×

ไขข้อข้องใจให้รู้เลือด: ความจริงเกี่ยวกับเลือดและการบริจาคเลือด [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
02.10.2018
  • LOADING...

เลือดอาจไม่ใช่สิ่งที่เรานึกถึงกันบ่อยๆ แต่เลือดกลับเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันกับหัวข้อครอบจักรวาลที่มีเรื่องราวให้ชวนคุยหลากหลาย ตั้งแต่สุขภาพ วิทยาศาสตร์ ความเจ็บปวด ไปจนถึงดวง ความเชื่อ นิสัยของคน แถมยังเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการแบ่งปัน

 

มาดูกันว่าเรื่องเลือดๆ ที่เราคุยกันแต่ละเรื่องมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

 

กรุ๊ปเลือดสัมพันธ์กับอะไรบ้าง

หนึ่งในกิจกรรมทายลักษณะคนยอดนิยมมักจะหนีไม่พ้นการทายกรุ๊ปเลือด กิจกรรมนี้ไม่ได้ผุดขึ้นมาเฉยๆ อย่างไร้ที่มาที่ไป แต่ย้อนสาวหาที่มาได้ตั้งแต่ประมาณปี 1930 เมื่อนักวิชาการชาวญี่ปุ่นทำการศึกษาและออกมาบอกว่าลักษณะนิสัยของคนนั้นสัมพันธ์กับกรุ๊ปเลือดจนสิ่งนี้แพร่กระจายจนได้รับความนิยมและเกิดเป็นวัฒนธรรมความเชื่อในแดนอาทิตย์อุทัย แถมยังเป็นวัฒนธรรมที่ถูกส่งต่อผ่านหลายช่องทาง เช่น ในการ์ตูนญี่ปุ่น เป็นต้น หลังจากนั้นก็มีทั้งหนังสือและตำรามากมายที่ออกมาเล่าเหมาว่าคนกรุ๊ปเลือดไหนเป็นคนอย่างไร แต่การมองว่ากรุ๊ปเลือดส่งผลต่อลักษณะนิสัยนั้นขาดการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ทำให้หลายคนไม่เห็นด้วย บ้างก็มองว่าเป็นการตัดสินคนจับเข้ากลุ่มเพียง 4 กลุ่มแบบไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ

 


บางตำราก็ว่ากันว่านิสัยที่ทำนายตามกรุ๊ปเลือดนั้นได้มาจากการถอดความตามลักษณะความสามารถในการให้และการรับเลือดของแต่ละกรุ๊ป เช่น มีการบอกว่ากรุ๊ป AB เป็นคนเห็นแก่ตัว เพราะสามารถรับเลือดจากกรุ๊ปใดก็ได้ แต่ให้เลือดได้เฉพาะคนกรุ๊ปเดียวกันเท่านั้น

 

แต่หากมองกันแบบวิทยาศาสตร์ก็มีการศึกษาเบื้องต้นที่พบว่ากรุ๊ปเลือดมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางสุขภาพในส่วนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น กรุ๊ป AB มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงสุด ซึ่งสูงกว่ากรุ๊ป O ที่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดถึง 23% ส่วนกรุ๊ป O มีโอกาสเป็นแผลเปื่อย แผลเรื้อรังง่าย ดึงดูดยุงให้มากัดมากกว่ากรุ๊ปอื่นๆ เป็นต้น แต่ประเด็นเรื่องสุขภาพก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ เป็นตัวแปรอยู่ดี

 

 

ผู้หญิงช่วงเสียเลือดประจำเดือนสามารถบริจาคเลือดได้ไหม

สาวๆ หลายคนตั้งใจเตรียมพร้อมที่จะบริจาคเลือด แต่บังเอิญเหลือเกินที่ประจำเดือนดันมาตรงกับวันที่ตั้งใจจะทำบุญพอดี เสียเลือดเยอะแล้ว หลายคนเข้าใจว่ายังไงก็ต้องพับไอเดียนี้เอาไว้ก่อน เพราะไม่สามารถเสียเลือดไปมากกว่านั้นได้อีก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุไว้ว่าประจำเดือนไม่ใช่ข้อห้ามในการบริจาคเลือด แต่จะต้องดูจากสภาพร่างกายประกอบ และคงไม่มีใครรู้สภาพร่างกายตัวเองดีไปกว่าเจ้าตัว ถ้าขณะมีประจำเดือนแล้วร่างกายทั่วไปสบายดี ไม่มีอาการอ่อนเพลีย ประจำเดือนไม่มากไปกว่าปกติก็บริจาคได้ตามปกติ


อีกหนึ่งคำถามฮอตเกี่ยวกับการบริจาคเลือดและประจำเดือนคือผู้ที่หมดประจำเดือนแล้วก็หมดสิทธิ์ในการบริจาคเลือดหรือเปล่า จริงๆ แล้วไม่มีผลต่อการบริจาคเลือดแต่อย่างใด ถ้าสุขภาพยังแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ก็สามารถบริจาคได้  

 

 

เสียเลือดให้เขาแล้วเราจะไหวเหรอ

การบริจาคเลือดแต่ละครั้งสามารถบริจาคได้ครั้งละ 350-450 ซีซี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว คิดเป็น 10-12% ของปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกายและบริจาคเลือดได้ทุกๆ 3 เดือน ต่อให้ไม่ได้บริจาคเลือด สุดท้ายแล้วเลือดก็จะหมดอายุ แล้วจะถูกทำลายที่ตับและม้าม


บริจาคเลือดแล้วเราได้อะไร ทำไมต้องบริจาค

  • การบริจาคเลือดเป็นเรื่องจำเป็น เพราะยังไม่มีสารประกอบใดๆ ที่สามารถทดแทนเลือดจากมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์  
  • เพราะผู้ป่วยต้องการเลือดทุกวินาที
  • ได้ทราบข้อมูลสุขภาพของตนเอง
  • ได้ทราบหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh
  • มีความสุข ส่งผลให้สุขภาพดี
  • และที่สำคัญเราได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกของเรานั่นเอง

 

คนรุ่นใหม่ไฟแรงเลือดดี

กลุ่มคนที่เหมาะกับการบริจาคเลือดคือคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ถ้าอย่างนั้นคงเดากันไม่ยากว่ากลุ่มที่เหมาะสมที่สุดคือเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา ไปจนถึงวัยเริ่มต้นการทำงาน แต่ข้อมูลจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติพบว่ากลุ่มผู้บริจาคเลือดที่มีอายุ 17-25 ปี มีประมาณ 8% ของผู้ที่มาบริจาคเลือดทั้งหมด   

 

 

แต่หากคุณคือวัยรุ่นที่มั่นใจว่าร่างกายพร้อม ใจพร้อม พกความกล้าแล้วไปบริจาคเลือดครั้งแรกได้ที่ Give Blood Save A Life วัยซ่า ต้องกล้าให้ Charity Concert เพราะเลือดที่คุณบริจาค 1 คนสามารถช่วยได้ถึง 3 ชีวิตอันมีค่า

 

และในคอนเสิร์ตนี้เหล่าคนดูจะเป็นได้มากกว่าผู้มอบความสุขและความหวัง แต่จะได้ทั้งความสุขและความสนุกกลับคืนมาเช่นกัน เพียงร่วมบริจาคเลือดตั้งแต่วันนี้ถึงเดือนพฤศจิกายนนี้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลทั้ง 6 แห่ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  2. สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
  3. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  4. โรงพยาบาลตำรวจ
  5. โรงพยาบาลรามาธิบดี
  6. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

นอกจากนี้คุณยังจะได้รับสิทธิ์ร่วมชมคอนเสิร์ตจากศิลปินร้อยล้านวิว ได้แก่ อะตอม ชนกันต์, Getsunova และ 25hours แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ที่ GMM Live House ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8

 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

 

แล้วคุณจะได้รู้ว่าการเป็นผู้ให้มันสนุกมาก!

 

ภาพประกอบ: Chatchai C.

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising