ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่อายุ 65 ปีขึ้นไป เริ่มมองหางานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หวังหารายได้เสริมและเพิ่มความสบายใจหลังชีวิตวัยเกษียณ ส่วนตำแหน่งที่นิยมคือ งานธุรการ พนักงานทำความสะอาด และดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Nikkei Asia รายงานว่า จากข้อมูลตลาดแรงงานของรัฐบาลญี่ปุ่นพบว่า ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อายุ 65-69 ปี เริ่มมองหางานเอาไว้ทำหลังเกษียณ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสถานการณ์การจ้างงานในญี่ปุ่นขณะนี้เริ่มลดลง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ยังไม่สิ้นสุดการเลิกจ้าง! ส่องบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง Nike, Intel ไปจนถึง Citi เล็งเลย์ออฟพนักงานอีกครั้งในปี 2024 หวังลดต้นทุนและใช้ AI มาทำงานแทน
- ภาครัฐ-เอกชนไม่อิน! บทสรุป 1 เดือน หลัง Narayana Murthy ชูไอเดียทำงาน 70 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำไมองค์กรอินเดียไม่เล่นด้วย?
- 10 อันดับอาชีพที่มาแรง นายจ้างแย่งตัวกันมากที่สุด พร้อมจ่ายเพิ่มสูงสุดถึง 24% ช่างประปาค่าจ้างเฉียด 3 ล้านบาทต่อปี ไม่แพ้ช่างทำผม-ไลฟ์โค้ช
ขณะที่ศูนย์จัดหางาน Hello Work ให้กับผู้สูงอายุในเมืองโตเกียว ระบุว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีคนอายุตั้งแต่ 60-70 ปี เข้ามากรอกใบสมัครงาน โดยบางคนต้องการหารายได้เสริม และบางคนก็ต้องการให้ร่างกายได้ทำงาน เพื่อเพิ่มสบายใจให้กับตัวเองเท่านั้น
“ปัจจุบันมีสูงอายุมากกว่า 100 คน และส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ 70-80 ปี เข้ามาปรึกษาเรื่องการสมัครงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพราะรายได้จากเงินบำนาญเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ส่วนตำแหน่งงานที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ งานธุรการ และพนักงานทำความสะอาด”
หากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2544-2561 กลุ่มคนสมัครงานส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นอายุ 25-29 ปี ที่มีความต้องการสมัครงานตำแหน่งฟูลไทม์มากกว่างานพาร์ตไทม์ แต่เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนหางาน โดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2023 กลุ่มวัยรุ่นอายุ 25-29 ปีกลับลดลงจาก 1.9 แสนคน เป็น 1 แสนคน ในขณะที่กลุ่มผู้อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป กลับเพิ่มขึ้นจาก 1.4 แสนคน เป็น 2.5 แสนคน
สะท้อนให้เห็นว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุที่หางาน 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 5% ขยับขึ้นมาเป็น 13% เพราะทุกวันนี้จำนวนประชากรสูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกฎหมายแรงงานก็มีส่วน เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวญี่ปุ่นจะเกษียณอายุงานไม่เกิน 65 ปี แต่สำหรับคนอายุ 65-70 ปี ก็ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นๆ จะพิจารณาความเหมาะสม
ทั้งนี้ในบางบริษัทที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานก็เริ่มหันมาจ้างผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะงานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง เริ่มตั้งแต่การให้อาหาร อาบน้ำ และทำความสะอาด โดยที่ผ่านมาจำนวนผู้สูงอายุที่ทำงานด้านการพยาบาลเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในระยะเวลา 4 ปี
อ้างอิง: