×

สร้างธุรกิจ Social Enterprise อย่างไรให้ ‘กำไรก็ได้ สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ดี’ บทเรียนล้ำค่าจากโครงการ ‘Accelerate Impact with PRUKSA’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.11.2022
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • แม้หลายองค์กรจะยืนกรานว่าธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ไม่ได้เอากำไรเป็นตัวตั้ง และควรต้องตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่พฤกษาเชื่อว่า ‘ใจเพื่อสังคม’ และ ‘กำไร’ ควรคิดและเดินหน้าไปพร้อมกัน
  • ‘Accelerate Impact with PRUKSA’ โครงการที่เฟ้นหาธุรกิจเพื่อสังคมมาร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมโดยที่พฤกษาจะสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน คำปรึกษาด้านธุรกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการไทย และเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณไม่ต้องเริ่มต้นด้วยการนับศูนย์
  • 5 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp ‘ค่ายอุ่นเครื่องสตาร์ทอัพ’ โปรแกรมพัฒนาธุรกิจอย่างจริงจังเป็นเวลา 3 เดือน ได้เวิร์คช้อปการนำเสนอแผนธุรกิจโชว์เคสอย่างมืออาชีพ และเงินสนับสนุนขั้นต่ำทีมละ 600,000 บาท

โมเดลธุรกิจแบบ Social Enterprise หรือ SE ที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ และไอเดียเจ๋งๆ จากความตั้งใจดีของคนทำธุรกิจมากมายที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเมืองไทย เพราะโมเดลนี้ใช้ ‘ใจ’ อย่างเดียวไม่พอ ต้องสร้างผลกำไรได้พอที่จะทำให้กิจการเจริญเติบโตต่อไปได้

 

 

โดยธรรมชาติของธุรกิจ SE มักเริ่มต้นจากคนทำธุรกิจมองเห็น ‘ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม’ ที่อยากจะแก้ แม้หลายองค์กรจะยืนกรานว่าธุรกิจ SE ไม่ได้เอากำไรเป็นตัวตั้ง และควรต้องตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ในมุมมองของ อุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เชื่อว่า ‘ใจเพื่อสังคม’ และ ‘กำไร’ ควรคิดและเดินหน้าไปพร้อมกัน

 

 

‘พฤกษา’ คือตัวอย่างที่ดี นับตั้งแต่ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งพฤกษาในปี 2536 ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพในราคามิตรภาพได้ จนถึงวันนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 พฤกษายังคงดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจที่จะร่วมสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนและสร้างโอกาสที่ดีให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

 

“ถ้าพฤกษาทำได้ ธุรกิจที่ต้องการสร้างคุณค่าให้สังคมและสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนเหมือนที่พฤกษาทำมาตลอด 30 ปีก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะทำอย่างไรที่ไม่ใช่แค่การมอบเงินบริจาค เพราะเราต้องการส่งเสริมธุรกิจให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับสังคมและมีความยั่งยืนต่อไป” อุเทนกล่าว

 

นำไปสู่จุดเริ่มต้นของ ‘Accelerate Impact with PRUKSA’ โครงการที่เฟ้นหาธุรกิจมาร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม พร้อมสร้างกำไรให้องค์กร สร้างความยั่งยืนให้ตัวเองได้ด้วย โดยที่พฤกษาจะสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน คำปรึกษาด้านธุรกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการไทย และเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณไม่ต้องเริ่มต้นด้วยการนับศูนย์ 

 

โดยมีข้อกำหนดที่ว่า บริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้ต้องมี Double Profit ธุรกิจคุณต้องทำกำไรและต้องทำเพื่อสังคม ถ้าไม่มี 2 สิ่งนี้แสดงว่าความคิดการทำเพื่อสังคมของคุณผิด

 

 

บริษัทแบบไหนที่พฤกษาเฟ้นหา

อุเทนอธิบายต่อว่า ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ที่มองหา นอกจากจะมีพันธกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามมติขององค์การสหประชาชาติแล้ว ยังต้องมีเป้าหมาย Double Bottom Lines ควบคู่กันทั้งสองด้าน คือ

 

  • ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ด้วยการสร้างและเสริมทักษะที่จำเป็นต่อโอกาสทางการงาน เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาให้สามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพเทียบเท่ากัน หรือเพื่อแก้ไขปัญหาทักษะที่ไม่ตรงกับงาน การพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และการเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) รวมทั้งการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ เพื่อลดช่องว่างของรายได้ให้กับประชาชนทุกคน 
  • การสร้างสังคมและที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน หรือวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสังคมผู้สูงวัย ครอบคลุมเรื่องความปลอดภัย ยืดหยุ่น และยั่งยืนสำหรับผู้สูงอายุ และยังต้องสร้างนวัตกรรมเชิงรุกด้านการดูแลผู้สูงวัย เพื่อช่วยให้ผู้สูงวัยมีจุดมุ่งหมายใหม่ในชีวิตได้ หรือ Renewed Purpose in Life

 

“เรามีคณะกรรมการภายในของพฤกษา และเชิญคณะกรรมการภายนอกมาช่วยคัดกรอง เพราะนอกจากกฎเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น เรายังดูด้วยว่าบริษัทนั้นๆ มีนวัตกรรม บริการ สินค้า หรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนหรือไม่ ที่สำคัญคือต้องดำเนินการไปแล้ว ไม่ใช่แค่เขียนแผนธุรกิจมาขอเงินลงทุน ต้องลงมือทำจริง ประเด็นต่อมาคือ ต้องเป็นบริษัทที่มุ่งหวังสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ เพราะถ้าทำแล้วขาดทุน เท่ากับว่าบริษัทคุณไม่มีความยั่งยืนในการให้บริการต่อ ก็ยังไม่เข้าเกณฑ์ Social Enterprise ที่เราต้องการสนับสนุน สุดท้ายคือดูว่าเขามีใจที่จะช่วยเหลือสังคมจริงหรือเปล่า หรือต้องการสร้างให้ตัวเองประสบความสำเร็จเป็นยูนิคอร์น เข้าตลาดแล้วขายหุ้นทิ้ง แต่ไม่มีใจในการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม เราก็ไม่เลือก

 

“สิ่งสำคัญคือโครงการนี้ทุกบริษัทที่ได้เงินสนับสนุนถือเป็นเงินให้เปล่า เพราะไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องผูกขาดอะไรกับทางพฤกษา และไม่จำเป็นว่าบริษัทจะต้องจดทะเบียนเป็น Social Enterprise ขอให้สิ่งที่ทำเป็นกิจกรรมเพื่อ Social Enterprise เป็นธุรกิจเพื่อสังคมจริง”  

 

 

ทำไมโมเดลดี แต่ไปไม่ถึงฝัน?


เมื่อถามว่าอะไรคือจุดอ่อนของธุรกิจ SE ที่ส่วนใหญ่ไปมาถึงฝัน อุเทนมองว่า หลายคนมีใจที่จะทำเพื่อสังคม แต่ลืมคิดถึง Profit Model “ในเชิงของนวัตกรรมผู้ประกอบการต้องคิดให้ครบ ซึ่งประเทศไทยยังคุ้นเคยกับแนวคิดที่ว่าธุรกิจ SE ขึ้นอยู่กับการระดมเงินบริจาค โครงการนี้เราต้องการให้ผู้ประกอบการมีแนวคิดที่ถูกต้อง วันเปิดโครงการจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนธุรกิจ และธุรกิจ SE ที่ประสบความสำเร็จมาร่วมแชร์แนวคิดและประสบการณ์

 

“ผมเชื่อว่าทุกคนที่ตัดสินใจทำธุรกิจ SE มีความตั้งใจดีที่อยากจะช่วยเหลือสังคม แต่โมเดลที่ทำกำไรได้และทำกำไรเลยมันไม่มี ดังนั้นพฤกษาจึงมีทีมที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเทรน รวมถึงทีมของพฤกษาเองที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยคิด ช่วยทำ และผลักดันให้เขาประสบความสำเร็จ บางธุรกิจอาจจะกำลังคนไม่พอ Know-How ไม่ถึงหรือไม่สามารถเข้าตลาดได้ เราก็เข้าไปช่วย”

 

แมตช์ผู้เชี่ยวชาญและคำแนะนำให้ตรงกับธุรกิจ


5 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp ‘ค่ายอุ่นเครื่องสตาร์ทอัพ’ โปรแกรมพัฒนาธุรกิจอย่างจริงจังเป็นเวลา 3 เดือน ได้เวิร์กช็อปการนำเสนอแผนธุรกิจโชว์เคสอย่างมืออาชีพ และเงินสนับสนุนขั้นต่ำทีมละ 6 แสนบาท 

 

“เพื่อให้ธุรกิจของพวกเขาไปต่อได้จริง เราจะเตรียมผู้เชี่ยวชาญที่แมตช์กับธุรกิจของเขา เช่น ถ้าธุรกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพก็จะดึงผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลวิมุตมาช่วย ถ้าเกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยก็จะดึงคนของพฤกษามา หลักๆ คือต้องดูความต้องการของบริษัทนั้นๆ หรือถ้าเขาทำแผนธุรกิจแล้วติดปัญหาเรื่องการขยายตลาด เราก็จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาช่วย เพื่อให้เขาไประดมทุนกับบริษัทข้างนอกได้

 

“เรายังมีตัวช่วยอีกหลายอย่างที่จะมาซัพพอร์ต เช่น ถ้าบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา Data Scientist หรือ AI ต้องใช้ เราก็มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมซัพพอร์ต ใครต้องการใช้โซเชียลหรือเข้าถึงตลาดเราก็มีแพลตฟอร์มที่พฤกษาลงทุน แล้วดึงพันธมิตรและคนที่มีองค์ความรู้เรื่องนี้ของพฤกษาไปช่วยเขาทำตลาด เรียกได้ว่าบริษัทที่ได้รับคัดเลือกจะได้มาใช้ Know-How และ Tool ของพฤกษา เพื่อให้เขาต่อยอดธุรกิจได้ทันที”  


เงินสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ‘ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์’ และโอกาสรับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากพฤกษา ภายใต้ Corporate Venture Capital (CVC) 

นอกจากเงินสนับสนุนขั้นต่ำทีมละ 6 แสนบาท บริษัทที่ได้รับเลือกยังมีโอกาสได้รับเงินทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ‘ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์’

 

“เมื่อนำคอนเซปต์โครงการไปเล่าให้คุณทองมาฟัง ท่านก็ชอบมาก และขอนำเงินกองทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ ซึ่งเป็นกองทุนส่วนตัวเข้าร่วมโครงการนี้ด้วยเพื่อสมทบทุนเพิ่มเติม ที่ผ่านมาทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ดำเนินการมอบทุนสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาเพื่อสังคม 3 ด้าน คือ ศาสนา การศึกษา และพัฒนาสังคม ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 13 แล้ว ซึ่งจุดเริ่มต้นของกองทุนก็มาจากความต้องการที่จะตอบแทนสังคม

  

“แต่ถ้าบริษัทไหนต้องการเติบโตต่อและมีกรอบการทำธุรกิจที่เข้าเกณฑ์กับกรอบการลงทุนของ Corporate Venture Capital (CVC) ก็อาจได้เงินสนับสนุนเพิ่มเติม”

 

CVC เป็นกองทุนที่พฤกษาจัดตั้งขึ้นด้วยงบ 3,500 ล้านบาท โดยเน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพ 3 ด้าน คือ อสังหา (Prop Tech), สุขภาพ (Health Tech) และสิ่งแวดล้อม โดยต้องเกี่ยวโยงกับธุรกิจของพฤกษา อาทิ ‘Naluri’ สตาร์ทอัพด้าน Health Tech ที่พัฒนาแอปพลิเคชันการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ด้วยเทคโนโลยีการดูแลตัวบุคคลแบบครบถ้วน หรือ ‘AMILI’ สตาร์ทอัพจากสิงคโปร์ที่มีเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีพในลำไส้ที่มีความแม่นยำมากที่สุดแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หวังต่อยอดนำเทคโนโลยีมาใช้ ยกระดับบริการของโรงพยาบาลวิมุตและโรงพยาบาลเทพธารินทร์

 

 

สังคมจะดีกว่านี้ ถ้าทุกคนมาร่วมด้วยช่วยกันทำ

ท้ายที่สุดสิ่งที่พฤกษาคาดหวังจากการทำโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA ไม่ใช่เรื่องของการต่อยอดธุรกิจอย่างแน่นอน เพราะอย่างที่อุเทนเน้นย้ำตลอดการสัมภาษณว่าไม่มีการผูกมัด แค่อยากเห็นธุรกิจที่มีปณิธานเดียวกันทำมันได้สำเร็จ 

 

“มากไปกว่านั้นเราก็อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ในสังคมด้วย ก็หวังว่าในมุมของผู้ประกอบการโครงการนี้จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้การธุรกิจ SE

 

“แต่สำหรับพฤกษา โครงการนี้จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับองค์กร เพราะเราอยากจะปลูกฝังให้พนักงานพฤกษาเห็นว่า ทุกคนสามารถสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้ ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตัวเอง เขาสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือโครงการได้ พอเขาเริ่มลงมือทำ เขาจะเข้าใจทันทีว่ายังมีอีกหลายอย่างที่สร้างคุณค่าให้กับสังคมได้ ไม่ใช่แค่การบริจาคเงิน

 

“เหนือสิ่งอื่นใด พฤกษาอยากชวนบริษัทอื่นๆ มาช่วยกัน เพราะเชื่อว่าคนทำดีแต่เข้าถึงทรัพยากรไม่เท่ากับบริษัทใหญ่ๆ กำลังต้องการความช่วยเหลือ พฤกษาอยากส่งเสริมบริษัทเหล่านั้นให้อยู่ต่อและทำความดีให้กับสังคม สิ่งที่เราทำเป็นอีกหนึ่งวิธีที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้หลายวิธี ถ้าองค์กรใหญ่ๆ ช่วยกัน เชื่อว่าธุรกิจ SE ในเมืองไทยจะเกิดขึ้นได้อีกมากมาย”

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่เว็บไซต์ pruksaimpact.com

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising