×
SCB Omnibus Fund 2024

อีก 7 ปีข้างหน้า Green Tech จะมีมูลค่าสูงถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์ นวัตกรรมไหนจะครองโลก และใครจะได้ประโยชน์มากที่สุด

27.03.2023
  • LOADING...
Green Tech

อุตสาหกรรมสีเขียวจะไม่เป็นเพียง ‘กระแส’ อีกต่อไป เมื่อแต่ละประเทศ รวมถึง Big Corp ของโลก ต่างปรับเปลี่ยนธุรกิจดั้งเดิม มาลงทุนด้านเทคโนโลยีสีเขียว หรือ Green Tech มากขึ้น เพื่อสร้างความต่างและเสริมอำนาจการเเข่งขัน โดยอย่างที่เราได้เห็นกันล่าสุดคือ การที่หลายประเทศลงทุนสร้างเมืองเมตาเวิร์ส ลงทุน AI รวมถึง Green Energy 

 

สำนักข่าว AFP เปิดเผยรายงานขององค์กรการค้าและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNCTAD) ได้ข้อสรุปว่า แนวโน้มการลงทุนเทคโนโลยีนวัตกรรมสีเขียวกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ท่ามกลางข้อเสียเปรียบของประเทศที่ยากจนและประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นผู้พลาดโอกาสหากไม่รีบทำอะไร

 

UNCTAD ย้ำว่า ประเทศกำลังพัฒนากำลังวิ่งตามการลงทุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียว โดยสหรัฐอเมริกาและจีนกำลังแซงหน้าและครองพื้นที่เหล่านี้ด้วยการจดสิทธิบัตรรวมกัน 70% ของโลก

 

ที่น่าสนใจคือ มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมนี้ในช่วงปี 2563 มีการลงทุน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ แต่แนวโน้มในอนาคตภายในปี 2030 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า จะยิ่งเติบโตก้าวกระโดดถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์ และพบว่า AI มาแรงมากที่สุด

 

โดยสัดส่วนการลงทุนของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมุ่งเน้นไปที่สินค้าและบริการในลักษณะที่ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์น้อยลง ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความพร้อมในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แน่นอนว่ามักจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูง นำโดยสหรัฐอเมริกา, สวีเดน, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์

 

และในบรรดากลุ่มประเทศ BRICS รัสเซียอยู่ในอันดับที่ 31 จีนอันดับที่ 35 บราซิลอันดับที่ 40 อินเดียอันดับที่ 46 และแอฟริกาใต้อันดับที่ 56 

 

โดยหากย้อนไปก่อนหน้านี้ ปี 2561 มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2564 เพิ่มขึ้นมามากกว่า 156,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันการส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงจีนเอง ก็เพิ่มขึ้นจาก 57,000 ล้านดอลลาร์ เป็นประมาณ 75,000 ล้านดอลลาร์ แต่ทางตรงกันข้ามในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งการส่งออกทั่วโลกของประเทศกำลังพัฒนาลดลงจากกว่า 48% เหลือต่ำกว่า 33% เนื่องจากต่างมีข้อจำกัดการลงทุน ทั้งถูกครอบคลุมอินเทอร์เน็ตในชนบทและความเร็วบรอดแบนด์ที่ช้า จึงเข้าถึงโอกาสได้ยากกว่า

 

อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศด้อยพัฒนามีส่วนสนับสนุนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยกว่าหรือไม่ จึงมักประสบปัญหาในการเข้าถึงเทคโนโลยี

 

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเองก็ต้องการการลงทุนที่มากขึ้น เพื่อให้สอดรับกับสัญญาประชาคมระหว่างประเทศด้านสภาพภูมิอากาศโลก รวมไปถึงข้อตกลงการค้าที่ควรเน้นไปที่การช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการปกป้องอุตสาหกรรมสีเขียวที่เพิ่งตั้งกำแพงภาษี การอุดหนุน และการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ อีกด้วย

 

Green Tech

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising