×

ประวัติศาสตร์มีมูลค่า จีนเดินหน้าจดทะเบียนมรดกโลก หวังชิงอันดับหนึ่งจากอิตาลี

04.12.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins read
  • ปัจจุบันมรดกโลกของประเทศจีนที่ผ่านการรับรองขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีอยู่ 52 อย่าง ตามหลังอันดับ 1 อย่างอิตาลีเพียง 1 อย่างเท่านั้น
  • จีนมีความพยายามอย่างมากในการชิงตำแหน่งเจ้ามรดกโลก ไม่ว่าจะผ่านการอัดฉีดเงิน ตลาด หรือกำลังคนเข้าไปในโครงการต่างๆ เทียบกับอิตาลีที่ลงทะเบียนเพิ่มอีก 5 อย่างนับตั้งแต่ปี 2013 ขณะที่จีนลงทะเบียนเพิ่มไป 29 อย่าง
  • ท่ามกลางแนวทางหันมาอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ หลายฝ่ายก็ไม่ได้เห็นด้วยต่อรัฐบาลจีนนัก การจดทะเบียนอุทยานอนุรักษ์เขอเข่อซีหลี่เป็นมรดกโลกในปีนี้ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง เนื่องจากทางการเสนอให้เป็นพื้นที่ปลอดมนุษย์ แม้ชนเผ่าทิเบตจะอาศัยอยู่มานาน เป็นเหตุให้หลายคนต้องอพยพอย่างไม่เต็มใจ

แต่ก่อนประวัติศาสตร์เคยเป็นสิ่งที่คอมมิวนิสต์จีนต้องการจะลบล้างออกไป แต่ตอนนี้รัฐบาลจีนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญ พร้อมหวังผลักดันประเทศให้เป็นที่หนึ่งในด้านมรดกโลก

ปัจจุบันมรดกโลกของประเทศจีนที่ผ่านการรับรองขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีอยู่ 52 อย่าง ตามหลังอันดับ 1 อย่างอิตาลีเพียง 1 อย่างเท่านั้น

 

 


จีนเริ่มลงทะเบียนมรดกโลกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังติดมรดกโลกครั้งแรกในปี 1987 หรือ 15 ปีให้หลังการเปิดตัว UNESCO

แดนมังกรได้ลงทะเบียนการขับร้องเพลงด้วยลำคอของชาวมองโกเลีย สะพานไม้ และงิ้วแบบต่างๆ ในประเทศในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้วย

 


จีนมีความพยายามอย่างมากในการชิงตำแหน่งเจ้ามรดกโลก ไม่ว่าจะผ่านการอัดฉีดเงิน ตลาด หรือกำลังคนเข้าไปในโครงการต่างๆ เทียบกับอิตาลีที่ลงทะเบียนเพิ่มอีก 5 อย่างนับตั้งแต่ปี 2013 ขณะที่จีนลงทะเบียนเพิ่มไป 29 อย่าง

จังหวัดต่างๆ ในจีนก็ไม่น้อยหน้าเช่นเดียวกัน ในปี 2010 เทศมณฑลแห่งหนึ่งในมณฑลหูหนานสามารถเก็บภาษีได้ถึง 2 เท่าจากปกติ ด้วยความคาดหวังให้เขาสายรุ้งตันเซี๋ยได้รับการจดทะเบียนด้วย

 


ขณะเดียวกัน รัฐบาลซีอานเสนอแผนงบประมาณ 12,500 ล้านหยวน (61,590 ล้านบาท) เพื่อจัดการพื้นที่ในเมืองเก่าฉางอานที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น

การใช้จ่ายเงินมหาศาลย่อมหมายความว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อให้ได้ผลการลงทุนคืนด้วย แม้อาจทำให้พื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเสียหายก็ตาม โดยนับตั้งแต่อุทยานจางเจียเจี้ยถูกขึ้นมรดกโลกเมื่อ 25 ปีก่อน ก็มีอาคารใหม่ๆ ขึ้นมามากมายจนต้องมีการเรียกร้องให้บูรณะพื้นที่บางแห่งด้วย ทว่าทางการก็เปิดรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 1995 อุทยานเปิดรับนักท่องเที่ยวไม่ถึง 2 ล้านคน แต่เมื่อปีก่อนกลับมีนักท่องเที่ยวเกินกว่า 60 ล้านคน

แม้ประเทศมหาอำนาจแห่งนี้จะส่งเสริมความยิ่งใหญ่ของประเทศไปพร้อมๆ กับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในสายตาชาวโลก แต่ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนก็ยังไม่หายไป ตามรายงานขององค์กรกรีนพีซเมื่อปี 2016 แสดงให้เห็นว่ามีเหมืองเถื่อนที่ส่งผลกระทบต่ออุทยานอนุรักษ์ที่ได้รับจดทะเบียนมรดกโลกปี 2003

 


นอกจากนี้ แผนลงทะเบียนวัดที่สร้างขึ้นในราชวงศ์ถังเมื่อปี 2013 ยังรวมถึงความต้องการทุบที่พักอาศัยและทำสมาธิของพระในวัด ด้วยความต้องการนำพื้นที่ไปทำประโยชน์ด้านอื่น


ท่ามกลางแนวทางหันมาอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ หลายฝ่ายก็ไม่ได้เห็นด้วยต่อรัฐบาลจีนนัก การจดทะเบียนอุทยานอนุรักษ์เขอเข่อซีหลี่เป็นมรดกโลกในปีนี้ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง เนื่องจากทางการเสนอให้เป็นพื้นที่ปลอดมนุษย์ แม้ชนเผ่าทิเบตจะอาศัยอยู่มานาน เป็นเหตุให้หลายคนต้องอพยพอย่างไม่เต็มใจ

 

 


พวกเขามองอีกว่า การจดทะเบียนของ UNESCO จะทำให้มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น และเป็นการยากต่อการรักษาประเพณีชาวทิเบตเอาไว้

อย่างไรก็ตาม UNESCO กำลังพิจารณาข้อกำหนดให้แต่ละประเทศสามารถลงทะเบียนมรดกโลกเพิ่มได้ปีละ 1 อย่างเท่านั้น

 

Photo: AFP

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising