×

Moderna วัคซีนทางเลือก ความหวังของคนไทย โรงพยาบาลเอกชนปิดรับจอง หลังยอดล้น เข้าไทยไตรมาส 4

05.07.2021
  • LOADING...
Moderna

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศไทยวันนี้ (5 กรกฎาคม) พุ่งขึ้นแตะเลข 6,166 คนต่อวัน พร้อมกับยอดผู้เสียชีวิต 50 ราย ท่ามกลางวิกฤตผู้ป่วยล้นเตียงอย่างน่าเป็นห่วง สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนเรียกร้องหาวัคซีนทางเลือกที่จะมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้นกัน และป้องกันความรุนแรงจากการติดเชื้อมากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตายอย่าง Sinovac ที่ในตอนนี้เป็นวัคซีนส่วนใหญ่ที่ถูกจัดสรรและฉีดให้กับคนไทย

 

วัคซีน Moderna กำลังกลายเป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะสำหรับคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือคนที่ต้องการจะฉีดเข็มที่ 3 เพื่อเพิ่มเติมภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งจึงเปิดให้ประชาชนเข้าจองวัคซีนชนิดนี้ จนกระทั่งล่าสุดตั้งปิดระบบจองกันไปแล้วเนื่องจากมีผู้ลงทะเบียนอย่างล้นหลาม

 

THE STANDARD สรุปข้อมูลศึกการแย่งชิงวัคซีนทางเลือก Moderna ฉีดครบ 2 เข็มแล้วจำเป็นต้องฉีดเพิ่มหรือไม่ โรงพยาบาลใดที่ปิดจองแล้ว และโรงพยาบาลไหนยังเปิดจองอยู่ 

 

ทำไมต้องเป็นวัคซีน Moderna 

  • วัคซีน Moderna เป็นวัคซีนชนิด mRNA (messenger Ribonucleic Acid) ที่ใช้หลักการจากสารพันธุกรรม ที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตโปรตีนที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากโควิด ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีการฉีดไปแล้วมากกว่า 500 ล้านโดส โอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำ มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิที่ดีมากถึง 94-95% ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับวัคซีน Pfizer 
  • ในปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Sinovac ที่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ประสิทธิภาพที่ 49-50% Sinopharm วัคซีนชนิดเชื้อตาย ประสิทธิภาพที่ 79% และ AstraZeneca วัคซีนชนิดพาหะ ประสิทธิภาพที่ 70.4% 

 

กระแสการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 

  • ข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิดในประเทศไทย วันที่ 5 กรกฎาคม พบว่าปัจจุบันคนไทยฉีดวัคซีนแล้ว 10,777,748 โดส โดยแบ่งออกเป็นเข็มที่ 1 7,804,654 โดส หรือเท่ากับ 11.79% ของจำนวนประชากร และเข็มที่ 2 2,973,094 โดส หรือ 4.49% ของจำนวนประชากร ด้วยเหตุที่ยังมีผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกที่มีจำนวนมาก ทำให้ความต้องการในการฉีดวัคซีนขณะนี้ของประเทศไทยมีอยู่สูง 
  • การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในประเทศไทยกำลังเป็นที่น่าจับตามอง และถูกคาดการณ์ว่าในอนาคตเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตานี้จะแพร่กระจายจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศ ทำให้เสี่ยงที่วัคซีนตัวเดิมจะมีความสามารถไม่พอในการป้องกัน
  • วันที่ 20 มิถุนายน นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความเห็นถึงวัคซีนโควิดกับการป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ไว้ว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ในผู้ที่ได้รับวีคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อย จะสามารถทำให้ระดับภูมิต้านทางสูงขึ้นเพื่อป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ 

 

ความต้องการฉีดล้นทะลัก โรงพยาบาลปิดจองวัคซีน Moderna 

  • ภายหลังกระแสความต้องการวัคซีนทางเลือก Moderna เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่ได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจองวัคซีนได้ในราคาเข็มละ 1,500-1,650 บาท ทยอยกันปิดระบบรับจองวัคซีน เนื่องจากยอดผู้จองเต็มจำนวน โรงพยาบาลที่ปิดระบบจองแล้วได้แก่
    • โรงพยาบาลวิภาวดี
    • โรงพยาบาลธนบุรี
    • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
    • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
    • โรงพยาบาลพระรามเก้า
    • โรงพยาบาลในเครือบางปะกอกและปิยะเวท
    • โรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์
    • โรงพยาบาลหัวเฉียว
    • โรงพยาบาลเครือเกษมราษฎร์
    • โรงพยาบาลบางโพ
    • โรงพยาบาลวิรัชศิลป์
    • โรงพยาบาลอินทรารัตน์
    • โรงพยาบาลนครพัฒน์ นครศรีธรรมราช

 

  • โรงพยาบาลที่ยังเปิดให้จองวัคซีน Moderna อยู่ ได้แก่
    • โรงพยาบาลรามาธิบดี
    • โรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

  • โรงพยาบาลที่จะเปิดให้จองวัคซีน Moderna ในอนาคต ได้แก่
    • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

วัคซีน Moderna 5 ล้านโดสแรก เข้าไทยช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2564 และไตรมาสที่ 1 ปี 2565 

  • วันนี้ (5 กรกฎาคม) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เผยยอดวัคซีนที่จะได้รับจาก บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ตัวแทนของ Moderna มีจำนวน 5 ล้านโดส โดยจะได้รับในช่วงของไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และไตรมาสแรกของปีหน้า 
  • ส่วนตัวเลข 9 ล้านโดสที่เคยปรากฏก่อนหน้านี้เป็นจำนวนที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้สำรวจความต้องการวัคซีนไว้เท่านั้น ซึ่งอีก 4 ล้านโดสที่เป็นความต้องการเกินจำนวนวัคซีนที่จะได้รับ ทางองค์การเภสัชกรรมได้ประสานจองวัคซีนจำนวนดังกล่าวสำหรับรอบการผลิตในปี 2565 ไว้กับบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด แล้ว

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising