×

ประโยชน์ของการนอนกินบ้านกินเมืองในวันหยุด! งานวิจัยค้นพบ ‘การ นอนหลับ ในวันหยุด’ อาจมีผลดีกว่าที่คิด และอาจช่วยให้อายุยืนขึ้น

02.10.2022
  • LOADING...
การนอนหลับ

“จะนอนกินบ้านกินเมืองไปถึงไหน?”

 

“เสาร์อาทิตย์แทนที่จะออกไปนอกบ้าน หาที่เที่ยว พบปะเพื่อนฝูง ทำไมถึงเลือกใช้เวลาอยู่บนเตียง?”

 

“ตื่นสายก็พอแล้ว นอนทั้งวันในวันหยุดทำไม?”


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


เป็นคำถามที่คนรักการนอนหลับวันเสาร์-อาทิตย์หรือในวันหยุดนักขัตฤกษ์มักจะได้ยินทั้งจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พี่น้อง ลุงป้าน้าอา จนถึงแฟนและเพื่อน และคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็มักจะแตกต่างกันออกไป บางคนไม่รู้ทำอะไร บางคนชอบนอน บางคนรู้สึกต้องการพักจากความเหนื่อยล้าระหว่างสัปดาห์ และบางคนก็แค่รู้สึกไม่อยากทำอะไรเลยในวันนั้นๆ 

 

ไม่ว่าเหตุผลส่วนตัวของแต่ละคนจะคืออะไร ดูเหมือนว่าการนอนยาวๆ ในวันหยุดอาจจะไม่ใช่เรื่องที่แย่ขนาดนั้น และไม่ใช่แค่ไม่แย่ แต่มันอาจมีประโยชน์กับร่างกายและส่งผลให้อายุยืนขึ้นด้วย

 

หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาว่าการนอนหลับชดเชย ไม่สามารถชดเชยได้จริง 

 

แมทธิว วอล์กเกอร์ นักวิทยาศาสตร์การนอนหลับ เคยนิยามการนอนหลับไว้ว่า “การนอนหลับนั้นไม่ใช่ธนาคารที่สามารถทบกันได้ หรือเพิ่มหนี้และจ่ายแบบทบต้นทบดอกในภายหลังได้ การนอนไม่พอในคืนหนึ่งและนอนไม่พอสะสมทำให้ร่างกายสูญเสียบางอย่างไปและมีค่าเสื่อมสภาพ และทั้งสองอย่างไม่อาจทวงคืนได้ด้วยการหลับรวดเดียว”

 

ในเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการนอนเท่าไรถึงจะพอดี เคยมีการวิจัยที่ศึกษาคนสวีเดน 43,880 คน โดยทุกคนกรอกแบบสอบถาม 36 หน้าที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ในชีวิต เช่น ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI, เพศ, พฤติกรรมการกิน, การทำงาน, การนอน, การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การใช้ยา, การแพ้ยา, การออกกำลังกาย, ความเครียดและความวิตกกังวล และพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ 

 

แต่ละคนจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ขึ้นอยู่กับเวลานอนในช่วงเริ่มทำการศึกษาวิจัย ตั้งแต่นอนน้อย หรือราวๆ 5 ชั่วโมงต่อคืน จนถึงนอนเยอะ หรือราวๆ 9 ชั่วโมงต่อคืน โดยมีการนำผลไปเทียบกับกลุ่มอ้างอิงที่นอน 7 ชั่วโมงในทุกๆ คืน

 

ผลคือคนที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมง มีอัตราการเสี่ยงชีวิตสูงถึง 65% เมื่อเทียบกับคนที่นอน 6-7 ชั่วโมง และยังมีความเสี่ยง 25% สำหรับคนที่นอน 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นอีกด้วย หรือก็คือ ข้อสรุปการงานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าการนอนไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป อยู่ที่ 6-7 ชั่วโมงคือช่วงเวลาที่เหมาะสม กำลังดี (นอนมากไปก็ส่งผลเสียเหมือนกันนะ)

 

แต่งานวิจัยใหม่ๆ ชี้ว่าเราอาจต้องเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการนอนแบบ ‘ทบต้นทบดอกในวันหยุด’

 

ในปี 2018 ผลจากการติดตามศึกษาชาวสวีเดน 40,000 คนที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ผู้ที่นอนคืนหนึ่งไม่ถึง 5 ชั่วโมงในวันทำงานระหว่างสัปดาห์ พบว่าคนเหล่านี้มีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงกว่าคนทั่วไปที่นอนในวันธรรมดาละ 7 ชั่วโมงถึง 52% และยังค้นพบว่าการนอนหลับน้อยทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทั้งสิ้น 

 

แต่ในการศึกษาเดียวกัน ยังค้นพบอีกว่าอัตราการเสียชีวิตในหมู่คนที่นอนหลับน้อยระหว่างสัปดาห์​ และเลือกจะชดเชยเยอะๆ ในวันหยุด ไม่ได้แตกต่างจากผู้ที่นอนหลับ 7 ชั่วโมงแต่อย่างใด หรือการค้นพบนี้พบว่าการนอนหลับน้อยระหว่างสัปดาห์สามารถชดเชยการนอนน้อยตลอดสัปดาห์ได้ ราวกับเติมน้ำทีหลังทีเดียวจนถึงเกจวัดปกติ

 

ทั้งยังไม่พบความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการนอนหลับและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ที่มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่านั้นอีกด้วย

 

“เป็นไปได้ว่าการนอนหลับในวันหยุดสุดสัปดาห์อาจชดเชยการนอนน้อยระหว่างวันในวันธรรมดาได้” ข้อสรุปจากการค้นคว้าที่นำทีมโดย Torbjörn Åkerstedt จากแผนกประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบัน Karolinska Institute ในประเทศสวีเดน

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้วิจัยระบุว่านี่เป็นเพียง ‘ความเป็นไปได้’ และอย่างไรก็ตาม ยังต้องการการวิจัยค้นคว้าเพิ่มเติมมากกว่านี้ และไม่ได้มีการกล่าวสนับสนุนให้คนนอนน้อยและควรชดเชยทีเดียวในวันสุดสัปดาห์แต่อย่างใด 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X