×

Tried & Tested: แก้ปัญหานอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ด้วยการฝังเข็ม

11.12.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • คุณหมอศรันย์กร สุชาณัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มของคลินิกเยาว์วัย อธิบายไว้ว่า “เทคนิคที่เราใช้เป็นการกระตุ้นจากภายนอกเข้าสู่ภายใน เพื่อขจัดของเสียที่อยู่ในสมองด้วยการฝังเข็ม เนื่องจากการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว การฝังเข็มไปยังบริเวณศีรษะและท้ายทอยจึงช่วยให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัวได้มากขึ้น รวมถึงเนื้อสมองที่หลอดเลือดขยายตัวเช่นกัน ดังนั้นการกำจัดของเสียจึงทำได้ดีกว่า
  • หากเป็นคนไข้ที่กินยานอนหลับเป็นประจำจนสารสื่อประสาทในสมองลดลง แนวทางรักษาต้องปรับตั้งแต่ระดับสารสื่อประสาทในสมอง ด้วยการใช้ ECGC เพื่อดีท็อกซ์ ให้คนไข้ลดปริมาณการใช้ยานอนหลับ จนถึงขั้นไม่ต้องพึ่งพาตัวช่วยอีกเลย เพราะแนวทางรักษาของที่นี่ต้องการลดยาให้คนไข้

แม้การนอนจะกินเวลา 1 ใน 3 ของชีวิตคนเรา แต่หลายคนก็ยังมองข้ามเรื่องการนอน เพราะคิดว่าการนอนเป็นเพียงการพักผ่อนหลังเหนื่อยล้ามาทั้งวัน แต่ไม่ได้มองลึกลงไปกว่านั้นว่าแท้จริงแล้ว การนอนส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายคนเรามากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านความจำ การปรับฮอร์โมนให้สมดุล การฟื้นฟูกล้ามเนื้อ การทำงานของสายตา รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันไว้ต่อกรกับโรคต่างๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจัดลำดับความสำคัญของการนอนไว้ท้ายสุด โดยมุ่งเน้นแต่การออกกำลังกาย การกิน หรือความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จนลืมหันกลับมามองว่า ยิ่งเราพยายามมากเท่าไร เรายิ่งต้องการ ‘การพักผ่อน’ มากขึ้นเท่านั้น

 

และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงมายัง เยาว์วัย คลินิกแนวคิดใหม่ ที่ผสานศาสตร์ตะวันตกเข้ากับตะวันออก เพื่อทดลองโปรแกรมที่จะช่วยให้เราหลับได้สบายและลึกยิ่งขึ้น โดยอาศัยวิธีการฝังเข็มควบคู่กับการมอบวิตามินเข้าสู่ร่างกาย

 

ฝังเข็มแก้อาการนอนไม่หลับ

คืออะไร การฝังเข็มเพื่อการนอน เป็นการนำเอาศาสตร์โบราณของชาวจีนมาผสานเข้ากับความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยมีผลทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยรองรับ เสริมด้วยการอัดวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อชะล้างสารพิษที่คั่งค้างในสมอง ช่วยให้เราหลับได้สบายและง่ายยิ่งขึ้น   

 

 

ทำอย่างไร แม้จะเป็นการฝังเข็มแต่เทคนิคที่ใช้ไม่ได้มาสาย Traditional เต็มตัว แต่เป็นการผสมผสานองค์ความรู้โบราณเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ ดังเช่นที่คุณหมอศรันย์กร สุชาณัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็ม อธิบายไว้ว่า

 

“เทคนิคที่เราใช้เป็นการกระตุ้นจากภายนอกเข้าสู่ภายใน เพื่อขจัดของเสียที่อยู่ในสมองด้วยการฝังเข็ม เนื่องจากการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว การฝังเข็มไปยังบริเวณศีรษะและท้ายทอยจึงช่วยให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัวได้มากขึ้น รวมถึงเนื้อสมองที่หลอดเลือดขยายตัวเช่นกัน ดังนั้นการกำจัดของเสียจึงทำได้ดีกว่า

 

“จากนั้นจึงมอบวิตามินต่างๆ ผ่านทางเส้นเลือดดำ ซึ่งวิตามินจะแบ่งออกเป็นกลุ่มละลายในน้ำ (Water Soluble Vitamin) และกลุ่มละลายในไขมัน (Fat Soluble Vitamin) เช่น A, E, K ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินที่เรามอบให้คนไข้ เหตุผลที่เราไม่ใช้กลุ่มละลายในน้ำอย่าง C และ B เนื่องจากบริเวณรอบนอกของสมองมีตัวกั้น ไม่สามารถนำพาน้ำเข้าไปได้ ไม่อย่างนั้นสมองจะเกิดจากติดเชื้อ เราจึงเลือกให้วิตามินที่ละลายในไขมันเพื่อให้เข้าสู่สมอง มอบพลังงานให้สมอง”

 

แต่ใช่ว่าคนไข้ทุกคนที่มาในคลินิกแห่งนี้จะได้รับการรักษาแบบเดียวกัน เพราะก่อนที่จะเริ่มลงมือรักษา ต้องผ่านการพูดคุยและวินิจฉัยจากแพทย์ประจำคลินิกก่อนว่าควรใช้วิธีใดในการรักษาจึงจะเหมาะสมที่สุด

 

เป็นเหมือนกันไหม โหยหาการนอนทั้งๆ ที่เพิ่งลุกจากเตียงแท้ๆ

 

“นอกจากวิธีขั้นต้นแล้ว เราต้องประเมินคนไข้ด้วยว่ามีความเครียดสะสมหรือเปล่า เนื่องจากความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อยึด ติด ตรึง หด เกร็ง โดยเฉพาะการเกร็งเบริเวณช่วงอก ทั้งจากความเครียดและชีวิตประจำวันที่ทำงานในท่าเดิมๆ หรือออกกำลังกายมากเกินไป หากเจอคนไข้ที่หายใจสั้น ผมจะฝังเข็มบริเวณอกเพื่อขยายช่วงนั้น ช่วยขับไล่คาร์บอนไดออกไซด์ที่คั่งในปอด ส่งผลให้ออกซิเจนเข้าไปได้มากขึ้น ทำให้หายใจสะดวกและลึกขึ้น” คุณหมอพูดถึงการปรับสมดุลออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์

 

เข็มทุกเล่มเป็นของใหม่และปลอดเชื้อ

 

แต่หากเป็นคนไข้ที่กินยานอนหลับเป็นประจำจนสารสื่อประสาทในสมองลดลง แนวทางรักษาต้องปรับตั้งแต่ระดับสารสื่อประสาทในสมอง ด้วยการใช้ ECGC เพื่อดีท็อกซ์ ให้คนไข้ลดปริมาณการใช้ยานอนหลับ จนถึงขั้นไม่ต้องพึงพาตัวช่วยอีกเลย เพราะแนวทางการรักษาของที่นี่ต้องการลดยาให้คนไข้ แทนที่จะกินวิตามินหรืออาหารเสริมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

Welcome Drink ของเยาว์วัย ได้แก่ ปา เป่า ฉา หรือชาสมุนไพรกว่า 8 ชนิด ซึ่งเป็นชาโปรดที่ซูสีไทเฮาดื่มเพื่อช่วยด้านความงามและการชะลอวัย

 

ลองแล้วเป็นอย่างไร

แม้จะเคยฝังเข็มมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่เคยฝังจุดที่อยู่เหนือศีรษะมาก่อน ยอมรับว่ารู้สึกตื่นกลัวอยู่บ้าง แต่ยังดีที่บรรยากาศภายในคลินิกแห่งนี้ไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือนการมาสถานพยาบาล จึงคลายความกลัวหรือวิตกกังวลไปได้มาก หลังคุยกับคุณหมอถึงปัญหาการนอนไม่หลับ ที่แม้อาจไม่รุนแรงถึงขั้นนอนไม่หลับเลย แต่ปัญหาติดตัวคือเป็นคนนอนหลับไม่สนิท มักตื่นกลางดึก บางครั้งนอนไม่หลับถึงขั้นต้องกินเมลาโทนิน หลังถามไถ่ถึงชีวิตประจำวัน คุณหมอแนะนำว่า ประการแรกควรเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย ให้ฝึกโยคะบ้าง เพราะการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไปส่งผลต่อการนอน ทำให้การนอนไม่ได้คุณภาพ

 

 

จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการฝังเข็ม จุดที่ฝังไปได้แก่บริเวณศีรษะ ช่วงขมับทั้งสองข้าง และต้นคอ สังเกตว่าการฝังแต่ละครั้งมอบความรู้สึกที่แตกต่างกัน บางครั้งเบาราวมดสะกิด แต่บางจุดรู้สึกจี๊ดๆ เรื่องนี้คุณหมอกล่าวว่าที่แสดงอาการออกมาไม่เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะแต่ละจุดมีปัญหาไม่เหมือนกันนั่นเอง อย่างการฝังบริเวณต้นคอที่มีปัญหาเรื่องความตึงเกร็งเรื้อรังเป็นเวลานาน เมื่อเข็มถูกฝังลงไปบริเวณนั้น เราจึงรู้สึกตุบๆ เหนือจากจุดที่ฝังขึ้นไปยังศีรษะ ในขณะที่ส่วนอื่นไม่เป็น ส่วนการฝังกลางอกที่แม้ฟังดูน่ากลัว แต่เอาเข้าจริงไม่ได้รู้สึกอะไรเลย เพราะเข็มมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กและบางมาก

 

เข็มที่ใช้ในการรักษาจะมีขนาดที่เล็กและบางกว่าเข็มปกติทั่วไป

 

โดยรวมต้องบอกว่า ‘ไม่รู้สึกเจ็บหรือน่ากลัวเลยสักนิด’ กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่รู้สึกแทบทันใดว่าหัวโล่งมาก หัวเบาล่องลอย หายใจสะดวกขึ้นเยอะ ระหว่างนอนรอให้วิตามินอีกประมาณ 40 นาที สามารถงีบหลับได้เลย แต่เราอดใจไว้รอทดสอบคืนนั้นว่า คุณภาพการนอนจะเป็นอย่างไร ผลปรากฏว่า หัวถึงหมอนสลบเป็นตาย แถมยังไม่ตื่นกลางดึก หลับยาวๆ ได้ถึงเช้า นับเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอน หรืออยากเปลี่ยนจากการกินยานอนหลับหรือเมลาโทนิน มาหลับได้ด้วยตัวเองแบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวช่วย  

 

การตกแต่งยึดแนวตะวันออกผสานกลิ่นอายของตะวันตก

 

ภายในห้องทรีตเมนต์ที่อบอุ่นช่วยคลายความกังวลได้ดี

  

Yaowai

Open: 12.00-21.00 น.

Address: ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย

Budget: โปรแกรม inZomniaa ราคา 4,500 บาทต่อครั้ง

Contact: 06 4789 7168

Page: www.facebook.com/yaowaiholistic

Map:

 

 

ภาพ: COURTESY OF BRAND, SHUTTERSTOCK

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X