×

รับมืออย่างไร เพื่อเตรียมพร้อมในธุรกิจไทยปีหน้า 2020 [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
09.09.2019
  • LOADING...
Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

HIGHLIGHTS

1 Mins. Read
  • ทุกวันนี้เกมการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไวมาก เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับสงครามการค้า (Trade War) และวิธีการที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยอยู่ได้ นั่นคือเรื่องของ Global Value Chain เราต้องเลือกว่าเราจะอยู่ตรงไหนในกระบวนการผลิตและการค้าของโลก โดยใช้หลักการ Smile Curve ที่ประกอบด้วย 2 แกนสำคัญ คือ High Value Added – Low Value Added และ Upstream – Downstream และวางเป้าหมายไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้
  • กระเป๋าเงินของลูกค้าใกล้หัวใจมากกว่าสมอง ดังนั้น ถ้าคุณทำธุรกิจที่สามารถสัมผัสกับหัวใจของลูกค้าได้ คุณก็สามารถทำกำไรได้มากกว่าสินค้าที่ซื้อด้วยสมอง เป็นเหตุผลให้เราต้องสร้างแบรนด์ไปในทิศทางดังกล่าว เพราะการแข่งขันในรูปแบบ Feature นั้นแข่งกันได้ แต่ด้าน Emotion แข่งกันยาก และมูลค่าหลักที่สำคัญของแบรนด์ที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินได้ต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืนคือ Passion
  • สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่การคัดสรรบุคคลให้เข้ามาทำงาน แต่คือการพัฒนาบุคลากรที่เรามีอยู่อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการใช้ Behavior Science และ AI ภายใต้หัวข้อหลัก 3 ประการ ได้แก่ Capability, Capacity และ Care

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกในยุคปัจจุบันนี้มีการแข่งขันทางธุรกิจอันรวดเร็ว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ ด้วยทั้งปัจจัยจากภายนอกประเทศและปัจจัยภายในองค์กรธุรกิจเอง ซึ่งในฐานะที่ TMB เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของไทยที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา Make THE Difference และได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ เพื่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจให้บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมองว่า ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเตรียมตัวรับมือถึงการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร พร้อมที่จะปรับตัวให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคงในปีหน้านี้ และปีต่อๆ ไป ภายใต้งานสัมมนา ‘Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020’ ที่ได้วิทยากรระดับกูรูในการทำธุรกิจถึง 3 ท่าน มาขยายภาพรวมให้ฟังกัน ดังนี้

 

Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

 

‘Economic Update & The Coming Trends’

คุณนริศ สถาผลเดชา Head of TMB Analytics, TMB

ทุกวันนี้เกมการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไวมาก เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งแน่นอนนี่คือปัจจัยอันดับแรกที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลกโดยตรง และทำให้เกิดการค้าที่ไม่สมดุลทั่วโลก

 

หากย้อนดูข้อมูลสถิติการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด คิดเป็นภาพรวมจำนวน 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ประเทศจีนเกินดุลการค้าอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ จุดนี้เองที่ทำให้เกิดแรงจูงใจทางการเมืองจากทางสหรัฐฯ ในการกีดกันทางการค้า ด้วยข้อกำหนดมากมายกว่าแสนข้อ รวมถึงมาตรการด้านภาษีต่างๆ กับประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ทางจีนเองก็มีมาตรการตอบโต้ โดยลดการถือครองพันธบัตรของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญของอเมริกันชนลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อีกไม่นานสหรัฐฯ ก็น่าจะไปท้าชกกับประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีต่อ แม้ว่าปัญหาด้านการค้ากับประเทศจีนจะยังไม่จบก็ตาม เนื่องจากทั้งสองประเทศนี้ถือเป็นประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลมากกว่าจีน โดยอยู่ที่ 16 และ 24 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุให้เศรษฐกิจทั้งโลกชะลอตัว

 

สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยเอง เห็นได้จากภาพรวมรายได้ต่างๆ ที่น่าจะลดลง ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก นำเข้า และภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการบริโภคของภาคเอกชน น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ปีที่แล้วที่สามารถเติบโตได้ถึง 4.6 เปอร์เซ็นต์นั้น เกิดจากการที่ผู้บริโภครายย่อยซื้อรถ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ แต่การเป็นหนี้เหล่านี้ทำให้การใช้จ่ายลดลง เพราะภาระหนี้ต่อเดือนสูงขึ้น ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจไม่สามารถเติบโตได้อย่างปีที่แล้ว

 

ส่วนภาคการเงินการธนาคาร มุมมองภายในสิ้นปีนี้ เรายังคงจะเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งค่า เนื่องจากเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวของชาวจีนเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 ซึ่งถือว่าต่ำพอสมควร และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงมาเหลือ 1.5 เปอร์เซ็นต์

 

นี่คือปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของไทยอย่างแน่นอน และวิธีการที่จะทำให้ผู้ประกอบการไทยอยู่ได้นั่นคือ เรื่องของ Global Value Chain เราต้องเลือกว่าเราจะอยู่ตรงไหนในกระบวนการผลิตและการค้าของโลก โดยใช้หลักการ Smile Curve ที่ประกอบด้วย 2 แกนสำคัญ คือ High Value Added – Low Value Added และ Upstream – Downstream และวางเป้าหมายไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้

 

Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

 

‘How to Sustain the Company’s Growth by The Legend of Lifestyle Label Brand’

คุณปรีชา นินาทเกียรติกุล General Manager MINI at BMW Group Thailand

การสร้างแบรนด์ไม่ใช่แค่โลโก้ ไม่ใช่มีแค่สโลแกนสวยหรู ไม่ใช่แค่นามบัตร เพราะแบรนด์คือสิ่งที่ซึมลึกอยู่ในทุกอณูของการทำธุรกิจ และมูลค่าหลักที่สำคัญของแบรนด์ที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินได้ต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืนคือ Passion ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของ MINI ด้วย 

 

กระเป๋าเงินของลูกค้าใกล้หัวใจมากกว่าสมอง ดังนั้น ถ้าคุณทำธุรกิจที่สามารถสัมผัสกับหัวใจของลูกค้าได้ คุณก็สามารถทำกำไรต่อหน่วยได้มากกว่าสินค้าที่ใช้สมองในการตัดสิน เป็นเหตุผลให้เราต้องสร้างแบรนด์ไปในทิศทางดังกล่าว เพราะการแข่งขันในรูปแบบ Feature นั้นแข่งกันได้ แต่ด้าน Emotion แข่งกันยาก

  

อีกเรื่องที่เป็นความยากของนักการตลาดในการปั้นแบรนด์ แม้บางครั้งคุณมีงบการตลาดเป็น 10 ล้าน ยังทำให้แบรนด์ดังไม่ได้เลย แต่บางทีลูกค้าเองเป็นคนช่วยเราแทน จากกรณีตัวอย่างของ MINI ที่มีคลิปเผยแพร่ในโลกสังคมออนไลน์ จนใครๆ ก็สนใจ MINI เพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้เราได้ Brand Awareness มากมายอย่างไม่คาดคิด เพราะทุกวันนี้มนุษย์เราใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่รับข่าวสารที่มีความเร็วและความจริงกันอยู่

 

สำหรับช่องทางการขายก็สำคัญ ยกตัวอย่างเมื่อปีที่แล้ว เปิดตัวขาย MINI ICE Blue Edition ทางออนไลน์ โดยลูกค้าที่สนใจต้องจ่ายเงินหนึ่งแสนบาท เพื่อจองสิทธิ์ก่อน ผลปรากฏว่า ขายได้ 20 คัน หมดภายใน 5 วัน เห็นได้ว่า ในปัจจุบันช่องทางออนไลน์นั้นสำคัญมาก ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อโดยที่ยังไม่ได้เห็นสินค้าของจริง

  

ถ้าเรามองแบรนด์เป็นมนุษย์คนหนึ่ง เราต้องมองลึกลงไปว่า เขาจะเป็นคนแบบไหน อายุเท่าไร มีลักษณะและไลฟ์สไตล์อย่างไร เพื่อที่คุณจะบริหารแบรนด์ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 

Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

 

‘Managing People in The New Economy’

คุณอครินทร์ ภูรีสิทธิ์ Head of Corporate Human Resources Central Group

สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่การคัดสรรบุคคลให้เข้ามาทำงาน แต่คือการพัฒนาบุคลากรที่เรามีอยู่อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะทำให้ผลผลิตของบริษัทดีขึ้น ด้วยการใช้ข้อมูลเข้ามาช่วย เพิ่มศักยภาพในด้านต่างๆ โดยใช้หลัก 3 ประการ ได้แก่ Capability, Capacity และ Care

 

เริ่มที่ Capability คือ What VS How ได้แก่ Manager Assess, Manager and Employee Discuss, Manager Regularly Follow Up และ Manager Evaluates ตัวอย่างเช่น เมื่อปรึกษากับหัวหน้าในเรื่องงาน ช่องว่างปัญหาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่เป็นหัวหน้าดีกว่า หรือเก่งกว่าลูกน้องในเรื่องดังกล่าว เรื่องอะไรที่ต้องโฟกัสก่อน จะรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนดีกับองค์กร ต้องมีการพูดคุยถึงปัญหาและแนวทางแก้ไข

 

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาจึงต้องใช้ Behavior Science กับ AI มาประกอบกัน ด้วยการวิจัยแบบใหม่ เพื่อหาเป้าหมายที่ต้องการสำหรับธุรกิจนั้น โดยให้ AI เข้ามาเก็บข้อมูลเป็นอันดับแรก และนำไปใช้ ก่อนไปสู่ขั้นตอนการติดตามผลและประเมินผล

 

Capacity คือ หยุดการเสียเวลาไปอย่างไร้ค่า บุคลากรทุกคนต้องใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ด้วยการใช้ Data มาประเมินผล ตัวอย่างเช่น บางบริษัทมีการประชุม ใช้เวลาไปถึง 210,000 ชั่วโมงต่อปี และมีจำนวนพนักงานที่เข้าร่วมประชุมถึง 105 คน ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองเวลาและบุคลากรในการทำงานอย่างมาก

 

และสุดท้าย Care คือ ต้องเป็นบุคลากรที่มีทัศนคติเข้ากับองค์กรได้ดี

 

เห็นได้ว่า ปัจจัยข้างต้นมีผลต่อธุรกิจ ได้แก่ เศรษฐกิจโลก การทำการตลาด และทรัพยากรมนุษย์ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่นักธุรกิจและผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไป เพื่อธุรกิจเราจะได้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน

 

Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

Shaping Thailand’s Competitive Edge 2020

ภาพบรรยากาศภายในงาน

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising