×

10 แนวคิดสู่การปฏิบัติขององค์กรในการทบทวนความเสี่ยง

17.01.2023
  • LOADING...

ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2566 ธุรกิจทั่วโลกยังคงเผชิญกับ ‘ความเสี่ยง’ ในหลากหลายรูปแบบทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับ ‘การจัดการความเสี่ยง’ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ ในขณะที่องค์กรก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้

 

ทั้งนี้ การจัดการความเสี่ยงไม่ได้เป็นแค่เพียงการตอบสนองต่อเหตุการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงผ่านการใช้ข้อมูลและเครื่องมือในการจัดการบนพื้นฐานของการมองไปข้างหน้า (Be Forward Looking) ความโปร่งใส (Be Transparent) ความยืดหยุ่น (Be Resilient) และความครอบคลุม (Be Inclusive)

 

ล่าสุด บทความ Rethink Risk: Our 10-Point Agenda for Action to Help Organisations Rethink Risk ของ PwC สหราชอาณาจักร ได้นำเสนอ 10 แนวทางปฏิบัติที่ธุรกิจควรนำไปพิจารณาเพื่อทบทวนความเสี่ยงของตน โดย PwC ทำการศึกษาข้อมูลเชิงลึกร่วมกับธุรกิจชั้นนำจากหลากหลายอุตสาหกรรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแนวทางที่จะช่วยให้ผู้บริหารมีมุมมองใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับความไม่แน่นอนในปี 2566 นี้ ประกอบไปด้วย

 

  1. ทบทวนการประเมินความเสี่ยงที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และความเสี่ยงใหม่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การประเมินความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม (เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ) แค่ปีละครั้ง อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ผู้บริหารจะต้องมีการติดตามและประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยนำชุดข้อมูลและมุมมองที่มีความแตกต่างหลากหลายของทั้งพนักงานและลูกค้ามาพิจารณาร่วมกับแนวโน้มความเสี่ยงในระยะยาวที่องค์กรจะต้องเตรียมรับมือ

 

  1. ลงทุนด้านข้อมูลที่สำคัญและข้อมูลเชิงลึกเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงใหม่ในเชิงรุก ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมั่นใจเกิดจากการมีข้อมูลเชิงลึกที่แข็งแกร่ง เพราะช่วยให้องค์กรสามารถจัดทำแบบจำลองความเสี่ยง และวัดความเสี่ยงเชิงปริมาณเพื่อจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคามต่างๆ รวมทั้งวัดผลความสูญเสียทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ องค์กรควรต้องลงทุนด้านเครื่องมือ เทคโนโลยี และทักษะของพนักงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรม เช่น ธุรกิจการผลิต อาจใช้ข้อมูลการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) และห่วงโซ่อุปทาน โดยวางแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีสำนึกรับผิดชอบมากขึ้น หรือธุรกิจธนาคารอาจใช้ข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการให้สินเชื่อจำนองในภูมิภาคเฉพาะ เพื่อรับมือกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เป็นต้น

 

  1. ร่วมลงทุนและแบ่งปันข้อมูลเพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกด้านความเสี่ยงใหม่และความเสี่ยงที่ยังไม่เป็นที่รู้จักเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย โดยโซลูชันการทำงานร่วมกันจะต้องเกิดจากความเข้าใจในข้อมูลเชิงลึกที่เท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงการแบ่งปันความเชี่ยวชาญระหว่างอุตสาหกรรม และการลงทุนในแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่สามารถนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ให้เกณฑ์มาตรฐาน และติดตามความก้าวหน้าในการรับมือความเสี่ยงในด้านต่างๆ

 

  1. มีความโปร่งใสเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติเพื่อจัดการความเสี่ยงในการฟื้นฟูและสร้างความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนเชื่อในการตัดสินใจที่สำคัญๆ และหากพวกเขาเข้าใจเหตุผลของการกระทำหรือกลยุทธ์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่พวกเขาจะยอมรับความเสี่ยงที่ตามมาด้วย ฉะนั้นองค์กรจะต้องมีความเปิดเผยและมีความรับผิดชอบ (Open and Accountable) ต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้จะต้องมีแผนการสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ได้รับทราบข้อมูล รวมถึงต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย

 

  1. ตั้งระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ส่วนรวม โอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงเหล่านั้นและนวัตกรรม พิจารณาความเสี่ยงในบริบทของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรและความท้าทาย หรือแม้กระทั่งโอกาสต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการบริษัท อาจยินดีที่จะเสี่ยงต่อการสูญเสียทางการเงินเพื่อแลกกับการเติบโตของบริษัท แต่จะไม่ยอมเดิมพันกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ องค์กรจะต้องแน่ใจด้วยว่าได้สื่อสารให้ทุกฝ่ายในองค์กรและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจถึงการแลกเปลี่ยนนี้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรบรรลุการตัดสินใจที่สม่ำเสมอได้อย่างมั่นใจในที่สุด

 

  1. บูรณาการและยกระดับความเสี่ยงให้เป็นภารกิจเชิงกลยุทธ์หลัก องค์กรควรต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานเพื่อให้ทุกฝ่ายมองความเสี่ยงเป็นตัวขับเคลื่อนทางธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาโอกาสต่างๆ โดยต้องเริ่มจากทีมผู้บริหารที่จะต้องมีการนำประเด็นความเสี่ยงมาพูดคุยกันในระดับคณะกรรมการ รวมทั้งร่วมผลักดันการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มากกว่ามองว่าเป็นแค่แบบฝึกหัดการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

 

  1. มีเป้าประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจนและใช้เป้าประสงค์นี้ในการพิจารณาและบรรเทาความเสี่ยง สถานการณ์การแพร่ระบาดเน้นย้ำให้เห็นว่าการมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนนั้นช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ดีกว่า รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการพิจารณาการยอมรับหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดความเสี่ยงหนึ่งด้วย ซึ่งผู้นำธุรกิจจะต้องสื่อสารเป้าประสงค์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและสร้างความเชื่อมั่นในระบบนิเวศทางธุรกิจ ทั้งนี้ ความรู้สึกที่ชัดเจนของวัตถุประสงค์ยังสามารถเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกัน เมื่อต้องเผชิญกับความเสี่ยงในลักษณะลูกโซ่ (Systemic Risk) ที่มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบในวงกว้าง ครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

 

  1. คงความรวดเร็วและสไตล์ในการตัดสินใจ รวมทั้งการตอบสนองในช่วงการแพร่ระบาด เพื่อนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เราคงต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดถือเป็นโอกาสที่ทำให้องค์กรหลายๆ แห่งปรับตัวได้มากขึ้น และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้รูปแบบการบริหารแบบกระจายอำนาจที่ช่วยกำจัดระบบราชการ (Bureaucracy) และการบริหารงานแบบจู้จี้จุกจิก จับผิด และตรวจสอบรายละเอียดทุกอย่างทุกขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาและตอบสนองต่อโอกาสใหม่ๆ ทั้งนี้ การรักษาความรวดเร็วในการคิดตัดสินใจและการปฏิบัติ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ข้างหน้าได้ดีขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล ที่ต้องอาศัยการตัดสินใจที่มีความคล่องตัวและคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว เป็นต้น

 

  1. สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเปิดเผยและแบ่งปันความเสี่ยงและโอกาส องค์กรควรต้องรับฟังเสียงที่แตกต่างแม้ว่าบางครั้งความคิดเห็นนั้นๆ อาจจะท้าทายนิสัยและทัศนคติที่ยึดมั่นก็ตาม ทั้งนี้ ผู้บริหารจะต้องมีความกระตือรือร้นในการสอบถามความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับความหลากหลายที่จะนำไปสู่มุมมอง ประสบการณ์ และวิธีคิดที่แตกต่าง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มากไปกว่านั้นผู้บริหารจะต้องปลูกฝังวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีความกล้าที่จะพูดและแสดงความคิดเห็นได้ เพราะยิ่งพนักงานกล้าที่จะแสดงออก ก็จะยิ่งรู้สึกมีอิสระที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น

 

  1. รักษาจิตวิญญาณของการทำงานและความรู้สึกของวัตถุประสงค์ร่วมกัน การแพร่ระบาดที่ผ่านมาทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและแจกจ่ายวัคซีน หรือการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เราต้องรักษาจิตวิญญาณและความรู้สึกของการบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันไว้ เพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือวิกฤตอื่นๆ ที่กำลังจะมาถึงในอนาคต เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เป็นต้น ทั้งนี้ การเตรียมรับมือกับความท้าทายเหล่านี้จะต้องอาศัยการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน นอกจากนี้เราจะต้องมีระบบการวัดผลความสำเร็จของประเทศที่ไปไกลกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยรวมประเด็นด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และสิ่งแวดล้อมด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising