×

บ้านปู และมหิดล ปลุกพลังเยาวชนหัวใจสีเขียว เรียนรู้แนวคิดและวิธีอยู่กับโลกแบบกรีนไลฟ์สไตล์ ในค่าย ‘เพาเวอร์กรีน ปีที่ 16’ ในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
03.12.2021
  • LOADING...
บ้านปู และมหิดล

HIGHLIGHTS

4 mins. read
  • บ้านปู และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดประตูค่าย ‘เพาเวอร์กรีน’ ครั้งที่ 16 ในหัวข้อ ‘ECO Living & Learning-เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ ตอบรับ New Normal’ เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วไปประเทศไม่จำกัดสายการเรียน สร้างประสบการณ์เรียนรู้ออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัด 
  • กิจกรรมไฮไลต์คือ ‘เปลี่ยนบ้านให้เป็นแล็บ’ เรียนรู้ใน 3 หัวข้อคือ 1. การสำรวจคุณสมบัติของดินในบ้าน 2. การประดิษฐ์ถังดักไขมัน 3. การเปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยทุกคนได้รับชุดทดลองแบบจัดเต็มโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์
  • แม้ปีนี้รูปแบบการจัดกิจกรรมจะถูกปรับให้สอดรับกับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ แต่ก็ยังสอดคล้องไปกับแนวคิดของบ้านปู ‘พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา’ เพราะเชื่อมั่นว่า ‘พลังความรู้’ ที่เด็กๆ ได้รับ ไม่ว่าจากในห้องเรียน นอกบ้าน หรือที่บ้าน ก็นำมาผสมผสานกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

เวทีแห่งการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดที่ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดให้กับเยาวชนหัวใจสีเขียวได้เข้ามาเรียนรู้แนวทางการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 16 แล้ว และยังเป็นครั้งแรกที่จัดในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ ‘ECO Living & Learning-เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ ตอบรับ New Normal’

   

 

และเป็นปีแรกอีกเช่นกันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่จำกัดสาขาวิชาเข้าร่วมโครงการ เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้และประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันในลักษณะ Eco Living ทุกคนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ โดยมีเยาวชนที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมให้ความสนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการ 217 คน แต่มีเพียง 40 คน จาก 40 โรงเรียน 31 จังหวัด ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์การเข้าค่ายแบบ New Normal เรียนรู้ได้แบบไร้ขีดจำกัดร่วมกับเพื่อนต่างโรงเรียน

 

ในยุคที่วิถีชีวิตกระโดดเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น ปุ่ม Power บนคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณที่บอกให้เยาวชนทุกคนต้องหมั่นเติมพลังเพื่อเข้าสู่การเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดผ่านโลกออนไลน์  ‘ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp)’ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านหน้าจอร่วมกับเพื่อนใหม่ต่างโรงเรียนจากทั่วประเทศ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม – 21 พฤศจิกายน 2564

 

ต้องเล่าก่อนว่าสำหรับใครที่ตามติดกิจกรรมของค่ายเพาเวอร์กรีนมาโดยตลอด จะรู้ว่าสิ่งที่ทางค่ายเน้นย้ำก็คือกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Learning by Doing) และการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Learning from Experience) โดยทุกๆ กิจกรรมจะมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และคำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งหมดนี้เพื่อกระตุ้น ‘พลังความรู้’ ที่เด็กๆ ได้รับจากในห้องเรียนมาผสมผสานกับองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าค่าย และนำไปทดลองปฏิบัติ เพื่อให้เห็นว่าองค์ความรู้ที่พวกเขามีนั้นสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงพัฒนาได้อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของบ้านปูที่ว่า ‘พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา’

  

 

แม้ปีนี้รูปแบบการจัดกิจกรรมจะถูกปรับให้สอดรับกับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ แต่ก็ยังสอดคล้องไปกับแนวคิดของบ้านปูตามที่กล่าวไป เพราะบ้านปูเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่และให้ประสบการณ์ที่ต่างกัน ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน หรือแม้แต่ที่บ้านก็ตาม ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนเยาวชนที่จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เกิดการเรียนรู้ในครั้งนี้ จึงยังต้องทำควบคู่กับการปลูกฝังแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนสืบต่อไป จนเกิดเป็นหัวข้อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมเยาวชนในการร่วมหาโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามหลักปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน (ESG Principles) ที่บริษัทให้ความสำคัญและยึดมั่นมาโดยตลอด  

 

 

กดปุ่ม Power เข้าสู่โลกการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด ภายใต้หัวข้อ ‘ECO Living & Learning-เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ ตอบรับ New Normal’ 
กิจกรรมในรูปแบบออนไลน์สนุกและเข้มข้นไม่แพ้ออกค่ายจริง เริ่มกันตั้งแต่การปูพื้นฐานผ่านกิจกรรม Transformative Learning เพื่อฝึกฝนเยาวชนในเรื่องของ Hard Skill และ Soft Skill ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเรียนรู้เชิงวิทยาศาสตร์ รวมถึงการทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่จากทั่วประเทศ และเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันเป็นทีมภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทาย  

 

ก่อนจะเข้าสู่กิจกรรมไฮไลต์ที่ชาวค่ายเฝ้ารอ ‘เปลี่ยนบ้านให้เป็นแล็บ’ ไปกับ 3 กิจกรรมการทดลอง ได้แก่ 

ดักต่อไม่รอแล้วนะ ที่ได้ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้แก่น้องๆ เรื่องน้ำเสีย วิธีบำบัดน้ำเสีย และการประดิษฐ์ถังดักไขมันเพื่อใช้ในครัวเรือน
Food Waste Transformation เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะและการเปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดย ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ 

มีอยู่จริงหรือเปล่า…? สำรวจองค์ประกอบและคุณสมบัติของดินในบ้าน โดย ผศ.ดร.มณฑิรา ยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยมหิดล ชวนน้องๆ ลุกจากหน้าจอไปไปสำรวจองค์ประกอบและคุณสมบัติของดินรอบๆ บ้าน ว่าเหมาะจะนำมาปลูกปลูกพืชผักสวนครัวมากน้อยแค่ไหน

 

โดยค่ายได้จัดส่งอุปกรณ์การทดลองที่ได้มาตรฐาน ประกอบด้วยถังดักไขมัน ถังกำจัดเศษอาหารในบ้าน และชุดตรวจสอบคุณสมบัติดิน มูลค่ารวมกว่า 10,000 บาท ให้แก่เยาวชนทุกคนฟรีถึงที่บ้าน สร้างประสบการณ์การเรียนออนไลน์ที่แตกต่าง เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้จากการลงมือทำ

 

 

เรียนรู้ต่อไม่รอแล้วนะกับโลกแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดในวันถัดไป ‘Eco-Living Talk’ กิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ ที่ได้ แพท วง Klear มาแชร์ประสบการณ์และแนวคิดของการหันมาใช้ชีวิตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากจะได้รู้ว่างานอดิเรกของแพทคือการทำสวนออร์แกนิก ยังได้ Tips and Tricks ในการจัดการกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างทาง เพื่อจุดประกายไอเดียให้น้องๆ สามารถนำไปปรับใช้กับบริบทการชีวิตของตนเองได้จริง รวมถึงฝากให้เยาวชนหันมาช่วยกันตอบแทนโลก   

 

 

นอกจากนี้ยังได้ กอล์ฟ-สมโภช รวมสิน ผู้เชี่ยวชาญด้านสมาร์ทซิตี้ จากบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด มาให้ความรู้เรื่องสมาร์ทซิตี้ เพื่อให้เยาวชนได้เห็นภาพของรูปแบบการใช้ชีวิตในเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม พยายามสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลงด้วยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด

 

และปิดท้ายด้วยกิจกรรมที่น้องๆ เฝ้ารอและเฝ้าลุ้นว่าโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของทีมไหนจะชนะใจกรรมการ เพื่อชิงทุนการศึกษารวม 100,000 บาท ซึ่งโครงงานที่ว่านี้เป็นไอเดียสุดสร้างสรรค์จากการนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดในค่ายมาประยุกต์ใช้ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล น้องๆ ทั้ง 10 ทีม ทีมละ 4 คน ได้นำเสนอแนวคิดผ่านโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ความยาวประมาณกลุ่มละ 10 นาที ในวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และนี่คือโฉมหน้าทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศได้สำเร็จ  

 

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม EVIF กับโครงงาน Can’t wait

แนวคิด: การสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจาก ‘ชานอ้อย’ เช่น น้ำยาย้อมสีผม มาสก์บำรุงผิวหน้า ลิปปาล์ม ซึ่งนอกจากจะยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ลดปัญหาการเผาทำลายอ้อยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ด้วยส่วนผสมจากธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

 

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม MIRACLE RHIZOME กับโครงงาน เหง้ามัน HPL

แนวคิด: การนำเหง้ามันสำปะหลังมาใช้เป็นวัสดุทดแทนไม้ เพื่อลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า 

 

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม BEVA กับโครงงาน Adiós plástico-บ๊ายบายนะ น้อนพลาสติก

แนวคิด: การนำเหง้ามันสำปะหลังมาผลิตเป็นกล่องสำหรับขนส่งต้นไม้ มุ่งลดปริมาณการใช้พลาสติกที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายยาวนาน 

 

 

รัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสาย – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมยินดีกับเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งกล่าวว่า “การจัดโครงการเพื่อมุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้แนวทางการใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งแวดล้อมในยุค New Normal ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตนเอง จากนั้นก็ค่อยๆ ส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม ให้ได้รับทราบ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการปรับตัว เพื่ออยู่อาศัยร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การจัดค่ายเพาเวอร์กรีนทำได้ยากขึ้น แต่บ้านปู รวมทั้งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ตั้งใจที่จะสานต่อค่ายเพาเวอร์กรีนต่อไปในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเติมพลังความรู้ให้กับเยาวชนทั่วประเทศที่ไม่จำกัดเฉพาะสายวิทย์ฯ และมีความสนใจในประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พร้อมกับปลูกฝังแนวทางการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง”  

 

 

THE STANDARD ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้รางวัล และขอชื่นชมเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 16 รวมถึงเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่า 1,000 คนทั่วประเทศ ที่เคยได้เข้ามาสัมผัสและรับประสบการณ์จากค่ายดีๆ แบบนี้เช่นกัน  

 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นโครงการดีๆ จากองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม อย่างผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมดำเนินโครงการตลอด 16 ปี เชื่อว่าการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งจิตสำนึกที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการดีๆ เช่นนี้ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และสร้างบุคลากรที่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและพร้อมที่นำพลังความรู้ที่มีไปสร้างโลกใบนี้ให้น่าอยู่กว่าเดิม

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising