×

รายงานค้ามนุษย์สหรัฐฯ 2018 ยกไทยขึ้นเทียร์ 2 ดีสุดในรอบ 9 ปี ลาว เมียนมา และจีน อยู่ในกลุ่มสุดท้ายลักลอบค้ามนุษย์สูง

29.06.2018
  • LOADING...

สหรัฐฯ เผยรายงานการค้ามนุษย์ (Trafficking In Persons Report 2018) ฉบับล่าสุด ที่สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์การค้ามนุษย์ใน 189 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 2’ กลุ่มประเทศที่มีความพยายามในการแก้ไขและตรวจสอบการลักลอบค้ามนุษย์อย่างจริงจัง หลังก่อนหน้านี้สหรัฐฯ จัดอันดับให้ไทยอยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List)’ 2 ปีติดต่อกัน

 

Photo: TIP 2018

 

สถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยเคยย่ำแย่ที่สุด และถูกจัดอยู่ใน ‘กลุ่มเทียร์ 3’ เมื่อปี 2014 และ 2015 ที่ผ่านมา โดยการเปลี่ยนแปลงอันดับในครั้งนี้ นับว่าไทยมีพัฒนาการในการแก้ไข และจัดการปัญหาดังกล่าวดีที่สุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2009

 

Photo: TIP 2018

 

ประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับการสำรวจใน TIP 2018 มากกว่า 40% ถูกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มเทียร์ 2 โดยมี 4 ประเทศที่สหรัฐฯ จะเฝ้าระวังและติดตามเป็นพิเศษได้แก่ ลิเบีย เซนต์มาร์ติน โซมาเลีย และเยเมน

 

ขณะที่แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ล้วนถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 1 กลุ่มที่รัฐบาลมีความพยายามแก้ไขและตรวจสอบอย่างจริงจัง จนอัตราการลักลอบค้ามนุษย์ภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยฟิลิปปินส์เป็นเพียงชาติเดียวในย่านอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้

 

ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างจีนและรัสเซีย รวมถึงเพื่อนบ้านของไทยอย่างลาวและเมียนมา ถูกจัดในอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 ซึ่งสถานการณ์การค้ามนุษย์อยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง อีกทั้งรัฐบาลละเลยที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

 

Photo: shutterstock

 

TIP 2018 ระบุว่า ไทยมีความพยายามในการที่จะจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับรายงานฉบับก่อนหน้า ในปีนี้ไทยจึงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่ดีขึ้น ที่ผ่านมาไทยมีความพยายามในการดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพิ่มมากขึ้น มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและจัดการประเด็นนี้โดยเฉพาะ มีขั้นตอนกระบวนการที่กระชับขึ้น รวมถึงรัฐบาลเข้าไปมีส่วนในการสอบสวนและติดตามผลอย่างจริงจัง แม้ว่าการรับสินบนหรือสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ จะยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้

 

พร้อมทั้งเสนอแนะให้ไทยดำเนินคดีและตัดสินโทษ โดยใช้แนวทางที่เน้นผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเป็นศูนย์กลาง รวมถึงควรเพิ่มความพยายามในการระบุอัตลักษณ์ของเหยื่อการค้ามนุษย์ให้ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มบุคคลไร้สัญชาติ ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย หรือแม้แต่ชาวประมงและแรงงานต่างด้าว ล้วนแต่เป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงที่จะเข้ามาพัวพันกับปัญหานี้แทบทั้งสิ้น

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising