×

สรุปให้! ‘เหมียวจด’ แอปจดรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิปโอนเงิน ช่วยให้การจดรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายจริงไหม? [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
19.02.2024
  • LOADING...
เหมียวจด

HIGHLIGHTS

5 min read
  • ทั้งที่การจดรายจ่ายในแต่ละวันหรือทุกครั้งที่จ่ายฟังดูง่ายกว่าการขุดตัวเองไปออกกำลังกาย แต่ทำไมทำไม่สำเร็จสักที 
  • รู้จัก ‘MeowJot’ (เหมียวจด) แอปจดรายจ่ายให้จากสลิปโอนเงินที่พัฒนาโดย KBTG Labs และ Beacon Interface 
  • สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่า ‘เหมียวจด’ ต่างจากแอปอื่นๆ อย่างไร จำเป็นต้องมีหรือไม่ ช่วยให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายจริงหรือเปล่า จะเล่าให้ฟังหลังจากโหลดมาลองใช้จริง

‘ทำบัญชีรายรับรายจ่าย’ น่าจะติดท็อปลิสต์ New Year’s Resolutions ของใครหลายคน และก็เป็นเช็กลิสต์อันดับต้นๆ ที่ไม่เคยถูกขีดฆ่าเลยสักปี ทั้งที่การจดรายจ่ายในแต่ละวันหรือทุกครั้งที่จ่ายฟังดูง่ายกว่าการขุดตัวเองไปออกกำลังกายหรือเลิกดื่มน้ำอัดลมเสียอีก! 

 

เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ใส่การจดรายรับรายจ่ายไว้ในลิสต์นิสัยที่อยากทำเพราะรู้ว่า นี่คือนิสัยจิ๋วของคนมั่งมี ในหนังสือ ‘Mini Habits’ ที่เขียนโดย ซาโต้ เด็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างนิสัยของญี่ปุ่นบอกว่า การจดบันทึกเส้นทางการเงินเป็นวิธีป้องกันไม่ให้เราใช้เงินสิ้นเปลือง และยังสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยที่ไม่ดีของตัวเอง 

 

ผู้เขียนแนะนำให้พกสมุดโน้ตเล่มเล็กๆ เอาไว้ใช้จ่ายเมื่อไรก็จด…ฟังดูง่าย ใครทำได้ก็ดี แต่ดูไม่เข้าทางสำหรับคนขี้เกียจจดไม่ชอบจำ และแต่ละวันมีเรื่องสารพัดต้องทำ หยิบมาจดบนรถไฟฟ้าหลังสแกนจ่ายค่าบัตรก็ดูไม่สะดวก หรือจะจำๆ ไว้ก่อน ว่างเมื่อไรค่อยจดก็ดันลืมอีก 

 

แต่เดี๋ยวก่อน! นี่เราอยู่ในยุคดิจิทัลนะ มีเครื่องมือที่ทำให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายมากมายอยู่ในมือ จะต้องถือสมุดเล่มเล็กๆ เพื่อจดรายรับรายจ่ายกันไปทำไม มนุษย์ชอบจ่ายแต่ไม่ถนัดจดยุคนี้เขาให้ ‘เหมียวจด’ กันแล้ว  

 

เหมียวจด

 

‘เหมียวจด’ ที่พูดถึงไม่ได้หมายถึงบอสขนฟูที่กำลังนั่งซุกอยู่ตรงขอบโซฟา แต่มันคือ ‘MeowJot’ (เหมียวจด) แอปจดรายจ่ายให้อัตโนมัติจากสลิปโอนเงินที่พัฒนาโดย KBTG Labs และ Beacon Interface 

 

สำหรับคนที่ตอนนี้มีแอปจดรายรับรายจ่ายอยู่ในมือถือแล้ว และกำลังสงสัยว่า ‘เหมียวจด’ มันต่างจากแอปอื่นๆ อย่างไร จำเป็นต้องมีหรือไม่ ช่วยให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายจริงหรือเปล่า จากประสบการณ์ของคนที่โหลดมาลองใช้จริง เดี๋ยวเล่าให้ฟัง

 

แค่โหลดก็เท่ากับจดรายจ่าย

ไม่เกินจริง เพราะนี่คือหลักการทำงานของแอปที่เข้าใจพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนยุคนี้ที่จ่ายทุกอย่างด้วยการสแกน และทุกครั้งที่สแกนสลิปจะถูกเซฟลงเครื่องโดยอัตโนมัติ 

 

เหมียวจด

 

หน้าที่ของมนุษย์ขี้เกียจจดอย่างเราก็แค่โหลดแอป ‘เหมียวจด’ เพียงเท่านี้เจ้าเหมียวก็จะจดรายจ่ายให้อัตโนมัติจากสลิปโอนเงินในเครื่อง สามารถรองรับได้ถึง 12 แอป 9 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS, MAKE, Krungthai NEXT, UOB, CIMB, Bualuang mBanking, SCB EASY, ttb touch, KMA, Kept, Dime! และ KKP 

 

ยกตัวอย่างผู้เขียนตอนเริ่มใช้จ่ายครั้งแรก หลังจากโหลดแอปและอนุญาตให้เหมียวเข้าถึงอัลบั้มรูป ใช้เวลาไม่นาน เจ้าเหมียวก็ทำการอัปโหลดและประมวลผลสลิปการโอนในเครื่องทั้งหมดออกมาเป็นข้อมูลสรุปรายจ่ายในแต่ละวัน แยกหมวดหมู่ให้เสร็จสรรพ 

 

ตอนนี้ระบบสามารถจัดหมวดหมู่อัตโนมัติให้กับรายการใช้จ่ายกับร้านค้าได้กว่า 4,000 ร้าน และกำลังจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้ายอดนิยมจากสถิติการใช้จ่าย รวมถึงร้านที่ใช้แอป K SHOP เพื่อลดภาระการจำว่าที่สแกนไปนั้นจ่ายให้กับร้านไหน ทั้งนี้หากเป็นรายการที่แอปไม่ได้เลือกหมวดหมู่ให้ ผู้ใช้ก็สามารถกดเลือกหมวดหมู่ให้แต่ละรายการเองได้ง่ายๆ  

 

เหมียวจด

 

จากที่ทดลองใช้ ตอนนี้ระบบแยกได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โอนให้กับ การไฟฟ้านครหลวง, LINE MAN (จ่ายค่าอาหาร/ค่ารถ), Citibank (ค่าบัตรเครดิต), BTS และชื่อร้านค้าต่างๆ ที่อยู่ในระบบ แต่ถ้าเป็นการโอนให้กับบุคคลจะขึ้นชื่อของผู้ที่เราโอนให้ สามารถเข้าไปจัดหมวดหมู่และจดโน้ตเพิ่มเติมได้ เช่นกรณีที่ขึ้นแท็กซี่แล้วโอนจ่าย ระบบจะขึ้นชื่อของบุคคลที่โอน ก็เข้าไปเลือกหมวดหมู่ ‘เดินทาง, รถ’ จะจดโน้ตเพิ่มว่าเดินทางจากไหนไปไหนก็ยังได้ 

 

ความฉลาดที่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์คือ ถ้าเกิดเราโอนเงินจากธนาคารหนึ่งไปอีกธนาคารหนึ่งในชื่อบัญชีเดียวกัน เช่น โอนจากบัญชีเงินเดือนของเราไปเก็บไว้ในบัญชีเงินออมซึ่งเป็นชื่อเราเอง เหมียวจะแยกให้ทันทีเลยว่านี่คือหมวด ‘ย้ายเงิน’ ไม่ใช่ ‘รายจ่าย’ หรือแม้แต่เติมเงินในวอลเล็ตเข้าไปแก้ไขเป็น ‘ย้ายเงิน’ ได้ด้วยเช่นกัน เห็นว่าอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมในกรณีที่ชื่อบัญชีต่างธนาคารเป็นคนละภาษาด้วย

 

เหมียวจด

 

สำหรับคนที่ 99% ใช้จ่ายผ่านการโอนและสแกน ‘เหมียวจด’ ช่วยลดภาระการจดและจำได้มากจริงๆ แต่ถ้าใครเป็นมนุษย์ไฮบริด จ่ายสดบ้าง ใช้บัตรเครดิตรูดบ้าง หรือจะจดรายรับเข้าไปด้วยก็เข้าไปจดเพิ่มเติมในส่วนนี้เองได้ แค่เข้าไปที่ปุ่ม ‘จดเพิ่ม’ มีหมวดหมู่ที่ทำเป็นไอคอนน่ารักๆ ให้เลือก และช่องจดโน้ต เผื่ออยากลงดีเทลว่าจ่ายค่าอะไร ร้านไหน หรือรับเงินมาจากใคร  

 

เหมียวจด

 

ที่สำคัญทุกเดือนจะมีสรุปยอดใช้จ่ายทั้งหมดไว้ให้ ถ้ากดไปที่ปุ่ม ‘ดูสรุป’ น้องเหมียวจะสรุปรายจ่ายแบบแผนภูมิแยกหมวดหมู่ตามสี คราวนี้แหละจะเห็นเลยว่าแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับค่าอะไรมากที่สุด 

 

เหมียวไม่แอบดูรูปอื่นๆ แน่นะเหมียว!

คิดเหมือนกันใช่ไหมว่าถ้ากดอนุญาตให้เข้าถึงอัลบั้มรูปเจ้าเหมียวจะแอบดูรูปอื่นๆ หรือเปล่า เหมียวบอกว่าไม่ดูแน่นอน เหมียวสัญญา! เพราะเหมียวเคารพความเป็นส่วนตัว จะอ่านเฉพาะภาพจากอัลบั้มของแอปธนาคารเท่านั้น รูปภาพในอัลบั้มหรือสกรีนช็อตเหมียวสัญญาว่าจะไม่แล 

 

ต่อให้เราเซฟสลิปที่คนอื่นส่งให้ลงในเครื่อง แต่ถ้าสลิปไม่ได้อยู่ในโฟลเดอร์ของแอปธนาคาร เหมียวก็จะไม่อ่านและไม่ถูกบันทึกลงในแอป

 

อีกเรื่องที่สงสัยคือ ถ้าอยากลบภาพสลิปออกจากเครื่อง รายการที่เหมียวเคยจดไว้จะหายไปด้วยหรือไม่ หลังจากที่ลองพบว่า รายการที่จดไว้แล้วยังอยู่ เพราะสิ่งที่เหมียวเก็บไม่ได้เก็บเป็นภาพแต่เก็บเฉพาะยอดเงิน วันเวลาที่โอน และชื่อร้านค้า  

 

เหมียวจด

 

สรุปเลยนะ ‘เหมียวจด’ เป็นแอปที่พัฒนามาเพื่อช่วยคนชอบจ่ายแต่ไม่ถนัดจดได้จริง! ถึงดีไซน์ตอนนี้ดูไม่หวือหวา แต่มองอีกแง่ก็ไม่รกตา ดูแล้วเข้าใจได้ทันที ฟีเจอร์ต่างๆ ก็ไม่ซับซ้อน อย่างที่บอกยิ่งถ้าเป็นคนที่ใช้จ่ายผ่านก่อนโอนและสแกนแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมใดๆ เลย แต่ได้เห็นวินัยทางการเงินของตัวเอง

 

เห็นว่าตอนนี้เหมียวจดกำลังซุ่มฝึกพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้มนุษย์อย่างเราๆ ติดตามรายจ่ายได้ดียิ่งขึ้น 

 

โหลดมาลองได้ทั้งระบบ iOS และ Android ที่ https://meowjot.onelink.me/A393/install

#เหมียวจด #Meowjot #แอปบันทึกรายจ่ายอัตโนมัติ #financialapp #KBTG #KBTGLabs #innovation

FYI

ที่ต้องเป็นแมวไม่ใช่เพราะทีมพัฒนาเป็นทาสแมวหรอกนะ แต่ได้แรงบันดาลใจมาจากของเล่นกระปุกออมสินแมวตะปบเหรียญและนิสัยซนๆ ของแมวที่ชอบแอบหยิบของไปเล่น เหมือนการที่เหมียวจดมาหยิบสลิปของเราไปอ่านแล้วจดรายจ่ายให้

 

และที่เลือกแมววิเชียรมาศมาเป็นคาแรกเตอร์เหมียวจด เพราะเป็นแมวไทยมงคลที่มีความเชื่อว่า “ให้โชคก้อนโตแบบไม่ทันตั้งตัว” เหมือนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัยจะทำให้เรามีเงินก้อนโตแบบไม่รู้ตัว

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising