×

ไปเรียนปริญญาโทและเอก การบริหารจัดการมรดกโลก ที่โตเกียว, ญี่ปุ่น

06.08.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time Index

02:13  นะนำตัว (ภาษาญี่ปุ่น)

02:42  แรกเริ่มต้นสนใจญี่ปุ่น

09:35  ความสามารถทางภาษาแค่ไหนจึงจะพอเรียนต่อ

20:47  เพื่อนที่ประทับใจ

27:31  เรื่องดาร์กสุด… โดนขโมยกางเกงใน!

32:15  เรื่องรับจ๊อบของนักเรียนไทย

37:08  กิจกรรมในมหาวิทยาลัย

43:53  จากปริญญาโท ‘การบริหารจัดการมรดกโลก’ สู่ปริญญาเอก ‘การส่งต่อความรู้ของช่างไม้ญี่ปุ่น’

53:57  ผู้หญิงเรียนสูงเกินไป ผู้ชายจะกล้าเข้าหาไหม

ทุกครั้งที่แจน-ณิชมน บอกใครๆ ว่าเธอกำลังต่อด็อกเตอร์ด้านไหน เชื่อว่าคนที่ได้ยินต้องตาโตด้วยความทึ่งว่า มันมีวิชาแบบนี้อยู่ด้วยหรือ แต่พอรู้ว่าเป็นของญี่ปุ่น ทุกคนคงพูดคล้ายๆ กันว่า อืม ญี่ปุ่นนี่มันญี่ปุ่นจริงๆ! มาติดตามฟังเรื่องความเป็นอยู่ การรับจ๊อบรัวๆ และการห้ำหั่น (ทางวิชาการ) กับเพื่อนร่วมชั้นนานาชาติที่ วาเซดะ มหาวิทยาลัยชื่อดัง

 



02:13

こんにちは。

ジャンと申します。今東京で留学しています。東京はとても忙しくて高いけど、実はとても魅力的な場所ですよ。

それで、今日は学生生活についてお話したいと思います!

よろしくお願いします!

“สวัสดีค่ะ ชื่อแจนค่ะ

ตอนนี้ไปเรียนต่ออยู่ที่โตเกียว

โตเกียวเป็นเมืองที่วุ่นวายและค่าครองชีพแพงมากก็จริง

แต่มีเสน่ห์มากเลยนะ

วันนี้ก็เลยอยากมาเล่าเรื่องชีวิตนักศึกษาที่นั่นให้ฟังกันค่ะ

ฝากติดตามด้วยน้า”

 

02:42

“ความเป็นญี่ปุ่นมันเข้ามาสิงคุณตั้งแต่ตอนไหน”

  • เห็นว่าตอนไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เกลียดประเทศนี้ ทำไมในที่สุดยอมกลืนน้ำลายตัวเองไปต่อโทต่อเอก
  • ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น หรือ ทุนมงฯ (หรือทุนมงบุโช หรือชื่อเต็มๆ คือ ทุน Monbukagakusho) สมัครยังไง

05:51
“คือจบอักษรมาใช่ไหมคะ ทั่วไปถ้าเซฟๆ ก็คือไปต่อมาร์เก็ตติ้ง ต่อการบริหารธุรกิจ ก็เอาไปใช้ทำงานได้ในบริษัท แต่ก็รู้สึกว่า เรียนไปคงไม่ได้ทำงานในทางนั้นแน่ๆ เลย และถ้ายังไม่รู้ว่าจะจบไปทำอะไร แล้วจะเอาเงินที่บ้านไปลงเรียนเป็นล้านที่ต่างประเทศ มันก็คงดูไม่สมเหตุสมผลใช่ไหมคะ เพราะยังไม่รู้ว่าจะได้เอากลับมาใช้หรือเปล่า ที่สุดอาจจะกลับมาเป็นล่ามฟรีแลนซ์เหมือนเดิมก็ได้ ก็เลยคิดว่า อันดับแรก ต้องไปเรียนฟรี จะได้ใช้ไม่ได้ใช้ก็จะได้ไม่ขาดทุน ที่ได้มาคือประสบการณ์ชีวิต อะแล้วถ้าอยากได้เงินด้วย (คือไปทำงานพิเศษโดยใช้ความสามารถทางภาษาของตัวเองได้) ก็ต้องไปญี่ปุ่น…

“…เลยมานั่งดูว่า คอร์สไหนบ้างที่เราสนใจอยากเรียน แล้วก็มาเจอคณะ Asia-Pacific Study สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ International Relations แต่เราก็ไม่มีพื้นฐานเลย ถามว่าอ่านข่าวไหม สนใจสังคมโลกไหม คือไม่ สนใจแต่ใต้เตียงดารา แต่ตอนดูรายละเอียดคอร์สเห็นมีเขียนว่า World Heritage Management เท่านั้นล่ะ ชั้นเลย เกิดมาเพื่อเราเลย…

“…คือถ้าจะเสียเวลาไปสองปี มันต้องได้อะไรกลับมาบ้าง ต่อให้ไม่ได้เป็นเงินหรือเป็นงาน มันต้องได้ความบันเทิงระหว่างเรียน คอร์สเนี้ย ต่อให้ไม่ได้ใช้ ก็อยากรู้ อยากเรียน,,,”

 

09:35

“ความสามารถทางภาษาเท่าที่มีอยู่เป็นต้นทุนเดิม จากสมัยเรียนปริญญาตรี จนจบเกียรตินิยมจากคณะอักษรศาสตร์ เพียงพอให้ไปเรียนต่อและใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายหรือเปล่า”

  • บรรยากาศในคลาสเรียนเป็นยังไงบ้าง
  • ลักษณะนักเรียนญี่ปุ่นเป็นไง
  • อาจารย์ญี่ปุ่นชอบนักเรียนแบบไหน 

16:32

“อาจารย์แคร์ไหมว่านักเรียนต้องกล้าพูดกล้าแสดงความเห็นในห้อง หรือแคร์แค่เปเปอร์”

“ถ้าพอใจแค่ B ก็ไม่ต้องทำอะไรก็ได้ แค่ส่งงานให้ครบ แต่ถ้าอยากได้ A บ้าง A+ บ้าง หรืออยากมีชื่ออยู่ใน Dean’s List บ้าง มันก็ต้องพยายามบ้าง”

 

20:47

“เพื่อนนี่ก็สำคัญนะ…”

  • บางทีเห็นนักเรียนไทยเกาะกลุ่มกันจนไม่มีเพื่อนต่างชาติเลย ของแจนเป็นแบบนั้นไหม
  • ถ้าจะไปเรียนญี่ปุ่นรวมเบ็ดเสร็จ อย่างต่ำใช้เงินเท่าไหร่ ค่าอยู่อย่างเดียว
  • ชาวต่างชาติหาที่อยู่อยากไหม

 

27:31

“พูดถึงเรื่องดาร์กๆ ที่ไปเจอมา…”

  • เล่าประสบการณ์การโดยขโมยกางเกงใน
  • ตกลงการอยู่ญี่ปุ่นอันตรายไหม

 

32:15

“บรรยากาศตอนไปเรียนปริญญาโทเหมือนจะไม่เครียด เหมือนแจนปรับตัวง่าย เพราะเคยอยู่กับคนญี่ปุ่นมาโดยตลอด…”

  • มีโทรมาร้องไห้คิดถึงบ้านไหม
  • นักเรียนไทยในญี่ปุ่น ทำงานพิเศษอะไรได้บ้าง
  • ความแตกต่างระหว่างตลาดแรงงานญี่ปุ่นปัจจุบันกับของเมื่อก่อน และทัศนคติต่อการทำงานของหนุ่มสาวญี่ปุ่นในสมัยนี้ที่เปลี่ยนไป

 

37:08

“ในมหา’ลัยได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง”

  • กิจกรรมที่ไปทำมีอะไรบ้าง
  • ตอนเรียนมีแฟนไหม

 

43:53

“นิยามสามคำของการเรียนปริญญาโทคืออะไร”

  • จากนั้น ปริญญาเอกต่ออะไร
  • จากปริญญาโท ไปปริญญาเอก ปรับตัวยากไหม
  • ทำ Thesis ว่าด้วยเรื่องของอะไร
  • “การส่งต่อองค์ความรู้ของช่างไม้ญี่ปุ่น” คืออะไร
  • จะเป็นช่างไม้ญี่ปุ่นได้ ต้องทำยังไง มีสถาบันสอนไหม 


47:13

“แสดงว่าติดใจประเทศนี้เข้าเสียแล้ว?”

“เรียกว่า อยู่ได้ เห็นด้านมืด เห็นด้านสว่าง แล้วเราก็เลือกได้ว่าจะไปด้านไหนตามที่เราต้องการ”

49:00

“อย่างศาลเจ้าอิเสะเนี่ย เขาจะ re-build ทุก 20 ปี รื้อออกหมดเลยนะ แล้วประกอบเข้าไปใหม่ เขาทำอย่างนี้เพื่อที่จะได้สอนช่างไม้รุ่นใหม่ว่าการก่อสร้างทำอย่างไร เพราะถ้าสอนปากเปล่าหรือแค่ให้ดูรูป มันจะไม่ได้เรียนรู้ ต้องให้ลงมือทำเองจริงๆ และให้ทำของจริงไปเลย มันจะได้มีความกดดันว่า นี่คือศาลเจ้าที่มีประวัติศาสตร์เป็นพันปี ด้วยเกียรติภูมิช่างไม้ญี่ปุ่น ต้องทำให้ได้ ต้องสู้…

 

“มันเป็นวิธีส่งต่อความรู้ที่เท่มาก คือเขาให้ความสำคัญกับความรู้มากกว่าตัวอาคาร…”

50:21

     “เมื่อก่อนเนี่ย วิถีช่างไม้คือ ‘โปรดรับข้าเป็นศิษย์!’ ต้องไปอ้อนวอนกับช่างไม้ระดับมาสเตอร์ว่าอยากเรียนจริงๆ ช่วยสอนหน่อยเถอะ เราต้องไปพิสูจน์ความมุ่งมั่น ถ้าเขารับ ก็ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ที่บ้านเขา ไปแอบลักเล็กขโมยน้อย… ไม่ใช่ทรัพย์สินนะคะ… ความรู้… เพราะเขาจะไม่มาสอนตรงๆ ว่า เอ้า เลื่อยตรงนี้ ไสไม้อย่างนี้ เขามองว่านี่เป็นสิ่งที่ต้องขวนขวายเอง มองเอง สังเกตเอง ฝึกฝนเอง ถ้าเขาเริ่มยอมรับเรา เขาอาจจะมาช่วยไกด์เพิ่มนิดหน่อย ตรงนี้ผิดนะ ตรงนั้นต้องบางอีกนิด หรือถ้าอันไหนยากจริงๆ ก็อาจจะทำให้ดูหนึ่งรอบแล้วบอกว่า เอ้า ทำให้ได้อย่างนี้ กว่าจะเรียนจนได้เป็นช่างไม้ฝีมือมาตรฐานคนนึงใช้เวลาเป็นสิบปี…

      “ทีนี้ ปัจจุบัน การก่อสร้างมันเปลี่ยนไป คนที่จะอดทนและมีความมุ่งมั่นขนาดนี้มันเหลือน้อยลง ญี่ปุ่นเลยเจอปัญหาช่างไม้ขาดแคลน โดยเฉพาะช่างไม้เฉพาะทางที่เป็นงานศิลป์ เป็นมาสเตอร์ระดับนี้ เขาเลยเริ่มปรับเปลี่ยน จากที่ต้องคุกเข่า ‘โปรดรับข้าเป็นศิษย์!’ อย่างเว้าวอนเนี่ย เลยเริ่มมีความเป็นโรงเรียน เช่น พี่ทำบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดัง และพี่ขาดช่างไม้ พี่ก็เปิดบริษัทลูกขึ้นมาเป็นโรงเรียนสอนช่างไม้ ใครอยากเรียนก็ไม่ต้องรอสิบปี จบสองปีได้พื้นฐาน เราส่งทำงานเลย เออ มันก็เหมาะกับคนสมัยใหม่ที่รู้สึกว่า ไม่ได้อยากไปตรากตรำความโอชินอะไรเบอร์นั้น แถมมีงานรองรับชัวร์ๆ เพราะบริษัทแม่ก็เป็นบริษัทก่อสร้าง…

     “ที่ประทับใจคือตรงนี้ ตรงที่เขาแค่เปลี่ยนแพคเกจการศึกษา ‘คุณมาเรียนกับเราสองปี คุณเป็นช่างไม้แล้ว และคุณได้งานเลย เฮ่!’ ทั้งที่จริงวิธีการเรียนยังเหมือนเดิมนะ คือต้องเข้าไปเรียนเบสิกกับช่างไม้ตัวท็อปก่อน พอเรียนจบสองปี เขาก็จะส่งไปเรียนรู้หน้างานกับไซต์ก่อสร้างจริงๆ อีก และก็ยังต้องเรียนรู้เองสังเกตเองอีกนั่นแหละ เขาไม่ได้มาจับมือทำอยู่ดี แต่ด้วยความที่เรียนจบมาแล้วในสองปีนั้น และได้ชื่อว่าเป็นช่างไม้แล้ว ก็จะไม่เกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจว่า โห เรียนมาสิบปียังไม่ได้ชื่อว่าเป็นช่างไม้อีกเหรอ แบบใหม่นี่มันก็จะทำให้มีกำลังใจมากขึ้น แถมได้เงินด้วยไง เมื่อก่อนแบบฝึกสิบปีนั่นไม่ได้เงินเลยนะคะ ถือว่าทำงานแลกความรู้จากท่านมาสเตอร์ แต่แบบใหม่คือได้เงินเดือนด้วย มันทำให้คนเข้ามาในอาชีพนี้ง่ายขึ้น…”

53:44

“ชาวคราฟต์ญี่ปุ่น เขามีจิตวิญญาณที่มุ่งมั่นแน่วแน่ เราอาจไม่บูชิโดเท่าเขา แต่แนวคิดของเขา ถ้าเอามาศึกษาก็น่าสนใจ”

 

53:57

“ไม่กลัวว่าเรียนสูงๆ แล้วจะไม่มีคนเข้ามาหาเหรอ”

 

54:30

“ถ้าจะไปเรียนเมืองนอก สิ่งที่ต้องมีมากสุดคือความรับผิดชอบ เพราะไม่มีใครมาคอยบังคับเราแล้ว ยิ่งถ้าไปอยู่คนเดียว อยากจะชิ่ง อยากจะเบี้ยว อยากจะโดด อะไรยังไงก็ทำได้ ซึ่งถ้าเราไม่บังคับตัวเองให้ทำอะไรก็ตามให้ตัวเองดีขึ้น มันก็อาจจะจบได้ แบบแย่ๆ มึนๆ แต่อาจไม่ได้อะไรอย่างที่คิด เสียดายเวลานะ…”

 


 

Credits

The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี

The Guest ณิชมน หิรัญพฤกษ์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers ภูมิชาย บุญสินสุข

อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ภูมิชาย บุญสินสุข

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director กริณ ลีราภิรมย์

Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์

Music Westonemusic.com

 

FYI

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น หรือ ทุนมงฯ (Monbukagakusho:MEXT)

http://www.th.emb-japan.go.jp/th/jis/study.htm

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising