×

บรรดาผู้ผลิตวัคซีนโควิดเดินหน้าศึกษา ‘เชื้อออมิครอน’ เตรียมพร้อมพัฒนาวัคซีน รับมือการกลายพันธ์ุ

27.11.2021
  • LOADING...
เชื้อออมิครอน

วานนี้ (26 พฤศจิกายน) บรรดาผู้ผลิตวัคซีนโควิดรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Pfizer-BioNTech, Moderna, Johnson & Johnson และ AstraZeneca เดินหน้าศึกษา ‘เชื้อออมิครอน’ (B.1.1.529) เตรียมพร้อมพัฒนาวัคซีน รับมือการกลายพันธ์ุ หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธ์ุ สายพันธุ์ออมิครอน เป็นสายพันธ์ุระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ตัวใหม่

 

โดยทีมผู้ผลิตและพัฒนาวัคซีน Pfizer-BioNTech เผยว่า พวกเขากำลังศึกษาและตรวจสอบเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธ์ุใหม่ดังกล่าว และพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาวัคซีนโดยเร็วหากมีความจำเป็น คาดว่าจะสามารถพัฒนาวัคซีน mRNA ได้ภายใน 6 สัปดาห์ และเริ่มเตรียมจัดส่งและกระจายวัคซีนได้ภายใน 100 วัน หลังจากที่ระบุข้อมูลเฉพาะของเชื้อกลายพันธุ์นี้ได้ ขณะที่ผู้ผลิตและพัฒนาวัคซีนอีก 3 รายใหญ่ก็เริ่มศึกษาเชื้อออมิครอนเช่นเดียวกัน

 

เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของแอฟริกาใต้ระบุ ไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้มีตำแหน่งการกลายพันธ์ุของยีนมากถึง 50 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่ามากผิดปกติอย่างยิ่ง โดยจะแตกต่างไปอย่างมากจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่าการกลายพันธ์ุที่ผิดปกตินี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน 

 

โดยประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดในการป้องกันการติดเชื้อจะค่อยๆ ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประสิทธิภาพในการป้องกันการมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตภายหลังการติดเชื้อยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งงานศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์ชี้ วัคซีน Pfizer-BioNTech มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อลดลงจาก 86% มาอยู่ที่ 43% จากเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ขณะที่วัคซีน Moderna มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อลดลงจาก 89% มาอยู่ที่ 58% และวัคซีน J&J ลดลง 86% มาอยู่ที่ 13% หลายประเทศจึงอนุมัติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการรับมือการกลายพันธ์ุของเชื้อไวรัสที่มีแนวโน้มจะรับมือยากขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกขณะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 

 

ภาพ: Photo Illustration by Pavlo Gonchar / SOPA Images / LightRocket via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising