×

รู้จัก KBTG ผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้กสิกรไทย ที่ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ เป็นอันดับหนึ่ง [Advertorial]

27.03.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • KBTG หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เป็นหน่วยงานที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ต่างๆ ปัจจุบันดูแลแอปพลิเคชันกว่า 500 แอปฯ ให้กับกสิกร
  • หลังจากสปินออฟตัวเองจากกสิกรไทย เพื่อตั้งบริษัทใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน KBTG มีพนักงานราว 1,300 คน ทั้งยังมีภาพลักษณ์ของการเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยีที่ชัดเจนขึ้น ไม่ใช่แค่หน่วยงานสนับสนุนอีกต่อไป
  • ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ หรือบุคลากรมากๆ โดยจะมีทีม ‘KBTG Academy Team’ ที่มีหน้าที่พัฒนาทักษะหรือสกิลของบุคลากรในบริษัทเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้พนักงานแต่ละคนสามารถเติบโตในสายงานที่ต้องการจะเรียนรู้ได้อย่างอิสระ

เชื่อว่าหลายคนที่ผ่านเข้ามาอ่านบทความนี้อาจจะเคยได้ยินชื่อ ‘KBTG’ ผ่านหูกันมาบ้าง บางคนอาจจะรู้ว่าพวกเขาคือหน่วยงานหนึ่งของธนาคารกสิกรไทย แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว KBTG หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เป็นหน่วยงานที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ต่างๆ และปัจจุบันดูแลแอปพลิเคชันกว่า 500 แอปฯ ให้กับกสิกร

 

แน่นอนว่าแอปพลิเคชัน K PLUS ที่เราใช้โอน-รับเงิน สแกนพร้อมเพย์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านมือถือก็เป็นผลงานของ KBTG เช่นกัน!

 

หลังก่อตั้งบริษัทมานานกว่า 4 ปี (2559) ปัจจุบัน KBTG มีพนักงานมากกว่า 1,300 คน ด้วยอายุเฉลี่ยราว 35 ปี ทั้งยังก้าวขึ้นมายืนหยัดเป็นหนึ่งในองค์กรด้านเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และดูเหมือนว่าพวกเขากำลังจะมีแพลนสเกลอัพองค์กรให้เติบโตในเร็วๆ นี้

 

THE STANDARD บุกมาถึงสำนักงานของ KBTG ที่ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจาก อิมแพ็ค อารีน่า พูดคุยกับ จรัสศรี พหลโยธิน กรรมการผู้จัดการ KBTG ถึงเบื้องหลังการพัฒนานวัตกรรมของทีมงาน แนวคิดการพัฒนาบุคลากรให้ประสบความสำเร็จ และค้นพบ Career Path ที่ชัดเจนของแต่ละคน ตลอดจนวิธีการที่ทำให้พวกเขาสามารถมัดใจรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นาน จนมีอัตราการออกจากงานของพนักงานต่ำกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีด้วยกันในท้องตลาด

 

 

KBTG หน่วยงานด้าน IT ของธนาคารกสิกรไทย ที่พัฒนานวัตกรรมด้านการเงินตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

กรรมการผู้จัดการ KBTG เปรียบเทียบให้คนเห็นภาพง่ายๆ ว่า หน่วยงานของเธอเปรียบเสมือนหน่วยงานที่ดูแลด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย หรือถ้าพูดอีกนัยหนึ่งคือทำหน้าที่เป็น ‘Technology Partner’ ดูแลระบบไอทีให้กับทางธนาคาร

 

โดยภาพรวมการทำงานจะเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ นั่นคือการรีเสิร์ชหรือ Reseach Lab เพื่อหาข้อมูลในท้องตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ว่า ณ เวลานั้นๆ เพนพอยต์หรือปัญหาทางการเงินรูปแบบใดที่ทางธนาคารพอจะสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาได้บ้าง โดยทีมงาน KLabs พัฒนา Phototype Product เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทดลองใช้

 

หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของทีมพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพในเชิงการใช้งานจริง ได้ระบบที่แข็งแรง สามารถรองรับผู้ใช้งานในจำนวนมากๆ ได้โดยไม่มีปัญหา ขณะที่สเตปถัดมาก็จะเป็นหน้าที่ของทีมดูแลระบบ ซึ่งจะคอยช่วยมอนิเตอร์และควบคุมระบบไม่ให้เกิดปัญหา ทำให้การบริการต่อผู้ใช้งานมีเสถียรภาพมากที่สุด

 

“เมื่อเราสปินออฟแยกออกมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีจริงๆ (แยกออกมาจากธนาคารกสิกรไทย) เพื่อ Served ธนาคารกสิกรโดยตรง ตัวตนของเราก็ชัดขึ้น คือมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วนในอนาคตบริษัทของเราที่มีความเข้าใจเทคโนโลยีก็จะสามารถนำนวัตกรรมที่มีมาขับเคลื่อนธุรกิจ และเริ่มมองหาว่าจริงๆ แล้ว ธุรกิจสำหรับอนาคตของธนาคารคืออะไร”

 

ไม่แปลกที่บทบาทของ KBTG จากเดิมที่เคยเป็นแค่ยูนิตย่อยในองค์กร วันนี้จะก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในเข็มทิศหลักคอยชี้ทิศทางอนาคตให้กับกสิกรไทย ด้วยองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมที่พวกเขามี

 

‘คน’ และบุคลากร องค์ประกอบที่ KBTG ให้ความสำคัญมากที่สุด

“คน” คือคำตอบที่เราได้รับ หลังจากถามผู้บริหารหญิงของ KBTG อย่างตรงไปตรงมาว่า อะไรคือสิ่งที่องค์กรของเธอให้ความสำคัญมากที่สุด และแตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีเจ้าอื่นๆ 

 

“สิ่งที่พิสูจน์และตอกย้ำว่าเราให้ความสำคัญกับคนหรือบุคลากรมาก คือการที่เรามีทีมดูแลการพัฒนาคน ในที่นี้คืออคาเดมี่ หรือทีม ‘KBTG Academy Team’ ซึ่งมี KPI หรือ OKR ชัดเจน ไม่ได้วัดการที่ให้คอร์สเรียนกับพนักงานในองค์กรเยอะที่สุด เพราะเป้าหมายคือจะทำอย่างไรให้สามารถยกระดับศักยภาพหรือความสามารถของคนในองค์กรขึ้นให้ได้อีกระดับภายในระยะเวลา 2 ปี 

 

“เราวัดผลลัพธ์กันตรงที่เขาจะต้องสามารถสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพของทีม KBTG ขึ้นมาให้ได้ในอีกระดับ ซึ่งเราให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นรายบุคคลมากๆ มีการทดสอบและวัดศักยภาพของพวกเขาว่า แต่ละคนขาดสกิลด้านไหน มุมไหนที่เราจะสามารถเติมเต็มเขาได้ 

“ก่อนจะทำแผนพัฒนารายบุคคลแบบ Personalize Improvement Plan ให้กับพนักงานแต่ละคน แล้วพนักงานแต่ละคนก็จะต้องคุยกับหัวหน้าของตัวเองว่า เขาต้องการพัฒนาตัวเองด้านไหน อยากเติบโตอย่างไร แล้วอะไรคือสิ่งที่เขายังขาด ซึ่งทีมอคาเดมี่ก็จะเข้าไปคอยช่วยเสริมส่วนนั้นๆ เราทำเรื่องนี้ค่อนข้างจริงจังกันมาก เพื่อที่จะสามารถช่วยให้พนักงานทุกคนในองค์กรเติบโตในเส้นทางที่อยากจะเป็น”

 

 

นอกจากนี้ความเจ๋งของการที่ KBTG ไม่ได้เป็นองค์กรหรือหน่วยงานสตาร์ทอัพที่ดูงานด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ หากพนักงานในองค์กรที่ทำงานไปแล้ววันหนึ่งเกิดรู้สึกไม่มีความสุขกับภาระหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ตัวเองสวมอยู่ ก็สามารถย้ายบทบาทการทำงานตัวเองไปในตำแหน่งอื่นๆ ที่น่าสนใจจนเจอตำแหน่งหรือหน้าที่ที่ตอบโจทย์ความต้องการส่วนตัวได้

 

“ความหมายคือ ถ้าคุณเบื่อที่จะทำงานตำแหน่งๆ เดิมซ้ำๆ คุณก็สามารถเปลี่ยนไปลองงานในบทบาทอื่นๆ ของโปรเจกต์อื่นๆ ได้ อย่างปีนี้เรามีโปรเจกต์ประมาณ 200 โปรเจกต์ ถ้าเขาเบื่อโปรเจกต์นี้แล้วก็ยังมีโปรเจกต์อื่นๆ รองรับ มีฟังก์ชันการทำงานให้สามารถหมุนเวียนได้ตามต้องการ บางคนอยู่แต่ Lab จนเบื่อ อยากมาทำงานด้านพัฒนาฝั่ง ‘Development Delivery Team’ ก็ทำได้

 

“สำหรับคนที่อยากอยู่กับเทคโนโลยี มาที่นี่ (KBTG) จะเติมเต็มเขาได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปหางานที่อื่นว่าอยากจะลองทำในตำแหน่งอื่นๆ เลย เพราะผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านการเงินของธนาคารมันมีหลากหลายโดเมนในธนาคารตั้งแต่เรื่องเงินฝาก เงินกู้ การลงทุนมันเยอะมาก ความหลากหลายในสายงานที่ KBTG จึงค่อนข้างมีเยอะ

 

“อย่างน้อยถ้าได้เข้ามาลองงานที่นี่ ก็จะพบว่าเรื่องให้เขาได้เรียนรู้ เข้าใจบทบาทได้หลากหลายบทบาท เลือกได้ว่าเรามีความน่าจะชอบงานด้านใด และสามารถเติบโตกับมันไปจนสุดได้” จรัสศรีกล่าวทิ้งท้ายในประเด็นการให้ความสำคัญกับบุคลากรคน

 

วัฒนธรรมองค์กรแบบ KBTG ที่วางตัวอยู่ตรงกลางระหว่าง ‘บริษัทใหญ่’ และ ‘สตาร์ทอัพ’

ด้วยความที่เคยเป็นหนึ่งในหน่วยงานขององค์กรใหญ่ระดับประเทศมาก่อน นั่นจึงทำให้ KBTG เข้าใจทั้งข้อดีข้อเสียของการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่เป็นอย่างดี และเมื่อแยกออกมาจัดตั้งบริษัทที่บริหารงานเป็นของตัวเองแล้ว พวกเขาจึงมีภาพลักษณ์ของการเป็นสตาร์ทอัพพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการเงินติดตัวอยู่ 

 

จุดนี้เองที่หล่อหลอมให้วัฒนธรรมการทำงานในองค์กรของ KBTG มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือเป็นส่วนผสมที่อยู่ ‘กึ่งกลาง’ ระหว่างการเป็นบริษัทขนาดใหญ่และสตาร์ทอัพที่สามารถเคลื่อนตัวได้เร็ว

 

“เรามองว่าวัฒนธรรมของ KBTG มันอยู่ตรงกลางระหว่างการเป็นสตาร์ทอัพกับองค์กรขนาดใหญ่ ต้องไม่ลืมว่าบริษัทของเราเพิ่งตั้งมาได้แค่ 4 ปี วิธีการมันจึงเหมือนการเอาน้ำของโลกทั้งสองใบมาเขย่ารวมกัน คัลเจอร์องค์กรเราจึงเป็นไปในรูปแบบการเรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์โลก

 

“ข้อดีที่พอสปินออฟออกมาเป็นบริษัทเล็กๆ มันก็มีความสามารถที่จะยืดหยุ่นและทำอะไรได้ค่อนข้างเยอะ แล้วเราก็ค่อยมาปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วและกระชับมากขึ้น ก็เรียกว่ามาถูกทิศทางและถูกเวลาด้วยที่เราสปินออฟออกมา ทำให้เราในฐานะบริษัทเทคโนโลยีสามารถสะสมกำลังคนเก่งๆ มากมายมาอยู่กับเรา มากจนเราคิดที่จะสร้างคอมมูนิตี้ด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะสร้างอะไรบางอย่างตอบแทนกลับคืนให้กับชุมชนด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย”

 

 

สร้างคนให้ทันความต้องการตลาด ทางลัดพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ของ KBTG 

ถึงแม้ว่าปัจจุบัน KBTG จะมีจำนวนบุคลากรในบริษัทที่ราว 1,300 คน แต่จรัสศรีก็ยืนยันว่า แผนงานขององค์กรยังคงให้ความสำคัญกับการพาบริษัทเติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องการสเกลขนาดองค์กรให้เพิ่มขึ้นด้วย 

 

แต่การจะพัฒนาบุคลากรให้มารองรับสายงานด้านเทคโนโลยีจนมีความช่ำชองอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นวิธีการที่ KBTG เลือกใช้จึงเป็นการรับบุคลากรจบใหม่จากสถาบันการศึกษาเข้ามาเตรียมความพร้อมกับบริษัทก่อนทำงานจริง โดยที่บางรายยังได้ทุนศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างประเทศกับสายงานด้าน Speacialist อีกด้วย

 

“เราเริ่มจะทำโปรแกรมเฉพาะกิจสำหรับแต่ละสกิลที่มีความต้องการจำนวนมาก สมมติเด็กจบใหม่คนนี้ต้องการจะมาเป็น Software Engineer ของเรา เราก็จะทำคอร์สเรียน 2 เดือน พอเขาเข้ามาก็เรียนคอร์สนี้ไปเลย 2 เดือน เราสร้างโปรแกรมแบบนี้ แทนที่จะให้เริ่มทำงานทันที ค่อยๆ เทรนเขาก่อนจะให้ออกไปลุยสนามจริงเพื่อให้สร้างความพร้อมกับเขาให้ทันความต้องการของตลาด”

 

กรรมการผู้จัดการ KBTG บอกว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญของระบบการศึกษาไทยคือการไม่สามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนให้ ‘ทัน’ ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และแทบจะเปลี่ยนเป็นรายวันด้วยซ้ำ 

 

ดังนั้นกลยุทธ์ที่ KBTG เลือกใช้คือ การสร้างแคมป์และเทรนนิ่งพนักงานใหม่ๆ ของบริษัทด้วยการทำคอร์สสอนความรู้เฉพาะทางในสายงานนั้นๆ เป็นระยะเวลา 2 เดือนเต็มนั้นเอง

 

“เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีอยู่ในทุกที่ของเรา เด็กยุคใหม่แทบจะอยู่กับเทคโนโลยีอยู่แล้วสิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการเปิดใจที่จะเรียนรู้ เพราะฉะนั้นความสามารถในการรับและประยุกต์สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ไม่ต้องสนใจว่าอดีตคุณคืออะไร ผ่านมาเป็นอย่างไร ดูว่าคุณจะไปไหนสำคัญ เพราะทุกวันนี้มันเปลี่ยนกันเร็วมาก มันก็รีเซตกันไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็รีเซตความรู้ใหม่กันอีกแล้ว”

 

 

อีกหนึ่งความพิเศษของ KBTG คือการที่พวกเขาจะมีทุนการศึกษาพิเศษให้กับพนักงานของบริษัท เช่น ในกรณีที่พนักงานด้านดีไซน์ขององค์กรอยากไปเรียนต่อด้านการออกแบบ UX/UI ก็สามารถขอสมัครรับทุนได้ โดยในแต่ละปีจะมีจำนวนโควตาการให้ทุนที่ประมาณ 2-3 ทุน

 

สำหรับเด็กจบใหม่ KBTG ก็ยังมอบทุนให้กับบุคลากรกลุ่มนี้ทุกปีในโครงการ ‘Young Tech’ ปีละ 2 ทุน วิธีการคือเปิดให้นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วสามารถเข้ามาสัมภาษณ์กับบริษัท เมื่อผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานทุนของ KBTG ก็จะต้องทำงานกับบริษัท 2 ปี ก่อนจะเตรียมตัวไปเรียนต่อในสายงานเฉพาะทาง ซึ่งในระหว่างเรียน พนักงานทุนคนนั้นๆ ก็จะได้รับเบี้ยเลี้ยงเงินเดือนด้วย

 

นอกเหนือจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เราเข้าใจว่าหนึ่งในสาเหตุที่ KBTG มีหลักคิดหรือมุมมองการดูแลพนักงาน บุคลากรในบริษัทต่างจากบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ เป็นผลมาจากการที่บุคลากรในแผนก HR มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีด้วย จึงทำให้เข้าใจ ทราบถึงปัญหา หรือความต้องการของคนทำงานจริงๆ

 

นั่นจึงทำให้ KBTG สามารถพัฒนารูปแบบการดูแลพนักงาน และช่วยให้พวกเขาสามารถเติบโตในสายงานที่ต้องการจะเป็นได้อย่างตรงเป้าหมายนั่นเอง

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising