×

AIS ผนึกดีป้า และเครือข่ายพันธมิตรภูเก็ต เปิดตัวโครงการ ‘กักตัวบนเรือยอชต์’ พร้อมใช้สายรัดข้อมืออัจฉริยะติดตามข้อมูล

08.03.2021
  • LOADING...
AIS ผนึกดีป้า และเครือข่ายพันธมิตรภูเก็ต เปิดตัวโครงการ ‘กักตัวบนเรือยอชต์’ พร้อมใช้สายรัดข้อมืออัจฉริยะติดตามข้อมูล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) พร้อมด้วย AIS, ผู้ให้บริการ POMO, กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทยในภูเก็ตได้ร่วมกันเปิดตัว ‘โครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ (Digital Yacht Quarantine)’ ครั้งแรกในประเทศไทย ผ่านการใช้นวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) ในการติดตามข้อมูลผู้กักตัว

 

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า “วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และสร้างความเสียหายเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในปี 2563 ภูเก็ตสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวสูงกว่า 320,000 ล้านบาท”

 

ด้านธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า “AIS มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและขีดความสามารถของทีมงานมายกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 

 

“ซึ่งโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ – Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย เป็นการนำเทคโนโลยีการเชื่อมต่อสื่อสารภายใต้โครงข่าย AIS NB-IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ” (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มาผสานการทำงานร่วมกัน 

 

“โดยใช้เครือข่าย Narrow Band IoT ที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนคลื่น 900 MHz ที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้มากกว่า 10 กม. พร้อมด้วยแพลตฟอร์มคลาวด์มาเป็นเครือข่ายหลักเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พีเอ็มเอช โฮลดิ้ง หรือ POMO ผู้ให้บริการโซลูชัน Tracking และ Monitoring ที่จะมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Monitoring) ของนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ สัญญาณชีพจร รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ ในระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือก่อนเดินทางขึ้นบกเพื่อท่องเที่ยวต่อไป”

 

ขณะที่ ตัญญุตา สิงห์มณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ซุปเปอร์ยอชท์ จำกัด ในฐานะตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA) เปิดเผยว่า “ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเรือยอชต์สูญเสียรายได้มากถึง 50- 60% เราจึงพยายามหาโซลูชันให้คนในธุรกิจเรือยอชต์ได้กลับมามีงานทำ จึงเป็นที่มาของโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ ที่ได้ร่วมมือกับ AIS, ดีป้า, PMH-ผู้ให้บริการ POMO กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ ยกระดับ Digital Yacht Quarantine นี้ 

 

“โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2564 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยเรือยอชต์ประมาณ 100 ลำ จำนวนนักท่องเที่ยว 300-500 คน”

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising