×

‘โนมูระ’ เปิดสถิติช่วงบอลโลก 2 ครั้งล่าสุด ยอดใช้จ่ายเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท ส่วนหุ้นไทยให้รีเทิร์น 4.4% หากบรรยากาศลงทุนเอื้อ

22.11.2022
  • LOADING...

จากมหกรรมฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม บล.โนมูระ พัฒนสิน ได้จัดทำบทวิเคราะห์ ‘FIFA World Cup Play’ โดยวิเคราะห์จากสถิติที่ผ่านมา

 

สำหรับฟุตบอลโลก 2 ครั้งล่าสุด เมื่อปี 2014 และ 2018 พบว่ามีเม็ดเงินใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 2 หมื่นล้านบาท และจากสถิติย้อนหลัง 20 ปี หรือฟุตบอลโลก 5 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าดัชนี SET ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวก 3 ครั้ง คือ ปี 2006, 2010 และ 2014 โดยผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.4% ขณะที่อีกสองครั้ง คือ ปี 2002 และ 2008 ตลาดหุ้นเผชิญกับความเสี่ยงของวิกฤตดอทคอม และสงครามการค้า ตามลำดับ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ทั้งนี้ ปัจจัยร่วมที่เหมือนกันของฟุตบอลโลกในปี 2006, 2010 และ 2014 กับฟุตบอลโลกในปีนี้คือ ช่วงเวลาแข่งขันที่จะเริ่มในช่วงเวลาหลังเลิกงานของคนไทย 

 

หากมองลงไปในรายกลุ่มหุ้น กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือ ค้าปลีก อาหาร ปิโตรเคมี บันเทิง ธนาคาร และโรงแรม ให้ผลตอบแทน 4.2-7.9% สำหรับฟุตบอลโลกทั้ง 3 ครั้งที่ผลตอบแทนเป็นบวก 

 

โดยหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่น ได้แก่ MAKRO, CENTEL, CPALL, MINT, KTB, SCB, MAJOR, BBL, KBANK และ MCOT ให้ผลตอบแทน 5.3-14.3% (ไม่รวมปี 2002 และ 2018) 

 

ในเชิงกลยุทธ์ กรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน เปิดเผยว่า ภาพการลงทุนในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2022 เราคาดว่าตลาดจะแกว่งตัวขึ้น หนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่เติบโตดี ประกอบกับสถิติช่วงฟุตบอลโลก 3 รอบที่ผ่านมา มักช่วยให้การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น 

 

ขณะเดียวกันเวลานี้ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าลงทุน เนื่องจาก GDP ไตรมาส 3 ที่ล่าสุดประกาศออกมาเติบโต 4.5% จากปีก่อน และไตรมาส 4 คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องเกิน 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ภาพรวม GDP ในปี 2022-2023 จะเติบโต 3.3% และ 3.5% ตามลำดับ 

 

จากสถิติการเคลื่อนไหวของหุ้นในอดีตช่วงฟุตบอลโลก ผสมผสานกับธีมการลงทุนหลักของ บล.โนมูระ พัฒนสิน ในปัจจุบัน ได้แก่ 1. กลุ่ม Anti-Commodity ที่กำไรผ่านจุดต่ำสุดและต้นทุนหลักลดลงต่อเนื่อง 2. กลุ่ม High Growth ที่ได้ประโยชน์จากแรงกดดันของนโยบายการเงินเข้มงวดเริ่มผ่อนคลาย และ 3. กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคในประเทศ

 

ทีมกลยุทธ์จึงได้คัดเลือกหุ้น 11 ตัว คล้ายกับการเลือกผู้เล่นตัวจริง 11 คนในทีมฟุตบอล โดยวางเป็นตำแหน่งสำคัญตามแผนการเล่นในรูปแบบ 4-3-3 ของกีฬาฟุตบอล ดังนี้ 

 

  1. ผู้รักษาประตู คือ BBL เป็นปราการด่านสำคัญป้องกันพอร์ต เป็นธนาคารที่ตั้งสำรองสูงสม่ำเสมอ เสมือนผู้รักษาประตูที่มีความระมัดระวังต่อความเสี่ยงสูง เหนียวแน่น แน่นอน

 

  1. กองหลังตัวกลาง คือ MAKRO แม้ฟอร์มหลุดมาระยะหนึ่ง แต่กำลังคืนฟอร์มที่ดีอีกครั้งจากกำไรที่เริ่มฟื้นตัวและเด่นมากในปี 2023 และอาจมีกำไรเหนือความคาดหมายได้

 

  1. กองหลังตัวกลาง คือ SCGP เป็นเหมือนกองหลังที่มีความสม่ำเสมอ จากรายได้ที่เติบโตต่อเนื่อง และมีแรงหนุนจากการซื้อกิจการ ขณะที่ต้นทุนผ่านจุดสูงสุด ทำให้อัตรากำไรจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ 

 

  1. แบ็กซ้าย คือ CENTEL เสมือนผู้เล่นที่กำลังเข้าสู่จุดพีคของอาชีพ มีความแข็งแกร่งเป็นพื้นฐาน กำไรอยู่ในช่วงฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว ลุ้นรับประโยชน์จากการผ่อนคลายนโยบาย Zero-COVID ของจีน 

 

  1. แบ็กขวา คือ ERW เสมือนผู้เล่นที่กำลังเข้าสู่จุดพีคของอาชีพ มีความแข็งแกร่งเป็นพื้นฐาน กำไรอยู่ในช่วงฟื้นตัวตามการท่องเที่ยว ลุ้นรับประโยชน์จากการผ่อนคลายนโยบาย Zero-COVID ของจีน

 

  1. กองกลางตัวรับ คือ GULF คล้ายผู้เล่นที่คอยคุมจังหวะเกม ช่วงหลังมีดีลต่อยอดหลายธุรกิจ สามารถเปลี่ยนเกมและสร้างความแตกต่างให้กับพอร์ตลงทุนได้

 

  1. กองกลางตัวเชื่อมเกม คือ TLI พื้นฐานธุรกิจประกันที่แข็งแกร่ง และอยู่ในวงจรขาขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ย และมีปัจจัยหนุนจากการถูกเลือกเข้าคำนวณใน FTSE Index 

 

  1. กองกลางตัวรุก คือ GPSC หุ้นโรงไฟฟ้าหลักของตลาด ได้ประโยชน์ระยะยาวจากธีมพลังงานสะอาด ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดและกำลังจะกลับเข้าสู่รอบการเติบโตใหม่ 

 

  1. ตัวรุกซ้าย คือ ICHI กลับมาเป็นตัวจริงอีกครั้ง หลังผลประกอบการช่วงหลังที่กลับมาเติบโตโดดเด่น ความคล่องแคล่วและการปรับตัวธุรกิจทำได้ดี 

 

  1. ตัวรุกขวา คือ JMT มีจุดเด่นจากการเติบโตสูงมาต่อเนื่อง 

 

  1. กองหน้า คือ CRC เป็นธุรกิจใหญ่ที่มีความคล่องตัว ซึ่งที่ผ่านมาปรับตัวรวดเร็ว เข้าสู่อีคอมเมิร์ซก่อนหุ้นค้าปลีกอื่นในไทย
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising