×

ซีอีโอโยนโจทย์วัดใจรัฐบาลใหม่ผ่าน FTI Poll ประสานเสียงเรื่องแรกต้องแก้ต้นทุนค่าไฟ

03.03.2023
  • LOADING...

ผลการสำรวจ FTI Poll ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 หัวข้อ ‘นโยบายรัฐบาลใหม่ที่ภาคอุตสาหกรรมอยากได้’ พบว่า จากการที่ประเทศไทยจะจัดการเลือกตั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคมนี้ ภาคอุตสาหกรรมมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ไทยจะได้รัฐบาลใหม่ และมีนโยบายใหม่ๆ จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจากการสำรวจความเห็นซีอีโอในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ส่วนใหญ่คาดหวังให้รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับกรอบนโยบาย 5 อันดับแรก ดังนี้

 

  1. แก้ต้นทุนราคาพลังงาน สร้างเสถียรภาพด้านพลังงานให้แก่ประเทศ 81.6% ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีพลังงานทางเลือก ปรับโครงสร้างค่าไฟ ก๊าซ น้ำมัน
  2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรม 77.3% โดยขอให้เน้นการส่งเสริม ดึงดูด จูงใจ กระตุ้นการลงทุน New S-Curve ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยี​​​และนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต     
  3. แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และ SMEs 70.6% โดยขอให้เพิ่มบทลงโทษคนกระทำผิด ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม​​ ปรับรูปแบบการขออนุมัติอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ​​ เพื่อป้องกันการทุจริต
  4. แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาคธุรกิจ 52.5% ขอให้รัฐบาลใหม่สนับสนุนเข้าถึงแหล่งเงินทุน SMEs ปรับปรุงกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ            
  5. แก้ไขปัญหาโลกร้อน Climate Change มาตรการกีดกันทางการค้า 47.8% โดยส่งเสริมอุตสาหกรรม Circular Economy นำของเสียกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่

 

ทั้งนี้ ผลสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) ข้างต้นมาจากจำนวน 255 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด โดยสรุปจาก 6 คำถาม ได้แก่

 

  1. รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญกับนโยบายในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเรื่องใด (Multiple choices)
  2. นโยบายใดช่วยแก้ไขปัญหาต้นทุนพลังงาน และการสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานให้แก่ประเทศ (Multiple choices)
  3. นโยบายใดช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม (Multiple choices)
  4. นโยบายใดช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน (Multiple choices)
  1. นโยบายใดช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาคธุรกิจ และการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs (Multiple choices)
  2. นโยบายใดช่วยรับมือกับปัญหาโลกร้อน Climate Change มาตรการกีดกันทางการค้าและการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม (Multiple choices)

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising