×

หมอ vs AI ก้าวต่อไปของ อาทิรัตน์ บำรุงราษฎร์ กับเป้าหมาย Zero-Manual Process

04.10.2019
  • LOADING...

“หมอจะตกงานไหม AI จะมาแทนที่หรือเปล่า”

 

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้แทบทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่ ‘ความเจ็บป่วย’ เมื่อ AI เข้ามาช่วยเสริมหน้าที่ให้หมอ ได้ทั้งการจ่ายยา การทำ Telehealth

 

โรงพยาบาลจะปรับตัวอย่างไร

 

สุทธิชัย หยุ่น คุยกับ ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในรายการ THE ALPHA เอพิโสดที่อยากให้คุณหมอทุกคนได้ฟัง

 


 

รับชม THE ALPHA: Era of Digital Transformation EP.3 ในรูปแบบวิดีโอสัมภาษณ์

 

 

เดิมทีผมนึกว่าตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลต้องเป็นหมอ แต่ว่าผู้ที่จะดูแลขับเคลื่อนการ Transformation โรงพยาบาลแห่งนี้อาจจะไม่ต้องเป็นหมอก็ได้ใช่ไหมครับ

เรียกได้ว่านักบริหารทุกท่านต้องถอดคราบความเป็นหมอ เภสัชกร พยาบาล แล้วก้าวขึ้นสู่การเป็นนักบริหารที่แท้จริงค่ะ ซึ่ง Transformation เป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญสำหรับการบริหาร

 

สำหรับโรงพยาบาล การเป็นหมอนับว่าเป็นอุปสรรคหรือว่าเป็นข้อได้เปรียบของการ Transformation ครับ

ต้องเรียกว่าเป็นผู้ Transform หรือผู้ถูก Transform ดีกว่านะคะ ต้องบอกเลยว่าหมอเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะทำในเรื่อง Healthcare Transformation เพราะธุรกิจของโรงพยาบาล เราขับเคลื่อนสิ่งที่เป็นหัวใจหลักที่สำคัญสุดก็คือหมอ

 

แต่ว่าแน่นอน Mindset วิธีคิดของหมอ เรียนมา สอนมา มันจะเป็นแบบหนึ่ง แต่ว่าพอมี Disruption เกิดการต้องเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการทำงาน ยากไหมครับที่จะให้หมอเปลี่ยน เพราะว่าส่วนใหญ่เราจะรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นหมอ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักการธนาคาร คนที่ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่จะบอกว่า ‘ทำไมฉันต้องเปลี่ยนด้วย’ วิธีบอกเขาว่าท่านต้องเปลี่ยน ทำอย่างไร ยากไหม

ถามว่ายากไหม สำหรับหมอของบำรุงราษฎร์เอง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของหมอชั้นนำที่เรามี American Board ของหมอที่ทำงานอยู่ที่นี่เป็นจำนวนเยอะพอสมควร อาจารย์ท่านเองโดยส่วนตัวแล้วหลายท่านก็มีความก้าวล้ำนำสมัยในเรื่องของเทคโนโลยีด้านการแพทย์อยู่แล้ว ทีนี้อย่างที่คุณสุทธิชัย หยุ่นทราบก็คือ เวลาที่อาจารย์ถูกเทรนมาเมื่อ 10-30 ปีที่แล้ว ก็เป็นแพตเทิร์นหนึ่ง ต้องเรียกได้ว่าจุดที่ต้องบอกว่าองค์กรจะต้อง Transform หรือหมอเองจะต้อง Transform น่าจะมาจากเรื่องความต้องการของตลาด หรือความต้องการของลูกค้าเสียมากกว่านะคะ ซึ่งในยุคนี้เราต้องยอมรับว่าเรื่องของดิจิทัลเป็นสิ่งที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ มองแค่สิ่งรอบตัวที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยหลัก เรียกว่าเป็นปัจจัย 5 ที่ทุกคนจะขาดเสียไม่ได้ ที่จะต้องมาใช้ในเรื่องของการสื่อสาร ในเรื่องของ Healthcare ก็เช่นเดียวกัน ในยุคนี้ผู้รับบริการ คนไข้ หรือแม้กระทั่งญาติของผู้ป่วยเองจะสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้ทุกที่ทุกเวลา จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เรามีผู้ป่วยต่างชาติปีละเกือบ 600,000 ราย แล้วคนไข้ของเราก็มาจาก 200 ประเทศทั่วโลก

 

600,000 รายเท่ากับกี่เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ทั้งหมด

เกือบ 50% เพราฉะนั้นต้องเรียกได้ว่าถ้าเราไม่มีในเรื่องของดิจิทัล การเข้าถึงคนไข้ หรือแม้กระทั่งคนไข้จะเข้าถึงการรับบริการเหล่านี้ก็จะทำได้ยากมาก ในเรื่องของ Digital Marketing หลายๆ องค์กรทำมาระยะหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าโลกของการทำเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย เรื่องของการทำสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ในยุคนี้เรียกได้ว่า Healthcare อยู่ในจุดที่จะต้อง Transformation แทบจะทั้งองค์กร เช่นในเรื่อง Clinical Transformation เอง เรื่องของการรักษาพยาบาล เรื่องของการให้ประสบการณ์การรับบริการของผู้ป่วย ซึ่งมีความสำคัญมาก ธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชน ประสบการณ์การรับบริการของผู้ช่วยถือว่ามีความสำคัญมาก เรื่องของความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน เรามีจุดที่ได้เปรียบการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งอย่างไร ในเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของการเพิ่ม Productivity ของคนทำงานนะคะ หรืออะไรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรไหนที่ไม่เชื่อในเรื่องของดิจิทัล หรือไม่ทำ Digital Transformation องค์กรนั้นก็จะไปถึงจุดนั้นได้ยาก

 

จังหวะไหนที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์รู้สึกว่าไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว กี่ปีแล้ว แล้วมันมาจากสัญญาณอะไร ที่บอกว่าถ้าเราไม่เปลี่ยนเราอาจจะอยู่ยากก็ได้

จริงๆ ต้องเรียนว่าบำรุงราษฎร์เองไม่เคยหยุดยั้งในการมองวิสัยทัศน์ว่าอนาคตข้างหน้า Healthcare Transformation ต้องเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นในเรื่องของ Healthcare Transformation ค่อนข้างจะ Disruptive จะเห็นได้ว่าเวลาคนพูดถึง Disruptive ในปัจจุบัน ธุรกิจของโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในธุรกิจที่คนจะยกเป็นกรณีศึกษาเยอะ เช่น ในอนาคตเราจะมีหมอ AI หรือเปล่า อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง

 

ถูกต้อง หมายความว่าคนไข้ต้องมาหาหมอหรือเปล่า หนึ่งเขามีแอปฯ ที่จะวัดความดัน เช็กเรื่องของน้ำตาล คอเลสเตอรอลเขาเองได้ อาจจะใช้มือถือกดเข้าไปเจอหมอซึ่งอาจจะอยู่อีกที่หนึ่งโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลได้ หรือยา ถ้าสูตรออกมาแล้วก็กด 2-3 ที ยาอะไรที่ต้องการก็เป็นแบบนั้นได้ ดังนั้นเราจะต้องมาหาหมอทำไมอีกใช่ไหม

อันนั้นเราเรียกรวมๆ กันว่า Telehealth มีองค์ประกอบหลายรูปแบบ อย่างที่คุณสุทธิชัยพูดถึงเรื่อง Telemedicine ประเทศไทยเริ่มพูดถึงคำนี้กันบ่อย หลายๆ โรงพยาบาลเริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง ของบำรุงราษฎร์เองเราเริ่มมี Telemedicine ให้คนไข้สามารถติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นทางแชต ข้อความ หรือจะเป็นทางวิดีโอคอลเพื่อคุยกับหมอ อีกไม่นานแอปฯ เหล่านี้ก็จะถูกพัฒนาขึ้น เพื่อรองรับเส้นทางของประสบการณ์การรับบริการของผู้ป่วย ตั้งแต่การนัดหมายการเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งการใส่ GPS ทำการหาเส้นทางให้กับแผนที่ในโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งการทำข้อมูลประจำตัวผู้ป่วย, การให้คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า แล้วก็จบด้วยเรื่องของ E-Payment ซึ่งอันนี้บำรุงราษฎร์เองก็กำลังพัฒนาแอปพลิเคชันตรงนี้อยู่

 

ปีไหนที่เราเริ่มต้น

จริงๆ ต้องบอกว่า Telemedicine เราได้มีการทำในระยะเวลาประมาณปีกว่าๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องดูในเรื่องของแนวโน้มลูกค้าด้วย เพราะว่าคนไทยเองยังมีความเข้าใจว่าไม่สบายต้องมาหาหมอ แต่ในยุคนี้ เจเนอเรชันของคนเปลี่ยนไป คนเริ่มซื้อของออนไลน์มากขึ้น เริ่มไปช้อปปิ้งซื้อของที่ห้างสรรพสินค้าน้อยลง ทุกอย่างเป็นการบริการออนไลน์ มี LINE MAN มี Grab นี่ก็คือลูกค้าเริ่มจะเป็นศูนย์กลาง เหมือนกับผู้ป่วยอยู่ตรงกลาง แล้วทุกอย่างก็สามารถออนไลน์ได้ นั่นก็เป็นบทบาทหนึ่ง แม้กระทั่งหมอด้วยกันเอง เราก็ยังมีระบบในเรื่องของ Tele Consultation เรามีโรงพยาบาลพันธมิตรอยู่ ณ ขณะนี้ 57 โรงพยาบาล เราได้มีการให้ความร่วมมือระหว่างกันกับโรงพยาบาลพันธมิตร ในการแชร์ความรู้เรื่องการรักษา เพื่อยกระดับคุณภาพในการรักษาให้กับโรงพยาบาลที่อยู่รอบนอก หรือแม้กระทั่งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราก็ได้มีการทำ Conference ด้วยกัน การประชุม การแชร์ความรู้ทางการแพทย์ หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง ก็เลยสร้างเรื่องของ D to D หรือ Doctor to Doctor หมอสามารถที่จะปรึกษาระหว่างกัน หมอโรงพยาบาลหนึ่งมีคนไข้ ICU อยากจะปรึกษาหมอของบำรุงราษฎร์ ซึ่งบำรุงราษฎร์เราเองมีหมอ ICU จำนวนมากที่สุด ซึ่งพร้อมที่จะรองรับและให้คำปรึกษา แม้กระทั่งเป็นที่ปรึกษาโดยตรงให้กับคนไข้และญาติคนไข้ที่เข้ารับการรักษาที่อื่นแล้วอยากจะปรึกษาว่าลักษณะแบบนี้ อยู่ในช่วง Critical Care อยากจะมีคำปรึกษาไหม ปัจจุบันเราเปิดมาแล้ว แล้วหมอ ICU ก็เริ่มรับ ปรึกษาตรงได้

 

อะไรเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการทำ Transformation การบริการทางการแพทย์ครับ ท้าทายที่สุด

มองว่าคำว่า Transformation ของทุกๆ องค์กร สิ่งที่ยากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม

 

วัฒนธรรมการทำงาน

วัฒนธรรมการทำงาน การ Transformation ก็คือการจัดการการเปลี่ยนแปลงประเภทหนึ่ง Mindset ของคนในองค์กรคิดอย่างไร เรื่องของ Business Model เป็นอย่างไร Operational Model เป็นอย่างไร วัฒนธรรม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดมา 39 ปี เรามีการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรตัวใหม่ ซึ่งให้เหมาะสมกับคนในยุคปัจจุบัน และให้ก้าวเข้าสู่วิสัยทัศน์หรือพันธกิจของเรา ในการที่จะเป็น Holistic Healthcare Innovation นะคะ เพิ่งเปลี่ยน Core Value เป็น 3 ตัว ก็คือ AIC ตัวที่ 1 Agility อันนี้คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าทุกองค์กรใช้คำว่า Agility ทีนี้ Agility ในความหมายของบำรุงราษฎร์คืออะไร Agility ในความหมายของบำรุงราษฎร์คือ เราอยากให้พนักงานของเราทุกคน รวมทั้งหมอ พยาบาล Front Office Back Office มีความยืดหยุ่นคล่องแคล่วว่องไวในการปรับตัว คือ Adaptability to Change ต้องบอกว่า Healthcare Disruptive มาแรงมาก แล้วก็การเปลี่ยนแปลงแบบไดนามิกค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านของ Healthcare เอง การเปลี่ยนแปลงในแง่ของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในแง่ของคนไข้ต่างชาติ ซึ่งเขาไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง มี Third Party หรือมีผู้สนับสนุนในการส่งคนไข้มาที่นี่ ซึ่งต่างๆ เหล่านี้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเอง แล้วรับรองกับความเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที องค์กรนี้ก็จะเสียเปรียบในเรื่องของการแข่งขัน ตัวที่ 2 คือนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมจะมีไม่ได้ถ้าขาดเรื่องของเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นนวัตกรรมจะเป็นสิ่งที่จริงๆ แล้วทุกโรงพยาบาลจะมีมาตรฐาน ที่ต้องขอการรองรับ เพื่อให้เราได้เป็น Qualified และเพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าเราเป็นโรงพยาบาลเหล่านั้นที่มีในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย ยกตัวอย่างบำรุงราษฎร์เอง เราเป็นแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับทั่วโลก หรือแม้กระทั่งระบบมาตรฐานของเมืองไทย เช่นเรื่องของ Hospital Accreditation ล่าสุดก็เป็น Advance Hospital Accreditation หรือแม้กระทั่งหน่วยงานย่อยๆ เช่น ห้องแล็บก็จะมีมาตรฐาน ISO ที่พัฒนากันขึ้นมามีความหลากหลายนะคะ หรือมี Cap (Certified Analytics Professional) รองรับมาตรฐานว่าห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เราได้มีการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ระบบคุณภาพมาตรฐานเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลที่ทำให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่ามารับบริการแล้วมีความปลอดภัย เพราฉะนั้นทำไมถึงพูดเกี่ยวกับระบบมาตรฐานขั้นพื้นฐานของเรื่องคุณภาพจะหยุดไม่ได้ จะต้องมีเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่า PDCA นี่เป็นพื้นฐานที่หลิงเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจและตระหนักดี PDCA คือคำว่า Plan Do Check Act วางแผนก่อนแล้วทำ ต้องตรวจสอบ แล้วต้องแอ็กชันเสมอ เพราะฉะนั้นคำว่าที่สุดจะไม่มี จะต้องที่สุดแล้วก็ไปเรื่อย

 

เรื่องสุดท้ายคือเรื่องของ Caring เวลาปฐมนิเทศให้กับพนักงานใหม่เองทุกๆ เดือน ที่เรามีการรับพนักงานใหม่เข้ามา เราจะบอกทุกคนเสมอว่า การได้มาทำงานที่โรงพยาบาล นั่นคือคุณได้มาทำบุญทุกวัน

 

ช่วยคนอื่น

ช่วยคนอื่นค่ะ คนที่จะมาทำธุรกิจนี้ สิ่งที่จะต้องปลูกฝังในจิตใต้สำนึกคือ Caring เราจะบอกเสมอว่า เราทำงานในโรงพยาบาล เราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เริ่มต้นจากเพื่อนร่วมงาน เริ่มต้นจากเจ้านายและลูกน้อง เริ่มต้นจากหมอและพยาบาล และทุกๆ วิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน เราถึงจะส่งต่อความ Caring นี้ไปให้คนไข้ ผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการได้ ซึ่งในจุดตรงนี้ต้องบอกว่าคนไทยได้เปรียบ ในเรื่องของงานบริการ คนไทยมีเรื่องของความนอบน้อม มีความสุภาพ แล้วงานบริการ เป็นจุดที่ Medical Tourism ของไทยประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็ด้วยพื้นฐานตรงนี้ที่เราเป็นคนไทย

 

ตรง Caring นี้หรือเปล่าที่ AI หุ่นยนต์มาทดแทนไม่ได้

ใช่ค่ะ บำรุงราษฎร์ต้องเป็นผู้นำในแง่ของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ก็คือ Hi-Tech แต่เราจะเป็น Thai Touch 

 

Hi-Tech นี่ก็คือเทคโนโลยีสุดยอดระดับโลก แต่ก็ต้องเป็น Thai Touch สัมผัสแบบไทยๆ ความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความแคร์แบบไทยๆ 

Hi-Technology มีความจำเป็นค่ะ เพราะว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้จะสะท้อนในเรื่องของ ความถูกต้อง แล้วก็เรื่องของความปลอดภัยของผู้ป่วย อะไรก็ตามที่เป็น Mannual ระบบ Manual อันนั้นอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาด เช่น Medication Error ซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นในธุรกิจโรงพยาบาล แต่เราเองเน้นเรื่องความ Hi-Tech เช่นเรื่องของหุ่นยนต์จัดยา ซึ่งบำรุงราษฎร์เรียกว่าเป็นที่แรกที่ลงระบบของหุ่นยนต์จัดยา

 

ซึ่งทำมาหลายปีแล้ว

ทำมาหลายปีมากแล้วค่ะ แล้วอีกไม่นานบริเวณชั้นนี้เราจะลงหุ่นยนต์จัดยาที่เป็นของผู้ป่วยนอก ซึ่งเป้าหมายของเราก็คือ Zero-Manual Process

 

ไม่มีมนุษย์เกี่ยวข้องเลย

ใช่ค่ะ

 

ฉะนั้นหมอจะเขียนใบสั่งยาส่งไป แล้วหุ่นยนต์สามารถจัดการยาได้ นี่แสดงว่าต้องอ่านตัวหนังสือของหมอได้ หรือหมอพิมพ์ คีย์เข้าไปอย่างไร

เราต้องบอกว่า เราเป็น Fully Computerize Order Entry หมอพิมพ์ค่ะ อันนี้จะเป็นเทคโนโลยีอันหนึ่ง ถ้าเราไม่ลงทุนใน Hospital Information System ซึ่งหมอจะคีย์คำสั่ง แล้วคำสั่งเหล่านั้นก็จะถูกกระจาย ถ้าคีย์ยาจะไปที่เภสัช คีย์สั่งแล็บกระจายไปที่ห้องแล็บ คีย์สั่งให้เอกซเรย์ หรือ Imaging ก็ให้ไปที่ห้องเอกซเรย์ต่างๆ เหล่านี้หมอใส่ข้อมูลครั้งเดียว ใส่ Username Password จากตัว Origin คือหมอ แล้วสั่งคำสั่งออกไป ส่วนตรงนี้ก็จะลดในเรื่องของการมานั่งแปลลายมือคุณหมอ แล้วก็จะมีการอ่านผิด

 

คุณหมอทั้งหลายมีชื่อเสียงในแง่ลายมืออ่านไม่ออก (หัวเราะ) หมอก็คีย์เอง แต่ถ้าจัดยา คำถามแรกที่คนไข้จะต้องถามคือ ถ้าจัดยาผิดล่ะ จะต้องทำอย่างไร กินยาผิดด้วยนะ ถ้าหมอคีย์เข้าไปแล้ว AI จัดยาผิดให้เรา

ต้องบอกว่าการที่มีหุ่นยนต์ ข้อมูลทุกอย่างจะมีการเซตอัพในระบบ มีรหัส มีคำบอกลักษณะ มีหน่วย เช่น เป็นขวด เป็นเม็ด เป็นซอง เป็นกรัม หุ่นยนต์ไม่มีทางจัดผิด เพราะหุ่นยนต์ถูกลิงก์ด้วยรหัส ยกเว้นหมอคีย์ผิด (หัวเราะ)

 

ถ้าหมอคีย์ผิดนี่ผิดแน่ ตั้งแต่ต้นทาง โรงพยาบาลจึงมีการลงทุนในเรื่องของ Hospital Information System เพราะระบบแอปพลิเคชันเหล่านี้จะถูกดีไซน์ ใส่ข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูลสำคัญ เพื่อจะช่วยหมอ เช่น หมอสั่งยา A และหมอสั่งยา B แต่ยา A และยา B เกิดมีปฏิกิริยาระหว่างกัน เราจะมีฐานข้อมูลซึ่งอยู่ในระบบนี้ ป๊อปอัพเตือนหมอว่ายา 2 ตัวนี้ไม่สามารถสั่งร่วมกันได้นะคะ หรือระบบ Hospital Information System จะมีระบบบันทึกการแพ้ยาของผู้ป่วย ทันทีที่เรามีการสอบประวัติเข้าถึงผู้ป่วย เราจะถามในเรื่องของการแพ้ยา บันทึกประวัติการแพ้ยาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์

 

ยังมี Pharmacist คุมอยู่

ยังมีเภสัชกรค่ะ เภสัชกรคุมและอ่าน แล้วดูน้ำหนักตัวคนไข้ ดูรายละเอียดทุกอย่าง ซึ่งอันนี้เภสัชกรทุกคน พอดีหลิงเป็นเภสัชกรก็จะถูกสอนมา เราก็จะดู ถ้าเราสงสัยก็จะทำการ Intervention หรือโทรหาหมอ เพื่อยืนยันกับอาจารย์ว่าอาจารย์สั่งอย่างนี้หรือเปล่าคะ ก็จะเกิดการทำงานร่วมกัน ก่อนที่เราจะรับคำสั่งเพื่อให้หุ่นยนต์จัดยาให้กับเรา

 

เพราะฉะนั้นเภสัชกรจะไม่มีวันตกงาน

ใช่ แน่นอนค่ะ (หัวเราะ) 

 

เพราะความจำเป็นที่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกรที่จะต้องดูเรื่องยาสำคัญอยู่ แปลว่า AI หุ่นยนต์มาทดแทนหมอทั้งหมดไม่ได้ ทดแทนเภสัชกรทั้งหมดไม่ได้ แต่บทบาทหน้าที่ของหมอ เภสัชกร และคนอื่นๆ ในโรงพยาบาล เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง ภายใต้ Transformation ทุกวันนี้

หลิงว่าคุณหมอหลายท่านมีการถกเถียงกันหลายเวทีว่า AI จะมาแทนคุณหมอหรือเปล่า ขออนุญาตแตะตรงนี้นิดหนึ่ง ตอนนี้คุณหมอในสาขาที่มาแรงในเรื่องของ AI ต้องบอกว่าเป็นฝ่ายของเอกซเรย์ ตอนนี้เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ที่จะประมวลผล สามารถอ่าน Cognitive Computing อ่านผลเอกซเรย์ซ้ำๆ จำเป็นล้านๆ รูปได้ จนสามารถแปลผลได้ว่า ผลออกมาแบบนี้ ฟิล์มออกมาแบบนี้ ผลการเอกซเรย์คนไข้น่าจะเป็นแบบนี้ โดยไม่ต้องใช้หมอ ณ ขณะนี้เราได้มีการทำแบบนี้เช่นเดียวกัน ในฝ่ายรังสีวิทยา 

 

มีแล้วที่นี่

มี 25 สถานี เราลงหมดเลย ควบคู่กับเครื่อง CT Scan แล้วหมอเอกซเรย์เราเนี่ย อ่านผลปกติอย่างที่หมออ่าน แล้วมาเปรียบเทียบผลจากที่ AI อ่าน ก็บอกได้เลยว่าความแม่นยำมีได้เกิน 90% 

 

90% เลยเหรอ

ค่ะ เพราะฉะนั้นถามว่าต่างๆ เหล่านี้จะมาทดแทนได้เสียทีเดียวไหม อย่าเรียกว่าทดแทนค่ะ น่าจะเป็น หนึ่ง การลดระยะเวลาให้คุณหมอ ให้สามารถอ่านหรือสกรีนผลได้รวดเร็วมากขึ้น จะมีเรื่องของการช่วยตรวจสอบยืนยันข้อมูลระหว่างกัน หรือแม้กระทั่งที่เราได้มีการลงระบบ IBM Watson นะคะ Watson for Oncology ก็คือระบบ Cognitive Computing System อันหนึ่งที่มีการบันทึกและประมวลผลข้อมูลคนไข้มะเร็งมาแล้วทั่วโลก ซึ่งผลต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันของบำรุงราษฎร์เอง ในศูนย์ Horizon (Horizon Regional Cancer Center) หรือศูนย์มะเร็ง ก็ได้มีการใช้ IBM Watson กับคนไข้กว่า 2,000 ราย

 

แล้วพิสูจน์ว่ามันแม่นยำแค่ไหน

เกิน 80% โดยการประมวลผล AI ประกอบกับการวิเคราะห์ผลจะบอกเป็นแนวทางให้หมอทราบเลยว่า ถ้าลักษณะอาการของผู้ป่วยหลังจากที่เราตรวจเป็นอย่างนี้ๆ ออกไป แนวทางในการรักษา มีการรักษากี่ทาง ออกมาแต่ละทางเลือก จากสถิติที่ผ่านมาทั่วโลก Clinical Outcome เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ 

 

วิธีการรักษาแบบนี้ ผลออกมาอย่างนี้ 

การรักษาแบบนี้ ผลออกมาเป็นอย่างนี้

 

แล้วก็เป็นข้อมูลทั่วโลกด้วยใช่ไหมครับ

เพราะว่าอันนี้เป็นการประมวลผลข้อมูลเยอะมาก ทีนี้ก็จะเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ช่วยให้หมอตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาอีกทีหนึ่ง ซึ่งอันนี้เป็นที่ชัดเจนเลยว่าในเรื่องของ Clinical Outcome ของคนไข้ที่มีเทคโนโลยี หรือ AI ดีกว่าการที่เรานั่งแล้วรักษาโดยที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุน

 

ผมไปเจอโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ไม่ใช่ที่นี่ หมอคนหนึ่งบอกว่าจะทำอย่างไร เพราะว่าตอนนี้เราเคยมีหมอที่อ่านเอกซเรย์ 10 คน พอเรามี AI มีเทคโนโลยีใหม่ ตอนนี้ใช้ 3 คนก็พอ ถามว่าอีก 7 คนทำอย่างไร เขาตกงานหรือเขาต้องไปปรับตัวอย่างไร

หลิงคิดว่าต้องมาดูว่าหมอเอกซเรย์ที่ปัจจุบัน 10 คน หมอมีบทบาทตรงนั้นอย่างไร จริงๆ แล้วอย่างที่เรียนไปเมื่อกี้ก็คือ AI จะมาช่วยลดระยะเวลาในการสกรีนจริงๆ ถ้าว่าไปโรงพยาบาลนั้น น่าจะคงไว้ซึ่งหมอ 10 คน แต่รับคนไข้ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า คิดในทางกลับกัน

 

เพราะว่าเวลาใช้น้อยลง ประสิทธิภาพในการอ่านชัดขึ้น

ใช่ค่ะ

 

แต่สมมติคนไข้เท่าเดิม จะบริหารหมออีก 7 คนนั้นอย่างไร เขาเรียนมาทางด้านเอกซเรย์ เขาอาจจะไม่มีทักษะด้านอื่น หรือว่าทักษะด้านอื่นมีหมออื่นๆ แล้ว วิธีการบริหารปัญหานี้ทำอย่างไร

ตัวหลิงเองมองว่าหมอเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษที่มี Intelligent Serial สูงมาก ถ้าหลิงเป็นหมอเอกซเรย์ จะกลับมาดูว่าเทคโนโลยีที่แอดวานซ์เหล่านี้ กับเครื่องมืออื่นๆ ยังมีอีกเยอะมากมาย เพราะฉะนั้นตัวหมอเองน่าจะกลับมาดูว่า หมอจะไปเรียนในสายงานนั้นเพื่อจะมาวิจัยและพัฒนาในแต่ละเรื่องนั้นได้อย่างไร ตอนนี้เองนะคะ การวินิจฉัยได้แอดวานซ์ไปถึงขนาดเฉพาะบุคคล

 

การวินิจฉัยโรคแต่ละคนออกมาได้แล้ว

ใช่ค่ะ หรือว่าในเรื่องของการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าคนไข้แต่ละคนที่เข้ามามีโอกาสหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอะไรได้บ้าง หมอด้าน Imaging ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านวินิจฉัยอยู่แล้ว น่าจะนำความรู้ตรงนี้ไปประกอบ แล้วก็ไปเรียนเรื่องของการวินิจฉัยขั้นสูงได้มากขึ้น

 

แปลว่าต้องเรียนรู้เพิ่ม ทักษะต้องเพิ่ม อยู่แบบเดิมไม่ได้ หมอที่นี่ยอมรับชีวิตแบบนี้ไหม

หมอที่เรา โดยเฉพาะหมอฝ่ายรังสีวิทยาของเรา ต้องยอมรับว่าเป็นคนที่เปิดใจมาก ทันทีที่เราได้เทคโนโลยีเข้ามา หมอที่อยู่กับเรา 3-4 คนได้อุทิศตัวเต็มเวลาในการร่วมโปรเจกต์แล้วก็ทำการทดสอบตัว AI ตัวนี้กับเราทันที

 

หนึ่ง อาจจะเกิดจากความกลัว กลัวตกงาน หรือกลัวงานลดลง สอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น สามคือ เกิดจากการเป็นส่วนหนึ่งของการ Transformation ที่แท้จริง กี่เปอร์เซ็นต์ครับที่อยู่ใน 3 ประเภทนี้ครับ หมอที่กระโดดเข้ามาเลยมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ หมอที่ลังเลๆ หมอที่ถูกบังคับให้ต้องปรับตัว

ถ้าจากที่เรานำไปใช้ เอาทีละเรื่องเลยดีกว่านะคะ เอาเบสิกเลย ตอนที่เรา Transform จากระบบ SIS มาเป็น HIS ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น Fully Computerize System จะเป็นระบบที่หมอเขียนใบสั่งยาแล้วก็ไประบบสแกน ระบบสแกนนี่ความยากก็คือ การลิงก์ของข้อมูล จะมีข้อมูลในบันทึกทางการแพทย์หรือในโรงพยาบาลเยอะมาก แต่เราจะจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นยากมาก

 

เป็นแฟ้มอย่างนี้เลย ผมยังเคยเห็นคนไข้บางคนเวลาหาหมอต้องแฟ้มหนาขนาดนี้เลย หมอต้องเปิดอ่านดู อ่านบ้าง อ่านเจอไม่เจอ ตอนนี้ไม่มีแฟ้มแล้วใช่ไหม

ของเราไม่มีแฟ้ม แม้แต่ระบบเก่า เราไม่มีแฟ้มค่ะ ใช้การสแกน แต่ทีนี้การสแกนก็เพียงแต่เปลี่ยนกระดาษเข้าไปเป็นรูปอยู่ในระบบเท่านั้นเอง

 

ก็ยังเป็นลายมืออยู่ดี

ถูกต้องค่ะ ทีนี้ระบบใหม่ที่เรานำมาใช้ จะเป็นระบบที่เราคีย์เข้าไป ลิงก์กับฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูล นี่แหละ Big Data ของแท้ สามารถที่จะรวมกับหลายๆ อย่างได้ ตอนที่เราขึ้นระบบจริงหรือเปลี่ยนตรงนี้ ต้องบอกได้ว่าหมอที่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนตรงนี้ น่าจะมากกว่า 70% ในส่วนที่เหลือถามว่าเพราะอะไร หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านของคอมพิวเตอร์ บางท่านก็ยังยึดติดกับระบบเก่า นี่คือ Mindset นะคะ อันนี้แหละค่ะเป็นสิ่งที่เป็นความท้าทายของผู้บริหารที่จะต้องทำความร่วมมือหรือทำความเข้าใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หลิงก็กล้าพูดว่าไม่มีที่ไหน 100% 

 

ใช่ ถูกต้อง

เพราะว่าด้วยเจเนอเรชันของอาจารย์บางท่าน หรืออาจารย์ที่มีคนไข้เยอะมากๆ อันนี้เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ช่วยมาช่วยท่าน แต่โดยระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านไป หมอของบำรุงราษฎร์เองจะบอกกับผู้ช่วยว่าอันนี้เป็นความรับผิดชอบของท่าน ท่านจะทำเอง อันนี้ก็เรียกว่าเป็นอีก 1 เรื่องราวความสำเร็จที่เราได้ผ่านกันมา

 

อายุเกี่ยวไหม

เกี่ยวและไม่เกี่ยวค่ะ เพราะว่าหมอหลายท่านถึงแม้อายุเยอะ แต่ว่ามือถือนี่ Apple ตลอด สบาย แล้วเราก็มีตัวช่วยให้หมอมากกว่านั้น เรามีในเรื่องของ Speech Recognition อาจารย์สามารถที่จะพูดแล้วแปลงเป็นข้อความเข้าไปในระบบ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ยากที่สุดคือ Clinical Documentation หมอสามารถมีเครื่องมืออีกตัวที่ช่วย

 

ส่วนที่ไม่ปรับหรือปรับยาก เราปฏิบัติต่อเขาอย่างไรครับ มีโครงการพิเศษ ฝึกสอนพิเศษ การเข้าโครงการเพื่อให้โอกาสปรับตัว แล้วมีเคสที่ไม่ปรับตัวเลย แล้วทำอย่างไร

ต้องบอกได้ว่าเรื่องพวกนี้ไม่ได้มีแค่หมอ ไม่อยากเจาะจงแค่วิชาชีพที่เป็นหมอนะคะ อย่างที่ว่าองค์ประกอบของธุรกิจโรงพยาบาลมีหลายวิชาชีพมาก ทีนี้ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง อันดับแรกเลยเราต้องสร้าง Sense of Agency ทำไมต้องเปลี่ยน เปลี่ยนแล้วมีประโยชน์อย่างไร บำรุงราษฎร์เอง ตัวหลักของเรา Core Value ของเรา บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่ทำงานที่นี่ รับทราบดีว่าความภาคภูมิใจของเราคือเราอยู่ในโรงพยาบาลที่ปลอดภัยที่สุด เราเน้นในเรื่องของความปลอดภัยผู้ป่วย เพราะฉะนั้นเมื่อไรก็ตาม เรามีเป้าหมายเดียวกันคือเรื่องของความปลอดภัยของผู้ป่วยนะคะ บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนก็ยินดีที่จะทำสิ่งเหล่านั้น เพียงแต่ทักษะอาจจะยังไม่ชำนาญหรือยังปรับตัวไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการ Retrain Retrain แล้วก็ Retrain นะคะ จนกระทั่งมีความเชี่ยวชาญ แต่ถ้าท่านไหนไม่ได้จริงๆ อย่างที่ทราบ อาจจะเรื่องวัย อาจจะเรื่องทักษะที่ไม่ได้จริงๆ ถ้าจำเป็นที่จะต้องมีตัวช่วย ก็มีตัวช่วย แต่บุคลากรเหล่านั้นในหน้าที่ของท่าน ท่านต้องเป็นคนตรวจสอบทุกอย่างแล้วก็คอนเฟิร์ม 

 

หมอบางคนมีคนไข้เยอะ เพราะคนไข้ชอบ อาจจะแคร์ ตั้งคำถามดีๆ ตอบคำถาม อธิบายให้กับคนไข้ได้ มีคนไข้มาชอบหมอคนนี้มากเลย แต่ว่าคนนี้บังเอิญปรับตัวไม่ได้กับเทคโนโลยี เราทำอย่างไรกับเขา

ต้องเรียนว่า จริงๆ แล้วการโฟกัส เราก็อยากให้หมอหรืออาจารย์โฟกัสในตัวคนไข้ เราไม่ต้องการให้เทคโนโลยีมาทำให้ความเอาใจใส่ของหมอต่อคนไข้ที่อยู่ต่อหน้าหมอลดลง เพราะฉะนั้นเรื่องพวกนี้เราต้องบาลานซ์ให้ดี ถ้าหากอาจารย์บางท่านมีความจำเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็กลับไปเรื่องเดิม คือเราก็ต้องจัดหาผู้ช่วยที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เข้าใจและทำงานใกล้ชิดกับหมอ เป็นผู้ช่วยของท่าน หรือให้เครื่องมือ แทนที่จะต้องคีย์ อาจารย์สามารถพูดเข้าไปได้เลย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการพิมพ์ ก็ต้องมีการฝึก จนกระทั่งหมอมีความเชี่ยวชาญ แล้วก็ใช้ได้จนเป็นกิจวัตร แต่ถ้าใช้ไม่ได้จริงๆ เราก็จะมีผู้ช่วยค่ะ

 

มองในแง่ของธุรกิจของโรงพยาบาล ตั้งแต่มีการเปลี่ยนมา มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา กระทบรายได้ของโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน รายได้ยังมีอัตราโตเหมือนเดิม หรือรายได้เริ่มนิ่ง หรือว่ารายได้มันมาในรูปแบบต่างๆ อย่างไร

หลิงคิดว่าการใช้ IT Transformation ทุกอย่างตอนท้ายสุด ประสิทธิภาพดีขึ้นแน่นอน ทีนี้ถามว่าถ้าจะสะท้อนถึงรายได้ รายได้อาจจะไม่ใช่ตัววัดที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่อง Transform เรื่องดิจิทัล แต่ถามว่าในช่วงแรกที่มีการปรับเปลี่ยน แน่นอนความไม่เชี่ยวชาญอาจจะมีผลกระทบบ้าง ท้ายที่สุดแล้วเมื่อมีการ Transform เรื่องดิจิทัลหรือระบบ IT ต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เราต้องวัดให้เห็นชัดเจนคือ Turnaround Time หรือ เวลาการรอจะสั้นลง นั่นหมายถึงว่าการรับรองผู้รับบริการต่อวันจะทำได้มากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็จะส่งผลในระยะยาวก็คือ เราสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นนะคะ มองในแง่ของความถูกต้อง การใช้ระบบคอมพิวเตอร์มีการเซตระบบ Code ระบบ Item Code ที่ชัดเจน ลิงก์กับราคาได้ชัดเจน ตราบใดที่เรายังใช้ระบบ Manual โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาด มีทั้งบวกและลบ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่มีทางที่คอมพิวเตอร์จะไปหยิบตัวเลขอื่นมาคำนวณ เพราะฉะนั้นความถูกต้องหรือความโปร่งใสในเรื่องของราคาก็จะทำได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น โดยภาพรวม ถ้าไม่มีปัจจัย ผลกระทบมาจากภายนอกจริงๆ นะคะ การลงทุนเรื่องของ IT Transformation ต่างๆ ย่อมจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ในระยะยาวเติบโตขึ้น หรือแม้กระทั่ง Back End หรือ Back Office เองก็ตาม การลงทุนในเรื่องของ ERP (Enterprise Resouce Planning) ในเรื่องของการจัดการคลังสินค้า ในเรื่องของระบบ การเงินและบัญชี เหล่านี้ย่อมที่จะลดในเรื่องของบุคลากร อันนี้เห็นได้ชัด แทนที่จะต้องมาใช้บุคลากรมาก การที่เราใช้ IT มาช่วย จะลดในเรื่องของระยะเวลา แล้วก็ใช้คนน้อยลง อันนั้นก็จะเป็นในขาของต้นทุน เรื่องของการจัดการคลังสินค้า อาจจะมีคนมองไม่เห็น แต่จริงๆ คลังสินค้าก็เป็นสิ่งหนึ่งที่โรงพยาบาลต้องใช้เงินมาซื้อ เพื่อที่จะให้มีสินค้าคงคลัง ถ้าบริหารจัดการได้ดี จำนวนวันสินค้าคงคลังลดลง นั่นก็หมายถึงว่าโรงพยาบาลก็จะมีกระแสเงินตรงนั้นมากขึ้น

 

ถูกต้อง ต้นทุนก็จะน้อยลง ถ้าอย่างนั้นแปลว่ามีการปลดพนักงานหรือเปล่า

ไม่เคยปลดพนักงานค่ะ

 

การที่เราต้องการคนน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นหมอหรือว่า Back Office คนไม่เกินเหรอ 

เรามีการลงระบบข้อมูลฝ่ายบุคคลมา ถ้าปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 นะคะ สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นก็คือว่าเรามีการทำการคาดการณ์ในเรื่องของแรงงาน ในเรื่องของคนงาน แม้ว่าแต่ละปีจะมีการทำทั้งปี แต่จะมีการรีวิวทุกๆ ไตรมาส ทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้ทันกับจำนวนคนไข้ที่มาใช้บริการ เพราะฉะนั้นในเรื่องของ FTE หรือในเรื่องของ Full Time Equivalent เราจะมีการจัดการในเรื่องของ Full Time Headcount จากการที่เรามีสถิติ ในการที่เราเปิดโรงพยาบาลมา 39 ปี รู้ว่าแต่ละฟังก์ชันงาน Activity Based ออกมา ต่อหนึ่งงานใช้คนเท่าไร เราจะมีค่า Unit of Service ในการคำนวณ เพราะฉะนั้นจะมีสำรองสำหรับการล่วงเวลาหรือพาร์ตไทม์ไว้ประมาณ​ 15% เพราะฉะนั้น 85% จะเป็นเต็มเวลา 15% นี่แหละค่ะที่จะเป็นตัวที่ช่วยนับเอง เมื่อไรที่คนไข้มากขึ้น เราก็จะเป็น Part Time, Full Time, Over Time เพิ่มมากขึ้น เมื่อไรที่คนไข้น้อยลง เราก็ลดตัวพาร์ตไทม์กับล่วงเวลา แต่ตัว Full Time Head Count เราประคองไม่ให้บวมจนเกินไป แล้วก็ไม่ให้น้อยจนเกินไป ทีนี้ตอบคำถามว่าเราต้องปลดคนไหม ปกติถ้าเราต้องมีการลงทุนอะไรก็แล้วแต่เนี่ย เราจะวิเคราะห์ในทุกๆ ด้าน ด้านหนึ่งมีความสำคัญมาก นั่นคือเรื่องของแรงงานว่าตรงนี้หลังจากเราลงระบบ IT หรือเราลงระบบดิจิทัล จำนวนของบุคลากรเราต้องใช้ประมาณเท่าไร จากปัจจุบันที่เรามีอยู่ เพราะฉะนั้นการวางแผนอัตรากำลัง เนื่องจากบำรุงราษฎร์เอง เรามีตัวโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามีตัว Vital life Satisfied Wellness Center แล้วก็เราจะมีอีกบริษัทหนึ่งที่ทำเกี่ยวกับเรื่องของ Integrative Cancer Clinic บุคลากรก็ยังมี Bamrungrad Academy ที่เป็นสถาบันฝึกอบรมนะคะ เราก็จะบอกพนักงานของเราเสมอว่าความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เขาอยู่ที่นี่ ถ้าเขามีแพสชันหรือมีความสนใจในงานของเขาแค่ไหนก็ตาม เขามีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนตำแหน่ง การทำการเปลี่ยนตำแหน่งงาน ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เราทำกับบุคลากรของเราอยู่เสมอเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะ

 

หุ่นยนต์ผ่าตัดตอนนี้มาใช้มากขึ้น มากน้อยแค่ไหน

ต้องบอกว่าเราใช้มากขึ้นกว่าเดิมเยอะมากค่ะ 

 

เช่น ผ่าตัดอะไรบ้างที่ใช้หุ่นยนต์ได้

ที่เราใช้กันมาจะเป็นสาขาของ Urology หุ่นยนต์ผ่าตัดที่เรามีคือ Davinci นะคะ แล้วมีอีกสาขาหนึ่งที่เราค่อนข้างมีชื่อเสียงมากก็คือการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

 

Urology ก็คือ 

ทางเดินปัสสาวะ ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะก็จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ใช้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ ผ่าตัดกระดูกสันหลังก็มีมากขึ้น ต้องเรียนว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดเนี่ย คุณหมอที่จะใช้ได้ต้องมีการฝึกอบรม แล้วก็ถูกรับรองให้ใช้เครื่องมือนี้ 

 

มะเร็งล่ะ ใช้หุ่นยนต์มากน้อยแค่ไหนตอนนี้

ตอนนี้มะเร็งที่เราดูอยู่ก็จะเป็นด้านของสูตินารีเวช ที่เริ่มมีการใช้นะคะ แต่ว่ามากสุดจะอยู่ในสาขาของทางเดินปัสสาวะ

 

เรื่องของวัฒนธรรมในการทำงานทำอย่างไรจึงเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานได้ ตอนต้นที่เจอ เจอสิ่งท้าทายอะไรบ้าง ความยากลำบากในการขับเคลื่อนวัฒนธรรม ให้เปลี่ยนให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ และทำให้ทุกคนมาร่วมให้ได้ ยากไหมครับ แก้วัฒนธรรมในการทำงาน โดยเฉพาะแบบไทยๆ ด้วยนะ

วัฒนธรรมองค์กรที่อยู่มา 39 ปีเป็นเรื่องยากค่ะ อันนี้ต้องยอมรับนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวที่จะสะท้อนวัฒนธรรมขององค์กรได้ดีที่สุดคือผู้นำ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่มีการ Transform เรื่องของวัฒนธรรม คนที่ต้อง ยอมรับก่อน ก็คือผู้บริหารระดับสูง หรือผู้บริหารอาวุโสนะคะ ซึ่งการที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรใหม่ขึ้นมา 1 เซต ไม่ใช่คนที่มีอำนาจสูงสุดบอกว่าจะเอา 3 ตัวนี้

 

ไม่ใช่

มันจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร วิเคราะห์ถึงความต้องการของลูกค้า ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน รวมกระทั่งถึงบริบทของพนักงานของบำรุงราษฎร์ ก่อนหน้าที่จะเป็นตัวนี้เราเพิ่งมีการปรับเปลี่ยน Core Value ไป เราใช้มาประมาณ 3 ปี ก็คือ CoAST ซึ่งก็ปรับเปลี่ยนมาจากก่อนหน้านี้คือ Ten Guiding Principles ตัวจริงๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยก็คือคุณภาพความปลอดภัยของผู้ป่วยและการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

 

คือความปลอดภัย การให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

เน้นในเรื่องความพึงพอใจของผู้รับบริการ แต่ Ten Guiding Principles อาจจะยาวไปสำหรับเด็กยุคใหม่ที่จะจำ (หัวเราะ) ทีนี้เราก็มาถอดรหัสพันธุกรรม ก่อนหน้านี้เราก็จะเป็น CoAST ก็จะเป็น Co A S T Co ก็คือ Compassionated Caring A ก็คือ Adaptability Learning Innovation S ก็คือ Safety and Quality Measurable Result ต้องวัดผลได้นะคะ แล้วก็ T คือ Teamwork and Integrity มี Accountability ทีนี้สิ่งหนึ่งวันนี้ที่เราย่อลงมาเป็น 3 ตัว เรามองว่ายุคนี้ถ้าไม่ Agility ไม่ทันสมัยแล้ว ไม่ซึมซับ

 

Agility สำคัญกว่าคือความปราดเปรียวเนี่ยนะ

ใช่ค่ะ เป็นอีกหนึ่งเซตที่เราเพิ่งเรานำมาใช้ในปีนี้ 

 

ถ้าภาคปฏิบัติ มันตีความหรือเป็นรูปธรรมอย่างไร Agility ปราดเปรียวมันก็เห็นภาพได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ใช่ทุกคนวิ่งกันไปหมด Agility หมายถึงความปราดเปรียวคล่องตัวในการปรับตัว วัดอย่างไร

หลิงยกตัวอย่างเบสิกเลยค่ะ คนไทยในการทำงาน สิ่งที่ทุกคนมองหาที่สุดคือผังโครงสร้าง 1 พนักงานจะถามว่าหนูอยู่แผนกอะไร หัวหน้าหนูคือใคร ใครที่เป็นคนประเมินผล เพราะมีผลต่อการขึ้นเงินเดือน การให้โบนัสค่ะ

 

ให้คุณให้โทษกับเรา

จากการที่เรา Transform องค์กรมา เราจะบอกเลยว่า เราทำงานแบบ Ecosystem การมีเจ้านาย เจ้านายเป็นผู้ฝึก แต่ไม่ใช่ผู้สั่งการ การทำงานถึงแม้ในผังโครงสร้างคนที่ประเมินผลจะชัดเจนว่าคนที่เป็น Direct Supervisor แต่ชีวิตการทำงาน เราจะทำงานในรูปแบบที่เป็น Matrix คือจะเป็นการทำงานที่ช่วยเหลือกัน พนักงานไม่ได้แบ่งเป็นฝ่าย ไม่ได้บอกว่าเราเป็นฝ่ายนี้อยู่เฉพาะพยาบาล จะไม่ยุ่งกับเภสัชกร จะไม่ยุ่งกับวิชาชีพอื่นๆ ตอนนนี้เราปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็น Business Unit มีหลากหลายสาขาวิชาชีพอยู่ด้วยกัน 

 

ดังนั้นคนหนึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับทุกๆ ฝ่าย ไม่เหมือนแต่ก่อนเป็นไซโล ฉันทำของฉัน เธอทำของเธอ เธออย่ามายุ่งกับฉัน อันนี้เปลี่ยน ซึ่งมันไม่ง่าย

ไม่ง่ายค่ะ แต่เรามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบ่อยมาก ในระยะหลังๆ ไม่เป็นประเด็นสำหรับการเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ (หัวเราะ)

 

ชินแล้ว

ชินแล้ว ทุกคนรู้แค่ว่าหน้าที่หลักที่เราทำคืออะไร เรามีหน้าที่คือดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เพราะฉะนั้นเรารู้แค่ว่าเราต้องทำงานกับใครบ้าง โดยที่รู้แค่ว่า โอเค ถ้าเราติดปัญหา คนนี้คือคนที่เราต้องไปขอคำปรึกษา และเขาไม่ต้องมานั่งโค้ชเรา แม้กระทั่งระดับ Management ก็ตาม ตัวหลิงเอง แม้จะเป็นซีอีโอ หลิงจะบอกน้องๆ เสมอว่า คนที่สำคัญที่สุดคือ น้องหน้างานที่อยู่กับคนไข้

 

ที่สัมผัสกับคนไข้

ค่ะ คนนั้นคือคนที่มีอำนาจสูงสุด ยิ่งระดับยิ่งสูงขึ้นมา พวกเราเองยิ่งต้องฟังฟีดแบ็ก

 

เพราะเราห่างจากคนไข้ไปเรื่อยๆ แต่ว่าคนที่อยู่หน้าโต๊ะ คนที่รับคนไข้นี่แหละ ที่จะบอกว่า คุณนี่แหละสำคัญที่สุด

พูดง่ายๆ การบิลด์ในเรื่องของ Agility คือการทำให้เขารู้สึกมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าออกเสียง กล้าแสดงออก เมื่อเขามี Mindset แบบนี้ เขาก็มีการกล้าที่จะปรับเปลี่ยน ถ้าเราไม่ใช้ Mindset พวกนี้ เด็กระดับปฏิบัติการก็จะนั่งรอคำสั่ง ถ้าไม่สั่งไม่ทำ ซึ่งอันนี้ต้องยอมรับว่าบำรุงราษฎร์วันนี้น้องๆ ระดับปฏิบัติการ น้องๆ ที่เป็น Front Line Manager กระตือรือร้นมาก มี Sense of Ownership สูงมาก

 

หน้าที่ในฐานะซีอีโอ ขั้นตอนต่อไปที่จะทำให้วัฒนธรรมองค์กรมันทันกับความเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างไรบ้าง

การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้กระทั่งระบบเรื่องของการสื่อสาร เราก็ได้มีการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรา ที่เราเรียกว่า Unified Communication ใช้ตั้งแต่การเชื่อมต่อระหว่างลูกค้า คนไข้ที่ติดต่อเรามาผ่านระบบ Contact Center หรือ Call Center นะคะ แม้กระทั่งภายในเราเองที่เป็นการสื่อสารภายในองค์กรเราไม่จำเป็นที่จะต้องประชุมแบบ Face to Face เราสามารถทำในรูปแบบ Virtual Meeting Virtual Conference นะคะ หรือแม้กระทั่งการเรียน การสอน การเทรนนิ่ง เราก็มีการซื้อ Integrative Learning System น้องสามารถเรียนได้จากมือถือ iPad แล้วก็การมาเจอกันคือการมาแลกเปลี่ยน แล้วก็มาทำเวิร์กช็อป การเทรนนิ่ง ก็เปลี่ยนมาใช้การกระตุ้น ใช้แบบทดลองเสมือนจริง มีหุ่นยนต์ที่ร้องได้ ให้พยาบาลไปฝึก ก็จะให้มีการไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะพนักงานใหม่ พยาบาลจบใหม่ ก่อนที่จะไปจับตัวผู้ป่วยจริงอย่างนี้ค่ะ 

 

ซ้อมกับหุ่นยนต์ 

ซ้อมกับหุ่นยนต์คือทุกอย่าง ตอนนี้เราได้มีการนำเรื่องของเทคโนโลยีมาใช้ในทุกๆ จุด ถ้าเราจะให้พนักงานมีความเข้าใจในเรื่องของ Disruptive หรือในเรื่องของดิจิทัล เทคโนโลยีต้องเห็นสิ่งแวดล้อมในตัวเขาก่อน ให้เขาเข้าใจแล้วก็ให้เขามีความรู้สึกว่าเขาอยู่ในองค์กรที่ทันสมัย อันนี้เป็นฐานรากที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า พนักงานบำรุงราษฎร์หลายๆ คนอาจจะไปทำงานที่อื่น ไปทำงานต่างจังหวัด เมื่อกลับมากรุงเทพฯ เขาก็ยังเลือกบำรุงราษฎร์ ทุกๆ ครั้งที่ปฐมนิเทศ 10% ของพนักงานใหม่ก็จะเป็นพนักงานที่เคยทำที่บำรุงราษฎร์มาก่อน 

 

ในหลายวงการที่เจอกับ Disruption อย่างนี้ ปัญหาก็คือรายได้มันลดน้อยลง มันกระทบผลประกอบการพอสมควร พอเข้าไปในดิจิทัล รายได้จากรูปแบบใหม่ก็ยังไม่สามารถชดเชยรายได้ที่หายไปจากรูปแบบเดิม บำรุงราษฎร์มีปัญหานี้ไหมครับ

ถ้าสำหรับบำรุงราษฎร์เอง ถ้าผลกระทบจากการใช้ดิจิทัลหรือการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามา หลิงว่าไม่กระทบนะคะ 

 

ไม่กระทบเลย ผลประกอบการไม่กระทบเลย

จริงๆ ตัวนี้จะเป็นตัวที่ช่วยส่งเสริมเสียมากกว่า เช่น ในปัจจุบันเอง ต้องบอกว่าเทรนด์ในอนาคต คนไข้มีแนวโน้มว่าเจ็บป่วยจะซื้อยาทานเอง Telemedicine เมื่อกี้อย่างที่เราคุย เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนไข้สามารถเข้าถึง เจอกับหมอโดยที่ไม่ต้องมาเจอตัวเป็นๆ หมอสามารถให้คำปรึกษาได้นะคะ ในอีกไม่นานหลิงก็คิดว่าระบบของร้านขายยาออนไลน์ น่าจะมีการนำมาใช้ได้ในประเทศไทย ที่ Amazon ก็มีการซื้อกิจการ Pill Pack ซึ่งขยายการบริการด้านการจัดส่งสินค้า

 

เขาเรียกว่า Pill Pack ใช่ไหม สามารถจะใช้หุ่นยนต์ส่งถึงบ้านได้ แต่ว่าต้องมีคนรับรองนะ

ใช่ค่ะ ปัจจุบันของเราเองเราก็มีในลักษณะของหมอที่จะจะอนุญาตให้คนไข้ Refill Medication เราก็จะมีช่องทางในการที่คนไข้จะสามารถ Tele Consult กับหมอ แล้วลิงก์ไปที่ระบบจัดยา ซึ่งมีฐานข้อมูลการบันทึกทางการแพทย์ซึ่งเราก็จาะสามารถมีการยืนยันจากเภสัชกรกลับไปที่ตัวผู้ป่วย แล้วก็ส่งยาให้ผู้ป่วยได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังเป็น Full Loop ที่อยู่ในภายใต้การควบคุมของหมอแล้วก็เภสัชกร

 

เรื่องคุณภาพนี่สำคัญที่สุด

ใช่ค่ะ แล้วระบบขนส่งที่จะส่งยาไปให้คนไข้ที่บ้านอีกนะคะ การเก็บรักษา เรื่องพวกนี้ถ้าขาดความรู้ หรือการเก็บรักษาไม่ถูกต้อง อุณหภูมิไม่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อคุณภาพของยา

 

ดังนั้นบริการด้านขนส่งปัจจุบันอาจจะต้องยกระดับถึงจะส่งยาได้นะ

ใช่ค่ะ 

 

ในฐานะที่อยู่แนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงเนี่ย คุณอาทิรัตน์มองว่าหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยที่สอนหมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางด้านการแพทย์ ต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง เพื่อจะผลิตคนรุ่นต่อไปแล้วจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ คุณภาพของคนที่จะต้องออกมา ไม่พูดถึงปัจจุบัน ซึ่งเราต้องปรับแก้ให้เขาเนี่ยนะ เราพูดถึงคนรุ่นใหม่แล้วนะ ต้องไปแก้ไขอะไรไหมครับ เพื่อสอนขาให้ไม่ต้องปรับตัวมาก เข้ามาถึงวัฒนธรรมใหม่ทำได้ เข้าใจ Digital Transformation ได้ ต้องไปแก้หลักสูตรอะไรบ้างไหมครับ

อันนี้ต้องขออนุญาต หลิงเองเคยไปบรรยายให้คณะเภสัชฯ อันนี้ตั้งใจพูดเลยค่ะ เพราะว่าโดยส่วนตัวเอง มีประสบการณ์คือ สิ่งที่เรียนมากับสิ่งที่มาทำงาน เอามาได้ใช้น้อยมาก แต่วันนี้มีความภูมิใจมาก ต้องบอกว่าคณะเภสัชฯ เองปรับไปเยอะมาก น้องนักศึกษาหรือนิสิตตั้งแต่ปี 5 ปี 6 ได้ฝึกงาน ได้มีการเลือกสายงานที่เขาต้องการไปทำ

 

ได้ไปเจอของจริงก่อน

เช่น คนไหนไปด้านการตลาด ไปด้านงานนั้น คนไหนชอบด้านของโรงงานผลิตยา ไปด้านนั้น คนไหนชอบด้านของร้านขายยา ไปด้านนั้น 

 

เขาจะรู้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถฝึกงานตั้งแต่ปี 2 ปี 3 ใช่ไหมครับ ไม่ใช่จบแล้วถึงจะมา

ถูกต้อง ซึ่งตอนนี้เท่าที่ทราบ ขอพูดถึงคณะเภสัชฯ ก่อนคณะแพทยฯ นะคะ ก็เริ่มมีการปรับตัวไปแล้ว แพทย์เอง ลูกสาวเรียนแพทย์ จะถามเสมอว่าทุกวันนี้หนูเขียนใบสั่งยาหรือหนูพิมพ์ เขาเรียนที่เชียงใหม่ เขาพิมพ์ค่ะ ถามว่าหนูให้พยาบาลพิมพ์หรือหนูพิมพ์เอง เขาพิมพ์เองหมด อันนี้ก็เป็นความภูมิใจว่าในอีกไม่ช้านาน หมอรุ่นใหม่ๆ มาเรื่องนี้คงเป็นเรื่องเล็กสำหรับเขา 

 

ถูกต้อง บอกว่าพิมพ์ดีดไม่เป็นนี่ไม่มีแล้วเนอะ

ใช่ค่ะ เรื่องที่ 2 เรื่องของความรู้ขั้นสูง เพราะเรื่องของ Personalized Prescription Medicine หรือ Predictive Medicine หรือการรักษาในระดับที่เป็น DNA มันเป็นอะไรที่อาจจะใหม่ แล้วอาจจะยังไม่อยู่ในหลักสูตรนะคะ หลิงคิดว่าเรื่องนี้ในหลักสูตรใหม่ๆ ของการแพทย์ น่าจะเข้าไปในเรื่องของ Continuum of Care ในระบบการแพทย์สมัยเก่าๆ ก็จะเน้นเรื่องของ Treatment แต่ในวันนี้ Healthcare System เปลี่ยนไปแล้ว ต้องดูตั้งแต่เริ่มต้นในการป้องกันเด็กแรกคลอดออกมาสามารถที่จะตรวจได้เลยค่ะ เราเรียกว่า ​Pharmacogenomics เราสามารถที่จะรู้ได้เลยว่าเด็กคนนี้ ในเรื่องของยาที่ต้องใช้กับเขา ตัวไหนที่ใช้ได้ ตัวไหนไม่ควรใช้ อันนี้เป็นเรื่องของระดับยีนหรือพันธุกรรม ซึ่งจะมีผลโดยตรงเลย เรื่องการแพ้ยาเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากในวงการแพทย์ ก็จะเรียกได้ว่าคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่จะออกมาต่อไปนี้ ถึงได้มีนิตยสาร Forbes ได้ลงว่าอายุขัยเราจะยืนยาวขึ้น 

 

เกิน 100 แล้ว

เกิน 100 แล้วค่ะ เมนชันกันไปถึง 150 แล้วนะคะ

 

ที่ไม่รู้ว่าน่ากลัวหรือว่าน่ายินดี คือว่าพอเด็กเกิดมาสามารถที่จะประเมินได้เลยว่าในชีวิตเขาอาจจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง จะได้ป้องกันเอาไว้ได้

เรามีเทสต์หนึ่งที่ออกมา ระยะหนึ่งตั้งแต่ต้นปีแล้ว DNA Scientific Wellness Screening ตอนนี้เราตรวจได้ 11 อัลกอริทึมที่สามารถ Bone Heart Health ฮอร์โมน หลายๆ ฟังก์ชันจะรู้เลยว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรบ้าง การปรับเปลี่ยนตรงนี้ให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจ บำรุงราษฎร์เองก็ได้ให้พนักงาน 40 คนเข้ามาทำเทสต์ฟรี 

 

มาดูสิว่า DNA คุณน่ะเป็นอย่างไร

ใช่ค่ะ แล้วก็ให้พนักงานทุกคนเรียนรู้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถามว่า Culture Transformation ต้องทำอย่างไร นอกจากจะให้เขามี Awareness มี Sense of Agency ที่ต้องเปลี่ยนเรื่องของการสื่อสารแล้ว ยังต้องสนับสนุนให้เขาได้มีการทดลอง ให้เขายอมรับแล้วก็โค้ช ให้ความรู้ สิ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้มากๆ คือการอ่าน การศึกษา การไขว่คว้า หาความรู้เพิ่มเติม

 

ถ้าเป็นอย่างนี้ คนก็ไม่ต้องตายแล้วสิ

จริงๆ แล้วต้องพูดว่าเรามีเป้าหมายขนาดนั้น ถ้าทำได้ (หัวเราะ) 

 

สุดท้าย มองอย่างไร อนาคต 3 ปี 5 ปีข้างหน้าโรงพยาบาลจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไรบ้าง เดินเข้ามาจะยังจำได้ไหมว่าเป็นโรงพยาบาล 

ในอนาคตธุรกิจในวงการสุขภาพจะมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Direct to Consumer มากขึ้น คนไข้เองแทบจะมีเครื่องมือรอบกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพตัวเองสามารถที่จะอ่านผลตัวเองได้ มีปัญหาอะไรก็สามารถ Auto Send Email ไปให้หมอที่ปรึกษาส่วนตัวเราได้ หมอกับคนไข้สามารถคุยกัน Virtual ได้ ซึ่งธุรกิจโรงพยาบาลต้องหันมามองเรื่องพวกนี้ หรือที่เราเรียกว่า On-Demand Telemedicine Tele Consult ซึ่งหลายๆ อย่างต้นทุนด้านสุขภาพจะลดลง

 

สำหรับคนไข้จะดีขึ้นแน่นอน แต่สำหรับหมอ สำหรับพยาบาลล่ะ ธุรกิจนี้รายได้จะลดลงไหม เพราะคนไข้จ่ายน้อยลงแล้วนี่

ทีนี้หลิงกำลังจะบอกว่า เพราะฉะนั้นตัวหมอเอง แต่เดิมถ้าเราโฟกัสอยู่ในเรื่องของการรักษาเท่านั้น เราจะต้องขยายในแง่มุมที่ว่าอาจจะต้องไปในแง่มุมของการส่งเสริม หรือการ Screening ให้เจอเสียก่อนที่จะเป็นโรค ในเรื่องพวกนี้เอง หมอก็ต้องขยายตัวเอง ในแง่ของเราจะดูแลคนไข้คนไหนแบบ Continuum of Care เป็นแบบองค์รวม ตั้งแต่ก่อนจะเป็นโรค หรือถ้ามีในลักษณะที่เป็น Genetic Disease ก็อาจจะต้องเริ่มให้ ครอบครัวเดียวกัน หรือหันมามองในเรื่องของ Value Based Healthcare เช่น โฟกัสที่ตัวคนไข้ เอาง่ายๆ คนเป็นโรคเบาหวาน โรคแทรกซ้อนที่จะตามมา หมอทุกท่านทราบดี ตา ไต เท้า ใช่ไหมคะ เมื่อเช้าก็นั่งประชุมกับน้องๆ ในทีม งั้นต่อไปก็ไม่ใช่แค่วัดระดับน้ำตาลในเลือดสูงแล้วสั่งยาจบ อาจจะต้องระวังตั้งแต่ว่าคนไข้คนนี้มีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ หรือ Hemoglobin A1C ผิดปกติ ต้องเริ่มให้การดูแลตั้งแต่สายตาเป็นอย่างไร ระวังดูแลเรื่องของไต 

 

ต้องไป Detect ก่อน จับให้ได้ก่อน ไม่ต้องรอให้มันเกิดแล้วมา Treat แสดงว่ามันจะเน้นไปที่ Wellness ไม่ใช่ Treatment

ใช่ค่ะ ในอนาคต Wellness Wellbeing จะมาแรง แล้วก็ในเรื่องของ Vertical Integration หรือ Supply Chain โรงพยาบาลต้องมานั่งดูว่าการ Supply ยา หรือแม้กระทั่งแล็บเองก็ตาม ถ้าต่อไปเรามีอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ ก็จะสามารถทราบระดับกลูโคส ความดัน ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน เครื่องมือเหล่านี้จะต้องเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ Telemedicine ได้สมบูรณ์มากขึ้น มี Patient Portal ที่คนไข้เองสามารถดูผลการรักษา สุขภาพของตัวเองที่อยู่ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลเองมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวในเรื่องของดิจิทัลเพื่อให้การเข้าถึงตรงนี้ของคนไข้กับตัว Care Provider คือหมอกับตัวบุคลากรด้านการแพทย์อื่นๆ ที่ดูแลแบบองค์รวมเขาได้เชื่อมถึงกัน 

 

อยู่ท่ามกลางกระบวนการ Transformation อย่างนี้ ต้องรับผิดชอบอย่างนี้ ที่รับผิดชอบนี่เครียดหรือสนุกครับ 

ต้องสารภาพความจริงว่าบางครั้งมีเครียดค่ะ 

 

(หัวเราะ) แต่สนุกมากกว่าเครียด

สนุกมากกว่าเครียดค่ะ

 

ท้าทายนี้ เราเห็นว่าอันนี้มันเวิร์ก อย่างนี้ไม่เวิร์กลองใหม่ ตรงนี้ใช่ไหมครับที่ทำให้สนุก

ใช่ค่ะ แล้วก็ถ้าเราไม่สนุก เราจะทำงานอยู่ที่เดิมๆ ได้ไม่นาน อันนี้เป็นอุดมการณ์ส่วนตัว อันนี้เป็นโชคดีที่ไม่ว่าทำงานที่ไหนก็จะได้ผู้บังคับบัญชาที่มีความเข้าใจว่าเราเป็นคนที่ชอบความเปลี่ยนแปลง แล้วเราชอบทำงานที่ท้าทาย โดยเฉพาะถ้าได้เรียนรู้ระบบอะไรใหม่ๆ แล้วก็ที่มีเกี่ยวกับเทคโนโลยี อันนี้เป็นความชอบส่วนตัว (หัวเราะ)

 

มีผลช่วยงานเราได้มโหฬาร โดยเฉพาะเราเป็นหัวเรือขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง Transformation อันนี้

ใช่ค่ะ นับเป็นความท้าทายอันหนึ่ง

 


 

Credits

 

The Host สุทธิชัย หยุ่น

The Guest ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ 

 

Show Producers อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising