×

ฉากชีวิตของคนขายหมู กับวิกฤตราคาแพงแบบ ‘พีกในพีก’ ทั้งคนขาย-คนซื้อ ที่ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต

04.01.2022
  • LOADING...
วิกฤตราคาเนื้อหมูแพง

สถานการณ์เนื้อหมูราคาแพงกลายเป็นวิกฤตปากท้องใหม่ของประชาชน เมื่อค่าครองชีพขยับสูงขึ้นต่อเนื่องในหลายรายการ แต่กลับสวนทางกับรายรับที่แทบจะคงที่ บวกรวมกับวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด ยิ่งทำให้หลายชีวิตต้องประหยัดและบางรายถึงกับมีชีวิตที่พลิกผันเพราะขาดรายได้จากการไม่มีงานทำ

 

ภาพสะท้อนสำคัญของวิกฤตราคาเนื้อหมูแพงก็คือ การขยับขึ้นราคาของอาหารจานเดียวที่ใช้วัตถุดิบเนื้อหมูในการปรุง หลายชีวิตฝากท้องไว้กับอาหารจานด่วน อาหารตามสั่ง ยิ่งทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตแต่ละวันมีภาระมากขึ้นอีก

 

ภาครัฐโดยกรมปศุสัตว์ อธิบายปรากฏการณ์เนื้อหมูราคาแพงนี้ว่า เกิดจากปัจจัยเสี่ยงปัญหาด้านสุขภาพสัตว์ในฟาร์มสุกรที่ต้องมีการควบคุมและกำจัดสุกรที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ทำให้มีปริมาณสุกรที่ลดลง ต้องมีการพักคอกสัตว์ก่อนทำการเลี้ยงรุ่นการผลิตใหม่ และต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์

 

THE STANDARD สำรวจเขียงหมูที่ตลาดบางกอกน้อยและตลาดพรานนก โดยเจ้าของร้านชำแหละหมูขายส่งเล่าให้ฟังว่า วิกฤตครั้งนี้ถือว่า ‘พีกในพีก’ เพราะที่ผ่านมาราคาไม่เคยถ่างขนาดนี้ แม้จะมีช่วงที่ราคาเนื้อหมูปรับขึ้น แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะการดีลซื้อหมูไม่ได้ผ่านหน้าฟาร์มโดยตรง แต่เวลานี้ต้องใช้นายหน้าในการไปจัดหามาด้วย ทำให้มีขั้นตอนค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบมาขาย ส่วนคนที่ซื้อก็ต้องทำใจรับสภาพกับราคา เพราะความต้องการซื้อยังเท่าเดิม แต่วัตถุดิบคือเนื้อหมูกลับลดน้อยลง แต่ก็ถือว่ายอดน้อยลง ก็คงต้องรอให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นกว่านี้ แต่เท่าที่ดูยังดูไม่มีท่าทีที่ราคาจะลดลง แม่ค้าข้าวแกงบางรายก็หันไปใช้เนื้อไก่แทน

 

“ต้องทำใจยอมรับกับความเปลี่ยนแปลง เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อย่างในห้างเขามีโปรลดราคา แต่เราทำแบบนั้นไม่ได้”

 

ขณะที่เบื้องหลังเนื้อหมูที่ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค THE STANDARD ได้รับอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นจริงของวิกฤตราคาหมู ที่ทั้งคนแบกหมู คนซื้อ คนขาย และคนกิน ก็ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่แต่ละคนต้องเผชิญไม่ต่างกัน

 

วิกฤตราคาเนื้อหมูแพง วิกฤตราคาเนื้อหมูแพง

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising