค่าเทอมในราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับโรงเรียนในย่านเดียวกัน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/wannamit-school-closed/

 

017

 

 

24 กุมภาพันธ์ 2565: เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำกลุ่มราษฎร ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวที่บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังจากศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกันตัวจากการยื่นประกันของทีมทนาย โดยใช้เหตุผลเรื่องการเรียนและมีหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับพริษฐ์ถูกคุมขังจากคดีเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ก่อนได้การปล่อยตัวชั่วคราวในเวลาต่อมา และถูกคุมขังอีกครั้งในวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ซึ่งนับเป็นวันที่ 200 / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/200-days-of-penguin-imprison/

 

018

 

 

25 กุมภาพันธ์ 2565: ทีมประดาน้ำกำลังประชุมช่วงกลางดึกเพื่อเร่งค้นหา หลังมีรายงานเมื่อเวลาประมาณ 22.40 น. ของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ พลัดตกจากเรือสูญหายบริเวณใกล้เคียงท่าเรือพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/searching-for-tangmo-nida-after-falling-off-the-boat-2/

 

019

 

 

25 กุมภาพันธ์ 2565: เป็นเวลากว่า 20 ชั่วโมงสำหรับภารกิจค้นหา แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ หลังพลัดตกน้ำสูญหายในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใกล้เคียงท่าเรือพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ช่วงดึกของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ โดยตลอดทั้งวันทีมเจ้าหน้าที่นักประดาน้ำและทีมกู้ภัยยังคงดำเนินภารกิจค้นหาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางอุปสรรคเรื่องจุดพลัดตกที่ไม่ชัดเจนและกระแสน้ำที่ไหลเวียนตลอดเวลา ทำให้การค้นหาเป็นไปด้วยความยากลำบาก / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/tangmo-finding-mission-passed-20-hours/

 

020

 

 

26 กุมภาพันธ์ 2565: เบิร์ด แฟนหนุ่มของ แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ แสดงอาการโศกเศร้าขณะกำลังร่วมเคลื่อนย้ายร่างออกจากที่เกิดเหตุเพื่อนำไปชันสูตรที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ โดยร่างของแตงโมถูกพบบริเวณกลางแม่น้ำห่างจากท่าเรือพิบูลสงครามประมาณ 400 เมตร / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม 

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/tangmo-nida-patcharawirapong-rip-3/

 

021

 

 

27 กุมภาพันธ์ 2565: ผู้ชุมนุมชาวยูเครนแต่งหน้าเป็นสีธงชาติยูเครน ระหว่างการเดินขบวนของชาวยูเครนในประเทศไทย รวมถึงชาวเบลารุส, ชาวอเมริกัน ร่วมจัดกิจกรรมเดินขบวนเรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทหารที่รุกรานยูเครน โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินทางออกจากสวนลุมพินี ฝั่งถนนวิทยุ ก่อนจะใช้เส้นทางบนสะพานเขียวเพื่อมุ่งหน้าไปสวนป่าเบญจกิติ ซึ่งเป็นจุดหมายของการทำกิจกรรม โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/russia-ukraine-crisis-27022022-12/

 

022

 

 

28 กุมภาพันธ์ 2565: อานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มราษฎร แสดงท่าชูสามนิ้วหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยมีกำหนด 3 เดือน พร้อมวางหลักประกันรวม 300,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขหลายข้อ ทั้งห้ามแสดงออกที่เสื่อมเสียหรือด้อยค่าสถาบันฯ รวมถึงสถาบันศาล ห้ามโพสต์ชวนมวลชนร่วมชุมนุม หรือเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวาย ให้ติด EM และห้ามออกนอกเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 19.00-06.00 น. อานนท์ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 หรือรวม 202 วัน / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/court-bail-arnon-nampa/

 


 

มีนาคม

 

023

 

 

5 มีนาคม2565: ผู้ปกครองให้กำลังใจบุตรหลานก่อนเข้าทำการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2565 ที่สนามสอบอิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับปีนี้มีนักเรียนสมัครสอบแข่งขัน 11,854 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แต่มีจำนวนที่สามารถรับเข้าเรียนได้เพียง 1,520 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วนการแข่งขันประมาณ 1 ต่อ 8 คน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/entrance-examination-triam-udom-suksa-school/

 

024

 

 

6 มีนาคม 2565: บรรยากาศท่าเรือพิบูลสงคราม 1 มีประชาชนและแฟนคลับ นำดอกไม้มาวางไว้ที่บริเวณโป๊ะเรือตลอดทั้งวันภายหลังเข้าสู่วันที่ 8 ที่ แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/laying-flowers-to-mour-tangmo-nida/

 

025

 

 

13 มีนาคม 2565: โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ อีกหนึ่งคนสำคัญในชีวิตของแตงโม ร้องไห้หลังพิธีไว้อาลัย แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ ที่คริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพ วันสุดท้าย โดยดารานักแสดงและผู้คนแวดวงบันเทิงร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/funeral-ceremony-for-tangmo-nida-3/

 

026

 

 

21 มีนาคม 2565: ภาพมุมสูงชอง ‘บ้านป่าแหว่ง’ โครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการ บ้านพักข้าราชการ 45 หลัง และคอนโด 9 หลัง ดำเนินการโดยสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 147 ไร่ ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณเชิงเขา ในพื้นที่ของสำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ขณะที่เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ และตัวแทนภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมแถลงข่าวขอความชัดเจนในการดำเนินการรับคืนพื้นที่ หลังจากที่ได้เคลื่อนไหวแสดงจุดยืน ขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ณ ข่วงประตูท่าแพ ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2561 โดยในเดือนสิงหาคม 2561 ได้มีมติคณะกรรมการจังหวัดเชียงใหม่ สั่งรื้อบ้านป่าแหว่ง 45 หลัง และคอนโด 9 หลัง แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีการรับมอบพื้นที่ให้แล้วเสร็จ / ภาพ: พงษ์มนัส ทาสิริ

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/reclaim-network-ban-pa-waeng-prepares-to-make-big-movement/

 


 

เมษายน

 

027

 

 

1 เมษายน 2565: ผู้เข้ารับการคัดเลือกทหารแสดงอาการผิดหวังหลังจากที่จับได้ใบแดง ระหว่างการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ประจำปี 2565 เป็นวันแรก ที่โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง บรรยากาศภาพรวมเป็นไปอย่างคึกคักและระทึก โดยมีการร่วมลุ้นจากบรรดาญาติที่มาให้กำลังใจอยู่บริเวณโดยรอบ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/first-day-of-military-service-at-wat-that-thong/

 

028

 

 

3 เมษายน 2565: ป้ายหาเสียงของสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ล้ำออกมาบริเวณถนน ขณะที่การติดตั้งป้ายหาเสียงของผู้สมัครกลายเป็นกระแสทั้งในโซเชียลมีเดีย รวมถึงกระทบกับผู้ใช้ทางเท้าสัญจรในหลายพื้นที่ ตั้งแต่การล้ำไปบนผิวจราจร การกีดขวางทางเดินที่มีอยู่น้อยอยู่แล้วในบางจุด รวมทั้งบดบังทัศนียภาพหรือทัศนวิสัยยามค่ำคืน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/election-billboard-flip-sided-after-storm/

 

029

 

 

4 เมษายน 2565: ป้ายหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถูกปรับเปลี่ยนขนาดและรูปแบบ หลังจากมีประเด็นดราม่าตั้งแต่ขนาดของป้าย การติดตั้งป้ายที่กีดขวางทางเท้า บางส่วนล้ำลงไปบนผิวการจราจร ขณะที่บางส่วนพูดถึงการใช้วัสดุ หรือการลดจำนวนป้ายเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bkk-election-2022-change-campaign-sign/

 

030

 

 

10 เมษายน 2565: มวลชนอิสระหลายกลุ่ม ทำการเผาโลงศพจำลอง ระหว่างการจัดกิจกรรมคาร์ม็อบทะลุโลงที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง ในวาระครบรอบ 12 ปี 10 เมษายน 2553 เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/commemorating-the-12-years-of-the-dissolution-of-the-red-shirt-protests/

 

031

 

 

11 เมษายน 2565: ภาพมุมสูงของที่ดินย่านไข่แดงอย่าง ‘Block A เขตพาณิชย์สยามสแควร์’ อันเคยเป็นที่ตั้งของ ‘โรงภาพยนตร์สกาลา’ ซึ่ง CPN ประมูลเช่าได้จากสํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ดินนี้จะถูกพัฒนาเป็น ‘มิกซ์ยูส’ ที่มาครบทั้งศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท สำหรับการเช่า 30 ปี / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/cpn-touts-mixed-use-plan/

 

032

 

 

13 เมษายน 2565: บรรยากาศถนนข้าวสารในวันสงกรานต์มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน ขณะเดียวกันสงกรานต์ปีนี้ยังคงอยู่ในห้วงการแพร่ระบาดของโควิด รัฐจึงมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ โดยขอให้งดการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ในพื้นที่ต่างๆ เนื่องจากอาจมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมและเป็นสาเหตุการแพร่ระบาดของโรคได้ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/songkran-festival-on-khao-san-road/

 

033

 

 

14 เมษายน 2565: นักท่องเที่ยวเต้นกันอย่างสนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ที่ถนนข้าวสาร ขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่เทศกิจ ประกาศให้ร้านค้าต่างๆ ยุติการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามประกาศของกรุงเทพมหานคร ในเวลา 23.00 น. ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ครั้งนี้ รัฐบาลอนุญาตให้จัดได้เฉพาะงานที่เป็นการสืบสานประเพณี ภายใต้มาตรการ COVID-FREE Setting และไม่อนุญาตให้มีการสาดน้ำหรือปาร์ตี้โฟม รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการรวมตัวเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/police-and-municipal-affairs-on-khao-san-road-songkran-festival/

 

034

 

 

17 เมษายน 2565: ร้านข้าวเหนียวมูนย่านโชคชัย 4 กำลังเร่งทำเมนูข้าวเหนียวมะม่วงขณะที่ไรเดอร์ต่างมายืนรอรับ หลัง MILLI หรือ มิลลิ (มินนี่-ดนุภา คณาธีรกุล) กินข้าวเหนียวมะม่วง บนเวที Coachella รัฐแคลิฟอร์เนีย เทศกาลดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของโลก โดยเจ้าของร้านบอกว่าวันนี้มีออร์เดอร์เข้ามามากถึง 20 เท่าจากช่วงปกติ แอปพลิเคชันสั่งอาหารดังไม่หยุด บางช่วงดังต่อเนื่องยาวถึง 5 นาที จนต้องตัดสินใจปิดแอปพลิเคชันเพื่อยุติการขาย / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/milli-mango-sticky-rice-hashtags/

 

035

 

 

20 เมษายน 2565: ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจุดมวนกัญชา ระหว่างเดินขบวนพาเหรดจากถนนราชดำเนินกลางไปยังถนนข้าวสาร ในกิจกรรม 420 เราพวกกัญ เนื่องในวันกัญชาโลก จัดโดยสมาพันธ์กัญชาเพื่อประชาชน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/thai-cannabis-future-writing-network-200465/

 

036

 

 

28 เมษายน 2565: ป้ายหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในพื้นที่ต่างๆ บางส่วนถูกขีด เขียน หรือทำลายให้เสียหายด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งกรีด เอาปากกามาวาดเส้น หรือนำสิ่งของมาแขวนไว้ สำหรับการทำลายป้ายหาเสียงนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งเคยระบุว่ามีความผิด โทษทางอาญา มาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้สมัครก็ได้รับโทษในอัตราเดียวกัน / ภาพ: ฐานิส สุดโต, ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/banner-of-the-bangkok-governors-campaign-was-destroyed/

 


 

พฤษภาคม

 

037

 

 

12 พฤษภาคม 2565: ภาพของขยะคลองสาทรช่วงรถไฟฟ้า BTS สถานีสะพานตากสิน ซึ่งเป็นขยะที่มาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่สำนักระบายของกรุงเทพมหานครได้ทยอยลำเลียงออกอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ที่ดูแลให้ข้อมูลกับ THE STANDARD ว่า โดยปกติตรงนี้จะไม่มีขยะ ซึ่งสาเหตุที่ขยะเข้ามาเพราะมีการเปลี่ยนทิศทางผันน้ำ โดยเปลี่ยนเป็นผันจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองสาทร แล้วผันไปคลองช่องนนทรี โดยบริเวณนี้จะมีตะแกรงที่คอยกรองขยะ แต่ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุด ทำให้มีขยะเข้ามาติดอยู่บริเวณนี้ อีกทั้งบริเวณนี้เครื่องจักรเข้าไม่ได้ รถคีบขยะก็เข้าไม่ได้ ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่ลำเลียงรถบรรทุกไปทิ้ง ทยอยเก็บทุกวัน และนำไปทำลายต่อที่ท่าแร้ง บางเขน

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/direction-of-the-water-changing-causing-trash-leaked-into-sathorn-canal/

 

038

 

 

17 พฤษภาคม 2565: เด็กนักเรียนหญิงถ่ายรูปเพื่อนพร้อมข้อความ ง่วงนะ เพื่อโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ในวันเปิดเทอมวันแรกของภาคเรียน 1/2565 โดยตลอดช่วงเช้า ถนนหลายสายหน้าโรงเรียนหลายแห่งเต็มไปด้วยภาพบรรยากาศของกลุ่มเด็กๆ ที่ทยอยเดินเข้าโรงเรียนอย่างคึกคัก ท่ามกลางมาตรการควบคุมโควิดที่เข้มข้น หลังจากตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา รูปแบบการเรียนการสอนก่อนหน้านี้ต้องปรับไปเป็นแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/open-semester-on-site-170565/

 

039

 

 

18 พฤษภาคม 2565: นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง โพสท่าให้ช่างภาพถ่ายภาพ หลังจากที่ทางโรงเรียนได้โพสต์ภาพประชาสัมพันธ์ทรงผมของนักเรียนทั้งหญิงและชาย โดยระบุรวมว่า สั้นหรือยาวก็ได้ ถ้ายาวตามความเหมาะสม จากนั้นมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า “ความเหมาะสมของใคร” ซึ่งคำตอบจากแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ‘โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง-Matthayom Wat Thatthong School’ ได้ตอบว่า “ความเหมาะสมของนักเรียนที่เขาได้เลือกทรงผมให้เข้ากับหน้าตาเขาเองค่ะ” ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นที่สนใจของผู้คนทันที เพราะถือเป็นการฉีกกรอบภาพจำของทรงผมนักเรียนไทย / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

หมายเหตุ: THE STANDARD ได้รับการอนุญาตจากนักเรียนในภาพให้ถ่ายภาพและเผยแพร่ภาพเพื่อการรายงานข่าวได้ และเป็นการถ่ายภาพนอกพื้นที่ของโรงเรียน

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/matthayom-wat-thatthong-school-haircut-freedom/

 

040

 

 

22 พฤษภาคม 2565: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กระโดดให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ ในการแถลงข่าวหลังทราบผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bkk-election-2022-chadchart-sittipunt-50/

 

041

 

 

24 พฤษภาคม 2565: หลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ป้ายหาเสียงของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. ที่พบว่าในหลายจุดถูกเก็บไปตั้งแต่วันสิ้นสุดวันหาเสียงจากทีมงาน และมีจำนวนไม่น้อยมีประชาชนเก็บไป บางส่วนถูกเก็บไปทั้งป้าย บางส่วนถูกกรีดนำไปเพียงส่วนที่เป็นผ้าใบไวนิล เหลือไว้เพียงโครงป้าย อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมามีกระเเสให้นำป้ายของชัชชาติมาคืน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bkk-election-2022-22/

 

042

 

 

24 พฤษภาคม2565: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กระโดดทดสอบความแข็งแรงบนแผ่นเหล็กที่ปิดทางเท้าบริเวณส่วนก่อสร้างอุโมงค์ข้ามแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ เพื่อสำรวจการก่อสร้างอุโมงค์จุดข้ามแยกและสำรวจสภาพการจราจรฝั่งธนบุรี / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/chatchat-surveyed-traffic-congestion-problems/

 


 

มิถุนายน

 

043

 

 

5 มิถุนายน 2565: งานเดินขบวนนฤมิตไพรด์ ที่จัดโดยคณะทำงานบางกอกนฤมิตไพรด์และกลุ่มขับเคลื่อนรณรงค์ความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเริ่มจัดขบวนตั้งแต่หน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ไปจนถึงบริเวณซอยสีลม 2 บรรยากาศในงานเป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมขบวนและรอชมขบวนริมฟุตปาธ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-naruemit-pride/

 

044

 

 

8 มิถุนายน 2565: สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยล่องเรือมาจอดบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือขอให้เร่งรัดกระบวนการคุ้มครองสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ผ่านกระบวนการรัฐสภา และแจ้งเวียนเอกสารแก่สมาชิกรัฐสภาเพื่อทราบ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/protection-of-young-and-small-aquatic-animals/

 

045

 

 

9 มิถุนายน 2565: ร้าน Highland Cafe เปิดให้บริการจำหน่ายกัญชาวันแรก หลังกฎหมายปลดล็อกกัญชามีผลบังคับใช้ โดยมีลูกค้ามากหลากหลายช่วงวัย ซึ่งทางร้านจะมีเจ้าหน้าที่แนะนำกัญชาในแต่ละรูปแบบ แต่ละสายพันธุ์ ให้มีความเหมาะสมกับผู้ที่มาซื้อและประโยชน์ที่ต้องการใช้งาน แม้ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงสุญญากาศที่ยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม แต่ที่ร้านแห่งนี้ยังตรวจบัตรประชาชนและสอบถามข้อมูลเบื้องต้นก่อนจำหน่าย / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/marijuana-queue-up-buying-on-first-selling-day/

 

046

 

 

11 มิถุนายน 2565: วง Yes Indeed Band ซึ่งเป็นการรวมตัวของเด็กมัธยมศึกษาจากหลายโรงเรียน แสดงดนตรีที่สยามสแควร์ โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคักมีวัยรุ่นหลากหลายช่วงวัยทั้งมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย มาล้อมวงฟังดนตรีจากศิลปินที่อยู่ในช่วงวัยใกล้เคียง ขณะที่สยามสแควร์กำลังอยู่ในช่วงทดลองของการปรับให้เป็น Walking Street โดยทดลองในช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ ปิดถนนไม่ให้รถผ่านเข้าออกในบริเวณซอย 7 / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/yes-indeed-band/

 

047

 

 

11 มิถุนายน 2565: ที่มิวเซียมสยามมีการจัดกิจกรรมดนตรีในสวน ชวนมานั่งเล่นบนสนามหญ้า พร้อมฟังเพลงเพราะๆ บรรยากาศยามเย็นชิลๆ กับ ‘วงนั่งเล่น’ ร่วมด้วย ‘ธีร์ ไชยเดช’, ‘ดึกดำบรรพ์’ อย่างไรก็ตามมีประชาชนมารอร่วมกิจกรรมตั้งแต่ก่อนเวลาเริ่มงาน พร้อมจับจองพื้นที่จนแน่น ทำให้บางส่วนล้นออกมาจนถึงประตูทางเข้า ซึ่งทางผู้จัดงานคาดไม่ถึงว่าจะมีผู้สนใจมาร่วมกิจกรรมมากขนาดนี้ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/music-in-the-garden-110665/

 

048

 

 

15 มิถุนายน 2565: กลุ่มเครือข่ายภาคีสีรุ้งที่เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภา และติดตามผลการโหวตร่างพระราชบัญญัติ สมรส​เท่าเทียม แสดงอาการดีใจ หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 212 เสียง ไม่เห็นด้วย 180 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง และไม่ลงคะแนน 4 เสียง ขณะที่ 3 ร่าง พ.ร.บ. ที่เหลือได้รับเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนด้วยเช่นกัน / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/law-equal-marriage-passed-agenda-1/

 

049

 

 

21 มิถุนายน 2565: ผู้ที่อาศัยในชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน กำลังแบกตู้เย็นขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยเพลิงลุกไหม้บ้านเรือนประชาชนภายในชุมชนที่ส่วนมากเป็นบ้านไม้ 2 ชั้นปลูกติดกัน เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิง เพราะมีปัญหาอุปสรรคขณะดับเพลิง ทั้งลมพัดแรง มีคอนโดมิเนียมล้อมรอบ และสภาพอากาศร้อนทำเพลิงลุกกระพือขึ้น ทั้งนี้หัวดับเพลิงที่อยู่ใกล้ที่สุดอยู่บริเวณถนนพระรามที่ 4 ต้องลากสายเข้าไป / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/compilation-of-fire-incidents-in-bon-kai-community/

 

050

 

 

21 มิถุนายน 2565: ภาพมุมสูงขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน โดยเพลิงลุกไหม้บ้านเรือนประชาชนภายในชุมชนที่ส่วนมากเป็นบ้านไม้ 2 ชั้นปลูกติดกัน เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการควบคุมเพลิง เพราะมีปัญหาอุปสรรคขณะดับเพลิง ทั้งลมพัดแรง มีคอนโดมิเนียมล้อมรอบ และสภาพอากาศร้อนทำเพลิงลุกกระพือขึ้น ทั้งนี้หัวดับเพลิงที่อยู่ใกล้ที่สุดอยู่บริเวณถนนพระรามที่ 4 ต้องลากสายเข้าไป / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/compilation-of-fire-incidents-in-bon-kai-community/

 

051

 

 

26 มิถุนายน 2565: เจ้าหน้าที่ดับเพลิงระดมฉีดน้ำในเหตุเพลิงไหม้อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ย่านการค้าสำเพ็ง บริเวณแยกคิคูยา ถนนราชวงศ์ โดยมีผู้เสียชีวิต 2 ราย สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้คาดว่ามาจากหม้อแปลงไฟฟ้าริมถนนที่มีสภาพเก่าเกิดการระเบิด บริเวณดังกล่าวมีสายไฟและสายสื่อสารพันกัน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/sampeng-fire-incident-conclude/

 


 

กรกฎาคม

 

052

 

 

7 กรกฎาคม 2565: เงาของ ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี และ ทราย-อินทิรา เจริญปุระ ฉายอยู่บนจอฉายหนังกลางแปลง ขณะทั้งคู่กำลังแสดงบทบาทช่วงหนึ่งของภาพยนตร์ 2499 อันธพาลครองเมือง โดยบทช่วงนั้นคือตัวละคร แดง ไบเล่ ที่บอกกับ วัลภา ภรรยาในเรื่องว่า “เป็นเมียเราต้องอดทน” โดยทราย อินทิรา ร่วมแสดงจำลองเป็นวัลภา ในงานเทศกาลภาพยนตร์ภายใต้ชื่อ ‘กรุงเทพกลางแปลง’ ที่ลานคนเมือง / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-outdoor-film-festival-with-jesdaporn-pholdee/

 

053

 

8 กรกฎาคม 2022 , Parc Paragon – ลานพาร์คพารากอน , Jackson Wang (แจ็คสัน หวัง) ในงานแถลงข่าว THE MATCH , ช่างภาพ : ศวิตา พูลเสถียร

 

8 กรกฎาคม 2565: No Nong Jack, Just P’Jack, GAME OVER! หนึ่งในโมเมนต์น่ารักที่เรียกเสียงกรี๊ดจากเหล่าแฟนคลับได้อย่างล้นหลาม ท่ามกลางบรรยากาศงานแถลงข่าว THE MATCH: Bangkok Century Cup 2022 พร้อมโมเมนต์สุดประทับใจในช่วงเปิดตัว Jackson Wang (แจ็คสัน หวัง) ที่ก้าวขึ้นเวทีมาพูดถึงถึงการแสดง Red World Opening Live ‘Jackson Wang’ – Magic Man แบบเต็มอิ่ม 45 นาที บนเวทีกลางสนามราชมังคลากีฬาสถาน / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/jackson-wang-the-match-2/

 

054

 

 

12 กรกฎาคม 2565: แฟนบอลจำนวนไม่น้อยใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดตามการถ่ายทอดสด THE MATCH: Bangkok Century Cup 2022 แมตช์แดงเดือดระหว่าง ลิเวอร์พูล vs. แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อีกหนึ่งควันหลงที่เกิดขึ้นนอกสนามราชมังคลากีฬาสถาน สำหรับแฟนบอลที่ไม่ได้เข้าชมการแข่งขันในสนาม ทว่าปัญหาการขัดข้องของระบบถ่ายทอดสดช่องทางเดียวของประเทศไทยอย่าง AIS PLAY มีปัญหาทางเทคนิคซึ่งกินเวลานานพอสมควร ทำให้แฟนบอลจำนวนไม่น้อยรวมกลุ่มใช้กลยุทธ์ส่วนตัวด้วยการกดเข้าไปชมการแข่งขันตามลิงก์ต่างๆ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/the-match-bangkok-century-cup-2022-17/

 

055

 

 

14 กรกฎาคม 2565: พนักงาน บริษัท ไทยบัสขนส่ง จำกัด ถือป้ายของรถโดยสารประจำทางสาย 8 เส้นทางสะพานพุทธ-แฮปปี้แลนด์ ที่ถูกรื้อจากรถเมล์จากซากรถเมล์ที่ถูกชำแหละ ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวระบุว่า รถเมล์ร้อนสาย 8 ที่ให้บริการวิ่งในเส้นทางแฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ กำลังจะยุติการเดินรถ และเหลือไว้เพียงชื่อให้กลายเป็นตำนาน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/the-legend-of-bus-no8/

 

056

 

 

15 กรกฎาคม 2565: ตุ๊กตาหินโบราณที่ถูกนำมาวางตั้งโชว์รอบพระศรีรัตนเจดีย์ และพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว โดยลักษณะของตุ๊กตาหินทั้งหมดมีรูปร่างแตกต่างผสมผสานหลายเชื้อชาติ ขณะที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ระบุว่า เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ในการปรับปรุงเส้นทางเข้าชมภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตูมณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างได้ขุดพบประติมากรรมหินสลักจำนวนมาก จึงได้ทำการเปิดการขุดค้นทางโบราณคดี จากหลักฐานพบว่าเป็นประติมากรรมรูปบุคคลหลากหลายเชื้อชาติและสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งจารึกที่พบบนประติมากรรมหินสลักบางตัวระบุเป็นภาษาจีน ว่าทำที่มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางโจว / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/stone-doll-at-temple-of-the-emerald-buddha/

 

057

 

 

20 กรกฎาคม 2565: พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยกมือขึ้นระหว่างที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พูดชี้แจงเรื่องของการปฏิวัติผมก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง นี่ครับคนปฏิวัติ ท่านนายกฯ คนเดียว ภายหลังที่ ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจปมนาฬิกาหรูว่า ข้อกล่าวหาของผู้อภิปรายในเรื่องนาฬิกา ตนไม่สามารถที่จะตอบได้ เนื่องจากไม่อาจก้าวล่วงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ “ผมจะมีเพื่อนดีสักคน ของคุณคงไม่เคยมี ผมมีเพื่อนดี คบกันมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ลูกสาวเขาก็เหมือนลูกผม เรื่องของการปฏิวัติผมก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง นี่ครับคนปฏิวัติ ท่านนายกฯ คนเดียว (ได้ชี้ไปที่ พล.อ. ประยุทธ์) ท่านอนุพงษ์ก็ไม่ได้เกี่ยวข้อง คุณก็เอาผมไปเกี่ยวข้อง ผมยังไม่รู้เลยว่าจะปฏิวัติเมื่อไร 3 ป. อะไรพูดไปเรื่อย เอาจริงเข้าว่าดีกว่า ผมก็มีเพื่อนดีๆ ที่จะให้ผมยืมอะไรก็ได้ ในเรื่อง ป.ป.ช. ไม่อาจก้าวล่วงไปได้” / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/censure-motion-20072022-20

 

058

 

 

23 กรกฎาคม 2565: ส.ส. พรรคก้าวไกล นำโดย อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล นำดอกไม้จันทน์ไปวางบริเวณที่นั่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงสัญลักษณ์ไว้อาลัยต่อการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ หลังการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตามมาตรา 151 ที่มี ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม โดยผลการลงมติรัฐมนตรีทั้ง 11 คนได้รับการไว้วางใจทั้งหมด / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/censure-motion-23072022-2/

 

059

 

 

26 กรกฎาคม 2565: วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เปิดโอกาสให้นักศึกษาชายและหญิงแต่งกายด้วยชุดรูปแบบต่างๆ ทั้งชุดคอสเพลย์, ชุดลำลอง, ชุดกีฬา, ชุดเที่ยว, ชุดพื้นเมือง และชุดชาติพันธุ์ ธนภัทร มั่นคง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ กล่าวว่า เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงออกในเรื่องการแต่งกาย โดยสามารถใส่ชุดคอสเพลย์หรือชุดตามที่นักศึกษาอยากใส่ทุกวันอังคาร สัปดาห์ละ1 วัน มีแนวคิดที่ต้องการให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน พร้อมกับเป็นการสอนเรื่องวินัยควบคู่กันไป โดยการให้นักศึกษาสร้างวินัยด้วยตัวเองตามแนวคิดเสรีภาพสร้างวินัย คือเปิดโอกาสให้ใส่ชุดต่างๆ มาเรียน / ภาพ: พงษ์มนัส ทาสิริ

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/cosplay-day-payap-university/

 

060

 

 

26 กรกฎาคม 2565: กลุ่มผู้ชุมนุมชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมตัวบริเวณด้านหน้าสถานทูตเมียนมา ถนนสาทรเหนือ เพื่อทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ตอบโต้รัฐบาล มิน อ่อง หล่าย ที่สั่งประหารชีวิต 4 นักการเมือง ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง เรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/myanmar-people-gather-on-4-democracy-kill-order/

 

061

 

 

30 กรกฎาคม 2565: แอนนา เสืองามเอี่ยม เจ้าของมงกุฎ Miss Universe Thailand 2022 คนล่าสุด โดยเธอจะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวด Miss Universe 2022 ระดับโลกต่อไป / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/mut2022-anna-suengam-iam/

 

062

 

 

31 กรกฎาคม 2565: แสนดี-แสนปิติ สิทธิพันธุ์ บุตรชาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ออกท่าเต้นอย่างสนุกระหว่างพีธีปิดการแสดงวงดุริยางค์กระชับมิตร กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก สำหรับการแสดงวงดุริยางค์กระชับมิตร กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นการประชันกันของ 4 โรงเรียน ประกอบด้วย วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม วงโยธวาทิตโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต วงดุริยางค์โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และวงดุริยางค์โรงเรียนสุรนารี / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-governor-challenge-korat-orchestra-band/

 


 

สิงหาคม

 

063

 

 

2 สิงหาคม 2565: เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ทำการห่อหุ้มขยะที่ถูกบีบอัด ซึ่งเป็นขยะที่เก็บได้จากคลองแสนแสบ โดบสำนักการระบายน้ำ ได้ปฏิบัติการตักขยะ จัดการเศษซากขยะมูลฝอยที่ลอยมาติดตะแกรงกรองขยะ รวมถึงเร่งระบายน้ำ บริเวณอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ สู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงที่ฝนตกหนักอย่างเต็มอัตรา / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bkk-collects-garbage-accelerates-drainage-of-saen-saeb-canal/

 

064

 

 

5 สิงหาคม 2565: บรรยากาศของสถานบันเทิงผับ Mountain B อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและมีผู้เสียชีวิตหลายราย / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/mountain-b-chonburi-pub-fire/

 

065

 

 

8 สิงหาคม 2565: แมวตัวหนึ่งกำลังถูกทำหมันในโครงการทำหมัน ฉีดวัคซีน สุนัข-แมว เพื่อเป็นการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวจรจัด ที่วัดบางปะกอก โดยความร่วมมือของสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร, สถานีตำรวจนครบาลราษฎร์บูรณะ, สถานีตำรวจนครบาลบางคอแหลม, มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม และชุมชนในพื้นที่ ขณะที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ไปตรวจเยี่ยมและกล่าวว่าว่าตั้งแต่ช่วงหาเสียง ปัญหาเรื่องสุนัขและแมวจรจัดถือเป็นปัญหาใหญ่ของแต่ละชุมชน การแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะต้องทำให้ครบวงจร อันดับแรกต้องเริ่มจากการทำหมัน และจัดระเบียบที่พักพิง / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/chadchart-stray-dogs-cats/

 

066

 

 

17 สิงหาคม 2565: กลุ่มผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทำการลอกท่อระบายน้ำ บริเวณถนนเพชรบุรี โครงการนี้เป็นความร่วมมือของกรมราชทัณฑ์ สังกัดกระทรวงยุติธรรม กับกรุงเทพมหานคร โดยกระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้กรมราชทัณฑ์มาช่วยรับผิดชอบงานลอกท่อระบายน้ำในพื้นที่ กทม. ทั้งหมด 530 กิโลเมตร จากแผนงานประจำปีจำนวนทั้งหมด 2,856 กิโลเมตร ทำให้จะมีการลอกท่อระบายน้ำรวมทั้งหมด 3,390 กิโลเมตร ในงบประมาณปี 2565 / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-inmates-drain/

 

067

 

 

18 สิงหาคม 2565: บัวขาว บัญชาเมฆ ตำนานของวงการมวยไทย และ โคตะ มิอุระ นักมวยอายุ 20 ปีจากญี่ปุ่น ทำการชั่งน้ำหนักก่อนขึ้นชก และทำการ Face-off เผชิญหน้ากันก่อนขึ้นสังเวียน ในไฟต์พิเศษ Exhibition Kickboxing Match ‘เลเจนด์ออฟราชดำเนิน’ ของศึกราชดำเนินเวิลด์ซีรีส์ (RWS) ที่เวทีราชดำเนิน / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/buakaw-vs-kota-miura-pre-fight/

 

068

 

 

18 สิงหาคม 2565: ภาพสายรุ้งพาดผ่านอาคารสูงที่ตั้งเรียงรายในย่านสะพานควายหลังฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเวลา 16.00 น. จนถึงเวลา 18.00 น. เรียกความสนใจให้ใครหลายคนต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาบันทึกภาพความสวยงามนี้หลังจากที่ฝนตกมาต่อเนื่องหลายวัน และวันนี้เป็นวันแรกที่เราได้เห็นสายรุ้งชัดเจนที่สุด

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-rainbow-scene/

 

069

 

 

19 สิงหาคม 2565: การชกไฟต์พิเศษในศึก KAT Presents Legend of Rajadamnern ที่นำ บัวขาว บัญชาเมฆ ตำนานวงการมวยไทย หวนคืนสังเวียนราชดำเนินเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี มาขึ้นชกแบบ Exhibition Kickboxing Match พบกับ โคตะ มิอุระ นักมวยชาวญี่ปุ่นวัย 20 ปี / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/buakaw-vs-miura-kota/

 

070

 

 

23 สิงหาคม 2565: มวลชนชูภาพของ พล.อ. ประยุทธ์ ที่มีการระบุข้อความการสิ้นสภาพในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ขณะที่มวลชนอิสระทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง ต่อกรณีการครบกำหนดวาระ 8 ปีของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีกำหนดครบในเวลาเที่ยงคืน / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/prayut-8-years-4/

 

071

 

 

24 สิงหาคม 2565: กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า ‘ทะลุมช’ พร้อมเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมที่บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยจุดประสงค์เพื่อเป็นการแสดงถึงความไม่พอใจในการบริหารงานตลอด 8 ปีของรัฐบาล ที่นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ และสะท้อนถึงความผิดพลาดในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น / ภาพ: อาดิศ สัมปัตตะวนิช

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/prayut-8-years-7/

 

072

 

 

25 สิงหาคม 2565: ภาพของหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2565 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งรับคำร้องฝ่ายค้าน ที่ให้ตรวจสอบสถานความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าครบวาระ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญกำหนดแล้วหรือไม่ หากนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 พร้อมกันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำสั่งให้ พล.อ. ประยุทธ์ ยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ส่งผลให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ต้องขยับขึ้นมาทำหน้าที่รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีตามลำดับ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/thai-politics-newspaper/

 

073

 

 

26 สิงหาคม 2565: พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลวันแรกหลังต้องรับหน้าที่ดังกล่าว ขณะที่ ​พล.อ. ประวิตร มีสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมปฏิเสธการตอบคำถามถึงความรู้สึกในการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี​ที่ทำเนียบรัฐบาลวันแรก รวมถึงปฏิเสธการตอบคำถามถึงความมั่นใจในอำนาจการรักษาการ และยังปฏิเสธการตอบคำถามว่า มีการพูดคุยกับ พล.อ. ประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ แล้วหรือไม่​ ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ พล.อ. ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/prawit-arrived-government-palace/

 

074

 

 

27 สิงหาคม 2565: วง VOB หรือ Voice of Baceprot วงร็อกเมทัลหญิงล้วนคลุมฮิญาบจากประเทศอินโดนีเซีย เจ้าของบทเพลง God, Allow Me (Please) To Play Music หรือชื่อภาษาไทย พระเจ้า ขอให้พวกเราได้เล่นดนตรีด้วย พวกเธอเปิดการแสดง ที่มนตรีสตูดิโอ เรียกความสนใจจากแฟนเพลงที่ติดตามและผู้ที่เข้าชมงานได้อย่างมาก ‘ผู้หญิง-ศาสนาอิสลาม-ร็อกเมทัล-ความฝัน-ความเชื่อ’ สมการที่แตกต่างคนละทิศละทางคือความท้าทายของสมาชิกในวงที่ต้องฝ่าฟัน ตั้งแต่พวกเขารวมตัวก่อตั้งในปี 2014 กับความเชื่อของผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่ยอมรับการที่ผู้หญิงสวมฮิญาบแล้วเล่นดนตรี แม้จะไม่ผิดต่อหลักกฎหมาย แต่การกระทำเช่นนี้ถือว่าผิดต่อหลักศาสนาอิสลาม / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/absolutely-live-in-bangkok/

 

075

 

 

29 สิงหาคม 2565: พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทดลองเล็งปืนในพิธีเปิดงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ (Defense & Security 2022) โดยเป็นออกงานแรกหลังพักตำแหน่งนายกฯ ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/prayut-visit-weapon-event/

 


 

กันยายน

 

076

 

 

6 กันยายน 2565: ประชาชนต่อแถวยาวเหยียดขึ้นไปถึงบนสะพานเชื่อมทางเดินสู่รถไฟฟ้า BTS เพื่อรอขึ้นรถตู้สาธารณะ ที่ท่ารถตู้สวนจตุจักร ขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนตกหลายพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังและการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมาก / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bkk-public-transport/

 

077

 

 

6 กันยายน 2565: ประชาชนเดินลุยน้ำท่วมบนถนนแจ้งวัฒนะ โดยถนนแจ้งวัฒนะ ถนนงามวงศ์วาน วงเวียนบางเขน และในพื้นที่เขตหลักสี่ มีการรายงานว่าฝนตกต่อเนื่องจนเกิดน้ำท่วมขัง ส่งผลให้การจราจรติดสาหัส เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากระบบตรวจวัดปริมาณน้ำฝน สำนักการระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร ที่จุดวัดศูนย์ราชการ-ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ เมื่อเวลา 23.40 น. พบว่ามีปริมาณฝนสะสมอยู่ที่ 92.5 มิลลิเมตร ฝนสะสมตลอด 48 ชั่วโมงอยู่ที่ 98.5 มิลลิเมตร สถานการณ์น้ำอยู่ในขั้นน้ำท่วม เริ่มท่วมตั้งแต่เวลา 17.30 น. ระดับน้ำสูงสุด (วัดจากพื้นผิวจราจร) อยู่ที่ 26.4 เซนติเมตร / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/chaengwattana-laksi-flooding/

 

078

 

7 กันยายน 2022 , กรุงเทพมหานคร , สถานการณ์น้ำท่วมชุมชนบางบัว เขตบางเขน , ช่างภาพ : ศวิตา พูลเสถียร

 

7 กันยายน 2565: ประชาชนเดินลุยน้ำท่วมที่ชุมชนบางบัว เขตบางเขน เนื่องจากผลกระทบจากฝนที่ตกหนักมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บ้านเรือนภายในชุมชนมีน้ำท่วม

 

จากข้อมูลของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พบว่าคลองบางบัว เขตบางเขน เป็นพื้นที่ที่มีน้ำฝนอยู่ในปริมาณวิกฤตถึง 178 มิลลิเมตร วัดได้จากฝนที่ตกลงมาตั้งแต่เวลา 17.15-03.50 น. ความรุนแรงของฝนภายในเวลา 15 นาทีเป็นลำดับที่ 2 ของกรุงเทพฯ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangbua-community-flood/

 

079

 

 

11 กันยายน 2565: น้ำท่วมขังบริเวณถนนศรีนครินทร์ พบว่าระดับน้ำบนพื้นผิวจราจรยังท่วมขังในระดับเข่า ประชาชนที่ใช้ถนนดังกล่าวยังสัญจรด้วยความยากลำบาก เนื่องด้วยสถานการณ์ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/srinakarin-road-flooded/

 

080

 

 

11 กันยายน 2565: ถนนฉลองกรุงบริเวณสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีน้ำท่วมขัง ขณะสถานการณ์น้ำท่วมขังในเขตลาดกระบัง พบว่ายังมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมถึงชุมชนโดยรอบ โดยทางสถาบันฯ ได้ประกาศแจ้งปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 13-16 กันยายน 2565 / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/lat-krabang-floods-kmitl/

 

081

 

 

12 กันยายน 2565: ผู้ที่อาศัยอยู่ใยชุมชนหมู่บ้านเคหะนคร 2 เขตลาดกระบัง ใช้ชีวิตกับสภาพน้ำท่วม ขณะที่ขณะที่เฟซบุ๊ก ชุมชนหมู่บ้านเคหะนคร 2 ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กแฟนเพจของกรรมการชุมชน สำหรับกระจายข่าวสารในหมู่บ้านได้ระบุว่า ขณะนี้ได้เพิ่มเครื่องสูบน้ำอีก 1 เครื่อง รวมทั้งหมดขณะนี้มี 4 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออก พร้อมกล่าวถึงประชาชนในชุมชนว่า “วิกฤตน้ำครั้งนี้ กรรมการชุมชนขอให้ทุกท่านสู้ไปด้วยกันนะคะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะทุกๆ คน เราจะผ่านไปได้เพราะความสามัคคีของเรา” / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/lat-krabang-flooding-120965/

 

082

 

 

12 กันยายน 2565: เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร สถานีสูบน้ำพระโขนง ทำการเก็บโซฟาขนาดใหญ่ที่ถูกทิ้งลงในคลอง และลอยมาติดตะแกรงหน้าเครื่องสูบน้ำ เจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าคืนไหนที่มีฝนตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง และตกหนักนั้นหมายความว่า เช้าวันต่อมาเจ้าหน้าที่ทั้งจากสำนักระบายน้ำ และเจ้าหน้าที่เขตจะต้องระดมกำลังทั้งหมดที่มีมารอเก็บขยะที่จะลอยมากองรวมกันตามแรงสูบน้ำที่สถานี / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/sofa-drain/

 

083

 

 

15 กันยายน 2565: สวนเบญจกิติ เปิดให้บริการพื้นที่สวนน้องหมา โดยให้ประชาชนและน้องหมาของตนเองได้เข้าไปใช้พื้นที่สวนได้วันนี้เป็นวันแรก ได้รับความสนใจจากเหล่าบรรดาคนรักน้องหมาจำนวนมาก พื้นที่สวนดังกล่าวตั้งอยู่ตรงข้ามลานจอดรถสวนเบญจกิติ ยาวมาถึงฝั่งขวาของประตู 1 ทางเข้าสวนฝั่งถนนรัชดาภิเษก โดยที่ผู้ใช้บริการจะต้องลงทะเบียนน้องหมาก่อนพาเข้าสวน / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/dog-park-benjakitti-park/

 

084

 

 

27 กันยายน 2565: เมฆฝนกำลังเคลื่อนปกคลุมกรุงเทพมหานครในช่วงเวลาเย็น ซึ่งเป็นสภาพอากาศมวลรวมที่เต็มไปด้วยความมืดครึ้มไปทั่ว ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากไต้ฝุ่นโนรู ตามการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าไต้ฝุ่นโนรูเคลื่อนตัวอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 240 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangkok-typhoon-noru/

 


 

ตุลาคม

 

085

 

 

3 ตุลาคม 2565: สภาพของห้าแยกลาดพร้าว ช่วงรอยต่อระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน ปากทางถนนลาดพร้าว ที่เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งวันนี้มีฝนตกลงมาต่อเนื่องกว่า 6 ชั่วโมง ทำให้หลายส่วนในแยกลาดพร้าวต้องจมน้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนที่สัญจรไปมาในช่วงเลิกงานมุ่งหน้ากลับบ้านพักผ่อนให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นกว่าเดิม / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/ladprao-6-hours-rain/

 

086

 

 

3 ตุลาคม 2565: สภาพน้ำท่วมบนถนนสุขุมวิทตั้งแต่ช่วงแยกบางนาจนถึงแยกอุดมสุข หลังมีรายงานว่าพื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงบ่าย ทำให้มีน้ำฝนปริมาณมากและน้ำท่วมขังพื้นผิวจราจร ขณะที่มีประชาชนที่เลิกงานช่วงเย็นตกค้าง รอรถโดยสารจำนวนมาก / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/bangna-flood/

 

087

 

 

5 ตุลาคม 2565: ผู้เข้าร่วมงานที่อ้างตนเป็นร่างทรงเจ้าแม่กาลีกำลังร่ายรำภายในงานแห่ประเพณีวันวิชัยทัสมิ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ประชาชน และหมู่สานุศิษย์ที่ศรัทธาเลื่อมใสร่วมตั้งซุ้มสักการะ และนั่งรอขบวน ยาวตลอดทางตั้งแต่ด้านหน้าวัดแขก ถนนสีลมและถนนสาทร / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/vijayadashami-2565/

 

088

 

 

7 ตุลาคม 2565: พวงมาลาประทานและช่อดอกกุหลาบสีขาว จากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตั้งอยู่ด้านอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ด้วยทรงเสียพระทัยต่อเหตุการณ์ที่อดีตตำรวจกราดยิงและทำร้ายครู-นักเรียน จากรายงานมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 37 ราย ผู้บาดเจ็บทั้งหมด 10 ราย รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 7 ราย / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/nongbualamphu-shooting-6/

 

089

 

 

7 ตุลาคม 2565: ที่วัดราษฎร์สามัคคี ตำบลนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู บรรยากาศภายหลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยเคลื่อนร่างผู้เสียชีวิตจากที่ว่าการอำเภอนากลาง ส่งต่อไปยังวัดต่างๆ ในพื้นที่แล้ว ที่วัดแห่งนี้มีการนำร่างผู้เสียชีวิตมารวมกันมากที่สุดทั้งหมด 20 ราย เป็นเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลอุทัยสวรรค์ 18 ราย เป็นครูของศูนย์ฯ 1 ราย และเป็นเจ้าหน้าที่ของ อบต. อีก 1 ราย / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/nong-bua-lam-phu-funeral/

 

090

 

 

18 ตุลาคม 2565: ศรี​สุวรรณ​ จรรยา​ เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย​ ถูก วีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล หรือลุงศักดิ์ เข้ามาทำร้าย ระหว่างเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนเอาผิด​ กรณี #เดี่ยว13 ของ โน้ต-อุดม แต้พานิช ว่าหนุนการชุมนุมหรือไม่ ที่ศูนย์รับแจ้งความ​ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง​​ / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/srisuwan-janya-punched/

 


 

พฤศจิกายน

 

091

 

 

11 พฤศจิกายน 2565: กรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ โดยนักกิจกรรม 4 คนได้ลงไปในบึงน้ำภายในสวนเบญจกิติ ใกล้เคียงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมชูป้าย ‘STOP APEC / เอเปค หยุด! ฟอกเขียว’ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC 2022 เห็นความสำคัญของสภาพภูมิอากาศ / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/greenpeace-thailand-apec-2022/

 

092

 

 

16 พฤศจิกายน: ผู้คนเดินข้ามถนนบริเวณสี่แยกอโศกมนตรี ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนเฝ้าระวังความปลอดภัย บริเวณถนนรัชดาภิเษกที่ปิดการจราจร ซึ่งเป็นทางมุ่งหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ในการจัดประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2022 หรือ APEC 2022 / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/ratchada-asoke-apec-2022/

 

093

 

 

17 พฤศจิกายน: ผู้ชุมนุมถีบตำรวจควบคุมฝูงชน บริเวณแยกอโศกมนตรี ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มนักกิจกรรม พร้อมเครือข่ายแนวร่วม 13 เครือข่าย จัดชุมนุมหัวข้อ ‘What Happening in Thailand?’ ไฮไลต์คือการเดินขบวนไปศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อยื่นจดหมายถึงผู้นำโลกที่มาร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2022 หรือ APEC 2022 โดยที่ตำรวจวางกำลังและไม่อนุญาตให้ผ่านพื้นที่ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/people-63-group-asoke-rally/

 

094

 

 

18 พฤศจิกายน 2565: พระสงฆ์กระโดดถีบตำรวจควบคุมฝูงชน ขณะเกิดเหตุชุลมุนบริเวณถนนดินสอ มุ่งหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายประชาชน ราษฎรหยุด APEC 2022 มุ่งหน้าเดินขบวนจากลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ไปศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องถึงผู้นำเศรษฐกิจที่ร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 2022 (APEC 2022) / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/peoples-mob-stops-apec/

 

095

 

 

18 พฤศจิกายน 2565: หนึ่งในผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ ขณะเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุม มวลชนเครือข่ายประชาชนราษฎรหยุดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 ที่เคลื่อนขบวนจากลานคนเมืองไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำหรับการสลายการชุมนุมในครั้งนี้ กลุ่มมวลชนมีการจุดไฟเผาพริกเผาเกลือบนเตาอั้งโล่ แล้วนำเตาวางไว้บนฝากระโปรงรถตำรวจ เกิดควันเป็นจำนวนมากขึ้น เจ้าหน้าที่จึงฉีดโฟมสกัดพลิงเพื่อดับควัน จากนั้นเกิดเหตุวุ่นวายที่แนวระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและมวลชน ทั้งนี้ข้อมูลศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า มีการจับกุมตัวแกนนำและผู้ชุมนุมในครั้งนี้แล้วอย่างน้อย 20 ราย / ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/peoples-mob-stops-apec-5/

 

096

 

19 พฤศจิกายน 2022 , สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล , เวลา 13.20 น. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้การต้อนรับ สีจิ้นผิง Xi Jinping ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล , ช่างภาพ : ศวิตา พูลเสถียร

 

19 พฤศจิกายน 2565: พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล โดยได้หารือข้อราชการแบบเต็มคณะ มีประเด็นข้อราชการที่สำคัญ เช่น การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนในโอกาสครบรอบ 10 ปี ความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านในปี 2565 รวมถึงการเตรียมการเข้าสู่การครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศในปี 2568 / ภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/apec-thailand-19112022-4/

 


 

ธันวาคม

 

097

 

 

1 ธันวาคม 2564: ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ทำพิธีเผาพริกเผาเกลือหลังจบแถลงข่าวเปิดเผยข้อมูลเครือข่ายกลุ่มนายทุนจีนสีเทา โดยบอกว่าทำเพื่อสาปแช่งผู้ที่พูดกล่าวหาว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลของตนมีคนอยู่เบื้องหลัง และผู้ที่คิดจะขัดขวางกระบวนการข้อเท็จจริงในคดีนี้ ซึ่งชูวิทย์ยืนยันว่าการออกมาเปิดเผยข้อมูลทุนจีนสีเทาก็เพื่อต้องการปกป้องประเทศ ไม่ได้มีบุคคลใดอยู่เบื้องหลัง / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/chuwit-chinese-triad-gangs/

 

098

 

 

16 ธันวาคม 2565: แถลงการณ์สำนักพระราชวังติดประกาศภายในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวร ทรงทำการฝึกสุนัขทรงเลี้ยงที่จะเข้าแข่งขันสุนัขใช้งานตามมาตรฐานสากลในรายการ ณ สนามฝึกสุนัข กองพันสุนัขทหาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างที่ทรงทำการฝึกทรงมีพระอาการประชวรหมดพระสติด้วยพระอาการทางพระหทัย / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/government-private-sector-signing-the-blessing/

 

099

 

 

16 ธันวาคม 2565: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ลงจากอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หลังทรงติดตามพระอาการประชวรของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที จึงเสด็จฯ กลับ โดยบรรยากาศที่โถงชั้น 1 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เดินทางมาลงนามถวายพระพรอย่างต่อเนื่อง มีประชาชนบางส่วนเปล่งเสียง “ในหลวงสู้ๆ” เพื่อถวายกำลังใจ / ภาพ: ฐานิส สุดโต

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/giving-encouragement-the-king-and-the-queen/

 

100

 

 

22 ธันวาคม 2564: สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก แห่งภูฏาน เสด็จฯ พระราชทานแจกันดอกไม้และทรงลงพระนามเยี่ยมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่บริเวณชั้น 1 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการนี้ทรงลงพระนามาภิไธยเป็นภาษาอังกฤษเยี่ยมในสมุดลงพระนาม ความว่า “ถึงเจ้าหญิงอันเป็นที่รักและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และข้าพเจ้า สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน พร้อมด้วยพสกนิกรชาวภูฏาน ขออวยพรอย่างจริงใจให้พระองค์ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว และมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นทุกวัน พระนามาภิไธย สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน” / ภาพ: ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม

 

อ่านข่าว: https://thestandard.co/jetsun-pema-visit-bajrakitiyabha/

 

ภาพ: ฐานิส สุดโต, ชาติกล้า สำเนียงแจ่ม, ศวิตา พูลเสถียร, พงษ์มนัส ทาสิริ, อาดิศ สัมปัตตะวนิช, ณาฌารัฐ ภักดีอาสา

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising