×

วิจัยเผย ‘การนอนน้อย’ อาจทำให้ ‘เห็นแก่ตัว’ แม้ไม่ได้นอน 1 ชม. ก็มากพอที่จะส่งผลต่อการช่วยเหลือผู้อื่น

09.09.2022
  • LOADING...
การนอนหลับ

HIGHLIGHTS

1 Min. Read
  • การศึกษาโดยใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูการทำงานของสมองจากผู้ทดลอง 24 คน หลังหลับไป 8 ชั่วโมง และหลังนอนไม่หลับทั้งคืน พบว่าโครงข่ายประสาทเทียมซึ่งเป็นส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตใจ มีความกระตือรือร้นน้อยลงหลังจากอดนอน

การนอนหลับได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในวิธีพักผ่อนที่ส่งผลดีต่อร่างกาย จิตใจ ระบบประสาท และสมองของมนุษย์ ซึ่งหลายคนอาจได้เห็นข้อเสียหรือโทษของการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เต็มอิ่มกันมาบ้างแล้ว โดยในงานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า การนอนน้อยอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการเห็นแก่ตัวได้

 

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Biology ระบุว่า การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลต่อแนวโน้มที่จะช่วยเหลือบุคคลอื่น โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ได้วิจัย 3 เรื่องในสหรัฐอเมริกา ซึ่งวิเคราะห์ผ่านการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบประสาท และพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จนพบว่าการเห็นแก่ตัวสามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะไม่ได้นอนเพียงไม่กี่ชั่วโมง

 

Ben Simon นักวิชาการด้านจิตวิทยาดุษฎีบัณฑิตจากศูนย์วิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ กล่าวว่า “แม้ไม่ได้นอนเพียง 1 ชั่วโมง ก็ถือเป็นเวลาที่มากเกินพอที่จะส่งผลต่อการช่วยเหลือผู้อื่น” และเมื่อดูฐานข้อมูลการบริจาคเพื่อการกุศล 3 ล้านครั้งระหว่างปี 2001-2016 พบว่าการบริจาคลดลง 10% ในรัฐที่มีการปรับเวลาให้เร็วขึ้น (Daylight Saving Time) เมื่อเทียบกับรัฐที่ไม่มีการปรับเวลา

 

ในการศึกษาโดยใช้การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูการทำงานของสมองจากผู้ทดลอง 24 คน หลังหลับไป 8 ชั่วโมง และหลังนอนไม่หลับทั้งคืน พบว่าโครงข่ายประสาทเทียมซึ่งเป็นส่วนต่างๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตใจ มีความกระตือรือร้นน้อยลงหลังจากอดนอน

 

Simon หวังว่างานวิจัยของพวกเขาจะช่วยให้ผู้คนสามารถนอนหลับได้อย่างเต็มอิ่มและเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในวันถัดไป 

 

ภาพ: Shutterstock

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising