×

THANI – กำไรจะฟื้นตัวเติบโตปานกลางที่ 11% ในปี 2565

23.03.2022
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (THANI) เปิดเผยเป้าหมายปี 2565 ว่า บริษัทตั้งเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ที่ 2.6-2.7 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 12-15%) โดยอิงกับการคาดการณ์ว่ายอดขายรถบรรทุกใหม่ในประเทศจะเติบโต 10-15% ในปี 2565 หลังจากทำจุดสูงสุดที่ 31,143 คัน (เพิ่มขึ้น 34%) ในปี 2564 

 

ในขณะที่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ บริษัทพบว่ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่แข็งแกร่งขึ้นและดีกว่าเป้าของบริษัทที่ 2.2 พันล้านบาทต่อเดือน 

 

ด้านรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) THANI คาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งคาดจะสามารถรักษาผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อเอาไว้ได้ในปี 2565 โดยมี Upside จากแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นใน 4Q65 ทั้งนี้บริษัทจะเปิดตัวสินเชื่อจำนำทะเบียนรถและเน้นสินเชื่อรีไฟแนนซ์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อ และบริษัทคาดว่าต้นทุนทางการเงินจะอยู่ในระดับทรงตัวในปีนี้และเพิ่มขึ้นในปี 2566 โดยบริษัทวางแผนเพิ่มสัดส่วนเงินทุนระยะยาวเป็น 70% จาก 51% ณ สิ้นปี 2564 เพื่อบริหารต้นทุนทางการเงิน อย่างไรก็ดี SCBS ปรับประมาณการ NIM ปีนี้เพิ่มขึ้น 5 bps เพื่อสะท้อนเป้าหมายดังกล่าว

 

ส่วน Credit Cost THANI ตั้งเป้าคง Credit Cost ไว้ที่ระดับไม่เกิน 1% ในปีนี้ เทียบกับ 1.2% ในปี 2564 โดยบริษัทวางแผนเพิ่ม LLR Coverage อีกสู่ 85-90% ในปี 2565 จาก 80% ในปี 2564 ขณะที่ SCBS ปรับประมาณการ Credit Cost ในปีนี้และปี 2566 ลดลงปีละ 20 bps และคาดว่า Credit Cost จะลดลงสู่ 1% ในปี 2565 และปี 2566

 

นอกจากนี้ THANI กำลังขอใบอนุญาตสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ โดยคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเดือนเมษายนนี้ และวางแผนขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 1-2 พันล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 15-24% ในปี 2565 โดยบริษัทวางแผนเสนออัตราดอกเบี้ยดังกล่าว สำหรับสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ วงเงิน 50,000-200,000 บาท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อของบริษัท

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น THANI ปรับลดลง 5.83%MoM อยู่ที่ระดับ 4.20 บาท ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลง 1.01%MoM อยู่ที่ระดับ 1,679.39 จุด

 

มุมมองต่อแนวโน้มธุรกิจปี 2565:

SCBS ปรับประมาณการกำไรปี 2565 เพิ่มขึ้น 7% เพื่อสะท้อนเป้าหมายของ THANI โดยคาดว่ากำไรจะฟื้นตัวกลับมาเติบโตปานกลางที่ 11% โดยได้รับการสนับสนุนจากการคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อที่ 6%, NIM ในระดับทรงตัว และ Credit Cost ที่ลดลง 20 bps

 

สำหรับมุมมองเชิงบวก คือ ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากยอดขายรถบรรทุกที่ฟื้นตัวดีขึ้น และคาดว่า Credit Cost จะลดลง เพราะคุณภาพสินทรัพย์อยู่ภายใต้การควบคุม ในทางกลับกัน คือ NIM จะอยู่ภายใต้แรงกดดัน เนื่องจากต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยมีสาเหตุมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ 1. ความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งหากสถานการณ์โควิดยืดเยื้อ และราคาน้ำมันสูงขึ้น คาดจะกระทบ NPL เพิ่มขึ้น และจะสร้างแรงกดดันให้ตั้งสำรองเพิ่ม 

 

และ 2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในระยะยาว และส่งผลให้ NIM มี Downside ซึ่งบริษัทวางแผนเปลี่ยนมาใช้แหล่งเงินทุนจากเงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบในระยะยาว

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising