×

‘จิรัญญา ประชาเสรี’ บอสใหญ่แห่ง ‘ไครโอวิวา’ ธนาคารสเต็มเซลล์ ผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จตลอด 17 ปี ด้วยพลังที่อยากเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยสเต็มเซลล์ประสิทธิภาพสูงสุด [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
22.03.2024
  • LOADING...

สิ่งที่ทำให้ ‘ไครโอวิวา’ ธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์มาตรฐานระดับโลก ได้รับความไว้วางใจจากครอบครัวมากมายตลอด 17 ปี นอกจากนวัตกรรมสเต็มเซลล์มาตรฐานสากลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ USFDA ให้เป็น ‘ธนาคารสเต็มเซลล์มาตรฐานระดับสากล’ และการไม่หยุดพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ จนกลายเป็นเพียง 1 ใน 3 ของธนาคารสเต็มเซลล์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก AABB หรือสมาคมเพื่อความก้าวหน้าด้านเลือดและชีวรักษา ประเทศสหรัฐอเมริกา (Association for the Advancement of Blood & Biotherapies) ทั้งสองสาขา คือ การจัดเก็บสเต็มเซลล์ และการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์

 

 

องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งคือความแข็งแกร่งและวิสัยทัศน์ของ จิรัญญา ประชาเสรี ประธานกรรมการบริหาร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด ที่เชื่ออย่างหมดใจว่า สเต็มเซลล์ หรือ ‘เซลล์ต้นกำเนิด’ สามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้จริงจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเอง 

 

ย้อนกลับไปในวันที่จิรัญญา ว่าที่คุณแม่ลูกแฝดกำลังจะคลอดบุตร เธอไม่รู้ว่าการเก็บสเต็มเซลล์ทำไปเพื่ออะไร และเธอไม่เคยคิดเลยว่าการตัดสินใจเก็บสเต็มเซลล์วันนั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดในชีวิต

 

“แฝดคนน้องเป็นดาวน์ซินโดรม และมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้เยอะมากๆ ช่วงครึ่งปีแรกของชีวิตเข้าออกโรงพยาบาลเกือบทุกเดือน จริงๆ ตอนนั้นเรายังคิดว่าเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ ว่าสเต็มเซลล์ที่เก็บไว้จะช่วยชีวิตลูกได้ เพราะจริงๆ แล้วดาวน์ซินโดรมเป็นเรื่องของยีน สเต็มเซลล์ไม่ได้ช่วยรักษามากนัก แต่ก็ตัดสินใจลองใช้ของแฝดพี่ เพราะน้องใช้ของตัวเองไม่ได้ และก็ใช้สเต็มเซลล์จากแหล่งอื่นร่วมด้วย จนวันนี้ถึงจะไม่ได้หาย 100% แต่เขาก็เป็นเด็กแข็งแรง และสามารถไปโรงเรียนใช้ชีวิตได้ตามปกติ”

 

คงไม่ต้องอธิบายต่อว่าทำไมเธอถึงตัดสินใจเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารทันทีที่ได้รับการทาบทามจากครอบครัวโลเฮีย ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้ง

 

“บอกกับผู้ลงทุนว่าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจนี้เลยนะ ความรู้เดียวที่มีคือลูกเราเคยฉีดสเต็มเซลล์ แล้วเราก็บอกทุกคนในองค์กรว่า เรามาจากมุมของแม่ที่ใช้สเต็มเซลล์ช่วยชีวิตลูกได้ ดังนั้นสิ่งเดียวที่เราต้องการคือ พยายามมองในมุมของคนเป็นแม่ว่าถ้าเขาเจอแบบเรา สิ่งที่เขามองหาคืออะไร เราพยายามเอาความรู้สึกของคนเป็นแม่มาเป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์และนโยบาย เหนือสิ่งอื่นใดมันคือความเชื่อมั่น ต้องทำให้เขาเชื่อมั่นในธุรกิจของเรา ทุกกระบวนการต้องโปร่งใสและมีจริยธรรม สเต็มเซลล์จะต้องมีคุณภาพและบริสุทธิ์ที่สุด เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่จะช่วยชีวิตคนในครอบครัวเขาได้ในวันที่เขาต้องการ ทุกกระบวนการต้องปลอดภัย ต้องมีมาตรฐาน โฟกัสเดียวที่เรามองคือ ถ้าเด็กคนนั้นเป็นลูกเรา ถ้าคนคนนั้นคือคนในครอบครัวเรา เขาจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

 

 

17 ปีแห่งความสำเร็จ

 

17 ปีผ่านไป ไครโอวิวาเติบโตอย่างก้าวกระโดดไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี เก็บสเต็มเซลล์ได้มากกว่า 1 ล้านยูนิต ติดอันดับ Top 10 ของโลก ขณะที่จำนวนการเพาะเลี้ยง Mesenchymal Stem Cells หรือ MSCs เพื่อใช้ในการฟื้นฟูสุขภาพจากโรคเสื่อมต่างๆ สูงถึงเกือบ 9 แสนล้านเซลล์

 

แต่หากถามความสำเร็จจากมุมของจิรัญญา เธอบอกว่า “การได้มีส่วนร่วมในชีวิตที่ดีของทุกคนที่เดินมาหาเรามันชื่นใจและภูมิใจที่เราได้ทำประโยชน์ให้กับผู้คน”

 

จิรัญญาบอกว่า ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา การสื่อสารให้คนเข้าใจสเต็มเซลล์ไม่ง่าย จนถึงวันนี้คนเริ่มมีความเข้าใจเรื่องสเต็มเซลล์มากขึ้น แต่ความลึกของข้อมูลก็ยังขาด 

 

“ในช่วงเริ่มแรกการเก็บสเต็มเซลล์ถือว่ายังเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ คนยังมีความเข้าใจไม่มากนักถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ และกังวลว่าตอนเก็บสเต็มเซลล์ของลูกตอนคลอดจะเป็นอันตรายหรือไม่ แต่เมื่อทราบว่าทุกอย่างจะทำหลังจากคลอดบุตรแล้ว ให้ความรู้และความเข้าใจมากขึ้น ความกังวลในประเด็นนี้ก็ลดลง”

 

รู้จัก ‘สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมัน’ สเต็มเซลล์ที่เก็บได้จากตัวเราเอง 

 

ยิ่งพอเห็นศักยภาพของสเต็มเซลล์ เมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายก็เหมือนกับการซื้อประกัน เพราะนี่จะเป็นหลักประกันของชีวิตที่ยืนยาว สิ่งที่ไครโอวิวาพยายามทำมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทคือ การให้ความรู้ผ่านบุคลากรทางการแพทย์ และโรงเรียนแพทย์ รวมถึงให้ความรู้โดยตรงกับครอบครัวด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดคลาสคุณแม่ตั้งครรภ์ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทุกวันนี้เราก็ยังคงทำสิ่งเหล่านี้ต่อเนื่อง ประกอบกับมีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ว่าสามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ ทั้งสำหรับคนที่ป่วย และคนที่ต้องการป้องกันความป่วยหรือความเสื่อมในระยะยาว

 

ยกตัวอย่างสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ Cord Blood (CB) มีงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลจากแพทยสภาว่า สามารถใช้รักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเลือดและอื่นๆ ได้มากกว่า 85 โรค เช่น กลุ่มโรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิดต่างๆ อย่างมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคโลหิตจาง โรคธาลัสซีเมีย มะเร็งไขกระดูก โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง โรคจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เป็นต้น

 

“ตอนเริ่มต้นเรามุ่งเน้นไปที่เรื่องของสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือเท่านั้น แต่วันนี้ด้วยวิวัฒนาการและงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสเต็มเซลล์ในส่วนอื่นๆ พบว่าสเต็มเซลล์มีหลากหลายแบบ และสเต็มเซลล์บางชนิดสามารถใช้ดูแลครอบครัวได้ทั้งหมดทุกคน”

 

จิรัญญาอธิบายต่อว่า ตอนนี้สามารถเก็บสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อสายสะดือ Cord Tissue (CT) โดยสามารถใช้ฟื้นฟูกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆ เช่น อัลไซเมอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกระดูกและข้อ และยังใช้เพื่อเสริมความงาม ลดเลือนริ้วรอย นอกจากนั้นยังมีสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหุ้มรก Amnion Tissue (AT) ที่ใช้ในการฟื้นฟูโรคความผิดปกติของระบบประสาทต่างๆ เช่น โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดในสมองตีบ และออทิสติก รวมถึงรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมอื่นๆ ขณะที่สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมัน หรือสเต็มเซลล์มีเซนไคมอลจากไขมัน Adipose-Derived MSCs (ADSC) มีงานวิจัยพบว่า นอกจากจะนำมาใช้ด้านเสริมความงามของผู้ที่ได้จัดเก็บแล้ว ยังใช้ฟื้นฟูกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อม เช่น โรคกระดูกและข้อ รวมถึงโรคภูมิแพ้ตัวเอง ประเด็นอยู่ตรงที่สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมันสามารถจัดเก็บจากไขมันคนทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องใช้จากทารกเท่านั้น

 

 

“เรามองไปถึงคนที่ไม่มีโอกาสมีบุตรหรือไม่คิดจะมีบุตร ก็สามารถเก็บสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อไขมันหรือจากกระแสเลือดของตัวเองเพื่อฟื้นฟูสุขภาพตัวเองในอนาคตได้ อย่างน้อยเรามีหลักประกันสุขภาพที่ดีไว้ จัดเก็บเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายครั้ง ซึ่งโดยหลักการแล้ว ถ้าอายุเกิน 55 ปี สเต็มเซลล์ก็เริ่มสึกหรอและมีผลในการช่วยฟื้นฟูได้น้อยลง”

 

นอกจากนี้ วิวัฒนาการทางการแพทย์และการวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมายังทำให้เห็นว่า นอกจากเซลล์แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน ให้ผลในการรักษาโรคที่ต่างกันไป คนในครอบครัวเดียวกันยังนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

 

“เซลล์เนื้อเยื่อจะใช้กับคนในครอบครัวได้ ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่านี้เรานำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา พิสูจน์แล้วว่าทุกอย่างปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะสิ่งที่เราเป็นห่วงที่สุดคือคุณภาพของสเต็มเซลล์ เราเป็นสถาบันเดียวที่ได้รับการรับรองจาก AABB ทั้งการจัดเก็บและการเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสำคัญมาก เพราะหากเซลล์ต้นกำเนิดที่เก็บไม่ได้ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเราต้องการนำมาใช้ก็อาจทำให้เซลล์เหล่านั้นกลายเป็นเซลล์ที่ไม่มีคุณภาพหรือเป็นเซลล์ที่กลายพันธุ์ได้ ไครโอวิวาจึงใช้ลิขสิทธิ์การเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดแบบ Explant Technology จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการเพาะเลี้ยงเซลล์ให้มีการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ได้เซลล์ที่มีคุณภาพสูงใกล้เคียงกับเซลล์ต้นกำเนิด อีกทั้งยังจำกัดจำนวนรอบการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ไม่ให้เกิน 3 รอบ เพื่อคุณภาพสูงสุดของการเพาะสเต็มเซลล์ ทำให้ไม่เกิดการลดคุณภาพของสเต็มเซลล์ สเต็มเซลล์ไม่แก่ และสเต็มเซลล์ไม่กลายพันธุ์”

 

จากผลวิจัยพบว่า คุณภาพของสเต็มเซลล์ที่ได้รับจากการเพาะแบบ Explant Technology ทำให้ได้รับสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มากกว่าถึง 2 เท่า ได้เซลล์ตั้งต้นที่มากกว่า 3 เท่า และเซลล์ที่ได้มีชีวิตมากกว่าเดิมถึง 13%

 

“นอกจากนั้นเรายังมีระบบการจัดเก็บที่ทันสมัย มีการนำ AI มาช่วยในทุกกระบวนการ จริงๆ แล้วทีมปฏิบัติการของเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ทั้งระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ตั้งแต่การวิจัย การตรวจสอบคุณภาพ โดยทำงานผนวกกันกับ AI ทุกอย่างจะมีการดับเบิลเช็กโดยมนุษย์และเครื่องจักรควบคู่กัน เพื่อมั่นใจว่าสเต็มเซลล์ทุกยูนิตที่เก็บนั้นปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งเราเป็นผู้นำในฐานะบริษัทแรกๆ ที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเฉพาะด้านการรักษาด้วยเซลล์ เมื่อส่งไปถึงศูนย์ปลูกถ่ายจะไม่มีข้อกังวลในการใช้หรือไม่มีอันตรายต่อตัวผู้ใช้”

 

ขยายห้องปฏิบัติการใหญ่ขึ้น 3 เท่าตัว พร้อมให้บริการเดือนมิถุนายน 2567 

 

ไครโอวิวาตอกย้ำความเชื่อมั่นเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการจัดเก็บ ในฐานะหุ้นส่วนชีวิตและผู้รักษาทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางจิตใจ ด้วยแผนการขยายห้องปฏิบัติการ แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ รวมถึงแผนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน

 

“2 ปีที่แล้วได้ดำเนินการขยายห้องปฏิบัติการในประเทศไทยให้ใหญ่ขึ้น 3 เท่า พร้อมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเทียบเท่าห้องปฏิบัติการที่ผลิตยา เพื่อรองรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะมาควบคุมธุรกิจลักษณะนี้ให้เดินหน้าอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงเป็นการรองรับฐานลูกค้าและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไครโอวิวาจะพัฒนาเพิ่มขึ้นด้วย”

 

 

ปัจจุบันไครโอวิวามีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและครอบคลุมการให้บริการทั่วทั้ง 4 ทวีป ทั้งในอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย มีเครือข่ายการให้บริการมากกว่า 20 ประเทศ และมีห้องปฏิบัติการและธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน AABB แล้วถึง 4 แห่ง

 

การมีเครือข่ายที่ครอบคลุม จิรัญญาบอกว่าจะเอื้อประโยชน์มากมายให้กับคนไข้ และรองรับความต้องการของลูกค้าที่ต่างกันในแต่ละประเทศ

 

“ยกตัวอย่างการเก็บสเต็มเซลล์ในประเทศไทย แต่ขอไปฝากเก็บที่สิงคโปร์เผื่ออนาคตมีแผนที่จะรักษาตัวที่สิงคโปร์ จะได้ไม่ต้องมีการขนย้ายภายหลัง เนื่องจากการขนย้ายมีโอกาสที่สเต็มเซลล์จะเสียหาย ข้อดีอีกด้านของการมีเครือข่ายใน 20 ประเทศ เท่ากับว่าเราสามารถหาคนที่จะให้คำปรึกษาลูกค้าได้ทั่วโลก หรือแม้แต่ช่วยหารายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์ปลูกถ่ายในประเทศนั้นๆ หรือกรณีที่สเต็มเซลล์ที่เก็บไว้ไม่พอ ก็สามารถเช็กกับธนาคารโลกได้ว่ามียูนิตที่แมตช์กันและสามารถแบ่งปันได้”

 

ส่งต่อความเชี่ยวชาญผ่านองค์ความรู้และโครงการมอบทุน

 

ไครโอวิวามองตัวเองเป็น ‘Bank of Life’ หรือธนาคารในการสร้างชีวิตที่ดี โดยตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ศาสตร์สเต็มเซลล์ในการรักษา และมีความประสงค์ที่จะสร้างประโยชน์ตอบแทนสังคม นอกจากการอัปเดตงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้กับวงการแพทย์ ยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ร่วมกับสถาบันต่างๆ เป็นระยะ

 

อีกหนึ่งวิธีที่จะขยายผลความเชี่ยวชาญและคุณค่าที่องค์กรมีคือ โครงการที่ทำร่วมกับองค์กรต่างๆ ล่าสุดได้มอบเงินบริจาคจากโครงการ ‘ส่งต่อรอยยิ้มจากความสุข…ไม่รู้จบ’ เพื่อร่วมสมทบทุนมหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กองทุนเพื่อผู้ป่วยเด็ก-สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี กองทุนปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดกุมารเวชศาสตร์ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 

 

 

“เราทราบมาว่าทางศิริราชกำลังหาทุนในกองทุนปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดกุมารเวชศาสตร์ เป็นโอกาสให้เราได้ทำโครงการ ‘ส่งต่อรอยยิ้มจากความสุข…ไม่รู้จบ’ และสามารถหาเงินทุนได้ก้อนหนึ่งเพื่อทำประโยชน์ร่วมกับทางศิริราช ช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กโรคเลือด มะเร็ง หรือโรคทางกรรมพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทั่วไป และมีความจำเป็นต้องปลูกถ่ายไขกระดูก หรือปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด เพื่อเพิ่มโอกาสให้หายจากโรค”

 

ที่ผ่านมาไครโอวิวาทำโครงการดีๆ มากมาย เช่น ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ให้กับเด็กที่มีสัญชาติลาว โดยใช้สเต็มเซลล์ของน้อง จนหายขาดจากโรคธาลัสซีเมีย โดยทางไครโอวิวาเก็บสเต็มเซลล์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 

 

“ไม่ว่าฐานะทางสังคมอยู่ระดับไหน ทุกคนควรได้รับโอกาสที่ดีที่จะได้รักษาโรค และการเก็บสเต็มเซลล์ควรเป็นเรื่องที่ใครก็เข้าถึงได้ นอกจากการช่วยเหลือผ่านโครงการต่างๆ เราจะช่วยเขาด้วยการวางแผนการเงิน ตอนนี้สัดส่วนคนไทยที่เก็บสเต็มเซลล์ถือว่าน้อยมากๆ ในขณะที่ต่างประเทศมีคอนเซปต์ Public Bank ประชาชนสามารถบริจาคให้ธนาคารกลางเพื่อให้คนอื่นได้ใช้ประโยชน์ ประเทศไทยก็มีโรงเรียนแพทย์ที่ทำตรงนี้ แต่ก็เป็นจำนวนที่น้อยมากเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำการปลูกถ่ายสูง เราพร้อมจะมีส่วนร่วมกับระบบสาธารณสุขหรือการจับมือกับรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนด้านสาธารณสุข หาบุคลากรที่มีความรู้มาฝึกให้กับแพทย์ในประเทศไทย ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการต่างๆ ในการรักษา เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ถ้าในอนาคตสามารถรักษาด้วยสเต็มเซลล์ได้ และคนมีสุขภาพดีขึ้น ระบบสาธารณสุขจะไม่ต้องรับภาระหนัก”

 

 

มุ่งสร้างความตระหนัก…การเก็บสเต็มเซลล์คือส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ดี

 

เมื่อถามถึงแผนต่อไปขององค์กร จิรัญญาบอกว่า มีสองแกนที่จะเดินหน้าเต็มกำลัง หนึ่งคือเรื่องของเทคโนโลยีที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้ยีนในการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขอาการป่วยต่างๆ รวมถึงการสร้างความตระหนักให้คนไทยเข้าใจว่าการเก็บสเต็มเซลล์คือส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ดี

 

“อยากให้มองเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์แบบที่เราอยากมี การเก็บสเต็มเซลล์ก็เหมือนการวางแผนที่ดีในเรื่องสุขภาพ เราพูดเรื่อง Wellness มากว่า 10 ปี แต่เพิ่งจะกลายเป็นเทรนด์ในเมืองไทยไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ยังคงทำต่อไปคือการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมสเต็มเซลล์ให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตอนนี้เราได้ลงนามกับสถาบันชั้นนำของประเทศเพื่อร่วมสร้างงานวิจัยและขยายเครือข่ายสถานพยาบาลมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการสร้างสังคมคุณภาพด้าน Health & Wellness”

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising