×

เงินเฟ้อพุ่งทั่วโลก! ดัชนี CPI อังกฤษวิ่งแตะ 5.4% สูงสุดรอบ 30 ปี ขณะที่บอนด์ยีลด์ 10 ปีของเยอรมันเป็นบวกครั้งแรกรอบ 2 ปีครึ่ง

19.01.2022
  • LOADING...
เงินเฟ้อ

สถานการณ์เงินเฟ้อในตอนนี้ปรับเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และล่าสุด สหราชอาณาจักรได้รายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2021 พุ่งแตะ 5.4% สูงสุดในรอบ 30 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดพอร์ตลงทุนระบุว่า ต้องจับตาที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรต่อ แม้ว่าจะเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วก็ตาม ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ของเยอรมันก็เริ่มสะท้อนผลกระทบจากเงินเฟ้อเช่นกัน ล่าสุดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี เป็นบวกในรอบ 2 ปี 6 เดือน 

 

สหราชอาณาจักรเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปีในเดือนธันวาคม 2021 มาอยู่ที่ระดับ 5.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งมากกว่าดัชนี CPI ในเดือนพฤศจิกายนที่ตัว 5.1% และเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1992

 

สำนักข่าว Reuters รายงานผลสำรวจจากนักวิเคราะห์ พบว่าส่วนใหญ่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนี CPI ของสหราชอาณาจักรจะอยู่ที่ระดับ 5.2% ในเดือนธันวาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี และหากเทียบเป็นรายเดือน ดัชนี CPI เดือนธันวาคม 2564 ของสหราชอาณาจักรปรับตัวขึ้น 0.5% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.3%

 

ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นเช่นนี้อาจทำให้ธนาคารกลางอังกฤษพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยตลาดได้จับตามองการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 3 กุมภาพันธุ์นี้อย่างใกล้ชิด 

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางอังกฤษเป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรกที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.25% ในเดือนธันวาคม 2021 ที่ผ่านมา หลังจากรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด

 

ธนาคารกลางอังกฤษยังต้องดำเนินนโยบายท่ามกลางสถานการณ์ตลาดแรงงานที่ตึงตัวเช่นกัน ด้วยอัตราการว่างงานที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางอัตราการจ้างงานที่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด

 

พอล เคร็ก ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของ Quilter Investors กล่าวว่า การดำเนินนโยบายในเดือนธันวาคม ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการตัดสินใจด้านนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษอย่างชัดเจน แต่การประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ก็ยังถูกจับตามอง 

 

“กนง. จะต้องเผชิญกับตัดสินใจที่ยากลำบากระหว่างการสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ และจะช่วยเหลือครัวเรือนให้รับมือกับวิกฤตค่าครองชีพที่กำลังบีบคั้นการใช้ชีวิต ไม่ใช่แค่ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ค่าแรงก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการกลับสู่สภาวะปกติ” เคร็กกล่าว

 

ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ตัวเลขการเติบโตของค่าจ้างรายปีที่ 3.8% ในเดือนธันวาคม ซึ่งบ่งชี้ว่าคนงานกำลังเผชิญกับการลดลงของค่าจ้างตามเงื่อนไขจริง และระบุว่าขณะนี้กำลังเกิดความกังวลว่าความยากจนในการทำงานได้เกิดขึ้นแล้วขึ้นจริงๆ และกำลังขยายตัว

 

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ของเยอรมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่แดนบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง หรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 

 

โดยในเดือนพฤษภาคม 2019 เป็นครั้งสุดท้ายที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของเยอรมันอยู่เหนือศูนย์ จากการดำเนินนโนยบายแบบผ่อนปรนของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่เริ่มกดดันให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนติดลบหมายความว่ารัฐบาลเยอรมันระดมทุนจากนักลงทุนด้วยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำมาก 

 

ปัจจุบัน ECB กำลังพยายามดำเนินนโยบายการเงินให้กับสู่ทิศทางปกติอีกครั้งเมื่อเทียบกับ Fed และ BOE อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกได้ผลักดันให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าศูนย์ในที่สุด 

 

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคม ทำให้เกิดคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB 

 

ขณะที่ทาง ECB ได้ประกาศนโยบายไปเมื่อเดือนธันวาคม 2021 ว่าจะลดการซื้อสินทรัพย์รายเดือน แต่ก็ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในปี 2022

 

โดยปกติแล้ว เมื่ออยู่ในสภาวการณ์ตึงเครียดทางการเงิน ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะใช้ตลาดตราสารหนี้ในการบริหารจัดการ โดยธนาคารกลางจะเข้าซื้อพันธบัตรในประเทศเพื่อลดผลตอบแทน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลลดลง และยังลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้และการจำนองทุกประเภท

 

แต่ในสภาวการณ์ของการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด ซึ่งทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ทำให้ในตอนนี้ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังมองหาวิธีลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อลง ซึ่งล่าสุด ธนาคารอังกฤษได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 0.15% 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising