×

ผลการศึกษาพบ การเข้านอนช้ากว่าปกติ 2 ชั่วโมงในวันหยุด จะรบกวนวงจรร่างกาย และส่งผลเสียต่อสุขภาพ

14.10.2022
  • LOADING...
การเข้านอน

ผลการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า การเข้านอนช้ากว่าปกติ 2 ชั่วโมงในวันหยุดจะรบกวนวงจรร่างกายในวันธรรมดา และส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม

 

“เราพบว่าการรักษาวงจรการนอนหลับให้เป็นปกติ และไม่หลับช้ากว่าปกติในวันหยุดนั้นป้องกันไม่ให้ผู้คนรู้สึกง่วงในวันธรรมดา” คาซูฮิโร ยางิตะ ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อม ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จังหวัดเกียวโตกล่าว โดยเขาเป็นหัวหน้าทีมร่วมกับ ซาซาวากิ ยูห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยาและระบบชีววิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จังหวัดเกียวโต

 

ยางิตะกล่าวว่า คนที่จะนอนดึกในวันหยุดควรจำกัดความต่างของเวลาไว้ไม่ให้มากกว่า 2 ชั่วโมง การศึกษาดังกล่าวยังพิจารณาช่องว่างเวลาที่กว้างขึ้นด้วยรูปแบบการนอนหลับในวันธรรมดา เพื่อวัดผลกระทบต่อสุขภาพและกำหนดเวลาที่ผู้คนควรนอน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ทีมวิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 13 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ของจังหวัดเกียวโต โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน 756 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามว่าพวกเขาเข้านอนกี่โมง นอนนานเท่าใด รับประทานอาหารตอนไหน และรู้สึกง่วงระหว่างวันหรือไม่ นักเรียนต้องจดบันทึกเป็นเวลาทั้งหมด 8 วัน และคร่อมวันหยุดสุดสัปดาห์

 

เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์กับมาตรฐานคุณภาพการนอนหลับระดับสากล ทีมงานพบว่านักเรียนที่มีรูปแบบการนอนไม่ดีมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม และมากกว่าหนึ่งในสามรู้สึกง่วงมากในตอนกลางวันจนต้องงีบหลับในชั้นเรียนเป็นบางครั้ง

 

เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ได้ดีขึ้น ทีมวิจัยได้พิจารณาถึงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า ‘Social Jet Lag’ ซึ่งหมายถึงความแตกต่างของจุดกึ่งกลางระหว่างเวลาที่ควรนอนกับเวลาที่ควรตื่นในวันหยุดสุดสัปดาห์เมื่อเทียบกับวันธรรมดา

 

โดยชัดเจนว่า Social Jet Lag มากกว่า 2 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นเชื่อมโยงกับคุณภาพการนอนหลับที่ลดลงอย่างมาก และอาการง่วงนอนอย่างรุนแรงในตอนกลางวันของนักเรียน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X