×

ปากน้ำโพจะไม่ใช่แค่ทางผ่านอีกต่อไป เมื่อการมาถึงของ ‘เซ็นทรัล นครสวรรค์’ จะเข้ามาเปลี่ยนเมืองรองให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวแห่งใหม่ [ADVERTORIAL]

20.01.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • การลงทุนของเซ็นทรัลพัฒนาในนครสวรรค์กว่า 5.8 พันล้านบาท บนที่ดิน 42 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 76,000 ตารางเมตร, โรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม, โรงพยาบาล และ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่ สะท้อนถึงศักยภาพของจังหวัดในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการค้าใหม่ โดยเฉพาะบทบาทในการเป็น Gateway to the North และการตั้งอยู่บน North-South Economic Corridors ที่ช่วยเชื่อมต่อภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย
  • โครงการ เซ็นทรัล นครสวรรค์มีบทบาทในการเสริมสร้างเมืองนครสวรรค์ให้เป็นจุดหมายทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยการดีไซน์ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและน่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว
  • การเปิดตัวศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่าง เซ็นทรัล นครสวรรค์’ ในวันที่ 31 มกราคมนี้ จะนำไปสู่การสร้างงานและโอกาสในการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ในชุมชน ส่งผลให้เกิดการเติบโตของตลาดแรงงานและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น

จังหวัดนครสวรรค์เป็นหนึ่งในจังหวัดที่กำลังจะมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เพราะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นทางผ่านระหว่างภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร และติดต่อกับหลายจังหวัด ทำให้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการขนส่งและการค้า

 

ด้วยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดประจำปีประมาณ 117,684 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเหนือ นครสวรรค์จึงถือเป็นจุดศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือเพราะเป็นรองเพียงเชียงใหม่เท่านั้น 

 

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้นในนครสวรรค์ โดยเฉพาะโครงการการก่อสร้างทางรถไฟที่สามารถเชื่อมต่อจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ รวมถึงการเชื่อมต่อกับประเทศเมียนมาและ สปป.ลาว ในอนาคต ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัด

 

 

อ้างอิงรายงานของประชาชาติธุรกิจที่เปิดเผยว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวของความเป็นเมืองในนครสวรรค์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการขยายพื้นที่สิ่งปลูกสร้างกว่า 14 ตารางกิโลเมตร สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตที่เข้มแข็งของจังหวัด 

 

ทั้งนี้การลงทุนขนาดใหญ่ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น การค้าปลีก, อสังหาริมทรัพย์ (โครงการศุภาลัย), อุตสาหกรรมน้ำตาลและนม รวมทั้งโครงการ ‘นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์’ Bio Hub ครบวงจรแห่งแรกของไทย ที่เกิดจากการร่วมทุนของกลุ่มบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม GGC และกลุ่มบริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS รวมเป็นกลุ่มบริษัท GGC KTIS Bio Industrial Company Limited (GKBI)

 

และขณะนี้กำลังลงทุนระยะที่ 2 ในพื้นที่ 2,000 ไร่ ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของ GKBI และ NatureWorks สหรัฐอเมริกา ซึ่งนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดการเป็นเศรษฐกิจสีเขียวในอนาคต เพิ่มโอกาสในการจ้างงานและส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจใหม่ๆ ในจังหวัด

 

จากปัจจัยเหล่านี้ จังหวัดนครสวรรค์ไม่เพียงแต่ถือเป็นจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ แต่ยังมีศักยภาพที่จะเป็นหนึ่งในจังหวัดที่นำพาประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในอนาคตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

ทว่าน่าเสียดายที่จังหวัดซึ่งมีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่เดิมว่า ‘ปากน้ำโพ’ โดยปรากฏเรียกกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจมาจากคำว่า ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นที่ปากน้ำปิง ยม และน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา กลับไม่ได้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจคึกคักมากนักในช่วงที่ผ่านมา

 

 

เมืองทางผ่าน หรือ เมืองรอง กลายเป็นอีกชื่อของ ‘จังหวัดนครสวรรค์’ แต่คำดังกล่าวนี้กำลังจะหายไป เมื่อเซ็นทรัลพัฒนา ผู้นำเบอร์หนึ่งอสังหาริมทรัพย์ไทยเพื่อความยั่งยืน และผู้พัฒนาธุรกิจศูนย์การค้าเซ็นทรัล, ที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงแรมทั่วประเทศ ตอกย้ำการเป็นผู้นำ Retail-Led Mixed-Use Development ต่อยอดแผนธุรกิจ 5 ปี (2565-2569) ประกาศโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ ‘เซ็นทรัล นครสวรรค์’

 

ที่หมายมั่นปั้นมือว่า การมาถึงของโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คน ชุมชน และช่วย Scaling Up การขยายธุรกิจของคู่ค้า ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้ประเทศ 

 

ดังเช่นโครงการมิกซ์ยูสที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่าง เซ็นทรัล โคราช รวมถึงโครงการที่อยู่ในแผนงานและได้บุกเบิกในส่วนของศูนย์การค้าไปแล้ว ได้แก่ เซ็นทรัล อยุธยา, เซ็นทรัล  ศรีราชา และเซ็นทรัล จันทบุรี

 

อย่างไรก็ตามต้องบอกว่าการตัดสินใจของเซ็นทรัลพัฒนาในการลงทุน 5.8 พันล้านบาท บนที่ดิน 42 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 76,000 ตารางเมตร, โรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม และ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่ นอกจากนี้ยังมี Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาลชั้นนำที่เชื่อมโยงอยู่บน Master Plan ของโครงการ ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการประเมินศักยภาพทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสะท้อนถึงการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากหลายมิติ

 

นั่นเพราะนครสวรรค์ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘New Rising Economic City’ และ ‘Gateway to the North’ ตั้งอยู่บน North-South Economic Corridors (NSEC) ซึ่งเป็นแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ การลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงและทางรถไฟทางคู่เป็นตัวเร่งที่ช่วยพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เซ็นทรัลพัฒนามองเห็นถึงศักยภาพของจังหวัดนี้ 

 

 

อีกทั้งการเป็นเมืองที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมไทย-จีน ที่เป็นเอกลักษณ์ใน ‘เมืองปากน้ำโพ’ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชุมชนชาวจีนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจังหวัด รองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต

 

ทำให้เซ็นทรัลพัฒนามองเห็นความเป็นไปได้ของนครสวรรค์ในการเป็น ‘Hub of Cultural Tourism’ ด้วยการดีไซน์ศูนย์การค้าที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน เป็นจุดดึงดูดที่ทำให้นครสวรรค์ไม่เพียงแต่เป็นเมืองผ่าน แต่ยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าสนใจและต้องหยุดแวะพัก

 

จากข้อมูลที่ระบุว่า GPP ของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ที่ประมาณ 120,000 บาทต่อปี และรายได้ครัวเรือนมีมากกว่า 21,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าในจังหวัดอื่นๆ เช่น เชียงราย สะท้อนถึงกลุ่มประชากรที่มีกำลังซื้อสูง โดยเฉพาะครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนที่เป็นกลุ่มนักธุรกิจที่คุ้นเคยกับไลฟ์สไตล์เมือง

 

โดยจากข้อมูลที่เซ็นทรัลพัฒนามี คือชาวนครสวรรค์เดินทางมาช้อปที่สาขาในกรุงเทพฯ จำนวนมาก อันดับหนึ่งคือ เซ็นทรัล ลาดพร้าว รองลงมาที่เซ็นทรัลเวิลด์ แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการดึงดูดกลุ่มนี้ให้ช้อปปิ้งในจังหวัดของตัวเอง

 

การเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในนครสวรรค์ที่เพิ่มขึ้น 6% ใน 5 ปี และราคาเฉลี่ยประมาณ 2.5 ล้านบาท ยังเป็นอีกตัวชี้วัดที่สำคัญของกำลังซื้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจในจังหวัด

 

 

และการมี Catchment Area ที่ครอบคลุมประชากรมากกว่า 1,000,000 คน จากนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ กำแพงเพชร, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี และพิจิตร แสดงถึงฐานตลาดที่กว้างขวางและมีศักยภาพสำหรับการลงทุน

 

ทั้งหมดนี้จึงเป็นศักยภาพของนครสวรรค์ที่ทางเซ็นทรัลพัฒนาไม่อยากมองข้าม จึงกลายเป็นที่มาของการลงทุนหลายพันล้านเพื่อสร้างโครงการมิกซ์ยูส ‘เซ็นทรัล นครสวรรค์’ ที่จะเข้ามาปั้นเมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่

 

เบื้องต้น ‘ศูนย์การค้าเซ็นทรัล นครสวรรค์’ จะเป็นส่วนแรกที่ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นการรวมแบรนด์ลิสต์มากที่สุดในภาคกลางตอนบนกว่า 200 แบรนด์มาไว้ในที่เดียว และยกทัพร้านค้าแบรนด์ดังที่เลือกปักหมุดโลเคชันเปิดที่เซ็นทรัล นครสวรรค์ เป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็น

 

Fashion:

adidas, Birkenstock, BEAUTRIUM, Crocs, CPS CHAPS, CC Double O, Converse, Levi’s, LYN, Lyn Around, Jaspal, Jelly Bunny, MUJI, New Balance และ Uniqlo

 

Food:

Bonchon, Boost Juice, Gaga, Kansei Sushi, Laem Charoen, Passion Brew Café, Sukishi Korean Charcoal Grill, ZEN, Fresh Me, Fuji, Inthanin, Kamu, Katsuya, KOI Thé, Laoyuan, Ochaya, Oishi Ramen, Olino, OOTOYA, Pepper Lunch, Salad Factory และ Yaki-Otori

 

IT & Specialty:

iStudio, TG Fone, Shichida, PlaySound, โรงเรียนกวดวิชานครสวรรค์สอนเสริม The G, Apex, The Klinique และ Gangnam Clinic

 

 

ไม่เพียงแต่ร้านค้าเท่านั้น ยังมีการหยิบไอคอนิก ‘ปากน้ำโพ’ ที่มีแม่น้ำ 4 สายไหลมาบรรจบกัน ผสมผสานกับ ‘Thai-Chinese Culture’ เพื่อดีไซน์ Façade (ด้านหน้าอาคาร) และโครงหลังคา ให้เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยและมีความโดดเด่น พร้อมสร้าง Good Vibes Ambience บริเวณโดยรอบศูนย์การค้าด้วย ‘ต้นเสลา’ สีม่วงชมพูสลับขาว ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ 

 

รวมถึง Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่ ที่ออกแบบให้เป็น Multi-Generation Space สำหรับทุกคนทุกวัยในครอบครัว ประกอบด้วย Playground, Pet’s Park และไฮไลต์อย่าง Longevity Hill ที่ดีไซน์ให้เป็น Vertical Walkway ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวนครสวรรค์และนักท่องเที่ยว

 

ด้วยโลเคชันที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นใจกลางเมือง ล้อมรอบด้วยสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล และสถานที่สำคัญของจังหวัด จึงเป็น Transportation Hub ที่ครบครัน เดินทางสะดวก เข้า-ออกได้ถึง 5 ช่องทาง พร้อมยกระดับความสะดวกสบายรับเทรนด์ Eco-Friendly เพื่อให้ทุกชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กับบริการ EV Charger Station รองรับลูกค้าที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเชื่อมต่อและเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อ Connecting the Dots ไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ได้

 

สิ่งที่น่าสนใจคือ การลงทุนของเซ็นทรัลพัฒนาใน เซ็นทรัล นครสวรรค์นั้นไม่เพียงแต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของนครสวรรค์เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อประเทศในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

 

1. การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น

  • การสร้างงานและเพิ่มรายได้: โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ จะสร้างงานใหม่ๆ ในชุมชน ทั้งในด้านการค้าปลีก, บริการ และอุตสาหกรรมสนับสนุน เพิ่มรายได้และโอกาสในการทำงานให้กับชาวนครสวรรค์
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น: การเปิดตัวศูนย์การค้าขนาดใหญ่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการดึงดูดนักท่องเที่ยวและลูกค้าจากจังหวัดใกล้เคียง

 

2. การเสริมสร้างโลจิสติกส์และเชื่อมต่อภูมิภาค

  • การเชื่อมต่อภาคธุรกิจ: การสร้างศูนย์การค้าใหม่ช่วยเชื่อมต่อธุรกิจในภาคกลางและภาคเหนือ รวมถึงสร้างโอกาสทางการค้าใหม่ๆ

 

3. การส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

  • ศูนย์กลางการท่องเที่ยววัฒนธรรม: ด้วยการดีไซน์ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน โครงการนี้ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นและทำให้นครสวรรค์เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
  • การเพิ่มความหลากหลายในการท่องเที่ยว: การสร้างศูนย์การค้าที่ผสานวัฒนธรรม จะเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งในแง่ของการช้อปปิ้งและการสัมผัสวัฒนธรรม

 

4. การพัฒนาศักยภาพของชุมชน

  • การพัฒนาทักษะและการศึกษา: การเติบโตของธุรกิจและบริการใหม่ๆ จะดึงดูดทักษะและการศึกษาที่เพิ่มขึ้น สร้างโอกาสให้กับชาวนครสวรรค์ในการพัฒนาทักษะและความรู้
  • การสนับสนุน SMEs ท้องถิ่น: ศูนย์การค้าใหม่อาจให้โอกาสแก่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางในท้องถิ่นในการเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้นและลูกค้าใหม่ๆ

 

5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติ

  • การกระจายความมั่งคั่ง: โครงการนี้ช่วยในการกระจายความมั่งคั่งและการพัฒนาไปยังพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ส่งเสริมการเติบโตที่สมดุลในทุกภูมิภาคของประเทศ
  • การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย: การลงทุนและการพัฒนาในจังหวัดนครสวรรค์ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยรวม โดยการสร้างตลาดใหม่และเพิ่มการบริโภคในประเทศ

 

 

ดังนั้น การลงทุนของเซ็นทรัลพัฒนาในนครสวรรค์ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างกำไรให้กับบริษัทเท่านั้น แต่ยังส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น การพัฒนาสังคม และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยรวม

 

 

แต่เหนือสิ่งอื่นใดอย่าลืม! วันที่ 31 มกราคม 2567 มาปักหมุดและเช็กอินที่ ‘เซ็นทรัล นครสวรรค์’ มิกซ์ยูสโมเดลใหม่แห่งอนาคต ภายใต้คอนเซปต์ ‘สุขทุกวัน ที่สวรรค์นคร’ ศูนย์กลางการใช้ชีวิตแห่งภาคกลางตอนบน ยกระดับและเชื่อมต่อทุกไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ ตอบโจทย์ทุกเจเนอเรชัน

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising