×

สารคดีพิเศษ คัมภีร์เอาตัวรอดของร้านอาหารในวิกฤตล้านระลอก

31.07.2021
  • LOADING...

ทางรอดของร้านอาหารในมรสุมวิกฤตโควิดอยู่ที่ตรงไหน

จากมาตรการล็อกดาวน์ควบคุมโควิดระลอกที่ 4 ส่งผลกระทบถึงผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังบาดเจ็บหนัก หมดหนทางเดินหน้าต่อ โดยเฉพาะมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน ทำให้หลายคนต้องตัดสินใจปลดพนักงาน ปิดกิจการ ยอมขาดทุนครั้งสุดท้าย แต่สำหรับคนทำธุรกิจที่ยังกัดฟันสู้มาจนถึงวันนี้ พวกเขาต่างต้องงัดสารพัดกลยุทธ์และวิชาบริหารจัดการ เพื่อพากิจการผ่านพ้นมรสุมระลอกแล้วระลอกเล่าไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

สารคดีพิเศษ The Secret Sauce รวบรวมบทเรียนที่กลั่นมาจากจิตวิญญาณของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารกระแสเงินสด และตัวแทนธนาคารในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังการเดินหน้าต่อของธุรกิจ SMEs

มาร่วมหาคำตอบไปด้วยกันว่า ธุรกิจร้านอาหารควรเดินหน้าต่อไปอย่างไร ท่ามกลางคลื่นวิกฤตพัดกระหน่ำ ที่ยังไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์

 


 


บันได 5 ขั้นของการฝ่าฟันวิกฤต

การเอาตัวรอดจากวิกฤต ต้องรู้ตัวก่อนว่าเราอยู่ตรงไหนของวิกฤต อ้างอิงเฟรมเวิร์กจาก McKinsey & Company มีบันได 5 ขั้นในการฝ่าฟันวิกฤต แต่ในสารคดีนี้ เราจะโฟกัสใน 3 Re แรก ซึ่งเป็นระยะสั้นที่สำคัญที่สุด



Cash Cycle
วงจรเงินสดก็เหมือนวงจรที่มี 4 ขั้นตอน วนลูปเป็นวงกลม ขั้นตอนแรก เมื่อเรามีเงินสดเข้ามา เราก็เอาเงินสดนั้นไปซื้อวัตถุดิบ สิ่งนี้เรียกว่าคุณจะมีบัญชีเจ้าหนี้อยู่ 


หลังจากนั้นเมื่อได้วัตถุดิบมาแล้วก็จะนำไปสู่กระบวนการการผลิต กระบวนการการผลิตนี้ก็จะได้มาซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เสร็จแล้วคุณก็นำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไปวางขาย ถ้าคุณวางขายไม่หมดก็จะมีสินค้าคงคลัง แต่ถ้าขายหมดคุณก็จะได้เงินสด การขายของนั้นจะเรียกว่าคุณมีบัญชีลูกหนี้อยู่นั่นเอง 

 

ถ้าเปรียบเทียบเป็นร้านอาหารอาจจะง่ายขึ้น ร้านอาหารเรามีเงินสด เราเอาเงินสดนั้นไปซื้อหมู ไปซื้อผัก เพราะฉะนั้นเงินที่เราเอาไปซื้อนั้นก็เท่ากับว่าเรากำลังไปติดหนี้ใครอยู่ ถ้าเราสามารถที่จะดึงเช็งตรงนี้ได้ เราก็จะจ่ายเงินได้ช้าลง หลังจากนั้นเราจะเอาวัตถุดิบนั้นมาผลิต ซึ่งในกรณีของร้านอาหาร เราอาจจะมีสินค้าคงคลังไม่ค่อยเยอะ เพราะเราทำสดวันต่อวัน ยิ่งเราบริหารสต๊อกได้ดีมากเท่าไร ก็จะช่วยทำให้เราสามารถบริหารเงินสดได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนำไปสู่การวางขาย ร้านอาหารก็อาจจะมีข้อได้เปรียบอยู่หน่อย ก็คือลูกหนี้ของเรานั้นส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นเงินสด หรืออย่างน้อยถ้าเป็นบัตรเครดิตก็อาจจะได้เงินเร็วภายใน 3 วัน

 

ถ้าคุณสามารถบริหารวงจรเงินสดนี้ให้มีระยะสั้นได้มากที่สุด หรือบริหารให้มันติดลบได้ นั่นหมายความว่าคุณอาจจะเป็นการยืมเงินในอนาคตมาใช้ในปัจจุบันได้เลย

 

 


เช็คลิสต์ทำความเข้าใจสถานะธุรกิจ

การเตรียมตัวไปกู้เงิน อย่างน้อยเราต้องรู้ตัวเองก่อน ทรัพย์สินของคุณมีอะไรบ้าง วันนี้หนี้สินอยู่ที่ไหน ส่วนทุนของคุณเป็นเท่าไร รายรับหรือรายได้มีเท่าไร จะเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เป็นสัปดาห์ คุณลองดู แล้วก็สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของคุณ


เช็กลิสต์คัมภีร์เอาตัวรอดของร้านอาหารในวิกฤตล้านระลอก
สรุปบทเรียนจากสารคดีพิเศษ The Secret Sauce สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณเอง

 


ศึกษารายละเอียดโครงการกสิกรไทยรวมใจสู้ภัยโควิด-19 กับ 4 มาตรการสำหรับเจ้าของร้านอาหาร ร้านค้ารายย่อย และธุรกิจ SMEs ได้ที่ https://kbank.co/3zKHC3D


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


Credits
Special Guests พัชร สมะลาภา, วรัตต์ วิจิตรวาทการ, อัญชนา ศิริมงคล, นำขวัญ เจริญชัย, กนกวรรณ กุลวัฒนศาล

Executive Producer นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Director นภัสสร กะสินัง
Creative คเณศ นิพัทธ์ธีรนันท์

Account Executive ธัญญ์นรี นิธีพัชรโรจน์

Coordinator อสุมิ สุกี้คาวะ

Cinematographers ธเนศ จึงสุขสันต์, ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์, ทศพล บุญคง, ธนกร ศักดิ์มณีกุล, ณัฐพงษ์ กุลพันธ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Recording Engineers ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์, ธภัทร ตั้งวงษ์ไชย

Video Editor อัธนีย์ โตคีรี

Motion Graphic ชิษณุพงศ์ สุขสำอาง

Graphic Designer พันธิตรา หอมเดชนะกุล
Photographer ดรณ์ อมาตยกุล
Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin จักรภัทร อ่ำพริ้ง

Proofreaders ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, วรรษมล สิงหโกมล, ภาวิกา ขันติศรีสกุล, นัฐฐา สอนกลิ่น, พรนภัส ชำนาญค้า, ชนเนตร ลอยครุฑ

Webmasters ไชยพร ศิริกลการ, รพีพรรณ เกตุสมพงษ์, อารยา ปานศรี

Social Media Admins วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณีวิมลณัฐ พรศิริอนันต์
Archive Officer ชริน จำปาวัน

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising