×

BEM BTS ขาดปัจจัยหนุนระยะสั้นจากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม และการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอาจล่าช้าออกไป

โดย SCB WEALTH
05.10.2020
  • LOADING...
BEM BTS การประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม และการต่อสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียว

เกิดอะไรขึ้น:

ภายหลังจากที่กลุ่ม บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกรณีที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ปรับเกณฑ์การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกหลังจากจำหน่ายเอกสารการประมูลแล้ว ล่าสุดกลุ่ม BTS เปิดเผยว่าศาลปกครองได้นัดไต่สวนคดีวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ขณะที่ทาง รฟม. ยังคงเดินหน้าตามกระบวนการปกติโดยกำหนดการถัดไปคือการยื่นเอกสารการประมูลวันที่ 9 พฤศจิกายน

 

สำหรับการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ BTS ยังคงไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากยังขาดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ในการพิจารณาเห็นชอบ ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

 

กระทบอย่างไร:

ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ BTS ปรับตัว 5.5%MoM และ 5.8%MoM สู่ระดับ 8.55 และ 9.80 บาท ขณะที่ SET Index ปรับตัวลง 5.1%MoM สู่ระดับ 1,245.63 จุด (ข้อมูลราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 12.30 น.)

 

มุมมองระยะสั้น:

ในระยะสั้น SCBS มองว่า ทั้ง BTS และ BEM จะขาดปัจจัยกระตุ้นในระยะสั้น เนื่องจากการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกมีแนวโน้มล่าช้าออกไปหลังจากที่ BTS ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองกรณีที่ รฟม. ปรับเงื่อนไขการประมูล โดยก่อนหน้านี้ตลาดคาดหวังว่าจะทราบผลผู้ชนะการประมูลภายในปีนี้ ซึ่งหากศาลปกครองรับฟ้องคดีนี้จะมีโอกาสให้กำหนดการประมูลล่าช้าออกไป

 

สำหรับการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ BTS นั้นก็มีแนวโน้มล่าช้าออกไปเช่นกัน โดยในก่อนหน้านี้ SCBS คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 4Q63 แต่ภายหลังจากการลาออกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทำให้ SCBS คาดว่าอาจจะไม่ได้ข้อสรุปในไตรมาส 4/63 โดยหากมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ในเดือนตุลาคม ตามที่นายกรัฐมนตรีคาดไว้ ก็จะใช้เวลาระยะหนึ่งในการทบทวนรายละเอียดของเงื่อนไขการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

 

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการครึ่งหลังปี 2563 ของ BEM และ BTS ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/63 จะไม่สร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดมากนักเนื่องจากก่อนหน้าตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้ไปแล้ว นอกจากนี้แล้วยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง ซึ่งอาจเป็น Downside Risk ต่อประมาณการผลประกอบการในอนาคตได้

 

มุมมองระยะยาว:

ในระยะยาว SCBS ยังคงมีมุมมองว่าทั้ง BEM และ BTS ยังเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงและมีกระแสเงินสดที่ชัดเจนจากการให้บริการรถไฟฟ้าและทางด่วน ซึ่งเป็นทางเลือกในการเดินทางที่ดีที่สุดและมีความจำเป็นสำหรับคนกรุงเทพฯ รวมถึงทั้ง 2 บริษัทยังคงมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างรายได้ในระยะยาว

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising